สุภาษิตคำพังเพยรำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ร. รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยรำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

ที่มาของสำนวน เป็นภาษิตไทยที่มาจากการฟ้อนรำทำท่าตามปี่กลองที่คอยบรรเลงประกอบ ผู้ร่ายรำที่มีความชำนาญก็จะรำเข้าจังหวะได้อย่างสวยงาม แต่ถ้าไม่ชำนาญในการฟ้อนรำ ก็จะรำผิดจังหวะหาความสวยงามอะไรไม่ได้ นอกจากเก้ๆ กังๆ ไปทางนั้นทีทางนี้ที เพราะฉะนั้น “รำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง” จึงหมายความว่าตัวเองรำไม่ได้เรื่องแล้วไปโทษปี่กลองว่าไม่ได้เรื่อง หรือบรรเลงไม่เข้าท่า

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การกระทำใดๆ ของตนที่ได้ผลออกมาไม่ดี แต่กลับโทษคนอื่นหรือสิ่งอื่น แทนที่จะโทษตัวเอง

นิยมใช้กับคนที่ไม่ค่อยยอมรับความจริงหรือไม่ค่อยยอมรับความผิดพลาดของตนเอง เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นก็มักโยนความผิดให้กับผู้อื่นหรือสิ่งอื่น

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยรำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตรำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

  • การคบค้าสมาคมกับคนที่ชอบโทษคนอื่น เป็นพวก รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ก็ต้องระวังตัวให้มาก จะทำอะไร พูดอะไร ก็ต้อง ระวัง เพราะหากเกิดความผิดพลาด ก็จะโดนโทษว่าเป็นสาเหตุของปัญหา หรือต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา บางคนนั้นโทษได้ทุก เรื่อง ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นฝ่ายผิด คนประเภทนี้ไม่ยอมรับว่าตัวเองผิด ก็ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย เพราะคนเรานั้น ไม่มีใครไม่ เคยทำอะไรผิดพลาด หรือแม้จะระวังเพียงใด ก็มีโอกาสเกิดความผิดพลาด ถ้าไม่รู้จักให้อภัยกันก็ควรเลิกคบกันเสียจะดีกว่า
  • นิราสอบตกเพราะไม่ตั้งใจเรียน มั่วแต่เล่นโทรศัพท์มือถือในเวลาเรียน แต่กลับไปฟ้องคุณพ่อคุณแม่ว่าสาเหตุที่ตนสอบตกเพราะว่าอาจารย์สอนไม่รู้เรื่อง แบบนี้เขาเรียกว่า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ไม่ดีเลย
  • บางครั้งก็เรียกกันว่า “รำไม่ดี โทษปี่พาทย์” อย่างที่มีกล่าวไว้ในตำราว่าด้วยการรำละครว่า “แม้ชำนาญการฝึกรู้สึกลับ บทสำหรับท่าทีที่แอบแฝง ย่อมเจนจัดคัดลอกออกสำแดง แม้นจะแกล้งทำบ้างก็ยังดี หากว่าไม่เชี่ยวชาญการฝึกหัด ถึงจะคัดตามต้อยสักร้อยสี ไม่นิ่มนวลยวนยกกลวิธี อาจโทษปี่พาทย์กลองรับร้องรำ”
  • นายน้อมส่งงานให้เจ้านายล่าช้า โดยอ้างว่าเครื่องคอมพิวเตอรืทำงานช้าบ้าง รถติดบ้าง ทั้งๆที่งานนั้นได้รับมอบหมายไปตั้งนานแล้ว แต่ไม่รีบทำให้เสร็จโดยเร็วเอง
  • คุณทำงานพลาดแต่ไปโทษผู้ร่วมงานคนอื่นว่าเตรียมงานไม่ดี อย่ารำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง คุณสมควรจะพิจารณาตัวเองด้วยนะ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยล้วงคองูเห่า ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ล. ล้วงคองูเห่า

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยล้วงคองูเห่า

ที่มาของสำนวน โบราณท่านได้เปรียบไว้กับการล้วงคอของงูเห่า ซึ่งมีพิษร้ายแรงและมีอันตรายมาก ซึ่งก็เปรียบเปรยบังอาจลักขโมยหรือล่อลวงเอาทรัพย์สินเป็นต้นจากผู้ที่น่าเกรงขามนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การบังอาญไปกล้าลองดีท้าทายกับผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตน ซึ่งสามารถทำอันตรายร้ายแรงแก่ตนได้ ในสำนวนนี้หมายถึงไปลักขโมยสิ่งมีค่าจากผู้มีอำนาจ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยล้วงคองูเห่า

 

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตล้วงคองูเห่า

  • นายแมวเป็นหัวขโมย ชอบขโมยทรัพย์สินตามบ้านคนอื่น วันหนึ่งได้แอบเข้าไปขโมยของในบ้านหลังหนึ่งโดยไม่รู้เลยว่าเป็นบ้านของนายตำรวจใหญ่
  • เมื่อวานมีโจรกล้าลองดีล้วงคองูเห่า บุกขึ้นบ้านกำนันหมี ซึ่งเป็นกำนันที่มีอำนาจและบารมีมากในจังหวัดนี้
  • เจ้านายครับ มีใครก็ไม่รู้มาเรียกเก็บค่าคุ้มครองในเขตของเราครับ เจ้านี่มันล้วงคองูเห่าชัดๆ
  • แก๊งค์คอลล์เซนเตอร์ได้โทรศัพท์มาหานายตำรวจใหญ่ไซเบอร์เพื่อแจ้งว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต ให้รีบไปโอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม โดยหารู้ไม่ว่านายตำรวจท่านนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญระบบสื่อสาร สามารถตรวจสอบได้ว่าโทรมาจากไหน
  • อย่าล้วงคองูเห่า คิดจะทำอะไรกับใคร ก็ควรจะสืบ จะรู้ให้แน่ใจก่อน อยู่ในวงการนี้ต้องรอบคอบเป็นพิเศษ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเข้าไต้เข้าไฟ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. เข้าไต้เข้าไฟ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเข้าไต้เข้าไฟ

ที่มาของสำนวน คนแต่ก่อนใช้ฟืนก่อเป็นกองไฟ หรือมิฉะนั้นก็จุดไต้ ไต้ ทำด้วยไม้ผุคลุกกับน้ำมันยาง แล้วห่อด้วยใบไม้ เปลือกไม้ หรือใส่กระบอกเป็นดุ้นยาวๆ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกเวลาในตอนหัวค่ำที่คนเริ่มจุดไต้ก่อไฟว่า เข้าไต้เข้าไฟ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เวลาหัวค่ำ เวลาที่เพิ่งเริ่มค่ำ เป็นช่วงเวลาหลังจากพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ท้องฟ้ายังไม่มืดสนิท แต่บรรยากาศเริ่มมืดสลัวลงจนมองอะไรไม่ค่อยเห็น จึงต้องอาศัยแสงไฟช่วย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเข้าไต้เข้าไฟ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเข้าไต้เข้าไฟ

  • มืดๆค่ำๆ เข้าไต้เข้าไฟแบบนี้ ออกจากบ้านให้ระวังตัว ยิ่งมองไม่ค่อยเห็นอยู่ รถราก็มากเหลือเกิน
  • เวลาเข้าไต้เข้าไฟ ไม่ทราบว่าประชาชนหลั่งไหลมาจากที่ใดบ้าง มาร่วมชุมนุมที่หน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กันอย่างคับคั่ง
  • เลิกตัดหญ้าเสียก่อนเถอะคุณสามี เข้าไต้เข้าไฟแล้ว เดี๋ยวโดนงูเงี้ยวเขี้ยวขอกัด พรุ่งนี้ค่อยตัดต่อก็ได้
  • นี่ลูก เลิกเล่นแล้วไปอาบน้ำกินข้าว นี่ก็มืดเข้าไต้เข้าไฟแล้วนะ
  • ยามสนธยา ช่วงเวลเข้าไต้เข้าไฟ เป็นช่วงเวลาแห่งความเงียบงัน เหงาหงอย นั่งคิดถึงช่วงชีวิตที่ผ่านมาเอย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตกม้าตาย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตกม้าตาย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตกม้าตาย

ที่มาของสำนวน สำนวนนี้นำมาจากหนังสือเรื่องสามก๊ก ที่มักจะใช้คำบรรยายในการรบว่า รบกันสามเพลงโจผีก็ถูกทวนแทงตกม้าตาย

สำนวนที่คล้ายกัน สามเพลงตกม้าตาย

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ รวดเร็ว, ยุติเร็ว, เรียกเต็มว่า สามเพลงตกม้าตาย นิยมใช้กับการทำอะไรซักอย่างที่เกือบจะประสบความสำเร็จอยู่แล้ว แต่มาพลาดพลั้งเอาในช่วงสุดท้าย ทำให้ล้มเหลวไม่เป็นท่า

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตกม้าตาย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตกม้าตาย

  • ทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ตกม้าตายในรอบแรกฟุตบอลซีเกมส์ โดยแพ้ทีมชาติลาวในนัดสุดท้าย
  • การเลือกตั้งถึงวันนี้คะแนนนำโด่ง สบายใจได้ระดับหนึ่ง เพราะมั่นใจว่าผลจะออกมาเป็นบวกมากกว่าลบ คือสามารถเป็นนายกฯ ต่อไปได้ แต่ระวัง “ตกม้าตาย” ได้ ทำเป็นเล่นไป!
  • ฉันสร้างบ้านเกือบจะเสร็จแล้วเชียว สุดท้ายเงินหมด ทำต่อไม่ได้ เสียดายมาตกม้าตายเอาตอนจบนี่เอง
  • รัฐบาลทำผลงานดีมาตลอด แต่มาตกม้าตายเพราะเรื่องไม่เป็นเรื่องจากการทุจริตของคนในรัฐบาลเอง
  • กำไรจากหุ้นมาสิบเด้งแล้วแท้ๆ แต่ดันไม่ขาย สุดท้ายราคาร่วงกลับกลายเป็นขาดทุน เรียกได้ว่าตกม้าตาย เพราะจิตใจตัวเองแท้ๆ โลภมากลาภหายหมดเลย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยวัวลืมตีน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ว. วัวลืมตีน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยวัวลืมตีน

ที่มาของสำนวน ตามปกติกีบรอยเท้าของวัวระหว่างเดินไปข้างหน้าจะเป็นรอยเดินหน้า คือส่วนโค้งที่ตัดกันเป็นมุมจะอยู่ข้างหน้า ตามปรกติวัวจะจำได้ว่ารอยแบบนั้นคือรอยที่เดินทางออกจากบ้านมา เวลาจะกลับบ้านก็จะเดินสวนย้อนรอยนั้นไป แต่ถ้าเกิดวัวลืมตีน คือหมายความว่า ดูไม่ออกว่ารอยเท้าไหนมาจากบ้าน ก็จะเดินมั่วไปกลับบ้านไม่ถูก หรือหลงทางนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ได้ดีแล้วลืมกำพืดตน คนที่ฐานะดีแล้วลืมตัว คนที่เมื่อก่อนเคยยากจน แต่ต่อมามีฐานะดีขึ้น และลืมฐานะลืมตัวตนที่เคยเป็นมา มักใช้ในลักษณะ พูดถึงคนที่มีฐานะดีแล้ว มีความเย่อหยิ่งลืมตัวว่าเคยยากจนมาก่อน อวดร่ำอวดรวย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยวัวลืมตีน

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตวัวลืมตีน

  • สมชายเดิมเป็นเด็กวัด ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ต่อมาได้ดิบได้ดี เป็น ส.ส. แต่กลับมีนิสัยหยิ่งยโส ดูถูกคนเคยอุปการะ หลงระเริงในอำนาจที่ตัวเองมี มองไม่เห็นหัวคนอื่น
  • ตอนเด็กๆ เสี่ยโอม มีฐานะยากจน ตอนเรียนหนังสือก็อาศัยอยู่กับหลวงตาที่วัด แต่ตอนนี้เมื่อเขามีฐานะร่ำรวย มีชื่อเสียงทางสังคม เขาก็ทำตัวหยิ่งผยอง ชอบดูถูกคนอื่นที่ฐานะยากจน พฤติกรรมแบบนี้ตรงกับสำนวนไทยที่ว่าวัวลืมตีน
  • เด็กๆ เอ๋ย ภายภาคหน้าถ้าได้ดิบได้ดีเป็นเจ้าคนนายคนแล้ว อย่าลืมกำพืดของตนเอง และผู้ที่เคยอุปการะเรามานะลูก อย่าเป็นคนลืมตัว อย่าเป็นวัวลืมตีน จำใส่ในใจไว้ให้ดีๆ
  • นายเฉลิม เคยเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย ชีวิตลำบาก ไม่ได้ร่ำรวยอะไร ต่อมาลงเล่นการเมือง ได้ดิบได้ดีเป็นรัฐมนตรีหลายครั้ง มีฐานะร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่กลับกลายเป็นคนก้าวร้าว ชอบดูถูกผู้อื่น เนรคุณผู้เคยมีพระคุณต่อตน ประจบสอพลอแต่คนที่มีอำนาจเหนือตน ลืมกำพืดและอดีตของตนจนหมดสิ้น
  • คนสมัยนี้พอได้ดีแล้ว กลับเป็นวัวลืมตีน ลืมต้นกำเนิดของตัวเอง ลืมสิ่งที่ชุบสร้างตนมา บอกได้เลยคนแบบนี้ได้ดีแล้ว ไม่มีวันเจริญ สุดท้ายไม่เหลืออะไรแน่นอน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเห็นกงจักรเป็นดอกบัว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเห็นกงจักรเป็นดอกบัว

ที่มาของสำนวนนี้คือ คำว่า กงจักร มาจากคำสองคำ คือ กง และ จักร คำว่า กง หมายถึงสิ่งที่มีรูปเป็นวงกลม เช่น ส่วนที่เป็นวงรอบของล้อเกวียน หรือล้อรถม้า มีที่ใช้ในสำนวนว่า “กงเกวียนกำเกวียน” หรือเรียกขนมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกง ว่า ขนมกง ส่วนคำว่า จักร หมายถึงอาวุธที่มีรูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ จักรเป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่พระนารายณ์ทรงใช้ เนื่องจากพระนารายณ์มี ๔ กร แต่ละกรจะถือสิ่งต่างๆ กัน ได้แก่ สังข์ จักร คทา และดอกบัว

เมื่อนำคำสองคำมารวมกันเป็นคำว่า กงจักร จึงหมายถึงสิ่งที่มีรูปเป็นวงกลม มีริมเป็นแฉก ๆ โดยรอบ ใช้เป็นอาวุธสำหรับลงโทษเปรตบางจำพวก

ตามนิทานชาดก มิตวินทุกะ (อ่านว่า มิด-ตะ -วิน-ทุ-กะ) เป็นผู้มีบาปหนา เมื่อจะได้รับโทษตามกรรมก็มองเห็นกงจักรบนหัวเปรตตนหนึ่งว่าเป็นดอกบัว จึงขอมาใส่บนหัวตนเอง ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานจากกงจักรที่หมุนบาดหัวอยู่ตลอดเวลา ชาดกนี้เป็นที่มาของสำนวนว่า เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การเห็นผิดเป็นชอบ หรือเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง สำนวนนี้นิยมใช้กับบุคคลที่มักทำในสิ่งที่ชั่วร้าย แต่เข้าใจไปเองว่าสิ่งนั้นดีงามและสมควรกระทำ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเห็นกงจักรเป็นดอกบัว

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเห็นกงจักรเป็นดอกบัว

  • สมนึกชอบเที่ยวกลางคืน ชอบดื่มสุรา เพราะเขาเห็นกงจักรเป็นดอกบัว คิดว่าการดื่มสุราจะช่วยให้ตนลืมความทุกข์ได้
  • นายเบียร์เป็นคนเจ้าชู้ สำส่อน คบกับผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาของตนไปทั่ว โดยเห็นว่าเป็นเรื่องสนุกของชีวิต ทั้งที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่ไม่ดีอย่างมาก แบบนี้เข้าสำนวนเห็นกงจักรเป็นดอกบัว ผิดทั้งศีลข้อ 3 ผิดศีลธรรมอันดีงาม และประพฤติผิดต่อภรรยาของตนอย่างร้ายแรง แถมอาจจะได้รับอันตรายจากสามีของผู้หญิงอื่นที่ตนเองไปมีสัมพันธ์ด้วย
  • อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ เสียดายความรู้ “ชูศักดิ์” ไม่หนักแน่นเหมือนสมัยเป็นอาจารย์ สวนทีอัยการซี้ “ยิ่งลักษณ์” นั่งคณะทำงานคดี “พานทองแท้” กลับไม่เคยติง ซัดเห็นกงจักรเป็นดอกบัว สงสัยสมัยเป็นอธิการบดีรามฯ ทำไมเซ็นใบปริญญาให้ “โอ๊ค” ที่โกงข้อสอบแนะดีเอสไอถ่ายสำเนาเช็คกฤษดานครสั่งจ่ายลูก “แม้ว” โชว์ชาวบ้าน
  • นายเฉลิม ชอบรวยทางลัด ค้าขายยาเสพติด โดยเห็นว่าดี รวยเร็ว ใครห้ามปรามก็ไม่ฟัง สุดท้ายต้องโดนจับและถูกตัดสินจำคุก โบราณท่านว่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นผิดเป็นชอบโดยแท้
  • คนไทยเรารู้เรื่องนี้ดีจึงสั่งสอนกันมาแต่โบราณว่า “อย่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว” คือ อย่าเป็นคนดื้อรั้น ถือแต่ความเห็นของตัว ใครว่าใครสอนไม่ฟังแม้ผู้สอนจะเป็นพ่อเป็นแม่ อย่าเป็นคนเห็นผิดเป็นชอบ เห็นชั่วเป็นดี เห็นผิดเป็นถูก คนที่เห็นกงจักรเป็นดอกบัวนั้นจะเห็นผิดแผกไปจากคนดีทั่วไป คนทั่วไปเห็นว่าสิ่งนี้ไม่ดี ไม่ถูก เป็นเรื่องเสียหาย แต่เขากลับเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งดี เป็นเรื่องถูก ไม่เสียหายอะไร ความเห็นของคน ทั่วไปไม่ถูก แล้วก็หลงตัวไปทำเข้า กว่าจะรู้ว่าตัวเองเห็นผิดก็มักจะสาย แก้ตัวไม่ได้แล้ว คำโบราณคำนี้มีค่ายิ่งนัก

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยลื่นเหมือนปลาไหล ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ล. ลื่นเหมือนปลาไหล

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยลื่นเหมือนปลาไหล

ที่มาของสำนวน ธรรมชาติของปลาไหลเป็นสัตว์น้ำที่มีผิวมันลื่นมาก เปรียบเปรยถึงการจับปลาไหลแม้จะจับได้แล้วถ้าจับไว้ไม่แน่นพอ ปลาไหลซึ่งมีมีความลื่นอยู่แล้วก็อาจจะหลุดมือไปได้อีก

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่มีพฤติกรรมที่จับไม่ได้ไล่ไม่ทันเป็นคนนิสัยตลบแตลงกะล่อน พูดจาเลี้ยวลดพริ้วไปพริ้วมา ยากที่จะจับให้มั่นคั้นให้ตาย แม้จะจับได้ว่าพูดไม่จริงแต่ก็ก็ยังหาข้อแก้ตัวดิ้นหลุดเอาตัวรอดไปอย่างสบายตามเคย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยลื่นเหมือนปลาไหล

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตลื่นเหมือนปลาไหล

  • ปลาไหล มันลื่นเหมือนกันทั่วโลกครับ ปัญหาการจับปลาไหล คว้าให้ติดมือนี่ท่าทางจะเป็นปัญหาหนักอกของทุกชาติทุกภาษา มาแต่อดีต เลยทิ้งร่องรอยสำนวนไว้ในภาษามากมาย รวมทั้งสำนวนไทยและอังกฤษ เลยเป็นสำนวนที่ใช้กันในหลายชาติเปรียบถึงคนลื่นเหมือนปลาไหล
  • ครูใหญ่เตือนคุณครูประจำชั้นให้จับตาเด็กชายแสนดี เพราะเด็กชายแสนดีชอบพูดจากลับกลอก ลื่นเหมือนปลาไหลเลย
  • สมชายมีนิสัยเจ้าชู้ เวลาเมียจับได้ว่าแอบมีกิ๊ก ก็แถแก้ตัวลื่นเหมือนปลาไหลเอาตัวรอดมาได้ตลอด เจ้าชู้ขั้นเซียนโดยแท้
  • นายสมชาย ผู้จัดการฝ่ายขาย เฝ้าจับตาดูนายสวัสดิ์ซึ่งเป้นพนักงานขาย ลูกน้องของตนเองที่ชอบหนีงาน แต่อ้างนู้นอ้างนี่อยู่ตลอดเวลา ลื่นเหมือนปลาไหลเลย
  • นี่เธอ แหม่ เพื่อนฉันลื่นเหมือนปลาไหลเลยนะ แฟนไม่ให้ออกบ้านแต่ออกมาได้ ใช้คำพูดอะไรบอกเขานะ แน่นอนจริงๆ เพื่อนฉัน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

ที่มาของสำนวน ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เป็นการเปรียบเปรยถึงพื้นที่หรือดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลามากมาย ในนาก็มีข้าวอย่างเหลือเฟือ ตัวอย่างเช่นประเทศไทยของเรา

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนไม่อดอยากปากแห้ง โดยเทียบได้กับในแหล่งน้ำทุกที่มีปลาให้จับเป็นอาหารและในนาก็มีข้าวอุดมสมบูรณ์

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

  • เมื่อพูดถึงประเทศไทยของเราก็เพราะว่าเมืองไทยของเรานั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งทางด้านการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศและยังเหลือส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย เรียกได้ว่าเมืองไทยของเราเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลกเลยทีเดียว เรียกได้ว่าประเทศไทยในน้ำมีปลา ในนามีข้าวอุดมสมบูรณ์
  • ตาพุยอาศัยอยู่ในชนบท ทุกวันตาพุยจะออกไปหาปลาในหนองมาทำอาหาร ไปไม่นานก็ได้ปลากลับมาแล้ว เพราะพื้นที่แถบนี้อุดมสมบูรณ์มาก ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว
  • ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เป็นคำที่ใช้สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ว่าถ้าในน้ำยังมีปลาในนายังมีข้าว ความเป็นอยู่ก็ไม่ใช่เรื่องลำบาก หากนำเอาแง่คิดนี้มามองโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะสภาพของปลาในน้ำก็สร้างความน่าเป็นห่วงยิ่งนัก ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ทั้งนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญต่างก็คาดการณ์ว่าโลกอาจไม่สามารถหาอาหารจากทะเลได้ภายในไม่กี่ทศวรรษ
  • เปิดโครงการ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิต ปีใหม่ เป็นการฟื้นฟู สิ่งมีชีวิต คืนสู่ธรรมชาติ ด้วยเกษตรอินทรีย์ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
  • ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวท้องทุ่งเต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ยิ่งนัก เป็นเหมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา มีฤดูกาลที่ชวนรื่นรมย์และสู้ทนเป็นที่สุด บางคราก็เป็นสนามเด็กเล่นที่เต็มไปด้วยพื้นที่อันไพศาลรองรับให้จินตนาการของเราได้ กรีดกรายและโบยบินไปอย่างเสรี

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยหนีเสือปะจระเข้ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. หนีเสือปะจระเข้

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยหนีเสือปะจระเข้

ที่มาของสำนวน ในโบราณท่านเทียบเอาไว้ว่าหนีเสือซึ่งอันตรายมาก แต่กลับไปเจอจรเข้ ซึ่งมีอันตรายไม่น้อยไปกว่ากันเลย

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การที่หนีอันตรายหรือสิ่งเลวร้ายอย่างหนึ่ง แต่กลับเจออันตรายอีกอันหนึ่ง

สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงคราวเคราะห์ วิบากกรรมของคนเรา บางครั้งอุตส่าห์หนีอันตรายที่ อยู่ตรงหน้า หนีจากที่หนึ่งไปหาที่ใหม่ซึ่งคิดว่าน่าจะปลอดภัย แต่กลับต้องไปพบกับสิ่งที่เป็นอันตรายไม่ต่างกัน

โดยมีสำนวนนี้คล้ายกัน ใช้ในต่างสถานการณ์ของคนสมัยก่อน คือ ขึ้นต้นไม้ปะรังแตน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยหนีเสือปะจระเข้

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตหนีเสือปะจระเข้

  • นางสาวเอเลิกจากงานเดินกลับบ้านคนเดียว ในขณะที่เดินออกจากซอยซึ่งเปลี่ยวมาก พบเข้ากับวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งกำลังนั่งดื่มกันอยู่ มีอาการเมามายและพูดจาแซวเธอ เธอกลัวมากจึงรีบวิ่งออกจากซอยเพื่อเรียกแท๊กซี่กลับบ้าน ปรากฏว่ากลับเจอแท๊กซี่ไม่ดี พยายามพูดจาแทะโลมและพยายามพาเธอไปทำมิดีมิร้าย แบบนี้แหละครับที่โบราณท่านเรียกว่าหนีเสือปะจระเข้
  • สมปองไปซื้อของที่ในเมืองคนเดียว เขาเจอคู่อริเดินมากันหลายคน สมปองเลยตัดสินใจวิ่งหนี และเขาก็ได้เข้าไปในซอย แต่ทว่าในซอยนั้นมีสุนัขตัวโตนอนขวางทางอยู่ มันกำลังแยกเขี้ยวแล้วจ้องมาที่สมปอง แบบตรงกับสำนวนไทยที่ว่าหนีเสือปะจระเข้
  • เมื่อมีการปล้น ในบางครั้ง คนร้ายที่พากันหนีการจับกุมของตำรวจ ก็อาจจะไปเจอกับโจรด้วยกันเอง ที่ล่วงรู้แผนการและวาง แผนมาปล้นซ้อนต่ออีกที เข้าทำนอง หนีเสือ ปะจระเข้ หนีตำรวจแต่กลับไปเจอพวกโจรด้วยกันเอง อันตรายไม่ได้ต่างกัน เพราะ โจรด้วยกันนั้น หากโดนยิงความผิดจะไม่ร้ายแรงเหมือนยิงต่อสู้เจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • นายหวังทำอาชีพค้าขายแต่หมุนเงินไม่ทัน จึงไปกู้เงินนอกระบบที่มีดอกเบี้ยแพงมากที่ 10% ต่อเดือน ต่อมาไม่นานรู้สึกว่าส่งดอกไม่ไหว จึงหันไปกู้เงินจากผู้อื่นแทน แต่กลับโดนเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อเดือน ซึ่งหนักกว่า โหดกว่า เจ้าหนี้เงินกู้รายแรกมาก
  • ผู้คนในบ้านเมืองของเราขณะนี้อยู่ในสภาพของ “หนีเสือปะจระเข้” ไม่ผิด เพราะผู้คนในบ้านเมืองของเราต้องผจญชีวิตอยู่กับพวกวายร้ายที่มีอำนาจ และใช้อำนาจอย่างชอบใจเพื่อประโยชน์ตนและพรรคพวก หลายปีที่ผ่านมา “รวยกระจุก”อยู่ในหมู่พวกของตัว แต่ “จนกระจาย” ไปทั่วทั้งแผ่นดินอย่างที่คนส่วนใหญ่ในประเทศประสบมาแล้ว จนผู้คนทนไม่ได้กับสภาวการณ์ดังกล่าว ต้องจับมือกันออกมาขับไล่ “เสือ” ตัวนี้ให้พ้นไป

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยศิษย์คิดล้างครู ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ศ. ศิษย์คิดล้างครู

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยศิษย์คิดล้างครู

ที่มาของสำนวน ลูกศิษย์ที่คิดไม่ดีต่อครูบาอาจารย์ และกระทำตนเป็นปรปักษ์ ต่อต้าน หรือ ทำลายล้างครูบาอาจารย์ มิใช่แต่เพียงว่าคิดไม่ดีต่อครูบาอาจารย์ หรือกระทำตนเป็นปรปักษ์ ต่อต้าน ทำลายล้างครูบาอาจารย์เท่านั้น การละเมิดคำสั่งสอน หรือบิดเบือนคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ การกระทำเยี่ยงนี้เราก็เรียกกันว่าศิษย์คิดล้างครู

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ศิษย์เนรคุณ ศิษย์ที่คิดไม่ดีต่อครูบาอาจารย์ จ้องแต่จะทำลายล้างครูบาอาจารย์ และมีการกระทำต่างๆ ที่ส่อไปในทางเป็นปรปักษ์ ต่อต้าน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยศิษย์คิดล้างครู

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตสุภาษิตศิษย์คิดล้างครู

  • คำว่าศิษย์คิดล้างครู ไม่ได้หมายถึงลูกศิษย์ที่เก่งกว่าครูนะครับน้องๆหนูๆ ศิษย์ที่เก่งนั้นเป็นสุดยอดความปรารถณาของครูทุกคน แต่ว่าเมื่อเก่งแล้วต้องไม่เหยียดหยาม เนรคุณหรือข่มเหงคนที่เป็นครูของตน แต่ในทางตรงกันข้าม ควรที่จะให้ความเคารพ นับถือ บูชา ครูผู้ให้ความรู้แก่ตน
  • วัดในพุทธศาสนาวัดหนึ่งในประเทศไทย ที่เจ้าอาวาสอวดอุตริมนุษยธรรมว่าตนเองมีความสามารถถอดกายทิพย์ไปถวายข้าวพระพุทธเจ้าได้ และ ยังได้สั่งสอนประชาชนว่าทำบุญด้วยเงินทองมากๆ ก็จะได้บุญมากๆตามจำนวนเงินไปด้วย ถ้าทำบุญด้วยเงินน้อยๆก็จะได้บุญน้อย ซึ่งเป็นการบิดเบือนคำสอนในพระพุทธศาสนา อย่างนี้แหละครับที่เราเรียกว่าศิษย์คิดล้างครู
  • อาจารย์ได้ฟังดังนั้นก็รู้สึกทอดถอนใจว่า สู้อุตส่าห์สั่งสอนมา ก็หวังว่าจะให้เป็นตัวแทนแนะนำความรู้นี้ต่อไป ไม่ได้หวังให้ไปแข่งดีกับใครเลย แต่นี่จะมาท้าแข่งกับครูเสียเอง กลายเป็นศิษย์คิดล้างครูเสียแล้ว และตอนนี้ตัวอาจารย์เองก็แก่มากแล้ว คงสู้ศิษย์อกตัญญูคนนี้ไม่ไหว เพราะการประลองฝีมือ จะต้องใช้กำลังมาก คนหนุ่มย่อมได้เปรียบคนแก่ และการที่ศิษย์กับอาจารย์จะมาต่อสู้กันเอง ก็เป็นเรื่องที่น่าอับอายอย่างยิ่ง ยิ่งคิดก็ยิ่งรู้สึกเสียใจ ที่ศิษย์กลายเป็นคนอกตัญญู
  • อันวิชาความรู้ ครูถ่ายทอดให้รู้รอดปลอดภัย ในทุกที่ดำรงตนสร้างตนเพื่อคนดี ประหนึ่งที่ความรู้ ครูให้มาเมื่อเจ้ามีวิชาความสามารถ เรืองอำนาจสูงชาติวาสนา อย่าเหลิงลอยระรานผลาญประชา จะเป็นตราชั่วติดตนไปจนตาย จงอย่าคิดชนะครูผู้ที่ให้คอยห่วงใย ห่วงเฝ้าเจ้าทั้งหลายยอมอุทิศ ชีพแท้ แม้มลายจงอย่ากลายเป็นศิษย์คิดล้างครู
  • ศิษย์ที่คิดล้างครูนั้นย่อมมีแต่ความวิบัติ เหมือนชายหนุ่มกับอาจารย์ผู้มากด้วยเมตตา ผลสุดท้ายชายหนุ่มก็ได้รับผลร้ายที่เกิดจากการกระทำของตนเอง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube