สุภาษิตคำพังเพยสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ส. สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงนิสัยคน โดยคนส่วนใหญ่มักพูดโอ้อวดเกิน กว่าความเป็นจริง ดังนั้น สิบปาก ที่พูดมาไม่เท่ากับ สองตา ของเราเห็น

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การบอกเล่าบอกต่อผ่านคนมามากๆ ก็ไม่เท่ากับเราได้เห็นด้วยตาตนเอง อย่าเพิ่งไปเชือสิ่งที่คนบอกต่อๆกันมา จะจริงหรือไม่ต้องไปสัมผัสไปเห็นด้วยตัวเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น

  • จงใจมีคนมาบอกว่าสามีของเธอมีชู้ให้ได้ยินเป็นประจำ น้องสาวของเธอจึงบอกว่าอย่าเพิ่งไปเชื่อคำคนง่ายๆนอกจากจะได้เห็นกับตาของตัวเอง เพราะสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
  • มีแต่คนบอกว่าหมู่เกาะสิมิลัน เป็นหมู่เกาะที่สวยที่สุดในประเทศไทย แต่สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ฉันจะต้องหาโอกาสไปพิสูจน์ให้ได้
  • เชิญมาท่องเที่ยวจีน สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น “ตานเสีย” ภูเขาสีรุ้งแห่งแดนมังกร ที่นี่ คุณสามารถสัมผัสความเวิ้งว้างกว้างใหญ่และความเงียบสงบยามพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า ท่ามกลางหุบเขาน้อยใหญ่ เทือกเขาทอดยาว และหน้าผ้าสูงชัน ที่ชวนให้ทั้งหลงใหลและประหลาดใจอย่างไม่รู้จบ ในภูเขาที่เห็นนี้ยังมีแอ่งน้ำธรรมชาติน้อยใหญ่ซ่อนตัวอยู่เป็นจำนวนมาก ราวกับกระจกใสที่จัดวางไว้โดยธรรมชาติ เพื่อสะท้อนเงาของเขาสีรุ้งแห่งนี้ให้วูบไหวและมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น
  • สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น ไม่สู้ลงมือทำ เพราะฉะนั้นเวลาจะทำอะไรอย่าลังเลให้ลงมือทำไว้ก่อน ล้มเหลวช่างมันถือเป็นประสบการณ์
  • อย่าหูเบาไปฟังใครง่ายๆ ถ้ายังไม่ได้เห็นหรือเจอด้วยตนเอง ดั่งสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น อย่าให้คนอื่นมาตัดสินใจ หรือมาเป่าหูเรา

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยสำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ส. สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยสำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงพฤติกรรมการแสดงออกเกี่ยวกับ การพูด การเจรจา การกระทำ หรือกิริยาต่างๆ ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยใจคอ ว่าคนที่พูดมีนิสัยอย่างไร มีบุคลิกภาพอย่างไร เป็นคนสุภาพ อ้อนน้อม มองโลกในแง่ดี ถ้าพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะเสนาะหู ในทางกลับกัน ถ้าพูดถ้อยคำที่รุนแรง ก้าวร้าว ใช้น้ำเสียงที่ดุดัน รวมถึงกิริยา การแสดงออกทางกาย ท่าทางต่างๆ และการแสดงออกทางความคิด ที่สื่อออกมา นี้ ล้วนสามารถเผยให้เห็นถึง ชาติกำเนิด เผ่าพันธุ์ สกุล หรือครอบครัว ว่าเป็นอย่างไร ผ่านการอบรมเลี้ยงดูมาแบบไหน ถึงได้แสดงออกมาเช่นนั้น

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การแสดงออกทางการพูดหรือกิริยามารยาท ที่จะชี้ให้เห็นถึงพื้นฐานการในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน

สำนวนนี้ จึงมักนำมาใช้เปรียบเปรย สอนหรือตักเตือนให้ระมัดระวังคำพูดและกิริยามารยาทการเข้าสังคม ด้วยคนสมัยก่อนเชื่อว่า สำเนียงการพูดและกิริยาท่าทางคือ สิ่งที่แสดงความเป็นอารยชนของคนๆ นั้น ว่าเป็นอย่างไร สื่อให้เห็นว่าผ่านการอบรมเลี้ยงดูมาอย่างไร พื้นฐานครอบครัวเป็นเช่นไร และยังแสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมหรือสภาพสังคมของแต่บุคคล รสนิยมการใช้ชีวิต ทั้งยังสื่อให้เห็นถึงทัศนคติของคนผู้นั้นว่า มองโลกในแง่ดีหรือแง่ร้าย มีความฉลาดทางอารมณ์หรือไม่

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยสำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตสำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล

  • เราเป็นเด็กต่างจังหวัดถึงจะไม่รวย ไม่สวยแบบคุณ แต่ที่บ้านไม่เคยอบรมสั่งสอนให้ทำกิริยาแบบนี้กับผู้อื่น สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุลจริงๆ
  • การพูดจา กิริยาทางทาง มารยาทของคนเรา แสดงถึงตัวตนของคนเราได้ สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล คำพูด ท่าทางเป็น อย่างไร ก็มักจะแสดงออกทำให้รู้ถึงความคิด วิธีคิด ชาติกำเนิด หรือแม้กระทั่งใช้ตัดสินได้เลยว่าเป็นคนดีหรือไม่ เรื่องแบบนี้ ต้องหมั่นสังเกตุ เพื่อไม่ให้คนเหล่านั้นมาสร้างปัญหาให้กับตัวเอง เพราะคบคนไม่ดี
  • ปัจจุบันมีโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งที่ได้รับความนิยม ถูกนำมาใช้เปรียบเปรยถึงพฤติกรรมของคน ด้วยมีความหมายที่ลึกซึ้ง มีเจตนาสอนให้คนได้คิด รู้จักกาลเทศะ มารยาทการเข้าสังคม ซึ่งสามารถนำมาใช้พิจารณาคนและรู้จักการเลือกคบคน รวมถึงการคัดสรรคนเข้าทำงานของหน่วยงานต่างๆ อีกด้วย จากหนังสือประชุมโคลงโลกนิติ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ที่ว่า “ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดิน” โคลงบทนี้ แปลความหมายได้ว่า ก้านบัวสามารถบอกความตื้นลึกของน้ำได้ฉันใด กิริยามารยาทของคนก็ใช้บ่งบอกถึงการอบรมเลี้ยงดูได้ฉันนั้น คำพูดก็สามารถบ่งบอกให้รู้ถึงระดับสติปัญญาได้ เช่นเดียวกับหย่อมหญ้าที่เหี่ยวแห้งย่อมบอกให้รู้ว่าดินในบริเวณนั้นไม่สมบูรณ์มีความแห้งแล้ง ซึ่งมีความหมายที่เหมือนและใกล้เคียงกับสำนวน “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” ที่ใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย
  • การที่เขามาทำมารยาทแบบนี้ในที่สาธารณะได้ สงสัยจะไม่ได้รับการอบรมมา สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล แท้ๆเชียว
  • การคบคนไม่ดีแล้วคนเหล่านั้นสร้างปัญหาให้เรา ดังนั้นจะคบใครจึงต้อง พิจารณาให้ดี สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล คำพูด กิริยา ท่าทาง ที่แสดงออกมา คำพูดไม่ดีเพียงคำเดียวที่หลุดจากปาก ก็ใช้ ตัดสินคนนั้นได้ทันที ว่าคบได้หรือไม่ จะได้ไม่ต้องคบให้เสียเวลา

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยวัดรอยเท้า ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ล. วัดรอยเท้า, วัดรอยตีน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยวัดรอยเท้า

ที่มาของสำนวน มาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ มียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่านนทกาล มีหน้าที่เฝ้ากำแพงประตูชั้นในรับใช้พระอิศวร หลงรักนางอัปสร ชื่อว่ามาลี จึงกระเซ้าเย้าแหย่เธอ แต่ทว่าเธอไม่ชอบใจ จึงไปฟ้องพระอิศวร พระอิศวรจึงสาปให้นนทกาล ไปเกิดเป็นควายเผือกชื่อทรพา และ จะพ้นคำสาปเมื่อถูกลูกชายตนเองฆ่าตาย นนทกาล ไปเกิดเป็นควายชื่อทรพา เมื่อโตขึ้นก็ได้เป็นจ่าฝูงคอยควบคุมควายสาวๆ และได้ควายสาวๆ เหล่านั้นเป็นเมียหมดทุกตัว เมื่อตัวใดตกลูกเป็นตัวผู้ทรพายังจำคำสาปได้ก็จะขวิดลูกให้ตายทุกตัว มีควายท้องสาวตัวหนึ่งชื่อนีลา  ตั้งท้องใกล้จะตกลูก นางกลัวว่าถ้าลูกเกิดมาเป็นตัวผู้ก็จะถูกพ่อฆ่าตาย นางจึงหนีไปอยู่ในถ้ำสุรกานต์ และตกลูกมาหนึ่งตัว เป็นตัวผู้มีชื่อว่าทรพี แล้วนางก็อธิษฐานฝากเทพารักษ์ในถ้ำให้ช่วยเลี้ยงดู เทพารักษ์ก็ช่วยดูแลรักษาเป็นอย่างดี โดยสิงสถิตที่เขาทั้งสองข้าง และขาทั้งสี่ เนื่องจากกลัวว่าถ้าทรพ ทราบจะจับฆ่าเสีย เพราะว่าลูกตัวผู้ก่อนหน้านี้ทุกตัวถูกทรพา ฆ่าตายหมด เมื่อทรพีเติบใหญ่ก็ออกเดินทางตามหารอยเท้าพ่อ เมื่อพบก็จะเหยียบทาบเท้าลงไป เพื่อเป็นการวัดขนาดรอยเท้าเปรียบเทียบกันว่ารอยเท้าของตนใหญ่เท่ากับรอยเท้าของพ่อ หรือ ยัง จนวันหนึ่งพบรอยเท้ามีขนาดใหญ่เท่ากัน จึงได้ตามหาทรพา ผู้เป็นพ่อ และเมื่อได้พบก็เกิดการต่อสู้กันขึ้นทรพา ซึ่งแก่แล้วเรี่ยวแรงก็ถดถอย มีหรือจะสู้เรี่ยวแรงควายหนุ่มอย่างทรพีได้ ทรพี จึงขวิดทรพาตาย สมดังคำสาปของพระอิศวร สำนวนนี้พูดอีกแบบหนึ่งคือ วัดรอยตีน

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การคิดเทียบชั้นผู้ที่เหนือกว่า การวัดหรือเทียบความสามารถของตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าหรือผู้มีพระคุณ เพื่อชิงดีชิงเด่น แสดงตนว่าเหนือกว่า ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความอกตัญญู

ปัจจุบันเรื่องแบบนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติในวงการธุรกิจ การเมือง หรือมีเรื่องของ ผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยวัดรอยเท้า

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตวัดรอยเท้า

  • แดงเป็นลูกศิษย์ของนักมวยชื่อดัง แต่ตอนนี้เขากลายเป็นลูกศิษย์ที่คอยแต่จะวัดรอยเท้าครู แดงไม่เคารพครู และพยายามแสดงให้คนอื่นเห็นว่าตัวเขามีความสามารถเหนือกว่าครูที่สอนเขามา
  • ตอนนี้เขาก็เป็นเหมือนลูกศิษย์ที่คอยแต่จะวัดรอยเท้าครู พยายามชิงดีชิงเด่น แสดงให้คนอื่นเห็นว่าตัวเองมีความสามารถเหนือกว่าครู โดยไม่มีความเคารพครู แบบนี้จะเจริญได้อย่างไร
  • เราเป็นลูกศิษย์อย่าคิดวัดรอยตีนเท้าครู เพราะครูเป็นผู้อบรมสั่งสอนเรามา เราไม่สามารถที่จะเรียนรู้วิชาที่ท่านสอนได้หมด อย่าเป็นศิษย์อกตัญญูไม่รู้คุณ
  • จากเรื่องราวของทรพากับทรพีทำให้เกิดสำนวน ‘ลูกทรพี’ โดยมีความหมายว่า ลูกอกตัญญูที่ทำร้ายพ่อแม่ของตน ดังจะเห็นจากทรพีที่คิดแค้นและฆ่าทรพาผู้เป็นพ่อของตนเอง หากไม่นับเรื่องของทรพาที่ไล่ฆ่าลูกชาย การกระทำของทรพีก็เป็นการเนรคุณต่อผู้ให้กำเนิด และสำนวน ‘วัดรอยเท้า’ มีความหมายว่า คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดีชิงเด่น ดังเช่นที่ทรพีวัดรอยเท้าตนกับทรพาผู้เป็นพ่อเพื่อรอคอยวันที่จะต่อสู้ได้อย่างทัดเทียม
  • คนรุ่นใหม่ เด็กรุ่นใหม่ทุกวันนี้ฉลาดกว่าคนรุ่นเก่า เพราะเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่าย และมากกว่าคนรุ่นเก่า ซึ่งส่วนใหญ่ หยุดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไปนานแล้ว เมื่อมีความรู้มากขึ้น เด็กบางคนก็เริ่มคิด วัดรอยเท้า ผู้ใหญ่ ชิงดี ชิงเด่น ไม่ให้เกียร์ติผู้ใหญ่ เพราะถือว่าตัวเองมีความรู้มากกว่า เก่งกว่า ร้อนวิชา ไม่ฟังใคร ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ เก่งกว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ต้องให้เกียรติผู้ใหญ่ที่ผ่านร้อน ผ่านหนาวมาก่อนด้วย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยเล่นกับหมา หมาเลียปาก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ล. เล่นกับหมา หมาเลียปาก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเล่นกับหมา หมาเลียปาก

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึง การที่คนไปเล่นกับหมาอย่างใกล้ชิด หมาเห็นว่าคนมาเล่นด้วยก็เลยแสดงอาการเป็นมิตรด้วยการเลียปาก ซึ่งที่จริงก็เป็นอาการปกติของหมา เพราะหมาไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การลดตัวลงไป หรือวางตัวไม่เหมาะสมจึงถูกลามปาม กล่าวคือถ้าวางตัวไม่เหมาะสมโดยลดตัวลงไปตีเสมอกับบุคคลที่ต่ำชั้นกว่า อาจจะถูกบุคคลเหล่านั้นละลาบละล้วงลามปามได้ มักใช้เข้าคู่กับ เล่นกับสาก สากต่อยหัว

การที่ผู้ใหญ่หรือผู้มีตำแหน่งสูงกว่า วางตัวไม่เหมาะสม ลงไปเล่นทำตัวสนิมสนมกับผู้น้อย ทำให้ผู้น้อยลามปาม ไม่ให้เกียรติ ตีตนเสมอด้วย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเล่นกับหมา หมาเลียปาก

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเล่นกับหมา หมาเลียปาก

  • ผู้ใหญ่บางคนทำตัวเสมอกับเด็กๆไปเล่นหยอกล้อกับเด็กๆ และ เอ็นดูเด็กไปลูบหัวเด็กๆเล่น เด็กๆยังไม่รู้จักประสีประสาอาจจะลูบหัวกลับบ้างก็ได้ ดังคำโบราณว่าเล่นกับหมา หมาเลียปาก เล่นกับสาก สากตีหัว
  • คุณอย่างลงไปทำตัวสนิทสนมกับลูกน้องนักเลย ยิ่งคุณไปเล่นกับเขามากเท่าไหร่เขาก็จะลามปาม คิดว่าคุณเป็นพื่อนเล่นระวังนะเล่นกับหมา หมาเลียปาก
  • หมาบางตัวนิสัยดี บางตัวก็นิสัยไม่ดี บางตัวไปเล่นด้วยไม่ได้เลย เล่นกับหมา หมาเลียปาก ทำให้ได้รับความเดือดร้อน บางทีเราไปเจอหมาจรจัด แล้วเกิดความสงสาร ให้อาหารกิน คราวหน้าพอเจออีกที บางตัวถึงกับแย่งข้าวของในมือเลยทีเดียว จะเล่นกับหมา ก็ต้องศึกษานิสัยก่อน บางตัวนิสัยไม่ดีมากๆ ให้อาหารครั้งเดียว ต่อไปถ้าเห็นถือถุงพลาสติก ข้าวกล่อง อาหาร ขนม ก็จะคอยแย่งตลอดเวลา หากพลาดไปแล้ว ก็ต้องใช้วิธีหลอกด้วยการใส่อาหารในถุงผ้า หมาก็จะไม่รู้ นึกว่ากระเป๋า แล้วก็ จะไม่แย่ง
  • “เทพเทย” พร้อมสู้คดีในชั้นศาล “สิวะ” เหน็บ เป็น ส.ส.ต้องใจนักเลง อ้างที่พูด “เล่นกับหมา หมาเลียปาก” ก็แค่อุปมาอุปไมย ไม่ได้ใส่ร้าย สอนเป็น ส.ส. อย่าใจแคบ เรื่องแค่นี้เขาไม่ฟ้องกัน “ขอกันกินยังมากกว่า”
  • คนนิสัยไม่ดี ลดตัวไปคบหาสมาคมไม่ได้เลย หมือน เล่นกับหมา หมาเลียปาก แต่อันตรายมากกว่านั้น อย่างสังคมต่าง จังหวัด สังคมที่ผู้คนต้องมีชีวิตอย่างปากกัดตีนถีบ ทำให้มีแต่คนเห็นแก่ตัว บางคนเผลอไปยิ้่มให้หน่อยเดียว ก็มาขอเงิน ขอ นู่นนี่แล้ว หากเป็นผู้หญิงต้องระวังตัวให้มาก เพราะผู้ชายส่วนใหญ่ หากมีผู้หญิงคนไหนมาทำดีด้วยก็มักจะคิดว่า ผู้หญิงนั้น ชอบตน คราวนี้ปัญหาวุ่นวายก็จะเกิดขึ้นตามมา หากคบคนไม่ดี เพราะบางคนก็มาเฝ้าตามจีบ สร้างความรำคาญ หากไม่มีตัว ช่วยกันหมาประเภทนี้ ชีวิตลำบากแน่นอน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยลูกไก่ในกำมือ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ล. ลูกไก่ในกำมือ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยลูกไก่ในกำมือ

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยลูกไก่ตัวเล็กๆ ที่อยู่ในกำมือกับผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่า หรือผู้ที่ไม่มีทางสู้ หากอยากจะบีบให้ตายหรือปล่อยไปเมื่อไรก็ย่อมได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า “ลูกไก่อยู่ในกำมือ จะบีบก็ตาย จะคายก็รอด”

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่มีอำนาจหน้าที่หรือตำแหน่งสูงกว่าคนที่อยู่ใต้อำนาจ จะทำอย่างไรกับคนที่อยู่ใต้อำนาจของตนก็ได้ตามต้องการ

สำนวนนี้สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงคนที่เสียเปรียบคนอื่น ต้องยอมทำตาม ไม่มีทางหลีกหลีก หรือลบ เลี่ยง เหมือน ลูกไก่ในกำมือ บีบก็ตาย คลายก็รอด ใครที่ต้องตกอยู่ในสภาพนี้จะสร้างความทุกข์กาย ทุกข์ใจอย่างมาก

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยลูกไก่ในกำมือ

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตลูกไก่ในกำมือ

  • เสี่ยสมชายมีนิสัยชอบเอาเปรียบผู้อื่น และเขาก็มีอำนาจบารมีมากในเมืองนี้ การที่ชาวนาเอาที่ดินมาจำนำกับเขา ก็เหมือนเป็นลูกไก่อยู่ในกำมือ จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด
  • เธอก็เหมือนลูกไก่ในกำมือ จะบีบก็ตายจะคลายก็รอด เพราะฉะนั้นถ้าเธอไม่อยากมีปัญหา เดือดร้อนทีหลังก็ควรทำตามที่ฉันสั่ง
  • การใช้ชีวิตในทางไม่ดี เดินผิดทางย่อมจะมีโอกาสเสียเปรียบคนอื่น เหมือน ลูกไก่ในกำมือ ไม่สามารถขัดขืน ต้องทำตามที่ คนมีอำนาจเหนือกว่าต้องการ อย่างเรื่องของยาเสพติ ผู้หญิงทำงานกลางคืนบางคน ติดยา เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เมื่อมีความ ต้องการยา ก็มักจะต้องยอมทำตามที่คนขายต้องการ บางคนก็ต้องเอาตัวเข้าแลก เพื่อหาเงินมาเสพยา นี่คือเรื่องจริงที่จะพบได้ ในสังคมกลางคืน บางคนเหมือนตกนรกทั้งเป็น
  • น่าเห็นใจเขาจริงๆ เขาก็เหมือนลูกไก่ในกำมือของพวกมาเฟีย ถ้าเกิดจะขัดขืนอะไรขึ้นมาคงได้เดือดร้อนแน่ๆ
  • การเป็นคนไทยในยามที่รัฐเผชิญหน้าวิกฤตไม่ง่ายเลย ทางเลือกระหว่างพรรคราชการกับพรรคการเมืองเป็นสถานการณ์ที่คับขันกระอักกระอ่วน เป็นลูกไก่ในสองกำมือ เข้ามือไหนก็ตายทั้งนั้นไม่มีรอด ที่จริงประเทศไทยอาจจะทำได้ดีกว่านี้ได้ ถ้ารัฐไทยไม่พยายามลาก

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยเรียนผูกต้องเรียนแก้ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ร. เรียนผูกต้องเรียนแก้

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเรียนผูกต้องเรียนแก้

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงปมเชือกหรือกองด้าย ที่ม้วนตัวขยุกสอดสลับไปมา จนยุ่งเหยิง หาปลายด้ายทั้งสองแทบไม่เจอ เหมือนปัญหากับปมเชือกหรือกองด้ายที่ผูกมัด ผู้ใดที่เป็นคนผูกก็ย่อมจะรู้วิธีแก้ดีกว่าคนอื่น หรือต้องรับผิดชอบในปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ รู้วิธีทําก็ต้องรู้วิธีแก้ไข รู้กลอุบายทุกทางทั้งทางก่อและทางแก้ ถ้าสร้างปัญหาอะไรขึ้นมาก็ต้องรู้จักวิธีแก้ปัญหานั้นเองด้วย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเรียนผูกต้องเรียนแก้

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเรียนผูกต้องเรียนแก้

  • เธอเลิกให้ความช่วยเหลือเขาเสียที คนทำผิดเรียนผูกต้องเรียนแก้เอง ไม่เช่นนั้นเขาก็ยังคงสร้างปัญหามาให้อยู่เรื่อยๆ
  • พรุ่งนี้เช้าดาวเรืองต้องไปสอบสัมภาษณ์งาน แต่ดาวเรืองกลับมาจากเที่ยวค่ำมืด พอถึงบ้านก็หลับเลยโดยไม่คิดจะเตรียมหาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่เรียบร้อยเพื่อใส่ไปสอบ พอรุ่งเช้าดาวเรืองไม่มีชุดเรียบร้อยไปสอบ ถึงไปขอให้แม่ช่วย แม่จึงบอกดาวเรืองว่า เรียนผูกต้องเรียนแก้
  • หลายครั้งก็มานึกถึงคำโบราณว่า เรียนผูก ก็ต้องเรียนแก้(ด้าย) ที่สุดเมื่อเราทำสำเร็จ ความรู้สึกชนิดหนึ่ง จะบังเกิดขึ้นทันที โล่งใจ รับรู้ว่าความสำเร็จนี่ ทำให้เราภาคภูมิใจ และเชื่อมั่นขึ้นมาเป็นกอง ดังนั้น การรื้อด้ายที่พันกัน จึงไม่ใช่เรื่องธรรมดา ต้องใช้ใจจดจ่อ เป็นสมาธิ หาต้นสายปลายเหตุ บางปมคิดว่า ไม่น่าจะแก้ได้ แต่ก็แก้จนได้
  • ไม่มีใครเกิดมาไม่เคยผิดพลาด ลูกเรียนผูกต้องเรียนแก้ จะได้โตเป็นผู้ใหญ่ซักที
  • บทเรียนจากสำนวนเรียนผูกต้องเรียนแก้ ถ้าในเวลาเท่าๆ กัน ถ้าเราเร่ง เร่าร้อน จะเหมือนเวลาสั้น เหมือนเรามีเวลา แกะทุ่นระเบิด ที่ใกล้ถึงเวลาระเบิดเต็มที ยิ่งรีบ ก็ยิ่งเนิ่นนาน ทำงานช้าลงไป แต่พอตั้งสติ คอยๆ ทำ ห้านาทียังเหลือเฟือ ปมแต่ละปม ปลายแต่ละปลาย มันก็อยู่ของมันอย่างนั้นแหละ ไม่ได้ซุกซ่อนบังตาไปไหนเลย เพียงเราใจเย็นๆ ก็จะเห็นว่า แท้จริงแค่ นำปลายย้อนกลับ ไปอีกทาง ปมก็หลุดอย่างง่ายดาย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยรู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ร. รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยรู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการเรียนรู้นั้นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อเราเรียนรู้สิ่งใดไปแล้ว แม้จะอยู่ติดตัวเรา แต่ก็ไม่ได้เป็นภาระที่ต้องนำมาแบกไว้โดยเสียแรงเปล่า

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือเสียหายอะไร การศึกษาหาความรู้ไว้ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะการมีความรู้มาก ไม่เหมือนการแบกข้าวแบกของ ซึ่งจะรู้สึกว่าหนักบ่า มีความรู้มิได้หนักบ่าหนักแรงอะไร ความรู้ที่เวลานี้เราคิดว่าไม่มีประโยชน์ วันหน้าอาจเห็นคุณค่าของมันก็ได้

โดยคนโบราณท่านใช้เพื่อสอนให้รู้ว่า การเรียนรู้ศาสตร์ความรู้แขนงต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่ดี และการเรียนรู้เหล่านี้ก็ไม่ได้หนักหนาอะไร และไม่ต้องแบกหามความรู้พวกเหล่านี้ไว้บนบ่าอีกต่างหาก

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยรู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตรู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

  • อย่าเห็นว่าเรื่องกฎหมายเป็นเรื่องไกลตัว ศึกษาไว้ก็ไม่เสียหาย อย่างที่เขาว่า รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ในอนาคตเธออาจจะได้ใช้ประโยชน์จากมันนะ
  • ฝึกอบรมเรื่องการหนีไฟวันนี้แกจะโดดอีกเหรอ แกน่าจะเข้านะ ของพวกนี้รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
  • ในช่วงที่อายุยังน้อย ควรเร่งศึกษาหาความรู้ ศึกษาวิชาใส่ตัว เพราะความรู้มีประโยชน์ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม รู้แล้วก็เก็บ ความรู้ไว้ในสมองเท่านั้น ไม่ใช่จะต้องแบก ไม่หามให้เหนื่อย แต่อย่างใด และความรู้นั้นบางเรื่อง ศึกษาครั้งเดียวก็จะใช้งานได้ ตลอดไป โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพซึ่งถือว่าเป็นความรู้ที่สำคัญ จำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอด
  • การเรียนหนังสือหลายวิชานะดีแล้วละลูก ทำให้เรามีความรู้กว้างไกล คิดซะว่ารู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม วันหนึ่งอาจจะได้ใช้ความรู้เหล่านี้ก็ได้
  • ทุกวันนี้ความรู้ในแทบทุกเรื่อง สามารถเข้าถึงได้ง่าย อยากรู้เรื่องอะไร ก็สามารถค้นหาได้ตามต้องการ ไม่ต้องเข้าห้องสมุด ไม่ต้องถามใคร เป็นเรื่องดีสำหรับคนชอบศึกษาหาความรู้ ชอบเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม รู้มาก รู้ทุกเรื่องย่อม เป็นเรื่องดี เพราะความรู้ไม่ต้องแบก ไม่ต้องหาม แต่ต้องมีมือถือสมาร์ทโฟน และรู้วิธีค้นหาข้อมูล คัดแยกข้อมูล เพราะข้อมูล ขยะนั้นมีมากกว่าข้อมูลที่ตรงกับความต้องการจริงๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยรักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ร. รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยรักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา

ที่มาของสำนวน คำว่า “จั่ว” ในที่นี้คือจั่วของบ้านสมัยก่อนเป็นแผงไม้รูปสามเหลี่ยมใช้ประกบปิดส่วนที่เป็นโพรงทั้งหัวและท้ายของหลังคาเรือน เพื่อป้องกัน แดด,ลม,ฝน ส่วน “เสา” คือไม้ท่อนยาวใช้เป็นโครงสร้างหลักรองรับเรือนไม้ ซึ่งจั่วจะอยู่ส่วนบนของเรือนนึงมีหน้ำหนักเบากว่า เสา ที่เป็นส่วนรับน้ำหนักทั้งหมดของเรือน และมีน้ำหนักเบากว่าเสา(เสาบ้านเรือนไทย) ซึ่งเป็นไม้ท่อนยาวใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ดังนั้นหามจั่วจึงสบายกว่าหามเสา ดังนั้นจึงนิยมนำเอาสำนวนนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ แต่หากใฝ่ชั่วจะได้รับความลําบาก

มักใช้กับผู้ที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ทำแต่สิ่งดีงาม ก็จะพบกับความสุข ความเจริญในหน้าที่การงาน และในทางตรงกันข้ามผู้ใดไม่ขยันศึกษาเล่าเรียน ทำแต่สิ่งชั่วร้าย ก็จะพบเจอกับความยากลำบาก หาความเจริญมิได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยรักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตรักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา

  • คุณตาสอนฉันเสมอว่าให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เพราะในอนาคตจะได้สบาย เหมือนสำนวนไทยที่ว่ารักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา
  • เขาเป็นเด็กดีตั้งใจเรียน โตมาตอนนี้ก็ได้เป็นหมอที่เก่ง มีความสามารถ ต่างกับพี่ชายจริงๆ ที่ตอนเด็กๆ เอาแต่เที่ยวเล่น หนีเรียน สุดท้ายก็เรียนไม่จบ ปัจจุบันเลยต้องเป็นกรรมกรแบกหาม เหมือนที่เขาว่ารักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสาแท้ๆ
  • คนเรานะทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วนะลูก อย่างที่ดบราณท่านว่าไว้ว่ารักดีหามจั่วรักชั่วหามเสานั่นแหละ
  • รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา เป็นคำสอนเรื่องการประพฤติตนที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่ การรักดี ชอบสิ่งดีนั้น ก็ต้องเข้า ใจกันก่อนว่า ผลตอบแทนที่ได้ จะมาในรูปแบบใด เช่น ทำให้จิตใจสงบ มีความสุข แต่อาจจะไม่ได้ร่ำรวยเงินทอง หรืออาจจได้ ทั้งความร่ำรวยเงินทอง และประสบความเจริญในชีวิต สิ่งเหล่านี้อาจจะมาเร็วหรือช้า มาทั้งหมด หรือมาแบบไม่ครบ ก็ยังมี ปัจจัยอื่นเกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง
  • ดูลูกชายนักการเมืองคนนั้นไว้เป็นตัวอย่างนะลูก เวลาพ่อมีอำนาจก็กร่างไปทั่ว ทำแต่เรื่องเลว ๆ ไม่ยอมทำความดี เวลานี้พ่อตกอับ ลูกเลยลำบากไปด้วย นี่แหละที่เขาว่าไว้ว่ารักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา ลูกคนอื่นที่เขาทำดี ตั้งใจเรียน ก็เห็นได้ดีกันหมด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ร. รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

ที่มาของสำนวน คนโบราณท่านนิยมใช้สั่งสอนคนให้ระมัดระวังและดูแลในสิ่งที่รัก ต้องหมั่นสั่งสอนให้ดี ไม่ตามใจจนเกินไป เพราะอาจจะเสียคนเอาภายหลังได้ เปรียบได้กับเมื่อรักวัวของตนเองก็ควรผูกล่ามเอาไว้ให้มั่นคง ไม่ให้ใครมาขโมยเอาไปได้ หรือป้องกันไม่ให้วัวนั้นหนีเตลิดออกไป

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การอบรมสั่งสอน ว่ากล่าวตักเตือน หรือลงโทษลูก เมื่อลูกได้กระทำความผิด หรือทำในสิ่งไม่ถูกต้อง เพื่อให้ลูกได้รับรู้ จดจำว่าสิ่งนั้นไม่ดี และจะไม่ควรจะทำอีก

ส่วนคำว่ารักลูกให้ตีนั้น ท่านไม่ได้สอนให้เป็นคนโหดร้าย ชอบทำร้ายลูกหลานด้วยการเฆี่ยนตี แต่ท่านสอนให้เรารู้จักสอนลูก เมื่อลูกทำผิดก็ทำโทษบ้างตามสมควร การทำโทษก็เพื่อหวังให้จดจำว่าทำสิ่งที่ผิดก็จะโดนลงโทษ เพื่อจะได้ไม่ทำผิดอีก และยังมีความหมายรวมไปถึงการไม่โอ๋ลูกจนเกินพอดี เมื่อลูกทำผิดก็ยังตามใจ เห็นดีงามไปกับลูก ซึ่งจะทำให้เด็กติดนิสัยแย่ ๆ ไปจนโต และจะสร้างปัญหาให้กับตัวเด็กได้ในอนาคต

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

  • เมื่อโตขึ้นฉันจึงเข้าใจ สำนวนไทยที่ว่ารักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี สาเหตุที่แม่ว่ากล่าวตักเตือน ลงโทษเวลาที่ฉันกระทำความผิดก็เพราะแม่รักฉัน อยากให้ฉันเป็นคนดี
  • ครอบครัวนี้เลี้ยงลูกมาดี ไม่เคยให้ท้ายลูกเลย เข้าทำนองรักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี จนตอนนี้ลูกแต่ละคนก็ได้ดิบได้ดี เป็นที่รักใคร่ไปแล้ว
  • ‘รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี’ สุภาษิตไทยที่ถูกบรรจุอยู่ในวิชาภาษาไทยสมัยประถมที่บอกว่า ถ้าคุณเป็นพ่อเเม่การตีจะช่วยให้ลูกเป็นคนดีเเละไม่ทำผิดซ้ำ ส่วนคนเป็นลูกก็เข้าใจว่า ที่พ่อเเม่ตีเพราะเขารักเเละหวังดี
  • จากกรณีที่นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติว่า ที่ประชุมได้มีการหยิบยกเรื่องการเปลี่ยนคำในสุภาษิตไทยขึ้นมา โดยมีการเสนอให้เปลี่ยนสุภาษิตที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” เป็น “รักวัวให้ผูก รักลูกให้กอด” เพื่อให้เกิดค่านิยมใหม่ที่จะช่วยเติมเต็มความอบอุ่นในครอบครัวมากขึ้น
  • แต่เมื่อมาในยุคปัจจุบัน ยุคที่ความรุนแรงถูกมองว่าเป็นเรื่องของการคุกคาม และโหดร้ายทารุณ มากกว่าที่จะเป็นการลงโทษเพื่อประโยชน์ การทำโทษโดยการตีนั้นจึงค่อยๆ หายไปตามยุคและสมัยไป กระทรวงศึกษาธิการเอง ก็ได้ออกกฎว่าห้ามคุณครู ตีนักเรียน มาตั้งแต่ปี 2548 (ใครจะไปเชื่อว่าผ่านมาแล้ว 15 ปี แต่ยังมีตีกันให้เห็นจนถึงปัจจุบัน) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในปัจจุบัน วลี “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” นั้นอาจจะใช้ไม่ได้ผลไปเสียแล้ว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements


สุภาษิตคำพังเพยยุ่งเหมือนยุงตีกัน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ย. ยุ่งเหมือนยุงตีกัน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยยุ่งเหมือนยุงตีกัน

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงปกติธรรมดาธรรมชาติของยุงถ้าชุมมากๆ มันจะบินวนเวียนสับสนปนเปกัน ไม่รู้ว่าตัวไหนเป็นตัวไหน หรือถ้าหากว่ามันได้รับอันตรายจากกลุ่มควัน หรือสารพิษมันยิ่งจะบินขวักไขว่ชนกันตกลงมาปนเปกันปีกหลุดร่วงลงสู่พื้น ดูสับสนยุ่งเหยิงไม่ทราบว่าชิ้นส่วนนั้นเป็นของตัวไหน

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ สิ่งที่ยุ่งเหยิง วุ่นวาย สับสนปนเปกัน มักใช้กับคนที่ทำอะไรวุ่นวายนั้นจะสร้างปัญหามากกว่า

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยยุ่งเหมือนยุงตีกัน

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตยุ่งเหมือนยุงตีกัน

  • ตอนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 สภาพเศรษฐกิจตอนนั้นยุ่งเหมือนยุงตีกัน สับสนไปหมด บริษัทเองเราก็แทบเอาตัวไม่รอด
  • ในช่วงปีใหม่ร้านขนมเค้กของสมศรีมีลูกค้าสั่งเค้กจำนวนมาก ทำให้สมศรีต้องจ้างพนักงานเพิ่ม ทำให้ภายในห้องครัวมีคนเต็มไปหมดแต่ละคนดูวุ่นวาย ดูแล้ว ยุ่งเหมือนยุงตีกัน เพราะทุกคนมีงานล้นมือทำกันแทบไม่ได้หยุด
  • ครูให้เด็กชายอิทธิพลคัดลายมือ วันละหนึ่งหน้า เพราะลายมือของเขาช่างอ่านยากลำบากมากๆ มันยุ่งเหมือนยุ่งตีกัน
  • ในการทำงานกับคนหมู่มาก จำเป็นต้องจัดระเบียบให้ดี ไม่เช่นนั้นก็จะยุ่งเหมือน ยุ่งเหมือนยุงตีกัน มีแต่ปัญหาวุ่นวายไป หมด บางคนก็โวยวาย พูดคุยเสียงดัง เพราะความไม่เข้าใจกันเรื่องงาน หรือขาดระเบียบวินัย อย่างการแปรอักษร เพียงแค่ใช้ ระเบียบวินัยควบคุมก็ไม่สร้างปัญหา ทุกคนสามารถแปรอักษรกันได้อย่างพร้อมเพรียง
  • หยุดยาวไปต่างจังหวัด 5 วันพอกลับมาทีทำไมงานมันเยอะ วุ่นวาย ยุ่งเหมือนยุงตีกัน ปลีกตัวไปทำอย่างอื่นไม่ได้เลย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements