สุภาษิตคำพังเพยน้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. น้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยน้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก

ที่มาของสำนวน เป็นการเปรียบเปรยถึงแม่น้ำลำคลองนั้น เราสามารถที่จะหยั่งเพื่อให้รู้ความลึกของมันได้ แต่น้ำใจหรือจิตใจของคนนั้นกลับหยั่งรู้ได้ยาก ไม่รู้ว่าเขาคิดอย่างไร แบบไหน ไม่รู้ว่าเขาชอบที่เราทำหรือไม่ ไม่รู้ว่าเขาพร้อมจะช่วยเหลือตามที่เราร้องขอหรือไม่

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ รู้หน้าตาแต่ไม่รู้ข้างในจิตใจว่าคิดดีหรือคิดร้ายอย่างไร

สำนวนนี้ใช้สอนให้ระวัง อย่าไว้ใจใคร เพราะคนเรานั้นจิตใจยากจะรู้ว่าคิดอะไร น้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก เพราะไม่มีอะไรจะสามารถวัดได้ หรือรู้ว่าคิดอะไร คิดดีหรือไม่มีอะไรแอบแฝงอยู่หรือไม่

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยน้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตน้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก

  • แม่บอกกับฉันเสมอว่าเวลาคบหาเพื่อน ต้องเลือกคบให้ดีอย่าพึ่งไว้ใจเขามากเกินไป รู้จักกันภายนอก แต่ภายในจิตใจไม่สามารถรู้ได้ ดั่งสำนวนไทยที่ว่าน้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก
  • ในสังคมเมืองใหญ่ ผู้คนเข้าใจได้ยากกว่าคนในชนบทที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย จริงใจ ตรงไป ตรงมา ยากจะรู้ว่าคิดอะไร จิตใจยากจะคาดเดา น้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก จึงไม่ควรไว้ใจใครง่ายเกินไปนัก
  • คนๆ นี้เดาใจยากนะพ่อ ไม่รู้จะมาแนวไหน มาแนวน้ำลึกหยั่งได้น้ำใจหยั่งยากจริงๆ
  • ในสังคมที่ผู้คนมีความเป็นอยู่อย่างยากลำบาก ผู้คนก็มักจะไม่เป็นมิตร ยากจะไว้ใจใครได้ น้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก ต่างจากสังคมที่ผู้คนมีความเป็นอยู่ที่ดี ก็จะมีจิตใจดีด้วยเช่นกัน
  • ผมเคยให้ใจกับคน แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือความเจ็บปวด ความเสียใจ ผมตระหนักได้แล้วว่าน้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก ทำให้ผมไม่คาดหวังอะไรกับคนจริงๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยบวชก่อนเบียด ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ บ. บวชก่อนเบียด

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยบวชก่อนเบียด

ที่มาของสำนวน มาจากคำสองคำคือ คำว่า “บวช” ซึ่งหมายถึงการบวชเรียนหรือการบวชเป็นพระ อีกคำคือคำว่า “เบียด” หมายถึงการแต่งงานมีคู่ครอง เมื่อครั้งก่อนเก่า คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ทำนาเป็นหลัก หนทางเดียวที่จะได้เรียนหนังสือนั้นก็คือ เข้ารับ “การบวชเรียน” โดยเฉพาะชายหนุ่มที่อายุถึงเกณฑ์ เพื่อให้มีความรู้และได้รับการอบรมทางพุทธศาสนาไปพร้อมกัน หรืออีกนัยหนึ่งก็เพื่อทดแทนบุญคุณบิดามารดา เมื่อถึงเวลาสึกแล้วจะได้ชื่อว่าเป็น “บัณฑิต” หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า “ทิต” ซึ่งถือว่าเป็นคนเต็มคนหรือคนสุก หมายถึงเป็นชายหนุ่มที่ถูกปรุงแต่งจิตใจมาแล้ว มีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นผู้นำ รวมถึงการเป็นผู้นำครอบครัวนั่นเอง จึงเป็นที่มาของคำว่า “บวชก่อนเบียด”

อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์การบวชมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามกาลเวลา หากแต่ยังคงไว้เพื่อฝึกอบรมจิตใจ สมาธิและการใช้เหตุผล ลองบวชด้วยความตั้งใจจริงสักครั้งในชีวิต แล้วคุณจะพบสิ่งล้ำค่าที่หาไม่ได้จากโลกภายนอก

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การบวชเป็นพระเพื่อทดแทนพระคุณบิดามารดาก่อนจึงค่อยแต่งงานหรือออกเรือน โบราณท่านใช้คำๆ นี้ในการสอนใจชายไทยให้ระลึกไว้เสมอว่าต้องบวชเรียนก่อนถึงค่อยมีคู่ครอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยบวชก่อนเบียด

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตบวชก่อนเบียด

  • เจ้านุลูกเราอายุมันถึงบวชแล้วนะพ่อ ยังไงก็ให้บวชเสียก่อนแล้วค่อยเบียด
  • โบราณท่านสอนไว้ว่าผู้ชายคนบวชก่อนเบียดเสมอ แต่ยุคสมัยอาจเปลี่ยนไปแล้ว บวชก่อนเบียดอาจไม่มีให้เห็นแล้วในอนาคต
  • เห้ยเพื่อน ได้ข่าวว่าแต่แต่งเมียแล้วเหรอ ไหนว่าจะบวชก่อนเบียดยังไงละ
  • ถ้าเด็กมันพลาดพลั้งมีลูกกันแล้ว ไม่ต้องบวชก่อนเบียดแล้วล่ะ แต่งงานกันไปให้สิ้นเรื่องสิ้นราวไปเลย
  • ผมบอกไปแล้วไงคุณ ว่าผมขอบวชก่อนเบียด บวชทดแทนพระคุณพ่อแม่ก่อน แล้วค่อยคุยเรื่องแต่งงานกันทีหลังไง…

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยหมูในอวย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. หมูในอวย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยหมูในอวย

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงเนื้อหมูที่ต้มสุกอยู่ในหม้อแล้ว เวลาจะกินก็กินได้ง่ายๆ อวย เป็นคำภาษาจีน แปลว่า หม้อ มักหมายถึงหม้อหูเดียว หรือหม้อดินที่มีด้ามหรือหูสำหรับจับ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ สิ่งที่อยู่ในกำมือแล้ว จะทำอย่างไรกับสิ่งนั้นก็ได้ จะต้องการเมื่อไรก็ได้เมื่อนั้น หรือเอาชนะได้ง่ายๆ คำว่าหมู ถ้าใช้เป็นสำนวน หมายถึง ง่าย สะดวก ถ้าเป็น หมูในอวย ก็ยิ่งง่ายขึ้นไปอีก เหมือนกับรอให้กินหรือพร้อมที่จะให้กินได้ทุกเวลา

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยหมูในอวย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตหมูในอวย

  • เจ้านายครับ เราให้ความสนใจกับลูกค้าใหม่อย่างเดียวก่อนดีไหมครับ ลูกค้าเก่านะหมูในอวยอยู่แล้ว
  • ความประมาทมักจะทำให้พ่ายแพ้คู่ต่อสู้ บางครั้งเราอาจจะคิดว่า คู่ต่อสู้เหมือนหมูในอวย เอาชนะได้สบายๆ อยู่แล้ว แต่ก็ อาจจะไม่เป็นอย่างที่คิด เพราะความประมาท
  • เพื่อนนิด เรารีบอ่านวิชาภาษาไทยกันดีกว่า ส่วนวิชาสังคมนะหมูในอวย ไม่ต้องอ่านมากก็ได้
  • อย่างนิทานเรื่องกระต่ายวิ่งแข่งกับเต่า น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี กระต่ายมีความทรนงว่าตัวเองวิ่งเร็วกว่า จึงชะล่าใจ คิดว่าเต่าก็เหมือนหมูในอวยอยู่แล้ว ทำอย่างไรก็ชนะอย่างแน่นอน จึงแอบนอนก่อน ปรากฏว่าหลับยาว พอตื่นขึ้นมา ก็ปรากฏว่า เต่าได้ วิ่งเข้าเส้นชัยไปแล้ว
  • ถ้ามีความรู้แล้วลงมือทำตลอด การหาเงินในทางที่ถนัดก็เหมือนหมูในอวย เช่น สมชายมีความรู้เรื่องหุ้นศึกษามาอย่างดีก็สามารถหาเงินจากความรู้ของเขาอย่างง่ายดาย แต่ให้เตือนตัวเองด้วยว่าอย่าประมาทเด็ดขาด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยโจรปล้นสิบครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ จ. โจรปล้นสิบครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยโจรปล้นสิบครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว

ที่มาของสำนวน โบราณท่านใช้เตือนให้ระวังฟืนไฟ เนื่องจากสมัยก่อนบ้านมักสร้างจากไม้ ผนังด้านข้างทำจากไม้ไผ่ หลังคาก็มุงด้วยจากหรือหญ้าคาซึ่งเป็นเชื้อไฟอย่างดี ครัวซึ่งมีไฟอยู่บนบ้าน อีกทั้งยังจุดตะเกียงเพื่อให้ความสว่างอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดมีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟใหม้บ้าน โบราณท่านจึงเตือนไว้ด้วยสำนวนนี้

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ใช้กล่าวถึงเหตุร้ายที่เกิดขึ้น และทำให้ เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงตามมา โจรปล้นนั้นก็จะสามารถเอาไปได้เพียงเงินทองและทรัพย์สินขนาดเล็กเท่านั้น ไม่สามารถนำตัวบ้านหรือทรัพย์สินขนาดใหญ่ไปได้ แต่ถ้าไฟไหม้ ไฟสามารถเผาผลาญทรัพย์สินได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ แม้กระทั่งตัวบ้าน

สำนวนนี้ยังต่อความหมายได้โดย “โจรปล้นสิบครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว แต่ไฟไหม้สิบครั้งก็ยังไม่เท่ากับการเล่นการพนันครั้งเดียว” ซึ่งหมายความว่า ไฟจะไหม้บ้านกี่รอบก็ตาม ที่ดิน ทั้งที่ปลูกบ้านและที่ทำกิน รวมถึงทรัพย์สินที่ใส่ไหฝังไว้ใต้ดินก็ยังอยู่ แต่ถ้าใครติดการพนันหรือโดนผีพนันเข้าสิง ทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกนำไปขายเพื่อเล่นการพนันหมด จะไม่เหลืออะไรเลย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยโจรปล้นสิบครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตโจรปล้นสิบครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว

  • เป็นจริงอย่างที่มีคนกล่าวกันไว้ “โจรปล้นสิบครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว” ไม่ได้เป็นการพูดเกินจริงเลย เพราะต่อให้โจรปล้นอย่างไรก็คงจะเอาบ้านเราไปไม่ได้ แต่หากเป็นเหตุการณ์ไฟไหม้ แม้แต่บ้านก็คงจะไม่เหลือ ให้อาศัยหลับนอน
  • โจรปล้นสิบครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว ความรุนแรงของการเกิดสึนามีที่ภูเก็ตเมื่อปี 2547 ได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและ ทรัพย์สินอย่างมาก บางคนสิ้นเนื้อประดาตัว หมดตัวไม่มีเหลือ บ้านพัง ทรัพย์สมบัติ หายไปกับน้ำทะเล
  • “โจรปล้น 10 ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว” คำกล่าวที่ดูแสนคร่ำครึ และถูกนำมาพูดเปรียบเปรยเตือนสติกันมาอย่างยาวนานยังคงความจริงอยู่เสมอ ไม่ว่าเทคโนโลยีในการป้องกันอัคคีภัย ความปลอดภัยจะก้าวไปไกลขนาดไหน แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะความละเลย ความประมาทของมนุษย์ได้
  • นั่นละภาษิตที่ว่า “โจรปล้นสิบครั้งยังเหลือบ้าน ไฟไหม้บ้านสิบครั้งยังเหลือที่ดิน แต่เล่นการพนันครั้งเดียวไม่เหลืออะไรสักอย่าง” เตือนลูกหลานให้ดีเสมอก่อนการพนันจะทำลายชีวิต ทำลายทุกสิ่ง
  • โจรปล้นสิบครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว สังคมไทยต้องการบริจาคเสื้อผ้าให้น้อง บ้านไฟไหม้วอดทั้งหลัง และคนไทยก็ช่วยกันบริจาคอย่างท่วมท้น ที่แหละน้ำใจคนไทย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา

ที่มาของสำนวน กะโหลกในสำนวนนี้คือกระโหลกกะลา การตักน้ำมาใส่แล้วดูเงาตัวเองเป็นการเปรียบเปรยถึงการย้อนมองตัวเองว่าตัวเองเป็นเช่นไร สำนวนนี้ใช้ในกรณีเป็นคำดูถูกคนที่ต้อยต่ำกว่า มักใช้ดูถูกผู้ชายที่มีฐานะต่ำต้อยกว่าที่ไปชอบหญิงที่มีฐานะดีกว่านั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ให้รู้จักเจียมเนื้อเจียมตัวไว้บ้าง จะทำอะไรให้รู้จักประมาณตน รู้จักฐานะของตัวเอง เจียมเนื้อเจียมตัว อย่ามักใหญ่ใฝ่สูงทำที่อะไรเกินตัว

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา

  • ยัยคนนี้ไม่ไหวเลย ทำตัวยะโสลอยหน้าลอยตา ไม่ยอมตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงาตัวเองเสียบ้าง
  • ภาคินแอบชอบมะนาวลูกสาวเศรษฐีใหญ่ประจำหมู่บ้าน แต่ท่านเศรษฐีมองว่าภาคินเป็นลูกชาวนาฐานะยากจน จึงไม่ยอมให้คบหากับลูกสาวของตน และได้กล่าวเตือนภาคินว่า ให้ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงาตัวเองเสียบ้าง
  • เคยได้ยินกันมาแล้ว คำภาษิตของไทย “ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา” ถ้าเอามาใช้เป็นแนวทางยุทธศาสตร์ในการปฏิรูประเทศไทย ดูจะถูกที่ถูกเวลาเป็นที่สุด
  • นิรุจนายควรเจียมตัวบ้างนะว่านายเป็นใครมาจากไหน ลูกสาวฉันเป็นใคร ก่อนจะมาจีบลูกสาวฉัน ก็ควรตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงาเสียก่อน
  • ผมควรตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา รักผู้หญิงที่ส่งสูง ฐานะสูงกว่ามาก ต้องยอมตัดใจ และพัฒนาตัวเองต่อไป ชีวิตลูกผู้ชายต้องสู้ต่อไป…

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยกระดังงาลนไฟ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กระดังงาลนไฟ

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกระดังงาลนไฟ

ที่มาของสำนวน ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมแรง (ใช้กลั่นทำน้ำอบน้ำหอมได้) ชื่อกระดังงามาอุปมาไว้ว่า เหมือนผู้หญิงที่เคยมีประสบการณ์ผ่านชีวิตคู่มาก่อนย่อมมีเสน่ห์ในการปรนนิบัติเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดี เหมือนกระดังงา เอาไปลนไฟอ่อนๆ ยิ่งมีกลิ่นหอมแรงจัด (ใช้อบผ้าได้ดีมีกลิ่นผ้าหอม ใช้ทำอุบะ อบผ้าขนหนู ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ)

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน

สำนวนนี้โบราณท่านเปรียบผู้หญิงที่เคยแต่งงานหรือเคยผ่ายผู้ชายมาแล้วว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ มีชั้นเชิง รู้หนักรู้เบา ในการปรนนิบัติหรือทำให้ชายคนรักของตนพึงพอใจ ซึ่งเหนือกว่าสตรีซึ่งยังไม่ได้แต่งงานนั่นเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกระดังงาลนไฟ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกระดังงาลนไฟ

  • เพราะผู้หญิงถูกเปรียบดั่งดอกไม้มาแต่กาลก่อน เราจึงพบเห็นสำนวนหรือคำเปรียบเปรยมากมายใช้อธิบายคุณลักษณะของสตรีเพศ ตั้งแต่สาวน้อยแรกรุ่น หญิงสาวสะพรั่ง ไปจนกระทั่งสาวใหญ่ที่พราวเสน่ห์ โดยหากผ่านการใช้ชีวิตแต่งงานมาแล้วนั้น มีหนึ่งสำนวนที่เราคุ้นเคยกันกับการนิยามหญิงเหล่านั้นว่า ‘กระดังงาลนไฟ’
  • การเอากระดังงาไปลนไฟ จะใช้เพื่ออบขนมให้หอม ส่งกลิ่นเตะจมูก ให้รู้สึกอยากกิน ส่วนหญฺิงที่ได้ชื่อว่า เป็นกระดังงา ลนไฟ เคยผ่านผู้ชายมาก่อน ก็จะมีกิริยาจัดจ้าน เจนจัด เรื่องผู้ชาย เป็นเสน่ห์ดึงดูด ทำให้เกิดความน่าสนใจกว่าหญิงสาวโสด ที่ไม่ประสีประสาเรื่องนี้ แต่การได้ชื่อว่า เป็นกระดังงาลนไฟ ก็เป็นภาพพจน์ที่ไม่ดีนัก เป็นที่ครหา ติฉินนินทาได้ การเป็นผู้หญิงที่เคยผ่านผู้ชาย ผ่านการแต่งงาน เป็นหญิงหม้าย จึงควรระมัดระวังในเรื่องกิริยามารยาท โดยเฉพาะการแสดงออกในเรื่องผู้ชาย
  • คุณคะ สงสัยลูกชายเราจะหลงแม่ม่ายคนนี้จนโงหัวไม่ขึ้นซะแล้ว แม่นี้ก็ปรนนิบัติเต็มที่เป็นแม่งดอกกระดังงาลนไฟเชียว
  • มองเห็นดอกกระดังงา คนเขาว่าต้องลนไฟ จึงหอมซึ้งตรึงฤทัย ฉันมิได้เห็นด้วยเลย ดอกเหี่ยวเหี่ยวเทียวหนอเธอ ยังพร่ำเพ้อกันโธ่เอ๋ย ดอกบนต้นฉันยังเคย ดมกลิ่นชิดเชยแล้วเสบยไปหลายวัน
  • เจ้านพเพื่อนเราสงสัยจะไม่รอดมือน้องไหมแล้วละ เจอแม่กระดังงาลนไฟลนไฟเข้าให้ เพื่อนเราอยู่ติดบ้านเลย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยถ่านไฟเก่า ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ถ. ถ่านไฟเก่า

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยถ่านไฟเก่า

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยความสัมพันธ์เก่าถึงถ่านไฟที่เคยติดไฟแล้วดับลงไป หากได้รับเชื้อไฟอีกครั้งก็จะติดไฟได้ง่ายกว่าถ่านใหม่ที่ยังไม่เคยติดไฟมาก่อน

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อนแม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ง่ายขึ้น เพราะเคยมีความผูกพันธ์กันมา

โบราณท่านเปรียบไว้อย่างชัดเจนถึงกรณีคนที่เคยรักหรือมีอะไรลึกซึ้งกันมาก่อน เมื่อมาพบกันอีกครั้ง ความสัมพันธ์ครั้งใหม่ย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย เปรียบได้ดังถ่านไฟเก่าที่เคยติดไฟมาแล้ว ย่อมติดไฟได้ง่ายกว่าถ่านใหม่ๆ ฉันนั้น

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยถ่านไฟเก่า

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตถ่านไฟเก่า

  • ธาดากับอรุณาเคยเป็นแฟนกันมาก่อนตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม แต่ก็มีเหตุให้ต้องเลิกราแยกทางกัน เมื่อทั้งสองกลับมาเจอกันอีกครั้ง ก็มีโอกาสที่จะกลับมาคบกันใหม่เพราะถ่านไฟเก่ามักติดไฟได้ง่าย
  • นี่คุณ ฉันไม่ไว้ใจลูกชายเราเลย เห็นไปไหนมาไหนกับแฟนเก่าบ่อยๆ กลัวถ่านไฟเก่ามันจะติดลุกขึ้นมาอีก
  • แต่ตัดใจมันง่ายเมื่อไม่ต้องเจอหน้าไง หลายครั้งพอได้เจอหน้ากัน แถมเหตุการณ์ต่างๆ พาไป ไม่แปลกที่เราจะเผลอไผลและกลับไปสู่ความสัมพันธ์ของรักครั้งเก่าอีกหน ทำไมถ่านไฟเก่าจึง ‘คุง่าย’ และ ‘คุแรง’ แล้วเมื่อถ่านไฟเก่าของเราทำท่าจะกลับมา เราจะลองใหม่ดีไหม
  • ฉันว่าคุณเลิกติดต่อ พูดคุย กับเมียเก่าคุณได้แล้วมั๊ง ไปๆ มาๆ เดี๋ยวถ่านไฟเก่าติดขึ้นมา ครอบครัวเรา ครอบครัวเขาจะมีปัญหาได้นะ
  • สุดท้ายอาจไม่มีคำตอบตายตัวว่าเราจะจุดถ่านไฟเก่าดีไหม คนๆ นั้นยังเป็นคนที่ใช่รึเปล่า เราสามารถแก้ไขอะไรได้จริงๆ ไหม หรือการเติบโตและบทเรียนในชีวิตหลังความรักครั้งเก่าจะเปลี่ยนเราหรือเขาไปขนาดไหน ความรักคือการลอง ไม่ว่าจะลองกลับไปรักใหม่หรือลองเดินจากไป ในเส้นทางของความสัมพันธ์ก็มักเป็นเส้นทางที่มีความเจ็บปวดเจืออยู่เสมอ แต่เราเองก็มีเครื่องมือเล็กๆ เช่น เหตุผล ตรรกะ การคิดวิเคราะห์ทั้งหลายที่พอจะช่วยไม่ให้เราเจ็บปวดมากจนเกินไปได้เช่นกัน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยปากคนยาวกว่าปากกา ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. ปากคนยาวกว่าปากกา

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยปากคนยาวกว่าปากกา

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงปากของอีกาปกติจะยาวกว่าคน แต่ปากของคนแม้จะสั้นกว่าแต่ก็พูดให้เรื่องราวแพร่สะพัดไปได้ไกล จึงเปรียบเปรยว่าปากคนนั้นยาวกว่าพูดให้เรื่องราวให้แพร่สะพัดไปได้ไกลว่า โบราณท่านเปรียบให้เห็นภาพถึงการพูด การให้ข่าว การว่าร้ายต่างๆ นั้น คนซึ่งมีปากที่สั้นกว่า(นกหรืออีกา) แต่สามารถแพร่กระจายข่าวได้เร็วกว่ามาก แม้นกกาจะมีปีกและเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าคนก็ตาม

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนเรานั้นสามารถพูดนินทา หรือพูดให้เรื่องราวต่างๆแพร่กระจายไปได้ไกล สำนวนนี้ใช้ในเชิงนินทาว่าร้าย หรือกล่าวในเชิงลบ

โบราณท่านใช้เปรียบเทียบการกระจายข่าวหรือการนินทาผู้อื่นแบบปากต่อปากนั้นสามารถกระจายข่าวได้อย่างรวดเร็ว นิยมใช้เปรียบเทียบว่าผู้คนว่าชอบสนใจเรื่องของผู้อื่น และชอบนำไปเล่าต่อๆกันไป ทั้งแบบรู้ความจริงและแบบไม่รู้ความจริง บ้างก็กล่าวติดตลกว่า เรายังเดินไม่ถึงหน้าหมู่บ้าน แต่การมาของเรารู้ไปถึงท้ายหมู่บ้านแล้วก็มี เป็นต้น

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยปากคนยาวกว่าปากกา

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตปากคนยาวกว่าปากกา

  • ข่าวที่ดาราสาวสวย ชื่อยอ ฮ.นกฮูก เลิกกับหนุ่มไอโซนอกวงการ ถูกกระจายข่าวแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว นี่แหละที่โบราณว่า ปากคนยาวกว่าปากกา
  • เรื่องที่เกิดขึ้นกับครอบครัวเราคงรู้ไปทั้งตำบลแล้วค่ะคุณ คงต้องทำใจ ปากคนยาวกว่าปากกาจริงๆ
  • เรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของเรา คนคงรู้กันทั้งซอยแล้วค่ะคุณ คงต้องทำใจ ปากคนยาวกว่าปากกาจริงๆ
  • เรื่องบริษัทของเรามีปัญหาแล้วมีคนเอาไปพูดข้างนอก ข่าวกระจายเร็วมาก ต้องยอมรับว่าปากคนยาวกว่าปากกา สงสัยจะเราปิดไม่อยู่แล้วครับหัวหน้า
  • ปากคนยาวกว่าปากกาจริงๆ ป้าข้างมันรู้เรื่องที่ลูกเราได้ไปเรียนที่เมืองนอก ไม่รู้นางไปรู้ได้อย่างไร น่าชื่นใจจริงๆ ป้าแกคงห่วงลูกเรามากกว่าเรากระมั้ง!? (ผมประชดคุณน่ะ ที่รัก)

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยน้ำนิ่งไหลลึก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. น้ำนิ่งไหลลึก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยน้ำนิ่งไหลลึก

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงธรรมชาติของแม่น้ำที่บนผิวน้ำดูนิ่งๆ ไหลเอื่อยๆ แต่ลึกลงไปของแม่น้ำนั้นมีน้ำที่ไหลแรงมาก

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่มีท่าหงิมๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง ซึ่งก็คือคนที่มีท่าทางเฉยๆ ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น แต่ภายในแล้วเป็นคนช่างคิด มีความคิดดีๆ อยู่เสมอ ฉลาด และเมื่อแสดงความคิดเห็นออกมาครั้งใดก็มักจะเป็นที่ฮือฮาเสมอ เปรียกับคนพูดน้อยต่อยหนัก แต่ทำเยอะ ให้ความสำเร็จมันส่งเสียงออกมาเอง

นิยมใช้ในหลายสถานการณ์ ทั้งด้านการชื่นชม และเตือนให้ระมัดระวัง เนื่องจากคนกลุ่มนี้มักจะทำตัวนิ่งๆ ไม่โฉ่งฉ่าง แต่ซ่อนความคมเอาไว้อย่างลึกซึ้ง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยน้ำนิ่งไหลลึก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตน้ำนิ่งไหลลึก

  • เจมส์ เอเคนเฮด เซียนโป๊กเกอร์ของ ฟูล ทิลท์ โป๊กเกอร์ ยังโชว์ฟอร์มแบบน้ำนิ่งไหลลึก มาแบบนิ่งๆ ไร้นามแต่กับเอาชนะเซียนสนามได้
  • วิชิตเวลาทำงานก็ทำแบบเงียบๆ หนิมๆ พอมอบหมมายงานใหญ่มา เขาก็นำเสนอได้ดีมาก ทำให้หัวหน้าถึงกับอึ้ง แล้วพูดว่าเห็นคุณเป็นคนเงียบๆ แต่ทำงานได้ดีจริงๆ
  • เจ้าบอยนี่ดูท่าทางเงียบๆ หงิมๆ นะครับ แต่จริงแล้วน้ำนิ่งไหลลึกครับเจ้านาย แสดงความเห็นแต่ละครั้ง พวกเราตะลึงกันทุกที
  • “แจว มาแจว จ้ำจิ่ง น้ำนิ่งไหลลึกนึกถึงคนแจว…แจวมาแจว จ้ำจิ่ง ขอเชิญน้องใหม่ลุกขึ้นมาแจว” เสียงรุ่นพี่ปี 4 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ดังลั่นเชียร์ให้ “น้องใหม่” ที่ยังดูเขินๆ ลุกขึ้นมาเต้นรำกัน
  • เพื่อนสนิทผมเป็นคนน้ำนิ่งไหลลึก ไม่ค่อยพูดไม่ค่อยจา แต่เบื้องหลังทำงานหนักกว่าคนอื่น จนประสบความสำเร็จก้าวหน้าไปไกลกว่าเพื่อนร่วมรุ่นคนอื่นๆ ผมชื่นใจจริงๆ ที่มีเพื่อนแบบนี้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยปีกกล้าขาแข็ง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. ปีกกล้าขาแข็ง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยปีกกล้าขาแข็ง

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงดั่งนกที่ปีกแข็งแรง พร้อมที่จะโบยบินไปในโลกกว้างด้วยตัวเอง หรือสัตว์ที่โตเต็มที่ มีลำขาที่แข็งแรง สามารถวิ่งหาอาหารหรือหลบหนีศัตรูได้ด้วยตนเองแล้วนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ พึ่งตนเองได้ แต่ใช้ในบริบทตำหนิติเตียนผู้น้อยว่าพอพึ่งตัวเองได้ก็จากไป นิยมนำมาใช้ในความหมายเชิงลบหรือเชิงตำหนิติเตียนทำนองโตแล้ว เก่งแล้ว ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นแล้ว จึงเกิดอาการหยิ่งผยอง ไม่ยอมรับคำแนะนำหรือคำติเตียนจากผู้ใหญ่หรือผู้รู้คนอื่น

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยปีกกล้าขาแข็ง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตปีกกล้าขาแข็ง

  • นี่คุณ ลูกเราโตขึ้นมาก ปีกกล้าขาแข็งแล้ว ควรให้เขาเลือกทางเดินชีวิตของเขาเองได้แล้วนะคะ
  • เจ้าบอยน้อยมันไม่ฟังคำแนะนำอะไรจากเราแล้วละครับพี่ มันโตแล้ว ปีกกล้าขาแข็งแล้ว
  • นี่หล่อน พอมีตังค์หน่อย ก็ปีกกล้าขาแข็ง ทำเป็นมองไม่เห็นหัวคนอื่นเลยนะ
  • ทุกคนจำเอาไว้นะ สิ่งที่ครูสอนไปก็เพื่อให้พวกเธอสามารถเอาตัวรอดได้ อยู่ในสังคมที่แก่งแย่งชิงดีกันได้ แต่พวกเธอก็ต้องเป้นคนอ่อนน้อม เชื่อฟังคำของผู้ใหญ่ ไม่ใช่ว่าพอปีกกล้าขาแข็งแล้วจะไม่ยอมรับฟังคำแนะนำจากใคร
  • ถึงบริษัทเราจะเติบโตแข็งแรงในธุรกิจ ปีกกล้าขาแข็งแล้ว แต่เราต้องไม่หลงระเริง หรือลืมบุญคุณคนที่เคยช่วยเหลือเรา และตอบแทนสังคมเสมอ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube