สุภาษิตคำพังเพยตัวจักรใหญ่ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตัวจักรใหญ่

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตัวจักรใหญ่

ที่มาของสำนวน เปรียบถึงความสำคัญของตัวจักรใหญ่เป็นตัวจักรที่สำคัญที่สุด เป็นต้นกำเนิดการทำงานของตัวจักรอื่นๆ ถ้าตัวจักรใหญ่ทำงาน ตัวจักรตัวอื่นๆก็จะทำงานตามไปด้วย หรือ ตัวจักรใหญ่จะไม่ทำงาน หรือหยุดการทำงาน ตัวจักรตัวอื่นๆก็จะไม่ทำงาน และหยุดการทำงานไปด้วย

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ กล่าวคือ บุคคลซึ่งเป็นสมอง เป็นหัวหน้าใหญ่  ตัวการใหญ่ และเป็นคนคอยสั่งการ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตัวจักรใหญ่

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตัวจักรใหญ่

  • กองกำลังติดอาวุธ หลายที่มีรัสเซียเป็นตัวจักรใหญ่ ถ้ารัสเซีย หยุดการเคลื่อนไหว ส่งท่อน้ำเลี้ยงไปให้พวกนี้ พวกนี้ก็จะหยุดการเคลื่อนไหวทันที
  • คุณสุกิจเป็นตัวจักรใหญ่ในการระดมทุนผู้มีจิตศรัทธาจัดสร้างองค์พระ ถวายวัดที่ขาดแคลนในครั้งนี้ ถ้าไม่มีเขางานนี้คงไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้
  • ทุกกิจการต้องมีหัวหน้าที่เป็นตัวจักรใหญ่ขับเคลื่อนอยู่เสมอ บริษัทจะดี จะแย่ก็อยู่ที่หัวหน้านี่แหละว่าจะบริหารงานแบบไหน
  • เขาเป็นตัวจักรใหญ่ในการจัดงานเลี้ยงต้อนรับผู้อำนวยการใหม่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
  • แม่ทัพเป็นตัวจักรใหญ่ของกองทัพภาค การสั่งการ ต้องเด็ดขาด รวดเร็ว กล้าตัดสินใจ อ่อนได้ แข็งได้ และต้องเป็นผู้นำสูง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงแม้คนเราเป็นขี้ข้าทำงานเกี่ยวกับสิ่งไม่ค่อยสะอาดนัก ก็อย่าทำให้เสื้อผ้าเหม็นเหมือนงานที่ทำ ความเป็นคนยังไงก็ต้องรักษาค่าความเป็นคนที่ดี

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ คนที่ถึงแม้จะมีฐานะต่ำต้อย ยากจน ก็ต้องประพฤติตนไปในทางที่ดี รักษาความดีที่มีอยู่ อย่าประพฤติตนไปในทางเสื่อมเสีย

เป็นสุภาษิตเก่าแก่ ที่สอนให้คนเราประพฤติชอบแต่ในทางที่ดีไม่ให้ประพฤติตนไปในทางเสื่อมเสีย แม้จะมีฐานะยากจน เป็นตนใช้หรือลูกจ้างเขาก็ตามแต่ ก็ต้องรักษาความดีความซื่อสัตว์ รวมทั้งความสะอาดกายไปในตัวด้วย อย่าปล่อยตัวเองให้ตกเป็นทาสของความชั่ว

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ

  • ถึงแม้ผมจะเกิดมาจน แต่ผมไม่เคยขอใครกิน และให้เกียรติผู้อื่นอยู่เสมอ ถึงตัวจะเป็นขี้ข้า ผมก็ไม่ให้ผ้าเหม็นสาบ อย่างน้อยผมหางานสุจริต
  • แม้จะเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน แต่หากทำความดี เป็นคนดี ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ ไม่ทำความชั่ว ให้ตัวเองต้องแปดเปื้อนสิ่งที่ไม่ดี ก็จะได้รับการชื่นชมในความดี
  • คุณแม่มักจะคอยเตือนผมเสมอว่าตัวเป็นข้าอย่าให้ผ้าเหม็นสาบ ต่อให้เราจะยากจนสักเพียงไหน ก็ขอให้มีความซื่อสัตย์ อย่าให้ใครมาว่ากล่าวได้
  • บางคนถือว่าตัวเองเกิดมาต่ำต้อย แต่ก็ไม่โทษโชคชะตา พยายามทำตัวเป็นคนดี ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ หมั่นทำความดี ไม่ทำเรื่องที่ทำให้ตัวเองต้องตกต่ำเหมือนชาติกำเนิด
  • เศรษฐีแต่ละคนก็มาจากคนจนก่อนทั้งนั้น สร้างตัวสู้ชีวิตกันมา แต่เขาเหล่านั้นไม่เคยดูถูกตัวเอง ตัวเป็นขี้ข้า ผ้าก็ไม่เหม็นสาบ ค่อยๆ สร้างตัวจนประสบความสำเร็จในที่สุด
  • ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ จนไม่เป็นไร เงินหาได้ เหมือนกับความดี ต้องค่อยๆ สร้างเหมือนเงิน สุดท้ายถ้ามีความดี เงินดีๆ ก็จะมาหาเอง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตาบอดสอดตาเห็น ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตาบอดสอดตาเห็น

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตาบอดสอดตาเห็น

ที่มาของสำนวน เปรียบกับคนตาบอดที่มองไม่เห็นอะไร แต่อวดรู้ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้

ตามปกติธรรมดาธรรมชาติของคนที่ตาบอดก็จะมองอะไรไม่เห็นอยู่แล้ว แต่เมื่อมีคนมาเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟังซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเท็จ หรือ ริงก็ไม่อาจจะที่ทราบได้ เพราะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ และ ตาก็มองไม่เห็น ควรที่จะรับฟังเฉยๆ แต่นี่กลับนำไปพูดเล่าต่อ และขยายความเหมือนกับว่าตนเองอยู่ในเหตุการณ์ และมองเห็นอย่างทะลุปรุโปร่ง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้ อวดรู้อวดเก่งในเรื่องที่ไม่รู้จริง ไม่ฉลาดจริง กล่าวคือ คนที่ชอบอวดรู้ในเรื่องที่ตนเองไม่รู้ หรือรู้เพียงเล็กๆ น้อย แต่นำไปพูดขยายความอย่างกว้างขวาง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตาบอดสอดตาเห็น

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตาบอดสอดตาเห็น

  • กรณีการปั่นหุ้นใหญ่ระดับประเทศ เราอย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ทั้งๆ ที่ยังไม่มีข้อมูลเลย เพราะข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรยังไม่ทราบแน่ชัด อย่าทำเป็นตาบอดสอดตาเห็นเลย ให้เขาทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ทราบแน่ชัดเสียก่อน แล้วเราจึงนำมาวิพากษ์วิจารณ์กัน
  • เขาก็เป็นแค่พวกตาบอดสอดตาเห็น ทำมาเป็นเก่งอ้างอิงข้อกฏหมาย แต่ไม่รู้จริงหรอก อย่าไปสนใจเลย
  • อย่าเป็นพวกตาบอดสอดตาเห็น เข้าใจไหม! เวลาจะฟังอะไร ให้มองสองด้านก่อนเสมอ แล้วค่อยพูด
  • คุณอย่าไปเสียเวลาอธิบายให้มากความเลย พวกตาบอดสอดตาเห็น อธิบายไปก็เท่านั่น
  • ชีวิตตัวเองยังไม่ดี ก็อย่าทำตัวตาบอดสอดตาเห็น เอาเวลาไปสอดเรื่องไม่เป็นเรื่อง ไปพัฒนาตัวเอง พัฒนาชีวิต เพื่อตัวเอง ครอบครัวสบายจะดีกว่า

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตายฝังยังเลี้ยง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตายฝังยังเลี้ยง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตายฝังยังเลี้ยง

ที่มาของสำนวน ถ้าสัตว์ หรือคนที่อยู่กับเราตายก็นำไปฝัง แต่ถ้ายังมีชีวิตอยู่ก็เลี้ยงกันต่อไป การอยู่การกินก็กินแบบง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตอง การเลี้ยงดูบุตรหลานก็เลี้ยงแบบธรรมดาๆตามธรรมชาติ อะไรจะเกิดก็ปล่อยให้มันเกิด จึงเป็นที่มา “ตายก็เอาไปฝัง ถ้ายังอยู่ก็เลี้ยง” ตามวิถีธรรมชาติ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การเลี้ยงดูแบบตามมีตามเกิด ตามบุญตามกรรม

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตายฝังยังเลี้ยง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตายฝังยังเลี้ยง

  • ฉันเคยปลูกต้นกุหลาบไว้เมื่อหลายปีก่อน ตอนนั้นก็เลี้ยงแบบตายฝังยังเลี้ยง ไม่ค่อยใส่ใจดูแล แต่ตอนนี้มันกลับออกดอกสวยงาม
  • คนเราเป็นสิ่งมีชีวิต รวมถึงสัตว์ ต้นไม้ อยู่แบบธรรมชาติตายฝังยังเลี้ยง ครจะตายก็ต้องตายก็นำไปฝัง อะไรยังอยู่ก็เลี้ยงให้ดีที่สุด
  • สามีภรรยาคู่นี้ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนแอดอัด วันๆเอาแต่กินเหล้า เล่นการพนัน มีลูกเลี้ยงดูแบบตายฝังยังเลี้ยง ตามมีตามเกิด
  • ชีวิตคนเราจะเอาอะไรมาก สิ่งไหนที่อยู่ก็เลี้ยง สิ่งไหนที่ตายก็ฝัง ปล่อยไปตามวิถีธรรมชาติ ดั่งสำนวนที่ว่าตายฝังยังเลี้ยง
  • เจ้าแดงเกิดในครอบครัวตายฝังยังเลี้ยง อยู่แบบบ้านๆ พอเพียง ธรรมชาติ เข้าใจชีวิตแบบเรียบง่ายไม่ต้องแข่งกับใคร ก็มีความสุขในอีกแบบ ที่สังคมเมืองแทบหาไม่ได้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเต้นแร้งเต้นกา ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. เต้นแร้งเต้นกา

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเต้นแร้งเต้นกา

ที่มาของสำนวน คำว่า เต้นแร้งเต้นกา เกิดจากคำว่า เต้นแร้ง กับ เต้นกา ในภาษาไทยถิ่นมีคำว่า กา หรือ ก๋า แปลว่า เต้น เต้นกา จึงเป็นคำซ้อน แปลว่า เต้นเต้น คำว่า กา ทำให้นึกถึง กาที่เป็นชื่อนก. ต่อมาจึงเติมคำ เต้นแร้ง เข้าคู่เสริมเป็นคำสร้อย กลายเป็นคำว่า เต้นแร้งเต้นกา ไม่ใช่เต้นเหมือนแร้งเหมือนกา

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ การแสดงอาการกระโดดโลดเต้นด้วยความดีใจ กระโดดโลดเต้นกันอย่างสนุกสนาน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเต้นแร้งเต้นกา

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเต้นแร้งเต้นกา

  • เขาตื่นเต้น ดีใจมากที่ภรรยาคลอดลูกชายคนแรกให้เขา ดีใจจนเก็บอาการไว้ไม่อยู่ ต้องออกมาเต้นแร้งเต้นกา
  • เวลาที่ครูยังไม่เข้าห้องสอน เด็กๆ ก็มักจะเต้นแร้งเต้นกากันไปตามเรื่อง พอบอกว่าคุณพ่อจะพาไปเที่ยวทะเล เด็กๆ ก็เต้นแร้งเต้นกาด้วยความดีใจ
  • ที่เขาต้องออกมาเต้นแร้งเต้นกาขนาดนี้ เพราะไม่คิดไม่ฝันว่าตัวเองจะถูกลอตเตอร์รี่รางวัลที่หนึ่ง
  • สมัยดีใจกระโดนเต้นแรงเต้นกาลืมตัวในห้องทำงาน เพราะได้เลื่อนขั้นและขึ้นเงินเดือนในรอบหลายปี
  • เธอถูกหวยรางวัลใหญ่ในรอบหลายปี จึงดีใจอย่างสุดขีดด้วยการเต้นแร้งเต้นกา เพราะโอกาสแบบนี้ไม่ได้มีมาบ่อยๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยโตฟักโตแฟง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. โตฟักโตแฟง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยโตฟักโตแฟง

ที่มาของสำนวน สำนวนนี้เอาฟักและแฟงมาเปรียบคือ ฟักแฟงมักจะใหญ่เกินวัน โตเร็วนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ คนที่โตแต่ตัว ส่วนสติปัญญาความคิดความอ่านยังเหมือนเด็ก

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยโตฟักโตแฟง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตโตฟักโตแฟง

  • เรียนจบทำได้งานขนาดนี้ อย่าทำเหมือนพวกโตฟักโตแฟง จะทำอะไรต้องมีเหตุผลเสียบ้าง ไม่ใช่เอาแต่เรียกร้องความสนใจ
  • เธอนี่มัน โตฟักโตแฟง เสียจริง โตป่านนี้แล้วยังไม่กล้าตัดสินใจอะไรเองอีก
  • ลูกคนนี้โตฟักโตแฟงจริงๆ อายุขนาดนี้แล้วยังจะทำอะไรเป็นเด็กๆ ไม่มีความคิดอยู่อีก
  • คุณอายุก็ไม่ใช่น้อยๆ แล้วนะ ทำอะไรก็รู้จักคิดเสียบ้างทำเป็นเด็กๆ ไปได้ คนอื่นเขาจะว่า โตฟักโตแฟง เอาได้นะ
  • ผู้ชายหลายคนทำงานทำการดี แต่ในใจทุกคนยังมีความฝันสมัยเด็ก สะสมของเล่นก็มี โตฟักโตแฟง แค่เติมฝันวัยเด็ก แต่ทุกคนก็รับผิดชอบชีวิตตน และครอบครัวได้ ก็ไม่เป็นไร

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยถนิมสร้อย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ด. ถนิมสร้อย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยถนิมสร้อย

ที่มาของสำนวน ถนิมสร้อย ประกอบด้วยคำว่า ถนิม กับ สร้อย ถนิม เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร ธฺนิม แปลว่า เครื่องประดับ ภาษาไทยใช้ในคำว่า ถนิมพิมพาภรณ์ สร้อย เป็นคำเรียกเครื่องประดับที่เป็นสาย เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ สร้อยตัว หรือเรียกด้วยการใช้ลักษณนามนำ เช่น สายสร้อย เมื่อใช้เป็นคำประสมว่า ถนิมสร้อย ไม่ได้ใช้เรียกเครื่องประดับ แต่ใช้ในความเปรียบหมายถึงลักษณะของคนที่ไม่แข็งแรง หนักไม่เอาเบาไม่สู้

คำว่า ถนิมสร้อย คนทั่วไปมักใช้ว่า สนิมสร้อย ซึ่งคลาดเคลื่อนไปจาก ถนิมสร้อย

สรุปความหมายของสำนวนนี้คือ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ดูเหยาะแหยะ หนักไม่เอาเบาไม่สู้  ทำเป็นอ่อนแอ (ใช้เป็นคำตำหนิ)

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยถนิมสร้อย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตถนิมสร้อย

  • นี่ประยุทธ ถูกฝนนิดหน่อยจะเป็นไข้เป็นหวัดให้ได้เลยใช่ไหม อะไรนิดอะไรหน่อยก็บ่น มึงนี่มันเป็นคนถนิมสร้อยจริงๆ
  • ทำเป็นพวกถนิมสร้อยไปได้ ให้ช่วยยกของเบาๆแค่นี้ทำเป็นบ่นกระปอดกระแปด เป็นผู้ชายเสียเปล่า
  • แม่คนนี้เขาถนิมสร้อย อย่าไปใช้งานเขา เดี๋ยวจะมาว่าเราทำให้เขาป่วย คนถนิมสร้อยแบบนี้อย่าไปยุ่ง
  • อย่าไปว่าหล่อนมากนักเลย พวกแม่ถนิมสร้อยอ่อนแอเจ้าน้ำตา ว่านิดว่าหน่อยก็ร้องไห้แล้ว เดี๋ยวคนอื่นไม่รู้จะหาว่าพวกเราไปรังแกเขาอีก
  • นี่สมหมายทำตัวเหยาะแหยะ ไม่สู้งาน เป็นคนถนิมสร้อยแบบนี้ ไม่ต้องไปริมีเมียหรอก ตัวเองยังเอาไม่รอด เอาตัวเองให้รอดก่อน ค่อยคิด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ด. เดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ

ที่มาของสำนวน มาจากการหว่านกล้าเดือนหกก็เพื่อให้ต้นข้าวได้ทันกับฝนที่ตกตามฤดูกาล โดยต้องเตรียมไถไว้ก่อนนั่นก็คือเดือนห้า จากที่กล่าวมาถือว่าเป็นการเตรียมตัวในการทำงาน รู้จักจังหวะในการทำงาน

สรุปความหมายของสำนวนนี้คือ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การทำอะไรให้รู้จักกาลเทศะ มีการวางแผนการทำงาน รู้ว่าควรจะทำอะไรเวลาไหน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ

  • ที่เขาประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้ เพราะคุณพ่อของเขาสอนและปลูกฝังให้เขารู้จักการวางแผนชีวิต วางแผนการทำงานตั้งแต่เด็กๆ ดังสำนวนสุภาษิตที่ว่าเดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ
  • ตาดำสอนเจ้าแดงหลานรักเสมอว่า จะทำอะไรก็ต้องรู้จักวางแผน และทำให้ถูกจังหวะ ดังสำนวนสุภาษิตที่ว่าเดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ
  • Month Idioms สำนวนที่เกี่ยวข้องกับเดือน ภาษาไทยมีสำนวนที่ว่า “เดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ” ซึ่งหมายความว่า ควรทำในสิ่งที่ถูกต้องตามกาลเทศะหรือเวลาที่เหมาะสม ภาษาอังกฤษก็มีสำนวนที่เกี่ยวข้องกับเดือนเช่นกัน
  • ดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ สิ่งนี้เป็นตัวสะท้อนความสำคัญของการวางแผนได้อย่างดี แต่บ่อยครั้งเรากลับละเลยที่จะจัดสรรและวางแผนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการเงิน หลายๆ ครั้งได้พบเจอนักลงทุนที่ใส่เงินทุกบาทของตัวเองไว้ในหุ้น/กองทุนหุ้น โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงข้อจำกัดของตัวเองเลย ทำให้อาจเกิดเหตุการณ์ที่ต้องขายหุ้นเพื่อเอาเงินออกมาใช้ แม้ว่าจะต้องขายขาดทุนก็ตาม
  • การจะทำธุรกิจต้องวางแผน เหมือนการทำนานั่นแหละ เดือนหกให้หว้่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ เตรียมตัว เตรียมใจ พร้อมรับมือปัญหาอยู่เสมอ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยได้ดีเพราะปาก ได้ยากเพราะคำ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ด. ได้ดีเพราะปาก ได้ยากเพราะคำ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยได้ดีเพราะปาก ได้ยากเพราะคำ

ที่มาของสำนวน เปรียบถึงปากคนเราสามารถพูดให้ดี ให้ร้าย ก็อยู่ที่คำพูดที่พูดออกมา จึงเป็นที่มาว่าพูดแล้วได้ดี ชีวิตดีก็เพราะปาก แต่ถ้าใช้คำพูดผิดๆ ชีวิตไม่ดีก็เพราะคำนี่แหละ เพราะฉะนั้นคิดก่อนพูดจึงสำคัญ

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ให้ระมัดระวังคำพูดคำจา คิดก่อนพูด เพราะคำพูดสามารถส่งผลดีและผลเสียต่อตัวเองได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยได้ดีเพราะปาก ได้ยากเพราะคำ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตได้ดีเพราะปาก ได้ยากเพราะคำ

  • คนหลายที่ชีวิตดีๆ หรือชีวิตตกต่ำก็เพราะได้ดีเพราะปาก ได้ยากเพราะคำนี่แหละ คำพูดสามารถตัดสิน ความคิดสมองคนนั้นได้เลย
  • ถ้าเธอคิดจะทำอาชีพค้าขายก็ต้องรู้จักพูดจาดีๆ เอาใจลูกค้า ไม่ใช่พูดจาไม่คิด ไม่มีหางเสียงแบบนี้ก็คงไม่มีใครอยากจะเข้าร้านหรอก อย่างที่เขาว่าได้ดีเพราะปากได้ยากเพราะคำ
  • ยิ่งเป็นคนสาธารณะ ยิ่งต้องคิดก่อน ใช้คำพูดให้ดี คนเราได้ดีเพราะปาก ได้ยากเพราะคำเสมอ พูดดีก็ได้ดี พูดไม่คิดชีวิตก็อาจชิบหายได้
  • คนเป็นนักข่าวจะรู้ดีว่าได้ดีเพราะปาก ได้ยากเพราะคำ การเลือกใช้คำ ฝึกคิดก่อนพูดนั้นสำคัญมาก ต้องหมั่นฝึกฝนตัวเองอย่างหนักอยู่เสมอ
  • พูดไม่คิดก็งี้แหละ คำพูดจากหลักล้าน เหลือศูนย์ในพริบตา ด้วยการโกหกออกสื่อเพียงครั้งเดียว หลังจากสร้างชื่อมาสิบกว่าปี ได้ดีเพราะปาก ได้ยากเพราะคำแท้ๆ ชื่อเสียงสร้างมาทั้งชีวิต ทำลายได้เพียงนาทีเดียว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน

ที่มาของสำนวน เปรียบถึงคนที่ไปใช้วาจา หรือความประพฤติไม่ดี ใส่อีกคนกลางศาลา ต่อหน้าผู้คนมากมายจนต้องอับอายผู้คนไปทั่ว แต่เวลาผู้นั้นสำนึกผิด กลับมาขอโทษที่บ้าน ไม่ได้ขอโทษต่อหน้าผู้คน หรือไม่ให้ผู้อื่นรับรู้ในการขอโทษของตน สำนวนนี้ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ทําไว้

นิยมใช้กับคนปากแข็ง ไม่ยอมรับผิดหรือไม่ยอมขอโทษในความผิดของตน แต่สุดท้ายเมื่อต้องยอมรับก็แอบทำหรือทำไม่ให้คนอื่นรับรู้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน

  • นายสมชาย ตบหัวนายตู่ กลางตลาด มีผู้คนเห็นมากมาย นายตู่ไม่ตอบโต้อะไร สุดท้ายนายสมชายสำนึกผิด แอบไปขอโทษที่บ้านนายตู่ ซึ่งนายตู่ไม่ยอม พร้อมบอกว่าอย่ามาตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน ถ้าจะขอโทษ ต้องขอโทษที่กลางตลาด
  • เธอยอมได้อย่างไรแบบนี้มันตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้านชัดๆ ก่อนหน้านี้เขาประจานเธอออกสื่อเสียๆหายๆ แต่พอรู้ว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิดกันเขากลับส่งข้อความมาขอโทษ มันไม่สมกับเรื่องที่ทำไว้เลยนะ
  • นักการเมืองผู้หนึ่งได้ปราศรัยลบหลู่ดูศาสนา ต่อมาได้สำนึกผิด และ ได้ทำพิธีขอขมา ที่ซึ่งมีผู้รู้ผู้เห็นไม่มากมายเท่าที่ควร การกระทำเยี่ยงนี้คล้ายๆ กับว่าตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน
  • การ ตบหัวกลางศาลาขอขมาที่บ้าน หรือทำให้ใครสักคนต้องได้รับความเจ็บปวด ทั้งกายและใจต่อหน้าคนอื่น ต่อหน้าผู้คน ก็ควรจะ ขอโทษต่อหน้าสาธารณชน ไม่ใช่แอบไปขอโทษที่บ้าน สำหรับคนที่ได้รับผลจากการกระทำจึงอาจจะไม่ยอมรับการขอโทษ
  • การยอมรับผิดไปก็แค่นั้น มันไม่สมกับความผิดที่นายได้ทำไว้เหมือนคำกล่าว ตบหัวกลางศาลา

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube