สุภาษิตคำพังเพยแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตคำพังเพยแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ พ. แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

ที่มาของสำนวน โดยในการแข่งขันกีฬา หรืออะไรต่างๆ ย่อมมีทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ แต่เพื่อไม่ให้คนที่แพ้ต้องเสียใจจนเกินไป ก็เลยมีสำนวนปลอบใจว่า แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

และยังเป็นเป็นเป็นธรรมเทศนาที่มีกุศโลบายสอนให้คนรู้จักระงับความโกรธ โดยหากใช้ความอดกลั้นและยอมถอย ไม่ทะเลาะด้วย เรื่องราวร้ายๆ ก็จะไม่เกิด ถึงแม้จะเป็นฝ่ายแพ้ในการโต้เถียง แต่ก็ขึ้นชื่อได้ว่าประเสริฐนัก

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การยอมแพ้ทําให้เรื่องสงบ การยอมเพื่อไม่ให้มีเรื่องราวบานปลาย แต่ถ้าหากไม่ยอมแพ้ก็จะมีปัญหาและอาจจะเป็นเรื่องใหญ่โตได้

รูปความหมายของสุภาษิตแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

  • แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร ผู้ชนะนั้น มักเข้าใจว่า ตนเองเป็นผู้ได้ แต่โดยที่แท้เป็นผู้เสีย คือเสียไมตรีจิตของอีกฝ่ายหนึ่งไปหมดสิ้น หรือจะเรียกว่าได้ ก็คือ ได้เวร เพราะผู้แพ้ก็จะผูกใจเพื่อจะเอาชนะต่อไป จึงเป็นอันว่าไม่ได้ความสุขด้วยกันทั้งสองฝ่าย . ส่วนผู้ที่ละได้ทั้งแพ้และชนะจึงจะได้ความสงบสุข ทั้งนี้ก็ด้วยการไม่ก่อเรื่องที่จะต้องเกิดมีแพ้มีชนะกันขึ้น
  • การไม่ยอมแพ้ทําให้เรื่องไม่สงบ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ในสังคมก็ยังพบผู้ที่อยากจะเป็นมารกันอยู่เสมอ นี่แหละแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
  • ผู้ปกครองของเด็กที่โรงเรียนว่าต่อว่าครูประจำชั้น แม้ว่าครูประจำชั้นไม่ได้เป็นฝ่ายผิดแต่ก็ต้องเป็นฝ่ายขอโทษ เพื่อให้เรื่องราวเล็กๆไม่บานปลายเป็นเรื่องใหญ่โต ตรงกับสำนวนสุภาษิตไทย ที่ว่าแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
  • กรณีมีปัญหากระทบกระทั่งกัน หากต่างฝ่ายต่างพยายามเอาชนะกัน ย่อมจะสร้างปัญหาตามมา เกิดความเสียหายทั้งสองฝ่าย แต่หากต่างยอมถอย ถือคติ แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร ก็จะสามารถยุติปัญหาทะเลาะกันได้
  • เมื่อจะต้องให้มีเรื่องให้แพ้ฝ่ายหนึ่งชนะฝ่ายหนึ่ง ก็ควรต้องมีใจหนักแน่นพอที่จะเผชิญผลได้ทุกอย่าง สามารถที่จะเห็นความจริงว่า “แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร” ทั้งนี้ต้องชนะตนเอง คือชนะใจตนเองด้วย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements