สุภาษิตคำพังเพยผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ผ. ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง

ที่มาของสำนวน มาจากการนำช้างสองตัวมาร่วมกันลากซุง โดยการผูกช้าง สามารถทำได้สองวิธีคือการลากเคียง และการลากต้อย การลากเคียงคือการผูกช้างทั้งสองตัวให้ยืนคู่กัน ซึ่งจะทำได้เส้นทางการเดินต้องกว้างพอที่ช้างสองตัวสามารถเดินคู่กันได้ ข้อดีของการลากเคียงคือ ช้างสองตัวจะออกแรงเท่าๆ กัน เคียงบ่าเคียงไหล่กัน

ส่วนการลากต้อย นั้นจะใช้การผูกช้างโดยให้ช้างตัวหนึ่งอยู่ด้านหน้าเลียกช้างตัวนี้ว่าช้างเท้าหน้า และช้างอีกตัวอยู่ด้านหลังเลียกช้างตัวนี้ว่าช้างเท้าหลัง สามมารถทำงานได้ดีในที่รกมีทางเดินแคบๆ เชือกที่ผูกคอช้างเข้าไม่ได้ลอดใต้หว่างขาช้างแต่เขาใช้เชือกสองเส้นออกทางไหล่ ซ้ายหนึ่งเส้น ไหล่ขว่าอีกหนึ่งเส้น เชือกทั้งสองเส้นของช้างตัวหน้าจึงทำหน้าที่บังคับช้างตัวหลังให้เดินตามตัวหน้าเท่านั้น ไม่สามารถเถลไถล ออกนอกลู่นอกทางได้

และการเดินของช้าง ช้างจะก้าวเท้าหลังก่อนเสมอและตามด้วยก้าวเท้าหน้าตาม ไม่ใช่เดินไปข้างหน้าด้วยการก้าวเท้าข้างหน้าก่อน โดยสำนวนนี้เข้าใจผิดว่าผู้ชายเป็นผู้นำ ผู้หญิงเป็นผู้ตาม แท้จริงแล้วผู้ชาย และผู้หญิงต่างต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันและทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดในครอบครัว

สำนวนที่คล้ายกัน ผัวหาบ เมียคอน

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การเข้าใจและให้เกียรติซึ่งกันและกันของสามีภรรยา เพื่อที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้า

รูปความหมายของสุภาษิตผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง

  • บ้านหลังนี้อยู่กินกันอย่างมีความสุข ไม่มีปากเสียง เพราะมีสามีเป็นผู้นำที่ดี ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว ส่วนภรรยาก็เป็นแม่บ้านที่ดี ทำงานบ้าน เลี้ยงดูลูกๆ เป็นอย่างดี
  • สมัยก่อนคำที่ว่า ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง ความหมายคือ ในครอบครัวสมัยก่อนสามีจะเป็นคนทำงานหาเงินจุนเจือครอบครัวเป็นหลัก ส่วนภรรยาจะทำงานบ้าน เลี้ยงลูก ดังนั้นสามีจึงเป็นผู้นำ หาเลี้ยงคนในครอบครัว นำพาให้ครอบครัวอยู่กินอย่างมีความสุข
  • จากสามีเป็นช้างเท้าหน้า ภรรยาเป็นช้างเท้าหลัง สมัยนี้ครอบครัวก็เหมือนจิงโจ้ มีขาหลังไว้นำพา มีขาหน้าไว้พนมมือ
  • หญิงชาย เมื่อมาอยู่ร่วมกัน เป็นครอบครัวเดียวกัน จะช้างเท้าหน้าช้างเท้าหลัง หญิงชายที่ไม่ร่วมมือกัน ก็ควรแยกจากกันไป
  • ผมในฐานะที่เป็นผู้ชาย นอกบ้านผู้ชายจะเก่ง แต่ในบ้านเสร็จผู้หญิงหมด เขาบอกว่าผู้ชายเปรียบเสมือนช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลังนั่นแหละ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเสือเฒ่าจำศีล ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ส. เสือเฒ่าจำศีล

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเสือเฒ่าจำศีล

ที่มาของสำนวน คำว่าเสือเฒ่าหรือเสือที่มีอายุมากที่มีประสบการณ์ในการล่าเหยื่อ หลอกล่อเหยื่อ และการเอาตัวรอด เปรียบเปรยกับชายที่มีอายุมากแต่ยังมีเล่ห์เหลี่ยม

สำนวนที่คล้ายกัน เฒ่าหัวงู, เฒ่าชราในตาทารก

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ชายสูงอายุที่มีท่าทีสงบเสงี่ยม วางตัวน่านับถือแต่จริงๆ แล้วมีเล่ห์เหลี่ยมมาก

รูปความหมายของสุภาษิตเสือเฒ่าจำศีล

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเสือเฒ่าจำศีล

  • ตามีเห็นแกแก่ๆ แบบนี้เป็นเสือเฒ่าจำศีล ชอบหลอกจีบสาวๆ รุ่นราวคราวลูกไปหลายคนแล้ว
  • ลุงแกก็ดูเป็นคนใจดี เป็นที่นับถือของชาวบ้าน ไม่นึกเลยว่าจะเป็นพวกเสือเฒ่าจำศีล มารู้อีกทีก็เมื่อมีตำรวจมาจับกุมแกในคดียักยอกทรัพย์กว่า 50 ล้าน
  • ตาดำดูท่าทางเป็นคนใจดี และเป็นที่นับถือของชาวบ้าน จนได้รับวางใจจากชาวบ้าน ถูกแต่งเป็นผู้ดูแลเงินกองทุนหมู่บ้าน นึกไม่ถึงเลยว่าตาดำจะเป็นพวกเสือเฒ่าจำศีล มารู้อีกทีก็เมื่อมีตำรวจมาจับกุมแกในข้อหายักยอกเงินในกองทุนหมูบ้าน
  • เห็นลุงวิตรเข้าวัดเป็นประจำ นึกว่าเป็นคนธรรมะธรรมโมแต่จริงๆแล้วก็เป็นพวกเสือเฒ่าจำศีล แกอยู่เบื้องหลังของพวกค้ายาในหมู่บ้านเราที่เอง
  • นี่หหล่อน เห็นตาเฒ่าใสๆ ซื่อๆ คนนั้นแบบนี้ที่ จริงเป็นเฒ่าจำศีลระวังไว้ให้ดี

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยหัวหางไม่เว้น ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. หัวหางไม่เว้น

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยหัวหางไม่เว้น

ที่มาของสำนวน มาจากการกินปลา มีปลาบางชนิดที่รสชาติดี เช่น ปลาจะละเม็ด ซึ่งเป็นปลาน้ำเค็ม เนื้อนุ่ม ก้างอ่อนมาก สามารถเคี้ยวกินได้ตลอดทั้งตัวตั้งแต่หัวจรดหาง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การที่ใครคนหนึ่งถูกเรียกใช้ตลอดเวลาจนไม่มีเวลาว่างเว้นหรือหยุดพัก อาจเพราะเป็นคนใช้ง่ายได้ดังใจแต่เจ้าตัวก็ต้องเหนื่อยสายตัวแทบขาด

รูปความหมายของสุภาษิตหัวหางไม่เว้น

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตหัวหางไม่เว้น

  • ผมโดนสสั่งงานหัวหางไม่เว้น จนไม่มีกินข้าว แต่เจ้านายก็ยังสั่งมาเรื่อยๆ สงสัยผมจะได้ตายก่อนวัยอันควรเพราะทำงานหนัก
  • ในตอนเที่ยงดาวเรืองมีนัดทานข้าวกับแฟนหนุ่ม แต่วันนี้งานในแผนกยุ่งมากหัวไม่วางหางไม่เว้น หัวหน้าสั่งงานด่วนให้ทำจนไม่มีเวลาว่างออกไปพักตอนเที่ยง ทำให้ดาวเรืองต้องยกเลิกนัดกับแฟน
  • การเรียนเทอมนี้คุณครูขยันสั่งงานหัวหางไม่เว้นจริงๆ แทบไม่มีเวลาเล่นเลย มีแต่การบ้านกองเต็มภูเขา
  • เหนื่อยใจกับบริษัทแห่งนี้จริงๆ สั่งงานหัวหางไม่เว้น แทบไม่ให้พนักงานได้พักเลย
  • นี่คุณ ถ้าจะสั่งฉันทำงานบ้าน ทำอาหาร สั่งนวด หัวหางไม่เว้น ก็ช่วยดูแลค่าใช้จ่ายให้ฉันด้วย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเห็นช้างเท่าหมู ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. เห็นช้างเท่าหมู

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเห็นช้างเท่าหมู

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการที่มองสัตว์ใหญ่อย่างช้างกลายเป็นสัตว์เล็กอย่างหมู การที่สายตามองผิดเพี้ยนเนื่องจากการโกรธ หรือโมโห จากการมองเห็นว่าช้างซึ่งปรกติจะมีตัวขนาดใหญ่มากๆ กลับกลายมามองเห็นเป็นตัวเล็กๆ ขนาดเท่าหมูเท่านั้น

เวลาที่คนเรามีอารมณ์โกรธโมโหฉุนเฉียวจะขาดสติสัมปชัญญะทำให้มองเห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่า หรือ มีอำนาจมากกว่าเป็นคนตัวเล็ก และ ไม่น่าเกรงกลัว

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ อาการโกรธมากจนลืมตัวหรือขาดสติ แล้วทำอะไรลงไปโดยไม่เกรงกลัวผู้ใด

การเห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจมากกว่าว่าไม่น่าเกรงขาม ในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว

รูปความหมายของสุภาษิตเห็นช้างเท่าหมู

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเห็นช้างเท่าหมู

  • อย่ากดดันให้ใครเป็นหมาจนตรอก เพราะถ้าเขาเห็นช้างเท่าหมูแล้ว เขาก็ไม่มีอะไรจะเสียอีกต่อไป จงระวังไว้ ให้มีทางให้เขารอดเสมอ
  • เวลาประยุทธกินเหล้าทีไร ก็ต้องเจ็บตัวทุกที เพราะเมื่อเขาจะไม่เกรงใจใคร เห็นช้างเท่าหมู เข้าไปหาเรื่องได้ทุกคน
  • นายแดงเวลาเมาสุราจะเห็นช้างเท่าหมู ชกต่อยกับผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • อย่าไปยุ่งกับเขาเลย เขาเป็นพวกขี้โมโหเห็นช้างเท่าหมู เราเป็นปัญญาชนอย่าเอาตัวไปแลกกับคนแบบนี้
  • ฤทธิ์ของสุรานั้น เมื่อใครดื่มเข้าไปแล้ว จะแกล้วกล้าไม่เกรงกลัวใคร ถึงขนาดเห็นช้างใหญ่ตัวเล็กเท่าหมูเอาทีเดียว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว 

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว

ที่มาของสำนวน มาจากพุทธศาสนสุภาษิต ที่ว่า “ทุกขะโต ทุกขะถานัง” โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกายธรรมบท ว่า “ผู้ใดประทุษร้ายผู้ไม่ประทุษร้ายตนเป็นคนบริสุทธิ์ไม่มีความผิดเลย บาปย่อมกลับมาถึงคนพาลผู้นั้นเอง เหมือนกับละอองฝุ่นที่บุคคลซัดไปทวนลมฉะนั้น”

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การทำอะไรไม่ดีไว้กับผู้อื่น สิ่งนั้นก็จะย้อนมาเกิดกับเราเหมือนกัน

รูปความหมายของสุภาษิตให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว

  • ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว กรรมใดใครก่อกรรมนั้นคืนสนอง ไม่วันนี้ ก็วันหน้าก็ต้องพอเจออย่างแน่นอน
  • การให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัวนั้นเป็นความจริง เมื่อใครคิดตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์คนอื่น ตัวเองก็จะต้องพลอยรู้สึกเจ็บปวดไปด้วย ไม่ได้เบาบางกว่าเลย
  • บ้านของประยุทธอยู่ในเมือง ตอนกลางคืนมีรถผ่านไปมาตลอด เพราะมีบางคนทำงานในตอนกลางคืน บ้างก็ออกไปเที่ยว ทำให้ประยุทธเกิดความรำคาญในเสียงรถ เขาจึงนำตะปูไปโรยเพื่อให้รถคนอื่นรั่ว ต่อมาไม่นานสมชายก็พบว่ารถของตัวเองเกิดรอยรั่วเนื่องจากตะปูที่ตนโรยไว้ นี่แหละที่เขาเรียกว่า ให้ทุกข์แก่ท่านทุกนั้นถึงตัว
  • ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว เราทำอะไรลงไปย่อมได้รับผลของการกระทำอย่างนั้น สะท้อนกฎแห่งกรรมที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
  • เธอไปโกหกเขา หลอกเอาผลประโยชน์เขาก่อน สุดท้ายเขาเอาคืนไปหมด นี่แหละนะให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว ทำอะไรกับใครไว้ ก็โดนอย่างนั้นคืน ยุติธรรมดีจริงๆ กฏแห่งกรรม

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยอาบเหงื่อต่างน้ำ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ อ. อาบเหงื่อต่างน้ำ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยอาบเหงื่อต่างน้ำ

ที่มาของสำนวน มาจากการที่เวลาคนเราทำงานหนัก จะมีเหงื่อไหลออกมาทั่วร่างกายราวกับได้อาบน้ำมา เหมือนอาบน้ำด้วยเหงื่อของตัวเอง เพราะทำงานหรือกิจกรรมหนักๆ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ที่ทำงานหนัก ตรากตรำด้วยความเหน็ดเหนื่อยโดยไม่ย่อท้อต่อความเหนื่อยยาก จนเหงื่อท่วมตัว

รูปความหมายของสุภาษิตอาบเหงื่อต่างน้ำ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตอาบเหงื่อต่างน้ำ

  • กว่าพ่อจะพาครอบครัวอยู่สบายได้ พ่อต้องทำงานหนักจนอาบเหงื่อต่างน้ำเลยลูก จงรู้คุณค่าของเงิน และอย่ากลัวความลำบาก มันสอนให้เราเข้มแข็ง จำไว้นะลูก
  • แม่เล่าให้ฟังว่า กว่าครอบครัวของเราจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีแบบนี้ คุณตาได้ทำงานหนัก “ อาบเหงื่อต่างน้ำ ” ประหยัดอดออม แล้วนำเงินมาลงทุนค้าขาย จนมีกำไร กิจการรุ่งเรือง สืบทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน
  • การทำสิ่งใดหรือทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ต้องรู้ถึงกำลังความสามารถของตนเองในการทำงานนั้นๆ ว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใดไม่ควรฝืน บางคนทำงานหนักมากจน เหงื่อท่วมตัวเหมือน อาบเหงื่อต่างน้ำ แต่ก็ยังไม่ยอมหยุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องดีอาจมีปัญหาเจ็บป่วยตามมาในทันที หรือในภายหลังได้หากต้องทำอย่างต่อเนื่องนานหลายปี
  • มานะเขาคนที่ทำงานอย่างหนักเพื่อการดำรงชีพ สู้ชีวิตแม้หาเช้ากินค่ำ จนประสบความสำเร็จได้
  • สาวๆ จะเลือกผู้ชายมาเป็นคู่ครองควรเลือกผู้ชายที่ทำงานหนักดั่งอาบเหงื่อต่างน้ำ มีเป้าหมายชีวิต สามารถฝากชีวิตให้เขาดูแลปกป้องให้ได้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลกกับหนัง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ อ. เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลกกับหนัง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลกกับหนัง

ที่มาของสำนวน เป็นการเป็นการเปรียบเปรยถึงพิมเสนซึ่งมีราคาแพงกว่าเกลือมาก หากจะนำพิมเสนไปแลกเกลือก็จะไม่คุ้ม และการนำเอาเนื้อ(เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่)ซึ่งมีราคาแพงและมีประโยชน์มากกว่าหนัง หากจะนำมาแลกกันก็ย่อมไม่คุ้ม ย่อมเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การโต้ตอบหรือเอาเรื่องกับคนอันธพาลจะทำให้ตนเองเดือดร้อน ได้ไม่คุ้มเสีย เปลืองเนื้อเปลืองตัวไปเปล่าๆ

รูปความหมายของสุภาษิตเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลกกับหนัง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลกกับหนัง

  • อย่าเอาเนื้อไปแลกกับหนัง อย่าไปเสียเวลากับคนที่ไม่รู้คุณค่าของตนเอง อยู่ให้ห่างไว้จะดีสุด คนพวกนี้น่ากลัว
  • ขณะที่ผมขับรถกลับบ้านก็ได้เจอกลุ่มเด็กวัยรุ่นกำลังขับรถแข่งกันอยู่ ผมไม่อยากจะเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลกกับหนัง ก็เลยจอดรถให้พวกวัยรุ่นเหล่านั้นขับผ่านไปก่อน แล้วผมจึงขับผ่านไป
  • เมื่อวานขณะสมชายเดินกลับบ้าน ก็ได้เจอนักเลงข้าทางมาหาเรื่อง สมชายไม่อยากเอาเนื้อไปแลกกับหนัง เขาเลยวิ่งหนีให้เร็วที่สุด
  • คนที่เป็นพวกนักเลง หาเรื่องคนอื่นไปทั่ว อย่าไปยุ่งกับมัน เราเป็นปัญญาชนถ้าเอาเนื้อไปแลกกับหนังมันไม่คุ้ม พวกนี้ใช้เป็นแต่กำลัง
  • นี่คุณ! ถ้าคุณจะเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลกกับหนังกับเพื่อนบ้านประสาทเสียแบบนี้เสียเวลาเปล่าๆ ได้ไม่คุ้มเสียเรา แจ้งส่วนกลางหรือตำรวจให้มาจัดการเสียดีกว่า!

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ พ. แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

ที่มาของสำนวน โดยในการแข่งขันกีฬา หรืออะไรต่างๆ ย่อมมีทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ แต่เพื่อไม่ให้คนที่แพ้ต้องเสียใจจนเกินไป ก็เลยมีสำนวนปลอบใจว่า แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

และยังเป็นเป็นเป็นธรรมเทศนาที่มีกุศโลบายสอนให้คนรู้จักระงับความโกรธ โดยหากใช้ความอดกลั้นและยอมถอย ไม่ทะเลาะด้วย เรื่องราวร้ายๆ ก็จะไม่เกิด ถึงแม้จะเป็นฝ่ายแพ้ในการโต้เถียง แต่ก็ขึ้นชื่อได้ว่าประเสริฐนัก

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การยอมแพ้ทําให้เรื่องสงบ การยอมเพื่อไม่ให้มีเรื่องราวบานปลาย แต่ถ้าหากไม่ยอมแพ้ก็จะมีปัญหาและอาจจะเป็นเรื่องใหญ่โตได้

รูปความหมายของสุภาษิตแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

  • แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร ผู้ชนะนั้น มักเข้าใจว่า ตนเองเป็นผู้ได้ แต่โดยที่แท้เป็นผู้เสีย คือเสียไมตรีจิตของอีกฝ่ายหนึ่งไปหมดสิ้น หรือจะเรียกว่าได้ ก็คือ ได้เวร เพราะผู้แพ้ก็จะผูกใจเพื่อจะเอาชนะต่อไป จึงเป็นอันว่าไม่ได้ความสุขด้วยกันทั้งสองฝ่าย . ส่วนผู้ที่ละได้ทั้งแพ้และชนะจึงจะได้ความสงบสุข ทั้งนี้ก็ด้วยการไม่ก่อเรื่องที่จะต้องเกิดมีแพ้มีชนะกันขึ้น
  • การไม่ยอมแพ้ทําให้เรื่องไม่สงบ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ในสังคมก็ยังพบผู้ที่อยากจะเป็นมารกันอยู่เสมอ นี่แหละแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
  • ผู้ปกครองของเด็กที่โรงเรียนว่าต่อว่าครูประจำชั้น แม้ว่าครูประจำชั้นไม่ได้เป็นฝ่ายผิดแต่ก็ต้องเป็นฝ่ายขอโทษ เพื่อให้เรื่องราวเล็กๆไม่บานปลายเป็นเรื่องใหญ่โต ตรงกับสำนวนสุภาษิตไทย ที่ว่าแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
  • กรณีมีปัญหากระทบกระทั่งกัน หากต่างฝ่ายต่างพยายามเอาชนะกัน ย่อมจะสร้างปัญหาตามมา เกิดความเสียหายทั้งสองฝ่าย แต่หากต่างยอมถอย ถือคติ แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร ก็จะสามารถยุติปัญหาทะเลาะกันได้
  • เมื่อจะต้องให้มีเรื่องให้แพ้ฝ่ายหนึ่งชนะฝ่ายหนึ่ง ก็ควรต้องมีใจหนักแน่นพอที่จะเผชิญผลได้ทุกอย่าง สามารถที่จะเห็นความจริงว่า “แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร” ทั้งนี้ต้องชนะตนเอง คือชนะใจตนเองด้วย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยพูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ พ. พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยพูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย

ที่มาของสำนวน เป็นสำนวนที่แปลได้ตรงตัวการพูดดีจะนำสิ่งดีๆ มาให้ตนเอง การพูดไม่ดี พูดชั่วๆ มักนำสิ่งไม่ดีมาให้กับตน เป็นสำนวนเอาไว้เตือนสติ ก่อนจะพูดจะทำอะไรให้คิดก่อนพูดหรือทำเสมอ

สำนวนนี้ยังพูดได้อีกแบบว่า พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวมีภัย

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การพูดจาไพเราะอ่อนหวานก็จะเป็นศิริมงคลกับตัวเอง แต่ถ้าหากพูดจาไม่ดีก็จะเป็นภัยต่อตนและผู้อื่นได้

รูปความหมายของสุภาษิตพูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตพูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย

  • ทุกคำพูดที่พูดออกไปมักเอากับคืนไม่ได้ คำพูดบางคนสามารถตัดขาดความสัมพันธ์ เชือดเฉือนหัวใจได้เลย คิดให้ดีก่อนพูด ดั่งสำนวนที่ว่าพูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย
  • มานะเป็นพ่อค้าขายอาหารตามสั่ง ใครๆก็ชอบมากินอาหารที่ร้านของเขา ทำให้เขาขายดีมีลูกค้าเยอะ เพราะนอกจากอาหารจะอร่อยแล้ว เขายังเป็นคนพูดจาไพเราะทั้งต่อหน้าและลับหลังลูกค้าทำใจลูกค้าติดใจ เข้าสำนวนที่ว่าพูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย
  • พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วเป็นอัปมงคล การพูดเป็นพฤติกรรมสะท้อนสภาวะจิตของผู้พูดว่าคิดอย่างไร คิดดีหรือคิดไม่ดีกับผู้ฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพูดอย่างทางการซึ่งผู้พูดมีเจตนาให้ผู้ฟังรับรู้ และนำไปทำตาม
  • พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวมีภัย การพูด แม้จะเป็นรองความคิด แต่นำคุณนำโทษมาสู่ตัวเองและผู้อื่นได้มากกว่า
  • พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดชั่วพาตัวเสียหาย แต่ถ้าพูดมากระวังปากจะมีสีเลือด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยพระอิฐพระปูน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ พ. พระอิฐพระปูน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยพระอิฐพระปูน

ที่มาของสำนวน เป็นการเปรียบเปรยถึงพระพุทธรูปที่สร้างด้วยอิฐหรือปูน โบกด้วยปูน ซึ่งองค์พระนิ่งเฉยไม่กระดุกกระดิกอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ อาการนิ่งเฉย เฉยเมย ไม่รู้สึกยินดียินร้ายอะไรใดๆ ทั้งสิ้น

รูปความหมายของสุภาษิตพระอิฐพระปูน

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตพระอิฐพระปูน

  • ผู้ชายคนนี้จิตใจแข็งแกร่งนิ่งเฉยเหมือนพระอิฐพระปูนเลย เป็นผู้ชายนิ่งๆ เงียบๆ ดูมีเสน่ห์จังเลย
  • ฉันไม่ใช่พระอิฐพระปูนนะ ที่โดนดูถูกเหยียดหยามแล้วจะทนนิ่งเฉยอยู่ได้
  • เขาคงจะเจ็บปวดมาเยอะจนชินชา ไม่ยินดียินร้ายอะไร เหมือนพระอิฐประปูนเลย เขาเข้มแข็งจริงๆ
  • เมื่อวานฝนตกหนัก ทำให้น้ำในแม่น้ำหลังหมู่บายระบายออกไม่ทัน ชาวบ้านก็ช่วยกันขนเอากระสอบทรายไปกั้น เว้นแต่สมชายคนเดียวที่ไม่ยอมมาช่วย เอาแต่นิ่งเฉยเหมือนพระอิฐพระปูน
  • เพราะเธอนอกใจเขา เขาเลยไม่รู้สึกอะไรกับเธอแล้วเฉยชาดั่งพระอิฐพระปูน ไม่ต้องการเธออีกต่อไป และเธอคงจะได้บทเรียนคงจะเข็ดหลาบในชีวิต

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube