สุภาษิตคำพังเพยสมภารกินไก่วัด ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ส. สมภารกินไก่วัด

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยสมภารกินไก่วัด

ที่มาของสำนวน คำว่า “สมภาร” คือเจ้าอาวาสของวัด เปรียบเปรยถึงเจ้าอาวาสไม่ควรที่จะกินไก่ภายในวัดที่ตนดูแล หากตนกินไก่ในวัดของซะเองก็จะดูไม่เหมาะสม

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ชายที่อยู่ในฐานะหัวหน้าหรือผู้ปกครอง โดยที่มีผู้หญิงอยู่ภายใต้ปกครองอยู่ด้วย ผู้ชายคนนั้นก็ใช้อำนาจของตนในการทำให้ผู้หญิงนั้นตกเป็นภรรยาหรือคู่นอนของตนเอง

มักใช้กับชายที่เป็นผู้บังคับบัญชาของหญิงสาว แล้วไปมีความสัมพันธ์ในเชิงชู้สาวกับหญิงที่เป็นลูกน้องของตน หรือชายที่เป็นใหญ่ในบ้าน แต่มีความสัมพันธ์ในเชิงชู้สาวกับบุคคลที่อยู่ในบ้านของตน เช่น สาวใช้ หลานสาวภรรยา เป็นต้น

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยสมภารกินไก่วัด

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตสมภารกินไก่วัด

  • ในหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะในแวดวงราชการ ย่อมจะมีเหตุการณ์ที่เรียกว่า สมภารกินไก่วัด เกิดขึ้นอยู่เสมอ เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างาน หรือผู้บังคับบัญชา ที่แอบมีอะไรกับลูกน้องผู้หญิง เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่สร้างความเสื่อมเสียให้กับหน่วยงาน
  • หัวหน้าสมชายชอบชวนสมศรีซึ่งเป็นลูกน้องสาวสวยในที่ทำงานไปรับประทานอาหารมื้อค่ำอยู่บ่อยๆ จนบรรดาพนักงานในบริษัทลือกันเป็นเสียงเดียวว่าสมภารกินไก่วัด
  • นายจ้างหาเศษหาเลยกับลูกจ้างสาว หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาที่เคลมลูกน้องสาว หรือหัวหน้าครอบครัวที่มัดมือชกผู้หญิงในบ้านให้ตกเป็นของตน
  • ความสันพันธ์ระหว่างหัวหน้างานกับลูกน้องผู้หญิง เกินเลย จนโดนคนตำหนิ นินทา ด่าว่า เป็น สมภารกินไก่วัด บางครั้งก็เป็นเรื่องที่ยากจะควบคุม อย่างความใกล้ชิด การทำงานร่วมกัน มานาน ก็อาจจะทำให้เกิดความชอบพอกัน ระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง
  • สาเหตุที่เค้าบอกสมภารไม่ควรกินไก่วัดมันก็มี อย่างแรกคือเสียการปกครอง คุณเอาลูกน้องมาทำเมีย เท่ากับคุณมีลูกน้องเป็นหัวหน้า(ที่บ้าน) คนนึง ในที่ทำงาน คุณสั่งงานแฟนน้อย เค้าก็ว่าเด็กเส้น ทำผิดตักเตือนน้อย(กล้าตักเตือนเยอะหรือ) คนก็ว่าเด็กเส้น จะดุด่า ให้งานเยอะก็ผิดใจกันอีก ประเมินทีก็ลำบากใจ ให้เยอะคนก็นินทาอีก นี่ยังไม่รวมคำร้องต่างๆที่ลูกน้องจะมามอบผ่านแฟนคุณ ถ้าคุณไม่ให้เค้าก็อาจผิดใจแแฟนคุณ ถ้าคุณให้ก็เสียการปกครอง แฟนคุณต้องทำตัวดีเป็นพิเศษ เพราะถ้าพลาดมาคนอื่นจะทำตาม เพราะเค้าจะมีข้ออ้างว่า แฟนหัวหน้า… ยังทำเลย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยวัวเคยขาม้าเคยขี่ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ว. วัวเคยขาม้าเคยขี่

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยวัวเคยขาม้าเคยขี่

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงความคุ้นเคยกัน รู้ทีกัน เข้าใจท่วงทำนองของกันและกันเป็นอย่างดี การขี่ม้าหรือขี่วัว ผู้ขี่และพาหนะที่ขี่มักจะคุ้นเคยและรู้ใจกันเป็นอย่างดี ดังปรากฏในวรรณคดีเรื่อง อิเหนา ว่า “ขุนม้าผูกม้าพาชี เคยขี่ควบขับสำหรับขา” และจากวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่เคยคุ้นกันมาอย่างดี รู้ใจกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ส่วนมากมักจะนิยมใช้กับคนที่เคยเป็นคู่สามีภรรยากัน หรือชายหญิงที่เคยมีความสัมพันธ์กันมาก่อนแล้ว ซึ่งมักจะเข้าใจความต้องการของอีกฝ่ายได้เป็นอย่างดี

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยวัวเคยขาม้าเคยขี่

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตวัวเคยขาม้าเคยขี่

  • คนเคยรักกันมาก่อน เคยคบกันอย่างลึกซึ้ง วัวเคยขา ม้าเคยขี่ ย่อมจะรู้นิสัยใจคอกันอย่างดี หากได้กลับไปใกล้ชิด กันอีกครั้ง ก็อาจมีโอกาสกลับไปคืนดีกันได้ แต่หากสามารถปรับตัว ปรับใจให้เป็นเพื่้อนเป็นพี่น้องเป็นมิตรที่ดีต่อกันได้ ก็จะ เป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะความเป็นมิตรนั้นอยู่ได้นานกว่า การมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาว
  • ปวีณารู้สึกไม่สบายใจที่สามีของเธอไปงานวันเกิดแฟนเก่า กลัวว่าจะกลับมาคบกันเพราะวัวเคยขาม้าเคยขี่
  • สำนวนวัวเคยขาม้าเคยขี่นั้น โบราณท่านเทียบกับวัวและม้า ซึ่งถ้าเคยขี่เคยนั่งกันมาก่อนแล้ว ย่อมเข้าใจนิสัยและจังหวะจะโคนกันได้เป็นอย่างดี
  • วรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพระพันวษาไต่สวนคดีที่ขุนช้างถวายฎีกา ว่า “มึงถือว่าอีวันทองเป็นแม่ตัว ไม่เกรงกลัวเว้โว้ทำโมหันธ์ ไปรับไยไม่ไปในกลางวัน อ้ายแผนพ่อนั้นก็เป็นใจ มันเหมือนวัวเคยขาม้าเคยขี่ ถึงบอกกูว่าดีหาเชื่อไม่ อ้ายช้างมันก็ฟ้องเป็นสองนัย ว่าอ้ายไวยลักแม่ให้บิดา”
  • เธอไม่พอใจที่สามีไปเยี่ยมภรรยาเก่า เพราะอดระแวงไม่ได้ว่า เขาจะคืนดีกันตามประสาวัวเคยขาม้าเคยขี่

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึง ช้างเวลาขี้จะมีปริมาณมาก หากคนเราขี้ออกมาจะมีปริมาณน้อยกว่ามาก อะไรที่เล็กกว่าอย่าไปเทียบกับสิ่งที่ใหญ่กว่าหรือทำได้มากกว่า เพราะจะเกินกำลังของตนเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การกระทำตนเยี่ยงผู้อื่นที่มีฐานะ และความพร้อมมากกว่าเรา โดยที่ไม่ได้คำนึงความสามารถทางการเงินหรือกำลังทรัพย์ของตนเอง หรือเห็นคนอื่นมีฐานะมีอำนาจร่ำรวย ตนเองก็ทำพฤติกรรมเหมือนกัน ทั้งๆ ที่ไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง

  • สมศรีมีฐานะยากจน แต่เห็นเพื่อนบ้านใส่สร้อยทองแล้วสวยดูดีมีสง่า สมศรีจึงไปกู้เงินมาซื้อสร้อยทองใส่บ้าง แบบนี้ตรงกับสำนวนไทยที่ว่าเห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
  • คนที่มีนิสัยทำนองเห็นช้างขี้ขี้ตามช้างนี้ มักจะไม่รู้สึกพอในสิ่งที่ตนมี เห็นใครมีอะไรมากหรือดีกว่าตนไม่ได้ จะต้องไขว่คว้าหามาครอบครองบ้าง สุดท้ายค่าใช้จ่ายจากนิสัยแบบนี้จะมีมากจนเกินกำลังของตน เกิดภาวะหนี้สินและเข้าสู่ภาวะลำบากในที่สุด
  • คนสมัยนี้มักทำตัวเห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง อยากได้อยากมีเหมือนคนอื่น จนต้องกู้เงินเอามาซื้อของฟุ่มเฟือยเพื่อให้มีหน้ามีตา สุดท้ายไปไม่รอดสักราย
  • สำหรับคนที่ชอบเห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง ควรหันมาพิจารณาความสามารถทางการเงินของตนเอง มีความพอเพียงและความพอใจในสิ่งที่มี ที่เป็น ดังพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
  • สมหญิงเป็นผู้หญิงที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวย จนเธอได้ไปเรียนในเมืองหลวง เพื่อนๆ เธอร่ำรวยสังคมหัวสูง ทำให้เธอต้องพยายามทำตัวรวยตามเพื่อน โดยการขอเงินจากที่บ้านบ่อย จนพ่อแม่เธอต้องขายที่ดินเพื่อให้เธอเอาเงินไปใช้ แต่พ่อแม่ทุกข์ใจว่าอะไรไม่ได้ เพราะลูกสาวต้องการ เข้าสำนวนเห็นช้างขี้ ขี้ตามช้างจริงๆ หวังว่าสักวันเธอคงคิดได้ก่อนสายเกินไป

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยอยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ อ. อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยอยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น

ที่มาของสำนวน สมัยโบราณนั้นยังไม่มีของเล่นที่ทำจากพลาสติกหรือแบบทันสมัยแบบทุกวันนี้ ดังนั้นคนโบราณจึงเทียบให้เห็นภาพว่าเมื่ออยู่ว่างๆ เอาดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปวัวหรือควายเพื่อให้ลูกเจ้าของบ้านได้เล่นสนุกบ้างก็ยังดี ถึงแม้จะเป็นการกระทำเล็กๆ แต่ก็ดีกว่าที่การไม่ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของบ้านเลย

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เมื่อไปอาศัยอยู่ที่บ้านของใครก็ควรจะทำประโยชน์ให้กับเจ้าของบ้านนั้นบ้าง เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ

โบราณท่านใช้เพื่อสอนไม่ให้เป็นคนมือห่างหรือคนที่ขี้เกียจสันหลังยาว โดยเฉพาะเมื่อไปอยู่บ้านใคร ก็ควรที่จะช่วยงานเจ้าของบ้าน ไม่ใช่อยู่เฉยๆไปวันๆ อาจจะช่วยงานการที่เป็นอาชีพของเขาก็ได้ ช่วยทำงานบ้านก็ได้ สำนวนนี้เป็นคำสอนที่มีประโยชน์มากเมื่อเราต้องไปอาศัยอยู่กับผู้อื่น

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยอยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตอยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น

  • ตามมารยาทของคนไทยเรานั้น การไปอยู่บ้านผู้อื่นโดยเฉพาะ บ้านผู้หลักผู้ใหญ่ อาจเป็นญาติที่เคารพ หรือคนรู้จักก็ตาม ต้องไม่ทำตัวขี้เกียจ อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดายปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น ผู้น้อยต้องทำตัวให้เป็นประโยชน์ ช่วยเหลือในเรื่องที่สามารถช่วยได้
  • แพมเป็นเด็กต่างจังหวัด เมื่อเธอเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เธอต้องไปอาศัยอยู่บ้านของคุณอา ในตอนเย็นหลังเลิกเรียน มะนาวจะช่วยสอนการบ้านให้กับหลานๆ เพราะเธอยึดถือสุภาษิตไทยที่ว่า อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น
  • วิชิตได้ไปอาศัยอยู่บ้านญาติในกรุงเทพเพื่อเรียนหนังสือ ในวันหยุดหรือในเวลาว่าง วิชิตจะช่วยทำงานบ้านที่ตนทำได้เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ช่วยเลี้ยงน้อง สอนหนังสือน้อง ช่วยขายของในร้าน เป็นต้น
  • ‘สายไหม’ ถูกส่งมาเรียนต่อมัธยมต้นในกรุงเทพฯ เข้าไปอาศัยบ้านของคนรู้จักกับแม่ ที่เรียกว่า คุณป้า จนเข้ามหาวิทยาลัย… ถึงได้ย้ายออกไปอยู่หอพัก ซึ่งคุณป้าก็ยังช่วยเหลือออกค่าหอให้อีกฉันเลยขอตอบแทน โดยการเข้าไปทำความสะอาดคอนโดให้ ‘คุณแฝด’ ลูกชายคุณป้าที่เป็นรุ่นพี่ 1 ปี แล้วตั้งแต่วันที่ฉันเผลอเมา เครื่องช็อต ในระดับที่จำไม่ได้ว่ากลับห้องตัวเองมายังไง?ฉันก็ต้องตกอยู่ในความควบคุมดูแลของคุณแฝดอย่างเต็มตัว แฝดพี่ ที่แสนใจดี น่ารัก ยิ้มเก่ง แถมยังขยันเลี้ยงขนมบ่อยๆ เหมือนขั้วตรงข้ามของ แฝดน้อง ที่หน้านิ่ง ยิ้มยาก แถมดุยิ่งกว่าพ่อบวกพี่ชายฉันจริงๆ ซะอีก งานนี้อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่นจะสำเร็จไหม หรือจะเป็นฝ่ายโดนปั้นแทนกันแน่!!
  • สำหรับคนขี้เกียจและไม่มีความละอายไม่มีมารยาท การไปอยู่บ้านใครก็มักจะสร้างปัญหาเดือดร้อน ไม่ช่วยอะไรแต่อาจยังสร้างปัญหา ต่างจากคนดีซึ่งไปอยู่บ้านใครก็มักจะไม่นิ่งดูดาย อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดายปั้นวัวปั้นควาย ให้ลูกท่านเล่น พยายามช่วยเหลือเจ้าของบ้านเท่าที่จะสามารถทำได้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยฟังหูไว้หู ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฟ. ฟังหูไว้หู

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฟังหูไว้หู

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการที่คนเราฟังเรื่องราวใดๆ ให้ใช้หูฟังข้างเดียว ส่วนหูอีกข้างให้เอาไว้ก่อน คือปิดหูอีกข้างไว้ คนโบราณท่านสอนให้เราไม่เชื่อเรื่องราวที่ได้รับฟังในทันที แต่ควรไต่ตรองพิจารณาก่อนว่าเรื่องเหล่านั้นน่าจะเป็นไปได้หรือไม่ มีเค้ามูลความจริงมากน้อยเพียงใด คนพูดมีความน่าเชื่อถือขนาดไหน และคนที่พูดคาดหวังอะไรจากการเล่าเรื่องนั้นๆให้เราฟัง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การรับฟังเรื่องราวต่างๆ แต่ไม่เชื่อทั้งหมดในทันที แต่รับฟังไว้ก่อนแล้วจึงพิจารณาในภายหลังว่าสิ่งนั้นเชื่อถือได้หรือไม่

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยฟังหูไว้หู

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฟังหูไว้หู

  • เรื่องเหนือธรรมชาติผีสางเรื่องแบบนี้ต้องฟังหูไว้หูบ้าง เราไม่รู้ว่าที่ฟังมาจริงเท็จแค่ไหน
  • เมื่อวานฉันได้ยินป้าสมจิตคุยกับเพื่อนบ้านว่า ที่ดินข้างวัดในหมู่บ้านจะมีถนนใหญ่ตัดผ่าน เราควรไปซื้อที่ไว้เก็งกำไร เมื่อฉันเอาเรื่องนี้มาปรึกษากับแม่ แม่บอกว่า ได้ยินอะไรมา ก็ต้อง “ฟังหูไว้หู” ลองคิดดูดีๆก่อน ว่าเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
  • ความน่าเชื่อถือของผู้พูดก็มีส่วนอย่างมากต่อการฟังหูไว้หูด้วย แม้เรื่องนั้นจะเป็นเรื่องจริง แต่ถ้าผู้พูดมีความน่าเชื่อถือต่ำเสียแล้ว ผู้คนก็มักจะ “ฟังหูไว้หู” เสมอ
  • เวลาใครมาเล่าอะไรเกี่ยวกับผมให้คุณฟังก็ควรฟังหูไว้หูเสียบ้าง ไม่ใช่ไปเชื่อใครเขาเสียหมด ทำแบบนี้เหมือนไม่ให้เกียรติผมเลย
  • ฟังหูไว้หู ลือหนักกฏหมายเกี่ยวกับการขายที่ดินให้ต่างชาติ ผ่านรอบแรกแล้ว งานนี้ใครได้ใครเสีย!?

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยรักพี่เสียดายน้อง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ร. รักพี่เสียดายน้อง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยรักพี่เสียดายน้อง

ที่มาของสำนวน อันที่จริงสำนวนนี้มักพูดใน ช่วงที่ยังตัดสินใจไม่ได้และมักเห็นคุณค่าของ “พี่” และ “น้อง” ในระดับพอๆ กัน ปัญหาจะหมดไปถ้า ตัดสินใจเลือกได้ หรือไม่ก็เลือกทั้งสองคน (ถ้าเธอยอม) ในทางภาษา การผูกประโยคแบบรักพี่เสียดาย น้องในทางไวยากรณ์ดูจะกลายเป็นแฟชั่นของคนสมัยใหม่ อาจเป็นเพราะเขียนตามความเคยชินและไม่มีนิสัยไตร่ตรอง ถ้าปล่อยให้อาการหนักอาจจะถึงขั้นเสียหายได้

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ความลังเลไม่แน่ใจ ความไม่ปลงใจเลือก อันเนื่องมาจากพอใจในของทั้งสองสิ่ง จนไม่สามารถตัดสินใจเลือกได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยรักพี่เสียดายน้อง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตรักพี่เสียดายน้อง

  • ผู้ชายคนหนึ่งไปรักชอบพอกับหญิงสาวอีกบ้านหนึ่ง แต่ที่ย้านหญิงสาวนั้นมีหญิงสาวสวยอยู่สองคน อีกคนเป็นพี่ อีกคนเป็นน้อง โดยที่ทั้งสองคนมีความสวยน่ารักไม่แพ้กัน จนทำให้ชายผู้นี้ไม่สามารถตัดสินใจได้ในทันทีว่าจะเลือกแต่งงานกับพี่หรือน้องดี
  • รักพี่เสียดายน้อง รถหรือบ้านก่อนดีนะ “จะซื้อรถหรือซื้อบ้านก่อนดี” เป็นค าถามยอดนิยมของคนเพิ่งเริ่มต้นท างานที่อยากสร้างเนื้อสร้างตัว มักจะถามกับตัวเองหรือคนรอบข้างอยู่เสมอ แต่ความเห็นที่ได้จากแต่ละคนก็อาจจะไม่เหมือนกันและท าให้เรา เกิดความลังเลใจได
  • รักพี่เสียดายน้อง “ฟาน เดอร์ ซาร์” ผู้รักษาประตูชื่อดัง ตอบกระแสข่าวอำลา อาแจ็กซ์ฯ คืนถิ่น แมนยูฯ
  • รักพี่เสียดายน้อง! “อุ้ม – นิวเคลียร์” ต่างปล่อยความเซ็กซี่ออกมาอวดชนิดเผ็ดซี๊ด
  • รถรุ่นใหม่สองค่ายดีทั้งคู่ ทั้งสเปค รูปทรง โดนใจผมมาก ผมเป็นคนเลือกซื้อคิดหนักเลยทีเดียว ชอบทั้งสองแบรนด์เลย รักพี่เสียดายน้องจริงๆ แบบนี้ ตัดสินใจยากมาก

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยวัวหายล้อมคอก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ว. วัวหายล้อมคอก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยวัวหายล้อมคอก

ที่มาของสำนวน ในอดีตมีการเลี้ยงวัวควายกันมาก โจรผู้ร้ายก็เยอะ บ้านไหนล้อมคอกวัวไว้อย่างแข็งแรงแน่นหนา โจรผู้ร้ายมักไม่ค่อยอยากไปลักขโมยเพราะทำได้ยาก ถือว่าเป็นการป้องกันโจรผู้ร้ายได้อย่างดี แต่ในทางกลับกัน บางบ้านรอให้เกิดการลักขโมยวัวควายก่อนแล้วค่อยหาทางป้องกัน จึงนำมาใช้เป็นสำนวนวัวหายก่อนแล้วล้อมคอกทีหลัง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เหตุการณ์ที่เสียหายเกิดขึ้นมาแล้ว ถึงจะมาคิดหาวิธีแแก้ไขป้องกันภายหลัง ซึ่งที่ถูกควรจะคิดหาทางป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นแต่แรก

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยวัวหายล้อมคอก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตวัวหายล้อมคอก

  • วัวหายค่อยล้อมคอก ร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่งติดตั้งกล้องวงจรปิดภายหลังจากเกิดการขโมยสินค้าในร้านเป็นจำนวนมาก
  • เป็นตัวอย่างให้เห็นกันบ่อยๆในหน้าหนังสือพิมพ์ เช่น ถนนชำรุด เกิดอุบัติเหตุ แล้วค่อยมาเขียนป้ายเตือน หรือซ่อมแซมถนน ต้องรอให้เกิดการสูญเสียก่อนจึงค่อยหาทางป้องกัน แบบนี้ตรงกับสำนวนไทยที่ว่าวัวหายล้อมคอก
  • ครอบครัวหนึ่งต้องปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายเครื่องเมื่อพบว่าค่าไฟฟ้าเดือนที่ผ่านมาสูงจนน่าตกใจ เข้าสำนวนวัวหายล้อมคอก
  • เรื่องที่สำคัญที่สุดก็คือ เราจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานรู้ว่า “จุดเสี่ยง” หรือ “จุดอันตราย” อยู่ที่ไหนบ้าง เพราะสิ่งนี้จะเป็น “พื้นฐาน” ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการป้องกันอุบัติเหตุและสร้างเสริมความปลอดภัยในที่ทำงานที่ได้ผลมากที่สุด มิเช่นนั้น เราก็ต้องทนเสี่ยงกันอีกนานในวังวนแห่ง “วัวหายล้อมคอก” ที่ไม่รู้ว่าใครสมควรเป็นผู้รับผิดชอบที่แท้จริงต่อ “ความสูญเสีย” (ชีวิต) ที่เกิดขึ้น
  • วัวหายล้อมคอกของจริง หมู่บ้านแห่งหนึ่งได้ทำคันดินขนาดใหญ่และสูงล้อมรอบหมู่บ้าน เนื่องจากเมื่อปีก่อนได้รับความเสียหายทั้งหมู่บ้านอันเนื่องมาจากน้ำท่วมครั้งใหญ่

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยอัฐยายซื้อขนมยาย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ อ. อัฐยายซื้อขนมยาย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยอัฐยายซื้อขนมยาย

ที่มาของสำนวน มาจากนิทานวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องศรีธนญชัย คำว่าอัฐ ในสำนวนนี้หมายถึงเงินตรา (เป็นคำเรียกสมัยก่อน) ซึ่งได้เปรียบเปรยถึง การขอเงินยาย(ที่ทำขนมขาย) มาเพื่อที่จะนำเงินไปซื้อขนมของยายเอง ผู้ซื้อไม่ต้องเสียเงินซักแดง และยังได้ขนมกลับมาทานอีกด้วย

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การได้รับสิ่งของหรือทรัพย์สินจากผู้ใดผู้หนึ่ง แล้วนำทรัพย์นั้นๆ มาใช้กับผู้นั้น โดยที่ตนเองไม่ต้องลงทุนอะไร

วิธีนี้มักจะใช้กับการสู่ขอหญิงสาวที่ฝ่ายชายสิ้นไร้ไม้ตอกไม่มีมีเงินทองที่จะเป็นสินสอดทองหมั้นได้ แต่ทว่าเป็นคนดีมานะขยันในการทำงาน พ่อแม่ฝ่ายหญิงชื่นชอบ และนิยมยกย่อง อยากได้เป็นลูกเขย และลูกสาวก็รักชอบเป็นอย่างดี จึงมอบทรัพย์สินเงินทองให้แก่ฝ่ายชาย เพื่อเป็นค่าสินสอดในการสู่ขอ และเพื่อมิให้คนอื่นรู้เป็นการกันคำครหานินทา จึงได้กระทำอย่างลับๆ  การกระทำเช่นนี้แหละที่เราเรียกว่าอัฐยายซื้อขนมยาย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยอัฐยายซื้อขนมยาย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตอัฐยายซื้อขนมยาย

  • บางคนแก่ชราแล้ว ก็ไม่ได้ทำอะไรอาจเปิดร้านขายของเล็กๆ ในหมู่บ้านเวลามีลูกหลานมาเยี่ยมเยือน ก็จะให้เงินเล็กๆ น้อยๆแต่บางทีเงินเหล่านั้นก็ไม่ได้ไปไหน เพราะในร้านอาจมีขนม ของขบเคี้ยว ที่เด็กๆ ชอบ ก็จะนำเงินที่ได้ มาซื้อของในร้านนั่นเอง ซึ่งก็จะเข้าทำนอง อัฐยายซื้อขนมยาย คนให้เงินก็ได้เงินของตัวเองกลับคืนมา ส่วนคนซื้อก็ไม่ได้ใช้เงินของตัวเอง
  • วันนี้เป็นวันเกิดของแม่ เด็กชายต๋องอยากกินขนมเค้ก จึงได้ขอเงินแม่ไปซื้อเค้ก โดยอ้างว่าจะซื้อมาอวยพรวันเกิดแม่ ตรงกับสำนวนไทยที่ว่าอัฐยายซื้อขนมยาย
  • มานะกลุ้มใจมากที่ไม่สามารถหาเงินทองไปสู่ขอ วนิดา ได้ แต่แล้วจู่ๆ พ่อแม่ของวนิดาก็เรียก มานะ ไปพบ และได้มอบเงินค่าสินสอดทองหมั้นให้แก่มานะ เขาจึงได้จัดพิธีสู่ขอ วนิดา อย่างนี้เขาเรียกว่าอัฐยายซื้อขนมยาย
  • ในครอบครัวคนรวยบางครอบครัวนั้น บางคนก็ขอเลือกคนดีมาเป็นลูกเขย แม้จะมีฐานะยากจน แต่คนดีย่อมไม่สร้างปัญหาเดือดร้อนใดๆ ตามมา บางคนไม่ได้สนใจเรื่องหน้าตาตัวเอง ไม่เกี่ยงว่าลูกเขยจะต้องร่ำรวย มีฐานะ มีชื่อเสียง มีหน้าที่การงานที่ดีแต่ขอให้เป็นคนดีก็พอใจแล้ว เพราะบางคนนั้นก็เข้ามาโดยเข้ามาดูแลทั้งครอบครัว ดูแลพ่อแม่ฝ่ายหญิงด้วยเช่นกัน ในขณะที่ ลูกเขยซึ่งร่ำรวย มีฐานะ แต่อาจเป็นคนเห็นแก่ตัว ไม่เอาใคร ไม่คบใคร อยากจะได้เพียงลูกสาวอยากจะแต่งงานกันเท่านั้น แล้วก็พากันแยกตัวไม่มายุ่งกับครอบครัวของฝ่ายหญิงในกรณีอย่างนี้ การเลือกคนดีย่อมจะดีกว่าเลือกลูกเขยฐานะร่ำรวยแต่เห็นแก่ตัวอย่างแน่นอน
  • การลงทุนก็เหมือนเอาอัฐยายมาซื้อขนมยาย ได้ทุกกิจการที่ดี แถมยังได้ดอกเบี้ยทบต้นอีก เรียกว่าได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง เด็กสมัยใหม่ควรเรียนรู้การลงทุนให้เร็ว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยยืมจมูกคนอื่นหายใจ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ย. ยืมจมูกคนอื่นหายใจ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยยืมจมูกคนอื่นหายใจ

ที่มาของสำนวน ตามปกติธรรมดาธรรมชาติไม่ว่ามนุษย์ หรือสัตว์ จะมีจมูกไว้เพื่อสำหรับหายใจด้วยตนเอง จะไปนำเอาจมูกของผู้อื่นมาหายใจไม่ได้ หรือจะอาศัยไหว้วานบุคคลอื่นมาช่วยหายใจย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงนำมาใช้เปรียบเปรยว่า ถ้าหากเราต้องยืมจมูกคนอื่นเพื่อหายใจให้ตัวเองอยู่รอด เมื่อใดก็ตามที่เขาไม่ช่วยเหลือเราอีกต่อไป เราก็จะอยู่ไม่ได้

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นเพื่อให้ตนเองนั้นอยู่รอดต่อไปได้ หรือให้ผู้อื่นทำงานแทนตนแต่ก็มักได้งานไม่ดีเท่าที่ตนทำเอง แต่หากผู้ที่ช่วยนั้นหยุดการช่วยเหลือ จะทำให้คนนั้นต้องประสบปัญหาเข้าขั้นวิกฤติได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยยืมจมูกคนอื่นหายใจ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตยืมจมูกคนอื่นหายใจ

  • คุณแม่สั่งสอนเราอยู่เสมอๆ ว่าจงพึ่งตนเอง ช่วยเหลือตนเองให้ได้ อย่าไปยืมจมูกคนอื่นหายใจ เพราะถ้าไม่มีเขาเราจะทำอะไรไม่ได้เลย
  • เวลาครูสั่งให้เขียนเรียงความ ดาวเรืองมักจะขอช่วยให้ชบาผู้เป็นพี่สาวเขียนให้เป็นประจำ แต่คราวนี้พี่สาวไม่ว่างไม่สามารถช่วยดาวเรืองได้ ทำให้ดาวเรืองเขียนเรียงความไม่เสร็จ และโดนครูหักคะแนน
  • คนไทยต้องเลิกยืมจมูกผู้อื่นหายใจ เราต้องสร้างความเข้มแข็งของประเทศด้วยการพึ่งพาตัวเองให้มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นรัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร ผู้เป็นกระดูกสันหลังของประเทศ
  • รัฐบาลและภาคเอกชนคงจะต้องผนึกกำลัง ระดมสมองหาแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจ ที่หันมาพึ่งพาตนเองมากยิ่งขึ้น เลิกยืมจมูกคนอื่นหายใจนั้น น่าจะเป็นแนวทางที่ยั่งยืนในอนาคต
  • เมื่อเราเติบโตขึ้นเราต้องรู้จักช่วยเหลือตัวเองก่อนอันดับแรก อย่าหวังพึ่งคนอื่น อย่ายืมจมูกคนอื่นหายใจแม้แต่คนในครอบครัว เพื่อฝึกฝนตนเองในการเอาตัวรอดในสังคม มันจะทำให้ตัวเองและครอบครัวภูมิจ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยสี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ส. สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยสี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยคนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้ ภาษิตนี้บางทีก็มีพูดต่อไปอีกว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง สองตีนโด่เด่ คงจะเซลงบ้าง”

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ที่มีความปราดเปรื่องหรือเก่งกาจสามารถ ก็ยังมีผิดพลาดได้ ไม่ใช่ว่าจะทำการใดๆ ได้สำเร็จลุล่วงทุกครั้งเสมอไป

โบราณที่เปรียบเทียบและสอนเอาไว้มิให้เป็นคนประมาท อย่าทะนงว่าตนเองเก่งกล้าสามารถแล้ว เพราะว่าไม่ว่าจะเก่งกาจสักเพียงใดก็ย่อมสามารถพลาดพลั้งหรือเกิดอันตรายต่อตนเองได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยสี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตสี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

  • แม้จะเก่งเพียงใด ก็มีโอกาสผิดพลาด หากประมาท สีตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ลิงปีนต้นไม้เก่ง แต่ประมาท ก็ตกต้นไม้ได้ คนเก่ง คนฉลาด ก็มีวันผิดพลาดได้ โดยเฉพาะการทำงานใหญ่ มีรายละเอียดปลีกย่อยมาก ก็ย่อมจะมีโอกาสพลาดเป็นเรื่องธรรมดา
  • “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” ใช้เตือนสติคนที่มีความทะเยอทะยานมาก มีความมั่นใจในตัวเองสูง มีความทะนงในความสามารถของตนสูงเกินไปจนอาจจะไม่ฟังคำแนะนำหรือคำทัดทานของใคร ให้เพลานิสัยเหล่านั้นลงบ้าง โดยชี้ให้เห็นว่าขนาดสัตว์ที่มีสี่เท้ายังพลาดล้มได้ นักปราชญ์ผู้รอบรู้ก็ยังสามารถพลาดพลั้งได้เช่นกัน ดังนั้นจงอย่าได้ทะนงในความสามารถของตน หรือประมาทในสถานการณ์หรือความสามารถของผู้อื่น
  • ในโลกนี้ไม่ว่าใครก็เคยทำผิดพลาดกันมาทั้งนั้น ดั่งสำนวนไทยที่ว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” เมื่อทำผิดพลาดไปก็อย่ามัวแต่เสียใจ ให้รีบหาข้อบกพร่อง แล้วนำมาพิจารณา แก้ไขข้อบกพร่องนั้น จะได้ไม่ทำผิดพลาดอีก
  • อยู่ในโลกใบนี้อย่าประมาท ขนาดสี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ต่อให้รวยล้นฟ้าขนาดไหน ถ้าประมาทในชีวิตอาจทำให้ล้มละลายได้เลย
  • ตลาดหุ้นเป็นตลาดที่ยาก แม้แต่เซียนยังบอกว่าสี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง เพราะไม่มีใครคาดเดาอนาคตของตลาดได้ ทำได้แค่ตามเทรนด์ตลาดไปเรื่อยๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube