สุภาษิตคำพังเพยรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตคำพังเพยรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี
X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ร. รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

ที่มาของสำนวน คนโบราณท่านนิยมใช้สั่งสอนคนให้ระมัดระวังและดูแลในสิ่งที่รัก ต้องหมั่นสั่งสอนให้ดี ไม่ตามใจจนเกินไป เพราะอาจจะเสียคนเอาภายหลังได้ เปรียบได้กับเมื่อรักวัวของตนเองก็ควรผูกล่ามเอาไว้ให้มั่นคง ไม่ให้ใครมาขโมยเอาไปได้ หรือป้องกันไม่ให้วัวนั้นหนีเตลิดออกไป

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การอบรมสั่งสอน ว่ากล่าวตักเตือน หรือลงโทษลูก เมื่อลูกได้กระทำความผิด หรือทำในสิ่งไม่ถูกต้อง เพื่อให้ลูกได้รับรู้ จดจำว่าสิ่งนั้นไม่ดี และจะไม่ควรจะทำอีก

ส่วนคำว่ารักลูกให้ตีนั้น ท่านไม่ได้สอนให้เป็นคนโหดร้าย ชอบทำร้ายลูกหลานด้วยการเฆี่ยนตี แต่ท่านสอนให้เรารู้จักสอนลูก เมื่อลูกทำผิดก็ทำโทษบ้างตามสมควร การทำโทษก็เพื่อหวังให้จดจำว่าทำสิ่งที่ผิดก็จะโดนลงโทษ เพื่อจะได้ไม่ทำผิดอีก และยังมีความหมายรวมไปถึงการไม่โอ๋ลูกจนเกินพอดี เมื่อลูกทำผิดก็ยังตามใจ เห็นดีงามไปกับลูก ซึ่งจะทำให้เด็กติดนิสัยแย่ ๆ ไปจนโต และจะสร้างปัญหาให้กับตัวเด็กได้ในอนาคต

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

  • เมื่อโตขึ้นฉันจึงเข้าใจ สำนวนไทยที่ว่ารักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี สาเหตุที่แม่ว่ากล่าวตักเตือน ลงโทษเวลาที่ฉันกระทำความผิดก็เพราะแม่รักฉัน อยากให้ฉันเป็นคนดี
  • ครอบครัวนี้เลี้ยงลูกมาดี ไม่เคยให้ท้ายลูกเลย เข้าทำนองรักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี จนตอนนี้ลูกแต่ละคนก็ได้ดิบได้ดี เป็นที่รักใคร่ไปแล้ว
  • ‘รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี’ สุภาษิตไทยที่ถูกบรรจุอยู่ในวิชาภาษาไทยสมัยประถมที่บอกว่า ถ้าคุณเป็นพ่อเเม่การตีจะช่วยให้ลูกเป็นคนดีเเละไม่ทำผิดซ้ำ ส่วนคนเป็นลูกก็เข้าใจว่า ที่พ่อเเม่ตีเพราะเขารักเเละหวังดี
  • จากกรณีที่นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติว่า ที่ประชุมได้มีการหยิบยกเรื่องการเปลี่ยนคำในสุภาษิตไทยขึ้นมา โดยมีการเสนอให้เปลี่ยนสุภาษิตที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” เป็น “รักวัวให้ผูก รักลูกให้กอด” เพื่อให้เกิดค่านิยมใหม่ที่จะช่วยเติมเต็มความอบอุ่นในครอบครัวมากขึ้น
  • แต่เมื่อมาในยุคปัจจุบัน ยุคที่ความรุนแรงถูกมองว่าเป็นเรื่องของการคุกคาม และโหดร้ายทารุณ มากกว่าที่จะเป็นการลงโทษเพื่อประโยชน์ การทำโทษโดยการตีนั้นจึงค่อยๆ หายไปตามยุคและสมัยไป กระทรวงศึกษาธิการเอง ก็ได้ออกกฎว่าห้ามคุณครู ตีนักเรียน มาตั้งแต่ปี 2548 (ใครจะไปเชื่อว่าผ่านมาแล้ว 15 ปี แต่ยังมีตีกันให้เห็นจนถึงปัจจุบัน) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในปัจจุบัน วลี “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” นั้นอาจจะใช้ไม่ได้ผลไปเสียแล้ว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements