สุภาษิตคำพังเพยผีไม่มีศาล ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ผ. ผีไม่มีศาล

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผีไม่มีศาล

ที่มาของสำนวน ในสมัยก่อนคนโบราณเปรียบเปรยถึงการที่ผีไม่มีศาลอยู่ ก็เหมือนผีเรร่อน ผีตายโหง ที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง

สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ผลุบๆ โผล่ๆ เหมือนผี ผีไม่มีศาล ไม่มีที่สิงสถิตย์ ไม่มีบ้านอยู่ เร่รอนไปเรือยๆ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยผีไม่มีศาล

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตผีไม่มีศาล

  • ดาราหนุ่มคนนี้ชอบก่อเรื่อง มีแต่ชื่อเสีย จนค่ายดาราต่างเอือมระอาไม่มีใครอยากร่วมงานด้วย หล่อนเลยกลายเป็นดาราไม่มีค่าย เป็นผีไม่มีศาลต้องดิ้นรนหางานเอง
  • การทำตัวเป็นคนเร่รอนในเมืองไทย สามารถทำได้ ทำตัวเป็น ผีไม่มีศาล ไม่ต้องมีบ้านให้เป็นห่วง หารถตู้สักคันมาตกแต่งเป็นบ้านเคลื่อนที่ ก็สามารถตะลอนไปได้ทั่วประเทศ พักอยู่ตามอุทยานแห่งชาติ ซึ่งบางคนก็ทำบ้านไว้รองรับเพื่อนฝูง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีบ้านสักช่วงเวลาหนึ่ง
  • ผีไม่มีศาล คนโบราณนิยมใช้เรียกคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน เร่ร่อนไปทั่ว อยู่ตรงนั้นที อยู่ตรงนี้ที มักใช้กับคนที่ไร้ที่ไปที่แน่นอน เช่น ไม่มีที่อยู่แน่นอน หรือ ไม่มีที่ทำงานแน่นอน
  • นักการเมืองคนนี้หนีคดีทางการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ เป็นคนเร่ร่อนเหมือนผีไม่มีศาล จะกลับมาประเทศไทยก็ไม่ได้
  • ชีวิตสมชายสู้ชีวิตตั้งแต่เป็นผีไม่มีศาล จนประสบความสำเร็จ ร่ำรวยขึ้นมา ด้วยลำแข็งตัวเอง นิแหละ ความขยันไม่เคยทำให้ใครอดตายจริงๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ผ. ผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย

ที่มาของสำนวน มาจากสมัยก่อน โดยบรรพบุรุษเราที่ตายไปแล้วแต่เราตั้งศาลไว้สักการบูชา หรือที่เราเรียกกันว่าผีบ้าน แล้วผีที่อยู่นอกบ้าน หรืออยู่ตามป่าเขาจึงได้โอกาสร่วมประสมโรงไปด้วย

เป็นความเชื่อว่าผีบ้านผีเรือนมีหน้าที่ดูแลคุ้มครองผู้คนภายในบ้าน ไม่ให้มีสิ่งต่างเข้ามาในบ้านได้แม้กระทั่งภูตผีปีศาจด้วยกัน แต่บางครั้งผีบ้านผีเรือนก็อาจไม่กระทำหน้าที่ หรือปล่อยปละละเลย เพราะมีอาการน้อยอกน้อยใจเจ้าของบ้านที่เลี้ยงดูไม่ดี จึงแสดงอาการโกรธเคืองเจ้าของบ้าน ด้วยการรบกวนเด็กๆในบ้านไม่ให้ได้หลับได้นอน และปล่อยปละละเลยให้ผีป่าเข้ามาในบ้านได้

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้ามาทําความเสียหายได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย

  • อย่าไว้ใจคนนอก บางคนแสร้งเป็นทำดี ตีสนิท เพื่อมาหวังประโยชน์ในบ้านเรา ต้องระวังให้ดี ดั่งที่คนสมัยก่อนพูดไว้ว่าผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอยมา
  • หลังจากมีเหตุการณ์โจรขึ้นบ้านของคุณนาวา สุดท้ายตำรวจก็สืบได้ว่าลูกชายเจ้าของบ้านเป็นใจพาพรรคพวกมายกเค้าที่บ้านตัวเอง
  • ถ้าครอบครัวไม่ดี ไม่ไว้ใจ สุดท้ายก็ต้องบ้านแตกสักวันอย่างแน่นอน พังจากภายนอกพอซ่อมได้ แต่พังจากภายยากที่ให้เป็นเหมือนเดิม ดั่งผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย
  • ที่บริษัทต้องเสียทีคู่แข่งเพราะผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย มีคนภายในบริษัทคอยส่งข่าวเอาข้อมูลสินค้าตัวใหม่ของเราไปบอกบริษัทคู่แข่ง
  • บ้านหลังนี้ถูกขโมยทองซึ่งเป็นสมบัติของครอบครัว ผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอยเข้ามา ต้องมีคนภายในบ้านรู้เห็นเป็นใจช่วยให้คนภายนอกเข้ามาทำความเดือดร้อนเสียหายได้แน่นอน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยไปตายเอาดาบหน้า ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. ไปตายเอาดาบหน้า

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยไปตายเอาดาบหน้า

ที่มาของสำนวน ในกองทัพสมัยโบราณนั้น จะมีนายกองคอยขี่ม้าถือดาบประจำการอยู่ตามกองกำลังต่างๆครับ ซึ่งถ้าหากการปะทะจะเริ่มขึ้นแล้วนั้น ไอ้ไพร่คนไหนหันหลังวิ่งหนีเมื่อใด เจอดาบนายกองบั่นคอแน่นอน เผลอๆ ก็ดาบพวกเดียวกันเองนี่แหละ

เพราะอาญาศึกในยุคนั้นมีอยู่อีกว่า หากทหารที่อยู่ข้างหน้าหันหลังหนีเมื่อไหร่ ไอ้เพื่อนที่อยู่ข้างหลังก็ฟันคอไอ้คนข้างหน้าได้เลยเหมือนกัน ดังนั้นพวกทหารจึงไม่กล้าที่จะหันหลังไปตายด้วยน้ำมือพวกเดียวกันเอง งานนี้เลยต้องสู้ตาย วิ่งไปชนดาบศัตรูเอาข้างหน้าจะดีกว่า เพราะเหตุนี้ มันจึงเปนที่มาของสำนวนนี้

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ยอมเสี่ยงไปเผชิญกับความความทุกข์ยากลำบาก ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าหนทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยไปตายเอาดาบหน้า

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตไปตายเอาดาบหน้า

  • ฉันเป็นเด็กบ้านนอก แต่สอบได้มหาวิทยาลัยในเมืองหลวง ฉันไม่รู้จักใครเลย ไปก็ไม่ถูก แต่ไหนๆก็สอบได้แล้ว อ่านหนังสือก็ออก ขอไปตายเอาดาบหน้าก็แล้วกัน
  • หลังจากบริษัทที่เธอทำงานอยู่ต้องล้มละลายปิดตัวลง เธอจึงตัดสินใจยอมเสี่ยงไปตายเอาดาบหน้า เข้าไปหางานทำที่กรุงเทพ
  • การหางานที่ดีนั้น ไม่ใช่การคิดว่าไปตายเอาดาบหน้าไม่ใช่สิ่งที่ควรเกิดขึ้นเลยเวลาที่เราถูกเรียกไปสัมภาษณ์งาน เพราะยิ่งเราเตรียมตัวให้พร้อมมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีโอกาสมากขึ้น
  • เธอจะหนีออกจากบ้านโดยที่ไม่ได้คิดวางแผน อะไรเลยเนี่ยนะ ไม่รู้จะไปไหน ทำอะไร แบบนี้ไปตายเอาดาบหน้าชัดๆ
  • ชีวิตนี้ถ้าอยู่แต่ตรงนี้ก็มีแต่ความลำบาก ความยากจน ขอไปตายเอาดาบหน้า ตามหาความฝันที่เมืองกรุง แล้วสักวันผมจะยิ่งใหญ่กลับมาพัฒนาบ้านให้ได้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ผ. ผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน

ที่มาของสำนวน มาจากอาการของพวกผู้ดี เพราะพวกผู้ดีนั้นไม่ต้องทำงานทำการหนัก เอาแต่อยู่บนเรือนคอยสั่งการชี้นิ้วพวกข้ารับใช้ไปวันๆ จนทำให้ฝ่าเท้าหรือฝ่าตีนนั้นดูมีเลือดฝาดเปนสีนวลๆ ต่างจากพวกข้ารับใช้ที่ฝ่าเท้าจะหยาบกระด้างและเปื้อนดินเปื้อนฝุ่นขมุกขมัวนั่นเอง และเมื่อถึงคราวต้องมาเดินบนพื้นดินแล้ว (ไม่นับว่าเดินบนเรือนนะครับ) เพราะความที่ฝ่าเท้าพวกผู้ดีไม่เคยต้องไปกรำดินกรำกรวดอย่างพวกข้ารับใช้ ฝ่าเท้าก็เลยบางอ่อน ไม่ด้านเท่าตีนขี้ข้าเขานั่นล่ะ ดังนั้น เวลาเดินก็เลยต้องตะแคงตีนเดิน

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ไม่เคยชินกับการทำงานหนัก หรือไม่เคยผ่านความยากลำบาก (เป็นคำประชดประชันว่าคนที่มีกิริยาท่าทางเป็นผู้ดี)

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน

  • ถ้าเธอจะมาอยู่ชมรมอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม แต่ยังทำตัวเป็นผู้ดีตีนแดงตะแคงตีนเดินแบบนี้ฉันว่าเธอกลับบ้านไปเถอะ
  • ผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน!! คนที่ไม่ได้ทำงานหนักหรือผ่านความยากลำบากมา ฝ่าเท้าจะบางจนเห็นเลือดฝาดเป็นสีแดง ส่วนคนที่ผ่านความยากลำบาก ส้นเท้าจะหนาและไม่เป็นสีนั้น เลยเป็นคำที่ใช้เรียกสำหรับพวกที่ไม่เคยผ่านความยากลำบากว่ามี ตีนสีแดง ส่วนคำหลังที่ว่า ตะแคงตีนเดิน เป็นคำประชด ที่ว่าฝ่าเท้ามีสีแดงได้ เพราะรังเกียจความยากลำบากจนต้องตะแคงเท้าเดินแน่ๆ
  • เด็กคนนี้คงจะเป็นลูกคุณหนู ถูกเลี้ยงมาแบบผู้ดีตีนแดงตะแคงตีนเดินหน่ะสิ ถึงทำงานหนักไม่ได้ ทำอะไรไม่เป็นซักอย่าง
  • “ไม่ใช่ผู้ดีตีนแดงตะแคงตีนเดิน ไม่ใช่ผู้ร้ายจอเงินต้องเดินเอียงคอ ก็มีความฝันวันวันแค่ขนมห่อห้าบาทก็พอสิบบาทสองห่อ ล่อกันท้องตึงหนังในตาหย่อน” บ้า คาราบาว
  • ถ้ารู้ตัวว่าไม่รวยก็อย่าทำตัวผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน ไม่อายคนอื่น ก็ช่วยอายตัวเองบ้าง เกิดเป็นคนต้องสู้ชีวิต คนรวยแต่ละคนกว่าเขาจะสร้างตัวมา เขาสู้ชีวิตกันทั้งนั้น

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยไปวัดไปวาได้ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. ไปวัดไปวาได้

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยไปวัดไปวาได้

ที่มาของสำนวน มาจากค่านิยมของคนไทยในสมัยก่อน ในสมัยก่อนคนที่จะทำบุญที่วัดในวันพระหรืองานต่างๆ คนที่ไปงานจะต้องแต่งตัวดูดีไปอวดผู้อื่น บ้านไหนมีเครื่องประดับที่ซื้อมาใหม่ ก็จะใส่ไปอวดไปโชว์ในงานวัด และคนหนุ่มสาวก็จะแฟนของตัวเองไปอวดไปเปรียบเทียบกับแฟนของคนอื่นว่าใครสวยกว่ากัน ด้วยเหตุนี้ที่จะไปวัดก็ต้องดูหน้าตาดีพอที่จะไปอวดที่วัดได้ จึงเป็นที่มาของสำนวน

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ มีรูปร่างหน้าตาดีพอจะอวดเขาได้ หรือหน้าตาดีพอที่จะไปอวดผู้อื่นได้ โดยไม่อายใคร

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยไปวัดไปวาได้

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตไปวัดไปวาได้

  • “หน้าตาพอไปวัดไปวาได้” นั้น ในปัจจุบันจะใช้ในความหมายประมาณว่า หน้าตาดีไม่ถึงขั้นสวยหรือหล่อ และไม่ขี้เหร่มากเท่าไรนัก แต่สำนวนนี้ส่วนมากจะใช้กับผู้หญิง
  • เธอก็รับผู้ชายคนนี้ไว้พิจารณาเสียหน่อยจะเป็นไร หน้าตาก็ไม่ได้ขี้ริ้วขี้เหร่ พอไปวัดไปวาได้ไม่อายใคร แถมมีหน้าที่การงานมั่งคง เดี๋ยวนี้ไม่ได้หากันได้ง่ายๆนะ
  • ถ้าหน้าตาไม่ดี เราก็สามารถพัฒนาตัวเองให้ดูดีขึ้นได้ ส่งผลต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจ จากที่ไม่ดี ไปถึงพอไปวัดไปวาได้ หรือถึงขั้นดีขึ้นด้วยซ้ำ
  • เธอนี่ก็รูปร่างหน้าตาพอไปวัดไปวาได้ แค่ไปฝึกฝนการเดินแบบเสียหน่อยรับรองว่าดังระเบิดได้เป็นนางแบบแถวหน้าแน่ๆ
  • หน้าอย่างฉันถึงไม่สวยเลิศเลอ แต่ฉันก็พอไปวัดไปวาได้ มีผู้ชายมารุมจีบอยู่บ้าง สวยภายนอกอาจไม่มาก แต่ภายในสวยมาก

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยผงเข้าตาตัวเอง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ผ. ผงเข้าตาตัวเอง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผงเข้าตาตัวเอง

ที่มาของสำนวน มาจากการสังเกตคนที่มีผงเข้าตา มักจะให้ผู้อื่นมาช่วยเขี่ยผงออกให้ เพราะตนเองไม่สามารถเขี่ยออกเองได้

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ มีความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับตน แต่แก้ไม่ได้ หรือเมื่อผู้อื่นเดือดร้อนหรือมีปัญหาสามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้เขาได้ แต่เมื่อตัวเองเดือดร้อนกลับไม่สามารถแก้ไขปัญาได้

มีนัยความหมายว่า ปกติบุคคลนี้มักจะช่วยแก้ปัญหาให้ผู้อื่น ช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ได้ เปรียบเหมือนช่วยเขี่ยผงที่เข้าตาผู้อื่น แต่เมื่อเกิดปัญหากับตนเองกลับไม่สามารถแก้ไขได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยผงเข้าตาตัวเอง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตผงเข้าตาตัวเอง

  • แค่หาเงินใช้ชีวิตก็ลำบากพอแล้ว ไม่ต้องเสนอหน้าไปช่วยใครหรอก เอาตัวเองให้รอดก่อน ทำแบบนี้เดี๋ยวผงก็เข้าตาตัวเอง
  • นักสังคมสงเคราะห์บางคนช่วยแก้ปัญหาของคนอื่นไปทั่ว แต่ปัญหาของตัวเองแก้ไม่ได้ สามีก็ไปมีเมียน้อย ลูกก็ไปซิ่งรถเป็นเด็กแว้น เรียกว่าผงเข้าตาตัวเอง
  • เขามักทำตัวเหมือนเป็นศิราณี คอยแก้ไขปัญหาความรักเป็นที่ปรึกษาให้เพื่อนๆตลอด แต่ครั้นเจอปัญหากับตัวเองกลับแก้ปัญหาไม่ได้ เหมือนผงเข้าตาตัวเองแท้ๆจนสุดท้ายเขาต้องไปพบจิตแพทย์
  • เวลาคนอื่นมีปัญหาอะไรเขาสามารถเข้าไปช่วยแก้ไขได้ตลอด แต่พอถึงคราวของเขากับเหมือนผงเข้าตาตัวเองแก้ไขไม่ได้จนต้องพบจิตแพทย์
  • อาจารย์ฝ่ายปกครองคนนี้ช่วยแก้ปัญหาให้นักเรียนได้เสมอ แต่พอลูกชายของตนมีปัญหากลับแก้ไม่ได้ ผงเข้าตาตัวเองแท้ๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยแผ่สองสลึง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ผ. แผ่สองสลึง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยแผ่สองสลึง

ที่มาของสำนวน มาจากการเล่นพนันถั่วโปในโรงบ่อนสมัยก่อน เงินเหรียญที่ใช้แทงถั่วโปตามโรงบ่อน บ่อนมีไม้ขอยาว ปลายเป็นห่วงกลม สำหรับคล้องเงินที่คนแทง เวลากิน ก็คล้องเงินลากมา หรือคล้องส่งเอาไปจ่ายที่คนแทงถูกก็ได้ เหรียญสลึง และเหรียญสองสลึง เป็นเหรียญแบน ติดเสื่อ ใช้ไม้ขอคล้องเกี่ยวไม่ติด นายบ่อนจึงทุบเหรียญสลึงและสองสลึงให้หักงอ สำหรับใช้ไม้ขอเกี่ยวง่าย

เงินเหรียญสมัยก่อนมักงอทั้งนั้น ที่แบนแผ่ตามรูปเดิมไม่ค่อยมี ดังนั้น เมื่อพบเหรียญแผ่แบน แปลกจากเหรียญงอ จึงพูดกันว่าแผ่สองสลึง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การนอนหงายมือเท้าเหยียดออกไปเต็มที่ มักใช้การลื่นล้มลงไปนอนหงายแผ่

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยแผ่สองสลึง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตแผ่สองสลึง

  • ลูกโตเป็นสาวเป็นนางแล้วนะ ไม่ใช่เด็กๆ มานอนแผ่สองสลึงแบบนี้ได้อย่างไร ไม่มีความเรียบร้อยเอาเสียเลย
  • ผมทำงานหนักติดต่อกันมานาน วันนี้ขอนอนแผ่สองสลึงอยู่บ้านสบายๆ สักสองสามวันเถอะ
  • หลังจากเขาออกกำลังกายมาอย่างหนัก ก็เห็นนอนแผ่สองสลึงอยู่แบบนี้ตั้งนานแล้วคงหมดแรงจนไม่อยากจะทำอะไร
  • ครูฝึกจับได้ว่าพวกเราอู้งาน เมื่อวานครูฝึกเล่นซ่อมพวกเราเอาเสียจนนอนแผ่สองสลึงกันเลยทีเดียว
  • วิ่งมาราธอนรอบนี้จบ เล่นเอาเหนื่อยจนนอนแผ่สองสลึงกันเลยทีเดียว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฝ. ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงนิสัยใจคอแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความต้องการสิ่งต่างๆ คนที่ไม่ต้องการให้ฝนตก เมื่อฝนตกลงมาทำให้เกิดความเสียหายก็แช่งก็บ่นฝนที่ตก ส่วนคนที่อยากให้ฝนตก อย่างเช่น ชาวสวน ชาวไร่ ฝนก็ไม่ตกลงมาให้ พวกเขาต่างก็ด่าว่าฝนต่างๆ นานา เพราะมนุษย์มีจิตใจแตกต่างกัน

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การทําอะไรๆ จะให้ถูกใจคนทั้งหมดนั้นเป็นไปไม่ได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า

  • มนุษย์ต่างจิตต่างใจ และมีความต้องการแตกต่างกัน บางต้องการน้ำก็อยากให้ฝนตก ที่ไม่ต้องการน้ำก็ไม่อยากให้ฝนตก เป็นเทวดาที่จะบันดาลให้มีฝนมันช่างลำบากใจ เพราะฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า
  • เธออย่าไปสนใจเลยเธอทำเต็มที่แล้ว คนเราฝนตกก็แช่งฝนแล้งก็ด่า ไม่มีใครสามารถทำอะไรให้ถูกใจทุกคนได้หรอก
  • ทำไอะไรถูกใจคนทุกคนไม่ได้หรอก เมื่อคนเป็นสิ่งที่เข้าใจยากที่สุด ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า คนหนึ่งได้ คนหนึ่งเสียเสมอ
  • เขาทำให้ชื่อเสียงของบริษัทเสียหายจึงรับผิดชอบด้วยการลาออก แต่คนเราฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า พอลาออกก็บอกว่าหนีปัญหา พออยู่ในตำแหน่งก็ให้แสดงความรับผิดชอบ
  • คิดจะทำธุรกิจต้องกล้าบริหารคน เพราะเป็นสิ่งหนึ่งที่ยากที่สุดในการทำ มากคนมากความ ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า ต้องบริหารและคุมให้ดี

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยผักต้มขนมยำ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ผ. ผักต้มขนมยำ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผักต้มขนมยำ

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการนำเอาผักต้มกับขนมมาปนเปผสมผเสกัน ผักต้มเป็นอาหารคาว ขนม เป็นอาหารหวาน ถ้าของทั้งสองอย่างมารวมกันมันไม่น่าจะเข้ากันได้ จะไปคนละทิศละทางยุ่งเหยิง ปุถุชนคนธรรมดาไม่น่าจะรับประทานได้

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การผสมผสานกันปนเปกัน จนมั่วยุ่งเหยิงไปหมด จนไม่รู้อะไรเป็นอะไร

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยผักต้มขนมยำ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตผักต้มขนมยำ

  • นี่คุณ ซื้ออะไรมาหนักหนาเนี่ย มั่วปนกันไปหมดเหมือนผักต้มขนมยำ ไม่รู้จะเอาเก็บไว้ที่ไหนแล้วเนี่ย
  • สไตล์การแต่งบ้านของเขาดูแปลกๆงงๆผสมปนเปจนเหมือน “ผักต้มขนมยำ” เอามาตกแต่ง มาวางจนหาเอกลักษณ์ไม่ได้เลย
  • ศิลปินคนดังชาวฝรั่งเศสวาดภาพอย่างกับผักต้มขนมยำ ผสมปนเปด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ แล้วสวยงามตามแบบของศิลปินเอง เปรียบเสมือนลายเซ็นของเขา
  • วันแต่งงานยิ่งใกล้เข้ามาแล้ว แต่หลายสิ่งหลายอย่างยังเตรียมการไม่เสร็จ ทำไปทำมาตอนนี้เหมือนผักต้มขนมยำ จนสับสนยุ่งเหยิงไปหมด
  • น้ำก๋วยเตี๋ยวทางร้านก็ปรุงอร่อยดีอยู่แล้ว นายเล่นผสมปนเปกัน อย่างกับผักต้มขนมยำ เสียรสชาติหมดเลย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยฝนตกขี้หมูไหล ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฝ. ฝนตกขี้หมูไหล

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฝนตกขี้หมูไหล

ที่มาของสำนวน การผสมของขี้หมู และน้ำนี้เองที่ทำให้ขี้หมูถูกพัดพาไปตามที่ใดที่หนึ่งที่ท่านถือว่ามีแต่จะนำความสกปรก และความเหม็นกระจายออกไปเปรอะเปื้อนที่ไม่ควรจะเปรอะเปื้อน ท่านจึงเพิ่มความหมายของคำว่า “ฝนตกขี้หมูไหล” ขึ้นมาอีกคำหนึ่งคือคำว่า “คนจัญไรมาพบกัน” ทำให้ความเน่าเหม็นสกปรกแพร่ไปทั่ว

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ พลอยเหลวไหลเกเรไปกับเขาด้วย หรือการทำตัวแย่ๆ คล้อยตามไปด้วยกัน มักใช้เข้าคู่กับ คนจัญไรมาพบกัน ว่า ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยฝนตกขี้หมูไหล

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฝนตกขี้หมูไหล

  • ฝนตกขี้หมูไหลแท้ๆ ตั้งแต่สองคนนี้ได้มาเจอกันก็ชวนกันไปมั่วสุมเสพยาเสพติดไม่เว้นวัน คนดีๆ ไม่คบกัน คนจัญไรก็คบกันนี่แหละ
  • และในเวลาเดียวกันนี้ ก็ดูเหมือนว่าในบ้านเมืองของเราก็มีคนประเภทที่เรียกว่า “พวกคนจัญไร” ก็เกิดขึ้นเต็มบ้านเต็มเมืองเหมือนกัน และคนพวกนี้ก็รวมตัวกันขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กระทำกรรมต่างๆ ให้เห็นตามภาษาโบราณของไทยเดิมคือคำว่าเมื่อ “ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน” คือทำอะไรที่มันดีงาม และเป็นมงคลไม่ได้นอกจากทำแต่เรื่องอัปรีย์จัญไรกันทั้งสิ้น
  • ฝนตกขี้หมูไหลจริงๆ คนคู่นี้ ทั้งหัวหน้าทั้งลูกน้องชวนกันไปเหลวไหลเมาหัวราน้ำทุกวัน ไม่เป็นอันทำงาน
  • ฝนตกขี้หมูไหล โบราณท่านนิยมใช้เปรียบเทียบว่า เมื่อคนสองคนหรือมากกว่ามาอยู่ร่วมกัน แทนที่จะช่วยกันทำงานทำการให้ลุล่วง กลับพากันเหลวไหลจนไม่ได้การได้งาน พากันชวนคุย เที่ยวเตร่ หรือชักชวนกันออกนอกลู่นอกทาง ไม่ได้เรื่องไม่ได้ราวอะไรเลย
  • นักการเมืองไม่ดีเหมือนขี้หมู ยิ่งขี้หมูไหลมารวมกับน้ำฝนแล้ว แล้วรวมอำนาจ สมคบคิดการใหญ่ บ้านเมืองก็จะเละเทะ เต็มไปด้วยกองขี้หมู ก้อนทอง ก้อนหิน อย่าไหลตาม เดี๋ยวจะเลอะขี้หมู สกปรกตามกันไป

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube