สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. เคาะกะลามาเกิด
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเคาะกะลาให้หมาดีใจ
ที่มาของสำนวน มาจากเวลาคนสมัยก่อนที่จะเรียกหมาให้มากินอาหาร ก็จะเคาะกะลาเป็นสัญญาณ หมาได้ยินเสียงเคาะกะลาก็รีบมา แต่กลับไม่ให้ข้าวมัน เรียกให้มันมาแล้วดีใจเก้อ
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การหลอกให้มีความหวัง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเคาะกะลาให้หมาดีใจ
- อย่าไปเชื่อคนคนนี้ วันๆ เอาแต่หลอกคนอื่นให้มีความหวังว่าจะรวยขึ้น ชีวิตดีขึ้น แต่แท้จริงแล้ว
- เคาะกะลาให้หมาดีใจเพราะแปลว่าก่อนเอาข้าวให้หมากิน คนให้จะเคาะกะลาก่อนทุกครั้ง แล้วก็เอาข้าวให้หมา เมื่อเรียนรู้เรื่อยๆ ว่าเคาะกะลาแปลว่าได้กินข้าว ต่อไปแค่เจ้าของเคาะกะลา แม้ไม่เห็นข้าวหมาก็ดีใจแล้ว
- รัฐบาลฯ ชุดนี้ หลอกให้เราดีใจ เหมือนโดนหลอกให้เรามีความหวัง สุดท้ายก็ทำไม่ได้อย่างที่พูดไว้ เคยบอกอะไรไว้กับประชาชน มันทำกันไม่ได้จริงๆ เคาะกะลาให้หมามันดีใจเล่นๆ จริงๆ
- ระวังผู้หญิงคนนี้ให้ดี ชอบเคาะกะลาให้หมาดีใจ ผู้ชายมาจีบหลายคนหลอกเอาเงิน หลอกให้ความหวัง โดนกันมาหลายต่อหลายคนแล้ว
- “เธอเคาะกะลาให้หมาดีใจ หรอกให้ครั่งไคร้ หรอกให้รักเธอมานาน แกล้งทำว่าเธอรักกัน เหมือนเธอนั้นไม่ใช่ซาตาน แท้จริงเธอคือนางมาร ในคราบนางฟ้า” เพลง เคาะกะลา – นายแดง