สุภาษิตคำพังเพยหัวมังกุท้ายมังกร ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตคำพังเพยหัวมังกุท้ายมังกร
X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. หัวมังกุท้ายมังกร

ความหมายของสุภาษิตหัวมังกุท้ายมังกร

ที่มาของสำนวนนี้ “ขุนวิจิตรมาตรา” หรือ “กาญจนาคพันธุ์” ได้เขียนไว้ในหนังสือสำนวนไทย ภาค 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัดรวมสาส์น วังบูรพา เป็นผู้พิมพ์จำหน่าย ท่านอธิบายไว้ว่า คำว่า “มังกุ” ได้พบหนังสือเก่าแปลว่า “เรือต่อ” ชนิดหนึ่งเป็นรูปยาว กับแปลว่าเป็นชื่อสัตว์นิยายชนิดหนึ่ง ไม่บอกว่ารูปร่างอย่างไร สันนิษฐานตามนี้ ทำให้เข้าใจว่าเรือมังกุนั้นคงจะมีหัวเป็นรูปสัตว์ ดังในเห่เรือว่า “นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร” สมัยโบราณคงจะมีเรือชนิดหนึ่ง หัวเรือทำเป็นรูปสัตว์ที่เรียก “มังกุ” แต่ท้ายเรือทำเป็นรูปอย่างมังกร รูปร่างลักษณะเรือคงจะดูแปลก จึงได้เรียก “หัวมังกุท้ายมังกร” ต่อมาคำ “หัวมังกุท้ายมังกร” เลยกลายเป็นสำนวนหมายถึงอะไรที่ในตัวมีลักษณะต่างกัน ไม่เป็นไปตามที่ควรเป็น คือเข้ากันไม่ได้ ขัดกัน ขืนกัน ไม่กลมกลืนกัน

ฉะนั้น สำนวนที่ถูกจึงควรจะพูดว่า “หัวมังกุท้ายมังกร” เพราะทั้ง “มังกุ” และ “มังกร” ต่างก็เป็นสัตว์ในนิยายเหมือนกัน แต่เป็นคนละชนิดกัน เมื่อมาอยู่รวมกันจึงทำให้ไม่กลมกลืนกัน เข้ากันไม่ได้ หากพูดว่า “หัวมงกุฎท้ายมังกร” ก็จะเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าสำนวนนี้ใช้ในความหมายว่า ไม่เข้ากัน เหมือนอย่างมังกรสวมมงกุฎ ทำให้ความหมายเพี้ยนไปจากที่มาเดิม

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน ขัดกันในตัว ทรวดทรงเรือนร่างต่างลักษณะไม่กลมกลืนกันตามที่ควรเป็น มีหลายอย่างปนเปกันจนหมดงาม

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยหัวมังกุท้ายมังกร

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตหัวมังกุท้ายมังกร

  • ครูจะมีเวลาพอสอนแบบลงมือปฏิบัติจริง ในขณะที่มีการลดเวลาเรียน ได้ทันจบเนื้อหาวิชาเรียนในหลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีมากถึง 8 ใน 7 กลุ่มสาระการเรียนรู้หรือไม่ ซึ่งถือว่าไปสวนทางไปคนละทิศ ไม่เข้าสำรับกัน เปรียบเหมือน “หัวมังกุฎท้ายมังกร”
  • นี่เธอ! ดูทรงผมของนักฟุตบอลคนนั้นสิ ทรงผมแปลกดีเหมือนหัวมงกุฎท้ายมังกรเลยนะง
  • “เทพไท” จวกร่างรัฐธรรมนูญลูกผสม “หัวมังกุ ท้ายมังกร” ปมห้าม ส.ส.เป็น รมต. เชื่อผิดหลักการระบบรัฐสภา ที่เคยประสบความล้มเหลวมาแล้ว
  • หลักสูตรฐานสมรรถนะที่ ศธ.กำลังจัดทำอยู่ยังเข้าข่ายเป็นหลักสูตรหัวมังกุฎท้ายมังกร กล่าวคือ ในหลักสูตรฐานสมรรถนะมีหลักการลดเวลาเรียนลง และเน้นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนแบบให้ลงมือปฏิบัติจริง เป็น Active Learning เลิกท่องจำเนื้อหา สวนทางกับตัวหลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีการกำหนดให้มีเนื้อหาวิชาเรียนมาก 8 ใน 7 สาระการเรียนรู้เท่าหลักสูตรเดิมดังกล่าว
  • ศิลปะบางทีก็เหมือนหัวมังกุ ท้ายมังกร อะไรต่างๆ อาจไม่เข้ากัน แต่กลับสวยงามในแบบของมัน ศิลปะกำลังจะบอกเราว่า “เพราะคำว่าสมบูรณ์แบบไม่มีในโลกใบนี้”

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements