สุภาษิตคำพังเพยเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฆ. เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด

ที่มาของสำนวน เจ้าในที่นี้หมายถึงเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนเคารพนับถือ เช่น พระภูมิเจ้าที่ เทพารักษ์ ฯลฯ ซึ่งมักมีผู้ปลูกศาลให้ และนำเครื่องบูชาต่างๆ ไปถวาย ทำนองเดียวกับสมภารคือพระภิกษุที่เป็นใหญ่ในวัด ซึ่งก็จะมีผู้เคารพนับถือ มีลาภสักการะต่างๆ มากมาย การที่เจ้าและสมภารไม่มีที่อยู่ก็ไม่ต้องอะไรกับคนจร

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือผู้ที่เปลี่ยนสถานที่อยู่ไปเรื่อยๆ เร่ร่อน พเนจร ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด

  • คนที่มีความสามารถ หรือมีความดีอยู่ในตัว แต่เมื่อไปอยู่ผิดที่ผิดทาง ไม่ได้อยู่ในที่ที่ควรอยู่ ก็ไม่ได้รับการเคารพยกย่องก็เหมือนเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด
  • น้าชายของฉันแกเป็นคนที่ไม่เอางานเอาการ ย้ายไปอยู่กับญาติคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง จนญาติๆเอือมระอา ส่ายหน้าตามๆกัน และต่างพูดกันว่า ทำตัวเหมือนเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด
  • ตั้งแต่เขาไปสร้างเรื่องไว้จนถูกไล่ออกจากบ้าน ก็กลายเป็นเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด ไม่รู้เขาไปอยู่ที่ไหน
  • คนเร่รอนที่มานอนที่สนามหลวง มีหลายแบบ บางคนก็เป็นคนเร่ร่อน ไม่มีญาติพี่น้อง บางคนเคยมีธุรกิจ แต่ผิดพลาด ล้มเหลว ต้องขายสมบัติทั้งหมด ไม่มีอะไรเหลือ กลายเป็นคนพเนจร เหมือน จ้าวไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด อาศัยรอบๆ สนามหลวง
  • นี่เจ้าบอย เลิกทำตัวเป็นเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัดเสียที ไปหางานทำให้เป็นหลักแหล่ง จะได้มีโอกาสลืมตาอ้าปากกับคนอื่นเขาบ้าง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยฆ่าช้างเอางา ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฆ. ฆ่าช้างเอางา

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฆ่าช้างเอางา

ที่มาของสำนวน เป็นการเปรียบเปรยกับการการฆ่าช้างที่มีคุณค่ามากมายเป็นสัตว์มงคล คู่บ้านคู่เมือง เพียงเพื่อต้องการงาไปขายหรือทำเครื่องประดับถึงกับต้องฆ่าช้าง

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำลายของใหญ่เพื่อให้ได้ของเล็กน้อยซึ่งไม่คุ้มค่ากัน หรือการทำลายสิ่งที่ใหญ่โตหรือมีค่ามาก เพื่อให้ได้ของที่มีค่าน้อยไปเป็นประโยชน์ของตัวเอง โดยไม่คิดว่าสมควรหรือไม่

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยฆ่าช้างเอางา

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฆ่าช้างเอางา

  • เพียงเพื่อต้องการพื้นที่ปลูกข้าวโพด ชาวบ้านถึงทำการเผาป่า ทำให้ไฟลุกลามทำลายป่าเสียหายไปหลายร้อยไร่ ตรงกับสำนวนไทยที่ว่าฆ่าช้างเอางา
  • โจรสมัยนี้โหดเหี้ยมเพียงแค่ต้องการขโมยทรัพย์สิน ถึงกับต้องฆ่าเจ้าทรัพย์ ไม่นึกถึงบาปบุญกันเลย เหมือนกับฆ่าช้างเอางาชัดๆ
  • ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว งาช้างเป็นสิ่งมีค่า นิยมนำไปทำเครื่องประดับ หรือของใช้ต่างๆ จึงทำให้งาช้างเป็นที่ต้องการ ทำให้ต้องมี การฆ่าช้าง การล่าช้าง นอกจากช้างแล้วก็ยังมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดที่คล้ายกัน เช่น อุ้งตีนหมี การฆ่าหมีเพื่อเอาอุ้งตีน คนจีนนิยมกิน กันมาก
  • นี่คุณลงทุนซื้อน้ำชาเขียวยี่ห้อดังมาแจกให้คนอื่นกินฟรี เพื่อจะเอาแค่ฝาไปชิงโชครางวัลเที่ยวญี่ปุ่นฟรีเนี่ยนะ เหมือนฆ่าช้างเอางา จะคุ้มกับที่เสียไปหรือเปล่า
  • การจับปลาด้วยการใช้ไฟฟ้าช็อตปลา ก็เปรียบได้กับ การฆ่าช้างเอางา เช่นกัน เพื่อจะจับปลาตัวใหญ่ๆ ไม่กี่ตัว แต่การช็อตด้วย ไฟฟ้าก็ทำให้ปลาเล็ก ปลาน้อยตายไปด้วย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยโค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยโค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการตัดต้นกล้วย ถ้าจะตัดไม่ให้กล้วยขึ้นมาอีก ก็ต้องขุดหน่อทิ้งด้วย มิฉะนั้นหน่อกล้วยจะงอกขึ้นเป็นต้นใหม่

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ถ้าจะกำจัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้หมดสิ้น ต้องไม่ให้เหลือเชื้อที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้

มีสํานวนเต็มคือ “โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก” หมายถึงการกำจัดศัตรูนั้น ต้องกำจัดให้หมดสิ้นไปจริงๆ ไม่ให้เหลือผู้สืบทอดหรือผู้ที่จะกลับมาเป็นศัตรูได้อีก ใช้กับการฆ่าและกับการหน้าที่การงาน ธุรกิจ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยโค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตโค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ

  • โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ การที่จะปราบศัตรูให้หมดสิ้น ก็ต้องกำจัดให้หมดทั้งตระกูล ไม่เหลือผู้สืบเชื้อสายไว้
  • พวกค้ายาเสพติดมันทำกันเป็นขบวนการขนาดใหญ่ หากคิดจะกวาดล้างก็ต้องเอาให้สิ้นซาก ถึงต้นตอผู้บงการและพรรคพวกทั้งหมด เหมือนโค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ
  • โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม บทหนึ่งว่า “การโค่นกล้วยอย่าไว้ หน่อแนม มักจะเสือกแทรกแซม สืบเหง้า โค่นพาลพวกโกงแกม กุดโคตร มันเฮย จึ่งจักสูญเสื่อมเค้า เงื่อนเสี้ยนศัตรู”
  • โลกทุนนิยม โลกธุรกิจ เวลาจะขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งต้องตัดคู่แข่งแบบโค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ แม้ฟังดูโหดร้ายแต่โลกเราไม่ได้หมุนด้วยความสวยงาม
  • ตระกูลมาเฟียอิตาลี ถ้าคิดจะกำราบใครก็ต้องเหมือนโค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ไม่ให้ทีหลังจะกลับมาทำร้ายตระกูลพวกเขาได้อีก นี่แหละเป็นหนทางเอาตัวรอดในวงการนี้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยกิ้งก่าได้ทอง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กิ้งก่าได้ทอง

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกิ้งก่าได้ทอง

ที่มาของสำนวน กิ้งก่ามีความผูกพันกับสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต ดังปรากฏในนิทานเรื่อง “มโหสถชาดก” เป็นเรื่องราวครั้งที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น “มโหสถ” บัณฑิตเจ้าปัญญา รับราชการในพระเจ้าวิเทหราช ผู้เป็นราชาแห่งเมืองมิถิลา

เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชเสด็จประพาสอุทยานกับมโหสถ มีกิ้งก่าตัวหนึ่งเห็นทั้งคู่เดินมาด้วยกัน ก็ไต่ลงจากเสา มาทำท่าหมอบกราบอยู่เบื้องหน้าพระราชา เมื่อพระราชาเห็นดังนั้นจึงตรัสถามมโหสถว่า กิ้งก่าทำอะไร มโหสถจึงตอบไปว่า กิ้งก่าตัวนี้มาถวายบังคม จะถวายตัวแก่พระราชา พระเจ้าวิเทหราชเห็นว่า กิ้งก่าตัวนั้นเป็นกิ้งก่าแสนรู้ จึงตรัสว่าควรจะให้สิ่งตอบแทนกับมัน มโหสถจึงแนะนำให้พระราชาพระราชทานเนื้อให้มันกิน พระราชาจึงรับสั่งให้ราชบุรุษผู้เฝ้าอุทยานซื้อเนื้อมูลค่าครึ่งมาสก (หนึ่งมาสก มีค่าเท่ากับทองซึ่งน้ำหนักเท่าข้าวเปลือกสี่เมล็ด) มาให้มันกินทุกวัน เจ้ากิ้งก่ามีเนื้อกินทุกวัน ก็ทำความเคารพพระราชาและราชบุรุษเสมอ

ทว่าในวันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ ไม่มีการฆ่าสัตว์ ราชบุรุษจึงไม่อาจหาเนื้อให้มันกินได้ จึงนำเหรียญทองราคาครึ่งมาสกที่พระราชาพระราชทานเป็นค่าเนื้อนั้น ผูกไว้ที่คอมันแทน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเจ้ากิ้งก่าก็คิดว่า ตนเองมีทรัพย์ คือเหรียญทอง เหมือนพระราชาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำความเคารพพระราชาหรือใครอีก จึงขึ้นไปชูคออยู่บนซุ้มประตูอุทยาน วันหนึ่งพระราชามาประพาสสวนกับมโหสถอีกครั้ง พบเจ้ากิ้งก่าชูคออยู่บนซุ้มประตูอุทยาน ไม่ลงมาหมอบถวายบังคมเช่นเคย จึงไต่ถามราชบุรุษผู้เฝ้าสวน ได้ความว่าเมื่อเจ้ากิ้งก่าได้เหรียญทองไปแล้ว ก็ไม่ยอมทำความเคารพใครอีก จึงจะประหารเจ้ากิ่งก่า แต่มโหสถทัดทานไว้ พระราชาจึงลงโทษด้วยการเลิกพระราชทานเนื้อให้มันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

จากเรื่องราวดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเจ้ากิ้งก่านั้นเมื่อได้เหรียญทอง จึงเกิดความทะนง ไม่ทำความเคารพผู้มีพระคุณเหมือนที่เคยเป็นมา ทำให้มันถูกลงโทษในท้ายที่สุด

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ได้ลาภยศแล้วทะนงตนลืมฐานะเดิม พอมีเงินทอง แล้วทำตัวหยิ่ง จองหอง ทะนงตน ลืมกำพืด ฐานะเดิมของตน

ดังนั้นเมื่อเราได้มีทรัพย์สมบัติ มีชื่อเสียง มีคนยกย่องสรรเสริญอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนแล้ว ก็ไม่ควรยกตัวเหนือผู้มีพระคุณหรือผู้อื่นเหมือนกับเจ้ากิ้งก่า

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกิ้งก่าได้ทอง

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกิ้งก่าได้ทอง

  • เพื่อนเตือนด้วยความหวังดีนะ อย่าทำตัวเป็นกิ้งก่าได้ทอง ลาภยศตำแหน่งที่ตรงนี้ไม่ใช่ของเธอ ตอนนี้เธออยู่ในฐานะผู้รักษาการแทน ซักวันเจ้าของตำแหน่งจริงๆ เขาก็จะมา
  • คนที่เหมือนข้าวเต็มรวง อยู่ที่ไหน ไม่ว่า ยืนหรือเดินหรือนั่ง ก็ล้วนงดงามน่าเลื่อมใส ใครที่ยังมีพฤติกรรมเป็นคางคกขึ้นวอ หรือกิ้งก่าได้ทอง ควรจะดูแบบอย่างนี้ไว้ บางครั้งจะช่วยให้หลุดพ้นออกจากความเสื่อมได้
  • นิทานเรื่องนี้เป็นที่มาของสำนวน กิ้งก่าได้ทอง เปรียบเปรยคนได้ดีหรือมีทรัพย์สินเพียงเล็กน้อยแล้วทำเย่อหยิ่งจองหอง
  • “กิ้งก่าได้ทอง” เวลากล่าวถึงคนที่เคยยากลำบาก หรือไม่เคยมีอะไรมาก่อน พอประสบความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ หรือได้รับคำสรรเสริญเยินยอ ก็วางตนเหมือนอยู่เหนือผู้อื่น ยกตนข่มท่าน ลืมฐานะเดิมของตน ทั้งที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยเป็นมาก่อน
  • เขาคงไม่เคยได้ไปเที่ยวต่างประเทศ ได้ข่าวว่าถูกรางวัลได้ไปเที่ยวญี่ปุ่นฟรี แค่นี้ทำตัวเป้นกิ้งก่าได้ทอง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยไข่ในหิน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ไข่ในหิน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยไข่ในหิน

ที่มาของสำนวน สำนวนนี้อธิบายได้สองอย่าง ประการแรกไข่มีเปลือกเปราะ แตกง่าย หินเป็นสิ่งที่แข็งแกร่ง เปรียบเหมือนการดูแลรักษาและปกป้องมั่นคง ไข่ที่ฝังซ่อนไว้ในหินคือสิ่งที่อยู่ในความดูแลประคับประคองที่ปลอดภัย ประการที่สองสำนวนนี้มักใช้เชิงประชดว่าทะนุถนอมจนเกินเหตุ โดยเปรียบกับไข่ที่อยู่ท่ามกลางหินซึ่งจะทำให้ไข่แตกได้ง่าย จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ของที่ต้องระมัดระวัง ทะนุถนอมอย่างยิ่ง

สำนวนนี้เปรียบเปรยถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่ต้องดูแลอย่างดี ไม่ให้แตกหัก สูญเสีย สูญหาย อย่างการเลี้ยงดูลูกเหมือนไข่ในหิน ไม่ให้ลำบาก ไม่ให้เจอปัญหาใดๆ มาทำให้ได้รับอันตราย ซึ่งไม่ใช่เรื่องดี

มักจะใช้เปรียบเทียบการเลี้ยงบุตรหลาน เลี้ยงดูอย่างดีมาก ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องดี เพราะลูกจะโตมาแบบไม่มีภูมิคุ้มกัน อ่อนแอ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพราะพ่อแม่จัดการให้ทั้งหมด ต่างจากการเลี้ยงลูกแบบให้รู้จักช่วยเหลือตัวเอง ทำอะไรด้วยตนเอง ลูกหลานจะโตขึ้นเป็นคนที่เข็มแข็ง ช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่เป็นภาระใคร

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยไข่ในหิน

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตไข่ในหิน

  • ในเรื่องขุนช้างขุนแผน นางวันทองตัดพ้อขุนแผนที่ไม่เห็นค่าและความดีของตนที่อุตส่าห์ถนอมตัวไว้ไม่ให้มัวหมอง ว่า “เสียแรงน้องครองตัวไม่มัวหมอง ดังแว่นทองส่องสว่างพระเคหา ดุจไข่ฝังไว้ในศิลา อุตส่าห์ซ่อนเร้นทั้งเรือดไร”
  • ครอบครัวที่มีลูกสาวคนเดียวส่วนใหญ่ มักจะถูกเลี้ยงดูเหมือนไข่ในหิน ทะนุทนอมเป็นอย่างดี แทบจะไม่ต้องหยิบจับทำอะไรเลย
  • บ้านของเศรษฐีบางคนนั้นเลี้ยงลูกแบบ ไข่ในหิน ไม่ให้ลูกทำอะไรเลย กลัวจะลำบาก กลัวจะไม่สบาย กลัวจะได้รับอันตราย ทำให้เด็กโตขึ้นเป็นคนอ่อนแอ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากพ่อแม่ไม่อยู่แล้ว เด็กจะเอาตัวรอดได้อย่างไร
  • นี่วิชิตข้อมูลนี้สำคัญกับบริษัทเรามาก ห้ามทำหายหรือเสียหายเด็ดขาด ต้องดูแลให้ดีที่สุดเหมือนไข่ในหินเลย เข้าใจไหม!
  • ถ้าคุณเลี้ยงลูกเหมือนไข่ในหินแบบนี้ ไม่ยอมให้ทำอะไรเลย ไม่เคยเผชิญปัญหา ระวังโตมาอยู่ในสังคมจะลำบากนะ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยเอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ อ. เอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการนำเอากุ้งฝอยเป็นเหยื่อตกปลากะพงที่มีขนาดใหญ่ มันช่างดูไม่สมเหตุสมผลกันซะเลย เพราะปลากะพงตัวใหญ่น่าจะกินอาหารชิ้นใหญ่ๆ หรือปลาตัวเขื่องๆ สักหน่อย ไม่น่าที่จะมากินเหยื่อกุ้งฝอยเลย ถ้าหากเป็นไปได้แสดงว่าผู้ที่ตกปลาด้วยกุ้งฝอยโชคดีมากๆ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การลงทุนเพียงน้อยนิดแต่หวังผลประโยชน์หรือกำไรมาก

กล่าวคือสำนวนนี้มักใช้ในการนำเอาสิ่งของชิ้นๆ เล็กๆ หรือมีค่าเพียงเล็กน้อยไปแลกเปลี่ยนสิ่งของที่ชิ้นใหญ่กว่า มีค่ามากกว่า ก็คือการลงทุนเล็กๆ น้อยๆ แต่หวังได้กำไรมากๆ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง

  • การทำธุรกิจในปัจจุบันนี้ต้องใจถึงกล้าเสี่ยงที่จะต้องลงทุนมากๆ ถึงจะได้กำไรตอบแทนมามาก จะลงทุนน้อยๆหวังว่าจะได้กำไรมากๆ แบบเอากุ้งฝอยไปตกปลากะพงนั้น เห็นว่าทำอยากซะแล้ว เพราะว่ามีการแข่งขันกันสูงมาก
  • นายสุรยุทธเอาของขวัญไปอวยพรวันเกิดท่านรัฐมนตรี โดยหวังว่า จะได้งานประมูลตึกใหญ่มูลค่าหลายร้อยล้านบาท เข้าลักษณะเอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง
  • ดาวเรืองอยากเปิดร้ายขายขนมเค้กในข้างใหญ่ แต่เธอมีเงินทุนนิดเดียวไม่พอค่าเช่าพื้นที่ในห้างด้วยซ้ำ แบบนี้ตรงกับสำนวนไทยที่ว่าเอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง
  • คุณวิชัยได้ทราบข่าวว่าท่านประธานมีโครงการจะสร้างอาคารใหม่ จึงได้นำกระเช้าของขวัญมามอบให้ท่านประธานเพื่อหวังว่าจะได้งานประมูลสร้างอาคารมูลค่าหลายสิบล้านบาท เข้าทำนองเอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง
  • การลงทุนในตลาดหุ้นก็เหมือนเอากุ้งฝอยไปตกปลากระพง ลงทุนไม่มากแต่ได้กำไรมหาศาล แต่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และการศึกษาอย่างหนัก เพราะตลาดแห่งนี้มันไม่ง่ายเหมือนโลกเทพนิยาย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยอ้อยเข้าปากช้าง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ อ. อ้อยเข้าปากช้าง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยอ้อยเข้าปากช้าง

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงช้างเป็นสัตว์ที่ชอบกินอ้อย ถ้าเอาอ้อยไปแหย่ในปากช้างแล้วก็ยากที่จะง้างปากช้างเพื่อจะเอาคืนกลับมานั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ สิ่งมีค่าหรือประโยชน์ที่ตกอยู่ในมือแล้วไม่ยอมคืน กล่าวคือการที่สิ่งของที่มีคุณค่า ตกไปในมือของผู้อื่นที่เขาต้องการมากๆ หรือเขาชอบอยู่แล้ว ก็ยากที่จะได้กลับคืนมา

สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงผลประโยชน์หรือทรัพย์สิน สิ่งมีค่าที่ตกไปอยู่ในมือคนอื่นซึ่งมีอำนาจ มีอิทธิพลแล้ว หรือแม้จะเป็นคนธรรมดาก็ตามที ก็ย่อมเป็นเรื่องยาก ที่จะได้กลับคืนมาเหมือน อ้อยเข้าปากช้าง เป็นเรื่องยากที่จะไปแย่งอ้อยกลับคืนมา ช้างคงจะไม่ยอม

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยอ้อยเข้าปากช้าง

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตอ้อยเข้าปากช้าง

  • สมชายสอบเข้าทำงานได้แต่ติดคนสำรอง ต้องมีคนที่สอบติดตัวจริงไม่มารายงานตัวหรือสละสิทธิ์ เขาจึงจะได้เข้าไปทำงาน แต่เขาก็ต้องเสียใจเพราะอ้อยเข้าปากช้างแล้ว คงไม่มีใครปล่อยโอกาสให้หลุดมือ
  • เธอก็รู้อยู่ว่าเขาเป็นคนทะเยอทะยาน ต้องการจะเป็นใหญ่ คิดจะควบคุมฮุบบริษัทนี้อยู่แล้ว แต่เธอไปให้อำนาจเขาในการบริหารแบบนี้ อ้อยเข้าปากช้างชัดๆ
  • เมื่อมีทรัพย์สินสิ่งมีค่า ก็ต้องรู้จักวิธีดูแลรักษาและคิดหาทางป้องกันไม่ให้ใครเข้ามายุ่งเกี่ยวโดยเฉพาะผู้มีอำนาจหรือมีอิทธิพล หากปล่อยให้เข้ามายุ่งกับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของตนเองแล้ว ก็เหมือน อ้อยเข้าปากช้าง ยากจะคายและได้คืน หรือแม้แต่คนธรรมดาด้วยกันเองก็ตาม ในหมู่ญาติพี่น้องบางคนก็วางแผนยึดสมบัติยึดที่ดิน วางแผนมานานเป็น 10 ปีเตรียมหลักฐานต่างๆ อย่างดี ก็มีโอกาสชนะคดี อย่างกรณีของที่ดินสามารถที่จะยึดครองที่ดินแบบครอบครองปรปักษ์เอามาเป็นของตนเองได้
  • แต่เจ้าหน้าที่ DSI ชุดปฎิบัติการ ดันทำตัว “นอกคอก” เสียเอง เห็นเงินแล้วตาลุกวาว เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า พวกจีนเทาอ้างไปหมด ปลอมได้ทุกอย่าง และพร้อมยอมจ่ายเต็มที่เพื่อหลุดรอดคดี ท่านอธิบดี DSI จึงไม่ทราบว่า ลับหลังท่าน เจ้าหน้าที่ DSI ไปร่วมมือกับตำรวจ 191 ตีกินเสียอิ่ม โดยที่ท่านไม่รู้เรื่อง เหมือนส่งอ้อยเข้าปากช้างแท้ๆ
  • อ้อยเข้าปากช้าง “แมนยูฯ” ขึ้นเต็ง 1 ซิวแนวรับเป้าหมาย เหตุคู่แข่งถูกปัดตก 2 รอบ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยหวังน้ำบ่อหน้า ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. หวังน้ำบ่อหน้า / อย่าหวังน้ำบ่อหน้า

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยหวังน้ำบ่อหน้า

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงสิ่งของที่อยู่ตรงหน้า สามารถหยิบฉวยมาใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่กลับไม่สนใจ ไปหวังในสิ่งที่อยู่ข้างหน้า ที่ยังมาไม่ถึง ยังมองไม่เห็น เหมือนหวังน้ำบ่อหน้า หวังจะไปหาใหม่ เอาดาบหน้า เผื่อว่าจะได้ของที่ดีกว่า ซึ่งบางที ก็อาจไม่เป็นเช่นนั้น

คนโบราณจึงมักสอนอยู่เสมอว่า อย่าหวังน้ำบ่อหน้า

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ของที่ได้แน่นอนแล้วไม่เอา กลับไปคาดหวังกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง

นิยมใช้เมื่อต้องการสื่อถึงคนที่ไม่พอใจในสิ่งที่ได้ ไม่คว้าเอาไว้ แต่กลับไปหวังจะได้สิ่งต่อไปที่ยังมาไม่ถึง ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะได้หรือไม่ โดยหวังว่าถ้าได้ จะได้มากกว่าสิ่งแรกที่ได้แน่นอนแล้ว

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยหวังน้ำบ่อหน้า

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตหวังน้ำบ่อหน้า

  • คนทำงานฟรีแลนซ์ต้องมีวินัยในการใช้เงิน ต้องรู้จักเก็บออม อย่าหวังน้ำบ่อหน้าว่าเดี๋ยวก็มีงานเข้ามาให้ทำอีก
  • ในการทำธุรกิจใดๆ เมื่อมีโอกาสดีๆ เข้ามา ก็ควรคว้าไว้ก่อน อย่าไป หวังน้ำบ่อหน้า เพราะอาจจะไม่ได้ผลตอบแทนใดๆ กลับมาเลย ควรลงมือทำไปก่อน แม้จะเป็นรายได้เล็กๆ น้อยๆ แต่เมื่อทำเสร็จแล้ว จัดระบบระเบียบการทำงานดีแล้ว ก็จ้างคนอื่นมาดูแลแทน จากนั้นก็จะมีเวลาไปทำงานอื่นได้ ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็จะมีโอกาสสร้างธุรกิจได้หลากหลาย อาจมีทั้งธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ หากเบื่อแล้วหรือไม่มีเวลาทำ รวยแล้ว ก็สามารถขายกิจการหรือยกกิจการให้คนอื่นได้
  • จะไปเที่ยวในสถานที่ที่ไม่คุ้น ไม่เคยไป ต้องเตรียมสิ่งของจำเป็นไปให้ครบอย่าหวังน้ำบ่อหน้า หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นมาจะลำบาก
  • “อย่าหวังน้ำบ่อหน้า” แล้วโรงแรมจะไปต่ออย่างไร? เมื่อผู้ว่าททท.กล่าวว่า “อย่าหวังน้ำบ่อหน้า…….” จากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ธุรกิจเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายๆคนพอได้อ่านข่าว หรือได้ฟังก็ถึงกับนั่งพัก ตั้งหลักใหม่กันเลยทีเดียว ประเด็นก็คือ “ให้เราอยู่กับความเป็นจริง และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น”
  • สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมบางคนมีคู่อยู่แล้ว แต่ก็ยังไปหวังน้ำบ่อหน้าอยู่เสมอ ทำให้ความรักสมัยนี้แทนที่จะใส่ดูแลกันกับคนที่อยู่ตรงหน้ากลับกลายเป็นความขื่นขม ที่อีกคนเอาแต่หวังคนใหม่

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยอดเปรี้ยวไว้กินหวาน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. อดเปรี้ยวไว้กินหวาน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยอดเปรี้ยวไว้กินหวาน

ที่มาของสำนวน คนสมัยก่อนเปรียบเปรยถึงกผลไม้ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทย มีมากมายหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น มะม่วง ตอนมันยังดิบ ก็มีรสเปรี้ยว ถ้าเราไปรีบสอยรีบกินเสียก่อน ก็อดกินตอนมันสุก มีรสหวานมัน อร่อย

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การอดทนรอจังหวะเวลา มันคุ้มค่า อดใจไว้ก่อนเพราะหวังสิ่งที่ดีกว่าข้างหน้า กล่าวคือ การอดใจรอไว้ก่อนอย่าด่วนผลีผลามไปเลือกคว้าสิ่งที่ยังไม่ดีพอ เพราะสิ่งที่ดีกว่านี้ยังรออยู่ในภายภาคหน้า

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยอดเปรี้ยวไว้กินหวาน

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตอดเปรี้ยวไว้กินหวาน

  • คนเราต้องรู้จักอดเปรี้ยวไว้กินหวาน ยอมอดทน ทุ่มเทให้กับงานตอนที่ยังมีแรง เมื่อถึงเวลาพร้อมด้วย วัยวุฒิและประสบการณ์ก็จะมีหน้าที่การงานที่ดี การเงินที่ดี
  • หนูเอยกำลังอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน จงพยายามตั้งใจศึกษาเล่าเรียนให้ดี เรื่องความรักอย่าเพิ่งไปฝักใฝ่อดเปรี้ยวไว้กินหวานเถอะนะลูก
  • อดเปรี้ยวไว้กินหวานนี้ ที่ว่าเป็นเครื่องมือให้เข้าถึงความสำเร็จเพราะเป็นการฝึกผู้ปฏิบัติให้รู้จักอดทน ขยันหมั่นเพียร ยึดมั่นในสัจจะ และดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ซึ่งตรงกันข้ามกับประเภทใจเร็วด่วนได้ หรือชิงสุกก่อนห่ามที่แม้จะดูว่าสมประโยชน์ในเบื้องต้นและได้เสพสุขแบบทันใจ แต่ก็ไม่ยั่งยืนถาวรและมักจะตามมาด้วยความทุกข์ความผิดหวังในที่สุด
  • ถ้าเธออยากได้คอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติตามที่เธอต้องการ ต้องฝืนใจอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เพราะอีกไม่นานบริษัทก็จะออกคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่แล้ว
  • การใช้เงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยจำเป็นต้องวางแผน การใช้เงินให้มีค่า ต้องรู้จัก อดเปรี้ยวไว้กินหวาน เก็บออมเงินไว้ใช้ยาม ลำบากหรือยามแก่ชราหรือนำเงินไปลงทุนให้เกิดรายได้ในอนาคต ซึ่งบางทีก็ต้องใช้เวลานานมาก อาจเกิน 10 ปี บางคนนำเงิน บางส่วนหักจากเงินเดือนไปลงทุนซื้อบ้าน ซื้อที่ดินโดยวางแผนที่จะขายในอีกหลายปีข้างหน้า หากโชคดีเลือกทำเลได้ดี อาจจะ ทำกำไรหลักล้านบาทเลยทีเดียว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยหัวเดียวกระเทียมลีบ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. หัวเดียวกระเทียมลีบ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยหัวเดียวกระเทียมลีบ

ที่มาของสำนวน มาจากลักษณะของกระเทียมโทนที่เกิดจากความไม่สมบูรณ์ จึงมีเพียงกลีบเดียว แทนที่จะมีหลายๆ กลีบเหมือนกระเทียมทั่วไป นำมาเปรียบเปรยกับคนที่มีความสามารถมากแต่ไม่ค่อยมีเพื่อนฝูง

สำนวนนี้เรียกเต็มๆ ว่า หัวเดียวกระเทียมลีบ กลีบเดียวกระเทียมโทน

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่อยู่ตัวคนเดียวไม่มีเพื่อนฝูง แต่มีความสามารถมากสามารถสู้กับคนจำนวนมากได้ หรือสามารถทำอะไรได้ดีแม้ว่าไม่มีคนช่วยเหลือ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยหัวเดียวกระเทียมลีบ

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตหัวเดียวกระเทียมลีบ

  • สำนวนหัวเดียวกระเทียมลีบ บางทีก็ใช้ว่า “หัวเดียวกระเทียมเน่า” เช่น ข้อความตอนหนึ่งในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนสร้อยฟ้าศรีมาลาทะเลาะกัน “จริงแล้วท่านฉันนี้มันจืดจาง ได้ที่นางแล้วก็ว่าให้สาใจ ตัวข้าหัวเดียวกระเทียมเน่า ที่ว่าเราใครหาได้ยินไม่…”
  • เพื่อนๆ เขาไม่มีใครจริงใจซักคน เวลาเกิดเรื่องขึ้นมา เขาก็เหมือนหัวเดียวกระเทียบลีบ แก้ปัญหาอยู่เพียงคนเดียว
  • นางนวลทำงานในบริษัทแห่งหนึ่ง โดยทำแต่งานไม่สนใจใครทั้งสิ้น ไม่คบค้าสมาคมกับใคร จึงไม่มีเพื่อนในที่ทำงานเลย นี่แหละหัวเดียวกระเทียมลีบของแท้
  • จะทำการใหญ่ต้องอาศัยกลไก แรงขับเคลื่อนและความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย คุณจะทำงานแบบหัวเดียวกระเทียมลีบไม่ได้ ไม่เช่นนั้นงานจะสำเร็จได้อย่างไร
  • สงสารนางมลจริงๆ ต้องอยู่ตัวคนเดียว หัวเดียวกระเทียมลีบ เป็นแม่ม่ายเนื่องจากสามีและลูกตายไปหมดแล้ว ซ้ำยังไม่มีญาติพี่น้องที่ไหน จึงต้องดิ้นรนทำงานเลี้ยงตัวเองตามลำพัง ไม่มีที่พึ่งอื่น

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements