สุภาษิตคำพังเพยเด็ดดอกไม้ร่วมต้น ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ด. เด็ดดอกไม้ร่วมต้น

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเด็ดดอกไม้ร่วมต้น

ที่มาของสำนวน มาจากความเชื่อกับการเคยสร้างบุญร่วมกันมา คนไทยมีความเชื่อเรื่องบุญกรรมและเรื่องชาติภพ ว่าคนเราจะต้องเกิดและตายวนเวียนกันไปเช่นนี้จนกว่าจะพ้นทุกข์ เด็ดดอกไม้ร่วมต้นจึงหมายถึง เด็ดดอกไม้ไปทำบุญหรือไหว้พระด้วยกันเพื่อจะได้ไปเกิดร่วมกันอีก

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ชาติก่อนเคยทำอะไรร่วมกันมา ชาตินี้จึงมาอยู่ร่วมกันอีก

เป็นความเชื่อของคนไทยสมัยก่อน หากคนเราเคยทำบุญร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน จึงทำให้ได้มาเกื้อกูล อยู่ร่วมกันอีกในปัจจุบันนั่นเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเด็ดดอกไม้ร่วมต้น

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเด็ดดอกไม้ร่วมต้น

  • เขาว่ากันว่าคนที่เคยเด็ดดอกไม้ร่วมต้นมักจะเกิดมาพบกันทุกภพทุกชาติไป
  • อย่าไปขัดขวางความรักของทั้งคู่เลย ชาติที่แล้วพวกเขาคงเคยเก็บดอกไม้ร่วมต้น ทำบุณร่วมกันมา ชาตินี้ถึงได้มาเจอกันอีก แยกกันยังไงก็ไม่ขาด
  • คนไทยมีความเชื่อในเรื่องบุญกรรม และเรื่องชาติภพว่าคนเราจะต้องเกิดและตายวนเวียนไปจนกว่าจะพ้นทุกข์ เด็ดดอกไม้ร่วมต้นจึงหมายถึงเด็ดดอกไม้ไปทำบุญหรือไปไหว้พระด้วยกัน เพื่อจะได้ไปเกิดร่วมกัน
  • มีหมอดูบอกว่าอีกไม่นานจะได้พบเจอผู้ชายมาคอยช่วยเหลือ เกื้อกูล เพราะเราเคยเก็บดอกไม้ร่วมต้นกันมาเมื่อชาติก่อน
  • เด็ดดอกไม้ร่วมต้น จาก เรื่องคาวี ตอน ท้าวสันนุราชเกี้ยวนางจันทร์สุดา “นี่กุศลหนหลังเราทั้งสอง เคยเป็นคู่ครองเสน่หา เก็บดอกไม้ไหว้พระด้วยกันมา วาสนาทำไว้จึงได้น้อง”

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยยื่นหมูยื่นแมว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ย. ยื่นหมูยื่นแมว

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยยื่นหมูยื่นแมว

ที่มาของสำนวน สมัยก่อนการส่งมอบหมู และแมว เป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ในเวลาพร้อมๆ กัน หรือในเวลาเดียวกัน การจะให้สิ่งของผู้ใดเราจะต้องยื่นมือมอบให้เขา แต่ถ้าเราให้แบบมีข้อแม้ว่าถ้าเราจะให้สิ่งนี้แก่เขา เขาก็จะให้สิ่งนั้นแก่เรา เป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ดังนั้นการยื่นมือมอบสิ่งของก็จะต้องทำพร้อมๆ กันจะได้ไม่เสียทีกัน ถ้ามีการผิดกติกาข้อตกลอง ก็จะไม่มีการมอบสิ่งของนี้ให้แก่กัน แบบนี้ฝรั่งเรียกว่า Win Win ทั้งคู่

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การแลกเปลี่ยนกันโดยต่างฝ่ายต่างให้และรับในเวลาเดียวกัน นิยมใช้เพื่อสื่อความหมายว่า ทั้งสองฝ่ายต้องแลกเปลี่ยนของ หรือทำตามข้อตกลงพร้อมๆ กันทั้งสองฝ่าย ไม่มีการเอาเปรียบกัน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยยื่นหมูยื่นแมว

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตยื่นหมูยื่นแมว

  • มีพ่อค้ามาขอซื้อควายของตามี ตามีบอกว่าเอาเงินมาแล้วจูงควายไปได้เลย คือต้องยื่นหมูยื่นแมวกัน ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ตามีก็จะไม่ยอมให้ควายไปเด็ดขาด เพราะกลัวโดยโกง
  • ยื่นหมูยื่นแมวกัน ฉันจะให้เธอยืมรถยนต์ไปขับ แต่เธอต้องให้ฉันไปเที่ยวด้วยนะ
  • นี่คุณ ที่จะไปสรุปออร์เดอร์วันนี้นะ ถ้าลูกค้าขอต่อรองราคา เราต้องขอใบสั่งซื้อเลยนะ ยื่นหมูยื่นแมวกัน ไม่เช่นนั้นเราจะเสียเปรียบมาก
  • ผู้ก่อการร้ายได้ยื่นข้อเสนอยื่นหมูยื่นแมว ให้ตำรวจส่งเฮลิคอปเตอร์มารับ แล้วผู้ก่อการร้ายจะปล่อยตัวประกันทั้งหมดไป
  • ผมตกลงจ่ายเงินมัดจำตามที่คุณเรียกร้อง แต่คุณต้องเซ็นสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับเราด้วย ยื่นหมูยื่นแมว แฟร์ๆ ทั้งสองฝ่าย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยยกเมฆ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ย. ยกเมฆ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยยกเมฆ

ที่มาของสำนวน มาจากความเชื่อทางไสยศาสตร์ในการดูเมฆ ดูรูปลักษณะของเมฆเพื่อจะดูนิมิตดีร้ายในการกระทำกิจกรรมสำคัญๆ โดยเป็นภาษาที่ใช้กันในกลุ่มหมอดู และวิชา หมอดูนั้น แบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ หมอดูทาง “เลข 7 ตัว”, หมอดูทาง “จับ ยาม”, หมอดูทาง “เมฆฉาย” และหมอดูด้วยใช้วิชา “โหราศาสตร์” หมอดูทางเมฆฉายนี่แหละ ที่เป็นต้นบัญญัติของคำว่า “ยกเมฆ” ในเวลาต่อมา กล่าวคือหมอดูผู้ที่เป็นทางเมฆฉายนั้น ต้องอาศัยก้อนเมฆ บนท้องฟ้าลอยผ่าน หน้ามาเสียก่อน แล้วพิเคราะห์ดูว่า เมฆที่ลอยผ่านไปนั้น มีรูปนิมิตรเป็นเช่นไร? แล้วก็พยากรณ์ไปตามรูปนิมิตรที่เห็นตามเมฆฉายนั้น ตัวอย่างเช่น เห็นเมฆเป็นรูปคนศีรษะขาด ก็พยากรณ์ว่า เคราะห์จะร้ายหนัก เป็นต้น แต่หากวันใดที่ท้องฟ้าโปร่งใส ไม่มีเมฆแล้ว จะใช้วิชานี้ไม่ได้เป็นอันขาด คำว่า “เมฆฉาย” นั้น แปลว่า “เงาเมฆ” ดั่งนั้นสืบมา วิชานี้ได้กลายเป็นที่ อ้างอิง ของผู้ที่ไม่มีความรู้ อาศัยใช้เป็นเครื่องมือหากิน แม้ไม่มีเมฆฉายปรากฏ ให้เห็น ก็อุปโลกน์ว่ามี แล้วพยากรณ์เดาสุ่มไป ในกรณีเช่นนี้ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ในวิชาเช่นนี้จริงๆ จะประณามว่า “ยกเมฆ”

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การคาดเดา การนึกเอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เอาเรื่องบางเรื่องหรือเหตุการณ์ที่ไม่มีมูลความจริงมาเป็นข้ออ้าง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยยกเมฆ

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตยกเมฆ

  • การยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปนารายณ์ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ แต่ถ้าฤกษ์ยกทัพเกิดความเป็นศูนย์ เมรุเผาศพ ทายว่า ถ้ายกทัพไปรบกับข้าศึกก็จะถูกข้าศึกตีแตกพ่าย เข้าสำนวนยกเมฆ?
  • อย่าไปยึดติดกับคำทำนายของหมอดูมากนักเลย หมอดูส่วนใหญ่ก็ยกเมฆ เดาเอาทั้งนั้น จะเป็นจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ อนาคตเธอจะดีหรือไม่ก็อยู่ที่ตัวเอง
  • เม้าท์มอย ยกเมฆ! เมื่อดาราถามหาจรรยาบรรณสื่อ? กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวของวงการบันเทิงเรื่องหนึ่งขณะนี้ เมื่อค่ายยักษ์ใหญ่ของวงการสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกมาแถลงข่าวรับผิดกรณีใช้ “หน้าม้า” คุยเข้าสาย “จัดฉาก” เม้าท์มอยกล่าวหาดาราสาวจนได้รับความเสียหาย
  • บ้านเมืองนั้นคัดเลือกคนที่โกหกยกเมฆเก่งที่สุด เป็นตำรวจ เพราะฉะนั้น ตอนมีการแถลงข่าวจับผู้ร้ายสำคัญ ชาวบ้านที่รู้เท่าทัน จึงนั่งหัวเราะจนท้องคัดท้องแข็ง
  • รองนายกฯเมืองกรุงเก่าขอโทษเจ้าของหอพักในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังการประปาคิดค่าน้ำแพงลิ่ว เดือนละกว่า 1.5 หมื่น แถมยังยกเมฆ จ่ายยอดเดิมเป๊ะติดกัน 5 เดือน รวมเป็นเงินกว่า 7 หมื่นบาท ด้านเจ้าของหอไม่สนเดินหน้าดำเนินคดีตามกฎหมาย…

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยหุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยหุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว

ที่มาของสำนวน มาจากความจริงที่ว่าหมาชอบกินข้าวและแมวก็ชอบกินปลา ดังนั้นเมื่อหุงข้าวหรือปิ้งปลาให้ ทั้งหมาและแมวก็กินจนอิ่มหนำสำราญ หาได้ทุกข์ร้อนอย่างใดไม่ แต่คนหุงคนปิ้งกลับเสียทั้งข้าวและปลาให้หมาแมวกินโดยไม่ได้อะไร นอกเสียจากความสะใจ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การกระทำที่เป็นการประชดประชันบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยผู้ประชดต้องการทำให้รู้สำนึก แต่ผู้ที่ถูกประชดไม่ได้รู้สึกสำนึกแต่อย่างใด และกลับได้รับผลประโยชน์จากการประชดนั้น

ข้อคิดที่ได้จากสำนวน หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว คนเราเมื่อมีอารมณ์โกรธ ต้องระวังความคิด ต้องมีสติ อย่าทำอะไรที่เป็นการประชดประชันผู้อื่น จนเกิดปัญหาใหญ่ตามมา

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยหุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตหุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว

  • การมีคู่ครองที่ใจร้อน เอาแต่ใจ ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย ชอบทำประชด ทั้งการพูดจาหรือการกระทำ คนประเภท หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว แบบนี้ มักจะสร้างแต่ปัญหาตามมา อาจมีแต่เรื่องทะเลาะกันได้ทั้งวัน การคบคนประเภทนี้จะทำให้เสียสุขภาพจิตมากๆ
  • คุณโกรธที่เขามาเรียกร้องเอาสมบัติที่ไม่ควรจะได้ แต่คุณก็ประชดยกให้เขามากมายขนาดนั้น ก็เหมือน หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว เขาก็ยิ่งชอบใจ ใช้เพลินไปเลย
  • การจะประชดเพื่อให้ผู้อื่นรู้สำนึกนั้น ควรพิจารณาให้ดีเสียก่อนว่าสิ่งที่จะทำไปนั้น ผู้ถูกประชดนั้นจะรู้สึกสำนึกหรือไม่ ไม่เช่นนั้นก็จะเหมือนกับคำพังเพยที่ว่าหุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว
  • “หุง สารใส่หม้อล้น เหลือหลาย ข้าว คลุกใส่กระทาย ทุ่มไว้ ประชด สุนัขให้หาย โลภลัก หายฤๅ หมา เปรียบข้าชั่วใช้ ยิ่งให้ยิ่งกิน ปิ้ง มัจฉาใหญ่น้อย นับอนันต์ ปลา สุกเสร็จดึงดัน แดกให้ ประชด แมวจะให้มัน หายละโมบ หายฤๅ แมว เช่นบ่าวชั่วใช้ ยิ่งให้ยิ่งเหิม” จากโคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว
  • เมื่อเกิดความโกรธหรืออยู่ในอารมณ์ที่ไม่ปกติต้องระวังความคิด ต้องมีสติเพราะความโกรธความเสียใจ ความแค้น อาจทำบางอย่าง ประชดผู้อื่น เหมือน หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว จนเกิดปัญหาใหญ่ตามมา บางคนทะเลาะกับแฟนน้อยใจที่แฟนไม่ดูแลก็ประชดด้วยการควงคนอื่น หวังให้แฟนเกิดความหึงหวง และกลับมาสนใจตนแต่ปรากฏว่าอีกฝ่ายกลับเอาจริง ไม่ได้คิดว่าเราประชด ได้โอกาสแล้วมีหรือจะยอมเลิกราง่ายๆ คราวนี้ก็จะสร้างปัญหาตามมากลายเป็นรักสามเศร้า

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยปลาใหญ่กินปลาเล็ก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. ปลาใหญ่กินปลาเล็ก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยปลาใหญ่กินปลาเล็ก

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการใช้ชีวิตในธรรมชาติของปลา โดยปลาตัวใหญ่ที่มีขนาดโตกว่า จะกินปลาที่ตัวเล็กที่ไม่มีทางสู้ เปรียบเปรยถึงผู้ที่มีกำลังอำนาจที่เอาเปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่า

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่มีอำนาจหรือกำลังเหนือกว่า ก็จะเอาชนะหรือเอาเปรียบ คนที่มีอำนาจหรือกำลังน้อยกว่าเสมอเป็นทอดๆ ไป

ปัจจุบันมักจะนำมาเปรียบเทียบกับการประกอบธุรกิจที่ ธุรกิจขนาดใหญ่เข้ามาแข่งขันทำให้ธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถแข่งขันได้ต้องปิดกิจการลง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยปลาใหญ่กินปลาเล็ก

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตปลาใหญ่กินปลาเล็ก

  • ในวงการธุรกิจ ปลาใหญ่กินปลาเล็กทั้งนั้น บริษัทไหนมีทุนมากก็ได้เปรียบ เดี๋ยวนี้บริษัทเล็กๆก็พยายามจับมือกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ขยายเครื่อข่ายธุรกิจของตนเอง ไม่เช่นนั้นก็จะอยู่ไม่ได้ ถูกบริษัทใหญ่กลืนกินไป
  • บริษัทอัลฟ่าเป็นบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ที่มีพฤติกรรมเหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก คือเข้ามาซื้อกิจการบริษัทขนาดเล็กในราคาต่ำมากๆ แต่บริษัทเล็กเหล่านั้นต้องจำใจขายเพราะสู้บริษัทยักษ์ใหญ่ไม่ได้
  • เมื่อจะต้องผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน เพื่อแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ โอกาสชนะค่อนข้างยากและมักจะเสียเปรียบ สู้ไม่ได้ เหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก ทุนน้อย กำลังน้อยมีโอกาสแพ้ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม
  • บริษัทใหญ่ แกล้งบริษัทเล็กด้วยการลดราคาสินค้าลงต่ำกว่าต้นทุน ยอมขาดทุนในระยะสั้น เพราะมีทุนมาก ทำให้บริษัทเล็กๆ ไม่สามารถขายสินค้าได้ จนต้องปิดกิจการลงในที่สุด
  • เกษตรสัญญาทาส? ปลาใหญ่กินปลาเล็ก “ระบบเกษตรพันธสัญญา” หรือ “คอนแทรกท์ ฟาร์มมิ่ง (Contract Farming)” ไม่ใช่เป็นความชั่วร้าย แต่ภาครัฐหรือองค์กรที่เป็นกลางจะต้องเข้ามาติดตามดูแล คอยควบคุมกำกับ สัญญากลางจะต้องเป็นธรรมกับเกษตรกรผู้ลงทุน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยปลาข้องเดียวกัน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. ปลาข้องเดียวกัน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยปลาข้องเดียวกัน

ที่มาของสำนวน คนที่อยู่ร่วมกันหรือเป็นพวกเดียวกัน ปลาข้องเดียวกันเป็นสำนวนที่มีความหมายถึงคนที่อยู่ร่วมกันเป็นพวกเดียว เมื่อมีใครทำเรื่องไม่ดี เสื่อมเสียขึ้นมา ก็พลอยทำให้คนอื่นๆในกลุ่มเสียชื่อเสียง ถูกมองไม่ดีไปด้วย

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เปรียบเปรยถึงปลาที่อยู่ในข้องเดียวกันหลายๆ ตัว หากมีปลาตัวหนึ่งเน่า มีกลิ่นเหม็น ก็จะทำให้ปลาตัวอื่นๆในข้องมีกลิ่นเหม็นติดไปด้วย บางครั้งจึงพูดว่าปลาเน่าตัวเดียว ทำให้เหม็นไปหมดทั้งข้อง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยปลาข้องเดียวกัน

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตปลาข้องเดียวกัน

  • คิดซะว่าเป็นกรรมเก่า เพราะมีคนในแผนกทุจริต หัวหน้าจึงเพ่งเล็งแผนกนี้เป็นพิเศษ ดูซิเป็นปลาข้องเดียวกัน พอเน่าตัวเดียวเลยเหม็นไปทั้งข้อง
  • บทกลอนปลาข้องเดียวกัน “สายทองร้องว่าอุแม่เอ๋ย อย่าพักพูดไปเลยไม่เข้าหู เหมือนปลาในข้องไม่มองดู ใครเน่าก็ให้รู้ว่าตัวใคร…” จากขุนช้างขุนแผน ตอน นางสายทองต่อว่าขุนแผน
  • ฉันว่าอย่าไปขอความเห็นเรื่องนายโป้งจากนายหมูเลย เขามันปลาข้องเดียวกัน ยังงัยก็เข้าข้างกันเองอยู่แล้ว
  • บางประเทศถูกมองว่าเป็นประเทศขี้โกงเพราะประชาชนในประเทศนั้นมีนิสัยขี้โกงชอบเอารัดเอาเปรียบคนอื่นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยว คนไม่ดีในประเภทศนี้อาจมีไม่กี่คน แต่เหมือน ปลาข้องเดียวกัน ก็ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงกันทั้งประเทศได้เลยทีเดียว
  • เมื่ออยู่บ้านเดียวกันหากคนใดคนหนึ่งในบ้านหลังนี้ทำสิ่งสกปรกย่อมก่อให้เกิดผลกระทบแก่คนอื่นในบ้านหลังนั้นด้วย ยิ่งถ้าความสกปรกดังกล่าวมีกลิ่นเหม็นแถมอีกด้วยคนในบ้านหลังนั้นจะปฏิเสธกลิ่นเหม็นด้วยย่อมเป็นไปไม่ได้ กล่าวคือทุกคนในบ้านหลังนั้นต้องได้รับกลิ่นเหม็นจากการกระทำของคนใดคนหนึ่งอย่างแน่นอน ใครบางคนที่ไม่ได้ทำสิ่งสกปรกย่อมต้องรับผลแห่งความสกปรกนั้นฉันใด สมาชิกพรรคการเมืองก็ควรมีข้อควรคำนึงว่าแต่ละคนต่างเป็นสมาชิกในบ้านหลังเดียวกันฉันนั้น คำสอนโบราณกล่าวไว้ว่าปลาข้องเดียวกันเมื่อตัวใดตัวหนึ่งเน่าก็ส่งกลิ่นเหม็นทั้งข้อง เป็นคำเปรียบเปรยที่ใช้อธิบายเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ บ. บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการดึงดอกบัวขึ้นจากน้ำที่มีเหง้าอยู่ในตม ส่วนของดอกจะโผล่พ้นน้ำ เวลาเราเด็ดดอกบัว ถ้าเราดึงก้านของดอกแรงดอกบัวก็จะช้ำและยังทำให้เหง้าที่อยู่ในตมกระจายดินขึ้นมาทำให้น้ำขุ่น

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การรู้จักประนีประนอม ค่อยๆ พูดจากัน ถนอมน้ำใจกันเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาผิดใจ ขุ่นข้องหมองใจกัน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น

  • เป็นเพื่อนบ้านกันปัญหาแค่นี้ ค่อยๆพูดกันดีกว่า ทำยังไงให้บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น เพราะยังไงก็ต้องเห็นหน้ากันไปตลอด
  • คนเราคบกัน การปฏิบัติต่อกัน ปฏิบัติต่อคนรอบข้างเป็น เรื่องสำคัญ การพูดดี ปฏิบัติดี นึกถึงจิตใจคนอื่น บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ ให้ขุ่น ก็จะคบกันได้ยืดยาวไม่มีปัญหาต่อกัน แต่ก็ไม่ใช่ จะเป็น แบบนี้ทุกคู่ทุกคน เพราะคนเราส่วนใหญ่คิดถึงแต่ตัวเอง คนเรามี ความเห็นแก่ตัวเป็นพื้นฐานในจิตใจ บางทีก็เอาเปรียบคนรอบข้าง คนใกล้ตัว คนในครอบครัวโดยไม่ตั้งใจก็มี กว่าจะรู้ตัวอีกฝ่ายก็ บอกศาลา เลิกคบไปแล้ว
  • คนทำอาชีพค้าขาย จะขายของก็ต้องพูดจากันแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น ลูกค้าจะได้ซื้อของกับเราไปนานๆ
  • “บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น ต้องเด็ดบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ขุ่น ไปทำบุญสุนทานการกุศล บังเกิดความร่มเย็นเป็นมงคล ให้มีผลแผ่ธรรมคำเมตตา เปรียบทำการสิ่งใดไม่หักหาญ ไม่เป็นพาลรานร้ายหมายใจหา อะลุ่มอล่วยช่วยเหลือเผื่อแผ่พา มากมีจิตวิทยามาทำทาง ไม่กระทบกระทั่งทั้งสองฝ่าย ไม่วุ่นวายจุ้นจ้านเที่ยวซ่านสร้าง ไม่คอยจ้องจับผิดคิดระคาง เดินสายกลางเกื้อกูลพูนสัมพันธ์ หมั่นถนอมน้ำใจไม่เคืองขุ่น ใช้พระคุณนำทางมาสร้างสรรค์ พลั้งเผลอผิดพลาดไปอภัยพลัน เสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ยั่งยืน มีความละมุนละไม ถนอมน้ำใจกัน” – สำนวนไทยคำกลอน
  • การคิดถึงความรู้สึกของคนอื่น ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยดี ทั้งการ พูด การคิด การกระทำ ถ้อยทีถ้อยอาศัย บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น ไม่เอาเปรียบ ไม่ทำให้อีกฝ่ายหรือคนรอบข้าง ได้รับความเดือดร้อน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยคบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล

ที่มาของสำนวน โบราณท่านสอนไว้ว่าคบคนไม่ดีชีวิตก็ไม่ดี มีแต่ดิ่งลงเหว คบคนดีชีวิตก็ดีขึ้น เจริญขึ้น จึงถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาที่ไม่เกินเลยความเป็นจริง โดยมีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยืนยันอีกด้วย

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การเลือกคบคนค้องพิจารณาให้ดีถ้าคบคนชั่วมาเป็นมิตร คนชั่วก็จะชักนำ พาเราไปในทางไม่ดี ถ้าคบคนดีมีความรู้ คนดีก็จะชักนำ พาเราไปในทางที่ดี

เราเลือกตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตหลายเรื่องผ่านอิทธิพลจากแรงกดดันของความคิดเห็นของพรรคพวก เพื่อนฝูง คนใกล้ชิดเป็นอย่างมาก การเลือกคบเพื่อนจึงเป็นเรื่องสำคัญ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล

  • คนไทยคุ้นเคยสำนวน “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล” เป็นอย่างดี แม้บางคนอาจงงว่าถ้าเป็นคนดีแล้วคบคนพาล เราจะเป็นคนพาลแน่หรือ หรือคนพาลจะกลับมาเป็นคนดีตามเรากันแน่ อีกปัญหาหนึ่งคือวิทยาศาสตร์ไม่ได้ให้นิยามคำว่า “คนดี” และไม่แน่ว่าในอนาคตหากมีนิยามแล้วจะตรงกับนิยาม “คนดี” ของคนไทยมากน้อยเพียงใด
  • เธออย่าเข้าไปคบยุ่งเกี่ยวกับแกงค์มอเตอร์ไซค์แว๊นเหล่านั้นเลย คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผลนะจ๊ะ ฉันเตือนเพราะเป็นห่วง เดี๋ยวพวกนั้นจะพาเธอไปทำเรื่องไม่ดี
  • “คบคนพาล พาลพา ไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพา ไปหาผล” เป็นหลักธรรมข้อแรกของมงคล 38 ถือเป็นมงคลที่นำมงคลอันดับต่อมาให้เกิดขึ้นได้ อุปมา ก่อกำแพง ยิ่งกำแพงสูง ต้องต่อขาตั้ง ให้สูง ส่วนการขุดหลุม ยิ่งขุดลึกตัวยิ่งต่ำลง หรือ คบคนดี เหมือน เข้าไปในสวนดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม เมื่อออกมากลิ่นหอมจะติดตัวมา ถ้าเข้าไปในกองขยะ กลิ่นขยะ ก็จะติดตัวมา
  • ลูกจะเที่ยวพ่อก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่ไปเที่ยวกับพวกหัวไม้พ่อว่ามันไม่ค่อยจะเข้าท่า เหมือนที่เขาว่า คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
  • ชีวิตเราเองต้องคิดให้ดีว่าจะเลือกเพื่อนแบบไหนเข้ามาในชีวิต มันมีผลต่ออนาคตเรา ถ้าเราคบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล ตัดสินใจให้ดี!

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยคนดีผีคุ้ม ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คนดีผีคุ้ม

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคนดีผีคุ้ม

ที่มาของสำนวน มาจากคนไทยเชื่อว่า ในตัวบุคคลแต่ละคนจะมีผีหรือเทวดาประจำตัวคอยคุ้มครองปกป้องอันตรายให้ ถ้าหากไม่ใช่เป็นเพราะกรรมเก่าที่เคยทำไว้ หรือเพราะเวรกรรมแต่ชาติปางก่อนตามมาทันแล้ว หากเกิดภัยอันตรายใดๆ ขึ้นแก่บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติดี ผีหรือเทวดาประจำตัวก็จะช่วยปกป้องคุ้มครองให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายเหล่านั้น หรือถ้าเป็นคนดี มีความซื่อสัตย์ ถึงจะถูกคนอื่นทำร้ายหรือกลั่นแกล้งก็จะไม่เป็นอันตรายใดๆ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนทำดีเทวดาย่อมคุ้มครอง คนทำดีเมื่อถึงคราวมีเหตุการณ์คับขัน แม้เทวดาหรือผีสางก็จะมาช่วยปัดเป่า คุ้มครอง มักใช้เข้าคู่กับคนร้ายตายขุมว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม สำนวนนี้มีความหมายคล้ายกับ คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคนดีผีคุ้ม

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคนดีผีคุ้ม

  • คนที่ทำความดี คิดดีต่อผู้อื่นถึงจะไม่เห็นผลที่ตามมาทันทีแต่เป็นการกระทำของคนที่มีจิตใต้สำนึกที่บริสุทธิ์และจริงใจ หากทำความดีบ่อย ๆ สม่ำเสมอ จะทำให้ผลของการทำความดีนั้นส่งผลที่ดีต่อชีวิตดังกับคนดีผีคุ้ม
  • ตำรวจคนนี้ปฏิบัติหน้าที่ไม่มีบกพร่อง ช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนอยู่เสมอ ปราบโจรผู้ร้ายอย่ากล้าหาญ จนพลาดโดนยิงแต่รอดมาได้ คนดีผีคุ้มจริงๆ
  • นี่แหละนะที่เขาว่า คนดีผีคุ้ม ผู้ใหญ่บ้านคนดีอันเป็นที่รักของชาวบ้าน รถชนยับซะขนาดนั้นเป็นใครก็ว่าไม่รอด แต่นี่นายกลับมีแค่รอยฟกช้ำเท่านั้นเอง
  • อย่าเป็นห่วงลูกจนเกินไปเลย ลูกเราเป็นคนดี คนดีผีคุ้ม เป็นกังวลมากเดี๋ยวจะไม่สบายเปล่าๆ
  • ผมเชื่อเสมอว่าถ้าเราเป็นคนดีผีคุ้มครองเสมอ อย่างน้อยการทำความดีก็เป็นสิ่งที่ดีและสบายใจกว่าทำสิ่งที่ไม่ดีเยอะ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ม. มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ

ที่มาของสำนวน คำว่า “รา” ในที่นี้ แปลว่า ทำให้น้อยลง อ่อนลง หมดไปอย่างช้าๆ “มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ” เปรียบเปรยถึงผู้ที่ลงเรือลำเดียวกับคนอื่นแล้วไม่ยอมช่วยพายเรือ แต่ยังเอาขาจุ่มลงไปในน้ำ ยิ่งจะทำให้คนพายอื่นๆ ต้องใช้ลำบากมากยิ่งขึ้น

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ไม่ช่วยหลืองานส่วนรวม ไม่ให้ความร่วมมือ แล้วยังทำตัวเกะกะ ขัดขวางการทำงานของผู้อื่น จนทำให้การทำงานนั้นยากขึ้นไปอีก

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ

  • ครูมอบหมายให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันทำรายงาน ในกลุ่มของสมศรีมีเพื่อนคนนึงไม่ยอมช่วยงานกลุ่มเลย แล้วยังมาชวนเพื่อนที่ทำงานอยู่นั้นพูดคุยอีก ทำให้งานเสร็จช้า ตรงกับสำนวนไทยที่ว่ามือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
  • ถ้าคุณไม่เห็นด้วย ไม่คิดจะช่วยงานนี้ ก็อยู่เฉยๆเสียดีกว่า อย่าทำเป็นพวกมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หาเรื่องทำให้งานมันยากขึ้นไปอีกเลย
  • พวกที่คิดในแง่ร้้าย พวกมือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ ของฝ่ายการเมือง นักการเมือง กลุ่มเคลื่อนไหวการเมือง พวกโซเชียลที่ใช้เวลาว่าง มุ่งโจมตีคนทำงานจริงๆ
  • นักวิชาการกลุ่มนี้ที่ดีแต่พูดดีแต่วิจารณ์ ไม่เคยลงมือปฏิบัติหรือช่วยเหลือชาติบ้านเมืองอะไรเลย วันๆ ดีแต่ออกมาพ่นน้ำลายทำลายกัน เหมือนคำสุภาษิตที่ว่ามือไม่พายแต่ชอบเอาเท้าราน้ำ เกิดมาทั้งทีก็ไร้ประโยชน์ ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับตัวเองและแผ่นดินเลยสักนิด ช่างเสียดายคุณค่าและเวลาที่เกิดมาในชาตินี้
  • สมชายถ้าเอ็งไม่ช่วยเหลือเพื่อนทำงานก็อยู่นิ่งๆ ไม่ใช่มากวนประสาทคนกำลังทำงาน มือไม่พายยังเอาเท้าราน้ำอีก แยกเวลาเล่นกับเวลาทำงานให้ออกหน่อย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements