สุภาษิตคำพังเพยกระเชอก้นรั่ว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กระเชอก้นรั่ว

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกระเชอก้นรั่ว

กระเชอก้นรั่ว กระเชอคือภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ หรือหวายทรงสูง ก้นสอบ ปากผาย ใช้กระเดียด ก้นรั่วคือไม่สามารถกักเก็บได้ ถ้าเก็บแล้วก็จะรั่วไหลออกไป

ที่มาของสำนวนคือ มาจากนิทานโบราณ ใน นนทุกปกรณัม เรื่องมีว่ามีพรานไปซุ่มช้อนปลากับภรรยา ภรรยานั้นเป็นกาลกิณีกระเดียดกระเชอก้นรั่วตามสามี สามีช้อนได้ปลามาใส่กระเชอ ภรรยาก็ไม่พิจารณา ปลาก็ลอดลงน้ำไป สามีไม่รู่ช้อนได้หลงใส่กระเชอไปเรื่อย ๆ ปลาก็ลอดไปหมดไม่เหลือ ระหว่างนั้นมีภรรยานายสำเภา เป็นหญิงดีมีสิรินั่งอยู่ท้ายเรือ เห็นปลาลอดลงน้ำก็ยิ้ม นายสำเภาเป็นกาลกิณี เห็นนางดูนายพรานแล้วยิ้มเข้าใจว่านางพอใจ พรานก็โกรธ จะให้นางไปเป็นเมียพราน ในที่สุดนายสำเภากับนายพรานก็ตกลงแลกเมียกัน เมียนายพรานมาอยู่กับนายสำเภา ทำให้พรานเจริญขึ้นเป็นเสนาบดีของพระเจ้าแผ่นดิน แล้วต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาแผ่นดิน นั่นคือใครที่ทำอะไรเผลอเรอเลินเล่อทำอะไรไม่รอบคอบก็พูดกันว่า “เผลอเรอกระเชอก้นรั่ว”

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ กล่าวถึงนิสัยแบบหนึ่ง เปรียบเสมือนการใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ไม่ประหยัด ไม่เก็บหอมรอมริบ เก็บเงินไม่อยู่ ใช้เล็ก ใช้น้อยเหมือนดั่งเก็บน้ำไว้ในกระเชอสุดท้ายแล้วมันก็ซึมออกจากภาชนะในที่สุด ใช้กับบุคคลประเภทที่มีนิสัยฟุ่มเฟือย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกระเชอก้นรั่ว

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกระเชอก้นรั่ว

  • นี่คุณอย่ามัวมาอิจฉาเพื่อนอยู่เลย เพราะคุณทำตัวเป็นแบบกระเชอก้นรั่ว ซื้อแต่ของแบรนด์แนมทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นแบบนี้ ก็เลยยังไม่มีเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
  • ความเสี่ยงที่จะทำให้คนทำงานออกจากระบบของรัฐยิ่งมีมากขึ้น การเพิ่มกำลังการผลิตจึงเปรียบเสมือนกระเชอก้นรั่ว ที่เติมเข้าไปเท่าไหร่ก็ไม่มีวันเต็ม
  • บุคคลที่ทำตัวแบบกระเชอก้นรั่ว ยังไงก็ไม่สามารถร่ำรวยได้เลย ถ้าไม่รู้จักวางแผนการใช้เงิน การใช้ชีวิตแบบนี้
  • มีใครมาบอกคุณว่า คุณเป็นคนกระเชอก้นรั่ว คุณจะทำยังไง? มีแค่สองทางเลือก แบบแรกคุณก็ทำตัวแบบเดิมต่อไป แบบที่สองละทิ้งนิสัยแบบนี้ซะ เรียนรู้การวางแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่ออนาคตของตนเองและคนที่คุณรัก
  • จะไม่มีใครประสบความสำเร็จทางการเงินได้ ถ้ายังทำนิสัยกระเชอก้นรั่วอยู่แบบนี้ ต่อให้มีเงินมากมายขนาดไหน ถ้าไม่รู้จักใช้ ไม่รู้จักจ่าย มันก็หมดอยู่วันยังค่ำ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยกรวดน้ำคว่ำขัน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กรวดน้ำคว่ำขัน

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกรวดน้ำคว่ำขัน

ที่มาของสำนวนคือ การกรวดน้ำก็คือการอุทิศ การปล่อยวาง เป็นวัฒนธรรมของศาสนาพุทธ หลังจากการกรวดน้ำเสร็จแล้วก็ทำการคว่ำขันน้ำที่กรวดไป ถือเป็นการจบสิ้น

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ กล่าวถึงการตัดขาดจากบุคคลหนึ่งขอไม่เกี่ยวข้องด้วยอีกต่อไป ชาตินี้อย่าได้มาเจอกันอีกเลย ถือว่าจบกันด้วยความไม่ดี ไม่เหลือความสัมพันธ์ มักใช้ในกรณีตัดขาดคนที่รัก เพื่อน ญาติพี่น้อง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกรวดน้ำคว่ำขัน

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกรวดน้ำคว่ำขัน

  • จบกันเสียที เราทั้งสองยังไม่ยุ่งเกี่ยวกันอีก จากนี้ไปฉันขอกรวดน้ำคว่ำขัน
  • วันนี้ขอกรวดน้ำคว่ำขันให้กับคนที่คิดไม่ดีกับเรา
  • คนที่กรวดน้ำคว่ำขันนี่ เขาคงจะเกลียดคนคนนั้นเข้ากระดูกดำจริงๆ
  • ฉันเข้าใจแล้วเธอบอกว่า เธอกรวดน้ำคว่ำขันฉันไปแล้ว ฉันคงไม่มีโอกาสกลับไปคืนดีกับเธอแล้วใช่ไหม ถ้าฉันผิดก็อโหสิให้ฉันเถอะ แม้มันจะเจ็บปวดแค่ไหน ฉันก็ต้องก้าวไปข้างหน้าต่อไป ด้วยรักและขอให้เธอโชคดี
  • การกรวดน้ำคว่ำขันอาจไม่ใช่การที่เราจะต้องเกลียดคนนั้นๆ เสมอไป บางทีเราอาจไม่ต้องการคนแบบนี้ในชีวิตอีกต่อไปแล้วก็ได้ ไม่อยากเจอก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่เจ็บปวด เราเจ็บปวดมากเกินไปที่จะเจอหน้า ที่เราทำแบบนี้เราปกป้องตัวเราเอง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยกบในกะลาครอบ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กบในกะลาครอบ

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกบในกะลาครอบ

ที่มาของสำนวน เปรียบเหมือนกบตัวหนึ่งที่อยู่แต่ในกะลาแคบๆ ส่วนกะลาครอบเปรียบโดยกบไม่ได้เจอโลกภายนอกเลยว่าเป็นอย่างไร คิดเชื่อในสิ่งที่ตัวมันเองเห็น โดยไม่สนใจกบตัวอื่นถึงแม้จะบอกว่าโลกภายนอกนั้นดีกว่า

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ กล่าวถึงบุคคลคนที่มีความรู้หรือประสบการณ์น้อยมักนึกว่าตัวรู้มากกว่าคนอื่น เปรียบคนๆ หนึ่งที่ไม่รู้เท่ากับอีกคน แต่ยังยืนกรานในสิ่งที่ตนเชื่อทั้งๆ ที่โลกภายนอกนั้นไปต่อไหนถึงไหนแล้ว ตัวเองยังติดอยู่กับความคิดอัตตาของตนเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกบในกะลาครอบ

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกบในกะลาครอบ

  • ดูนายสิ โลกเขาไปต่อไหนถึงไหนแล้ว ยังยึดติดกับความคิดเดิมๆ ที่ไม่มีอะไรดีขึ้น นายนี่มันกบในกะลาครอบจริงๆ
  • กบในกะลาก็คือกบในกะลาอยู่วันยังค่ำ ถ้าออกจากกะลาได้เมื่อไหร่จะได้เห็นสิ่งดีๆ เอง หมดคำจะพูดแล้ว
  • ถ้ายังทำตัวกบในกะลาครอบแบบนี้ ชีวิตไม่ดีขึ้นแน่ๆ
  • สิ่งที่คิดคุณอาจจะถูกนะ แต่คุณต้องฟังคนอื่นบ้าง ไม่ใช่ทำตัวแบบกบในกะลาครอบแบบนี้ คุณจะได้เห็นทัศคติใหม่ๆ มองแบบกว้างๆ
  • บุคคลที่มีความคิดแบบกบในกะลาครอบ ไม่มีวันพัฒนาตนเอง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยกงเกวียนกำเกวียน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กงเกวียนกำเกวียน

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกงเกวียนกำเกวียน

ที่มาของสำนวนคือ เปรียบคือกงเกวียนหมุนเป็นวงกลม หมายความว่าเมื่องกงเกวียนหมุนไปทางใด กำเกวียนก็หมุนไปทางกงเกวียนเช่นกัน เปรียบเสมือนวงล้อเกวียน

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำอะไรกับใครไว้ ย่อมได้รับผลกรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนคนรัก มนุษย์คนอื่น สัตว์ มีชีวิต สิ่งของก็สามารถใช้สำนวนสุภาษิตนี้ได้ เปรียบเปรยอีกอย่างก็คือกรรมตามสนองเหมือนกับสิ่งที่ทำลงไป หรือจะใช้คำว่ากรรมตามสนองแทนก็ได้

รูปความหมายของสุภาษิตกงเกวียนกำเกวียน

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกงเกวียนกำเกวียน

  • นายเอชอบทำลายข้าวของ มาวันนี้มีได้อะไรดีๆ มาแปปเดียวก็พัง สงสัยจะเป็นกงเกวียนกำเกวียนของมันจริงๆ
  • กงเกวียนกำเกวียนมีจริงๆ นะ เหมือนกับนายบีทำกรรมไว้เยอะ มาวันนี้เป็นอัมพาตไปซะแล้ว
  • นายซีหาเรื่องและทำร้ายคนอื่น สุดท้ายก็โดนคนอื่นกลับมาแก้แค้น ทำอะไรกับใครไว้ก็โดนแบบนั้นแหละ กงเกวียนกำเกวียนตามสนองซะแล้ว
  • กิจการของนายดีชอบเอาเปรียบลูกค้าโดยการใช้ของคุณภาพไม่ดี วันดีคืนดีคนจับได้เกิดไปกระแสลุกลาม ผู้คนต่างพากันแบน ทำให้กิจกาจนายดีแทบจะอยู่ไม่ได้ นี่แหละกงเกวียนกำเกวียน
  • กรรมจะตามสนองผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์กับตนเองเสมอ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements