สุภาษิตคำพังเพยแทรกแผ่นดินหนี ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ท. แทรกแผ่นดินหนี

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยแทรกแผ่นดินหนี

ที่มาของสำนวนนี้คือ สำนวนนี้มาจากเรื่องรามเกียรติ์ตอนกำเนิดนางมณโฑ เรื่องก็มีอยู่ว่า มีฤๅษี 2 ตนอยู่ที่อาศรมในป่าหิมพานต์ ทุกวันจะมีแม่โค 5๐๐ ตัว มาหยดน้ำลงในอ่างไว้ให้เหล่าฤๅษีได้กิน เมื่อฤๅษีกินแล้วก็แบ่งให้แม่กบตัวหนึ่งที่อาศัยอยู่ในบริเวณอาศรมด้วย วันหนึ่งธิดาพญานาคเกิดรัญจวนใจ อยากจะหาคู่อภิรมย์ จึงได้ขึ้นมาจากบาดาลแปลงกายเป็นหญิงงามแล้วเที่ยวเสาะหาผู้ชายแต่ก็ไม่พบผู้ใด พบแต่งูดินตัวหนึ่ง ธิดานาคจึงกลับร่างเป็นนาคแล้วเข้าสมสู่กับงูดิน เหล่าฤๅษีผ่านทางมาพบเข้าเห็นเป็นเรื่องไม่สมควรก็ใช้ไม้เท้าเคาะตัวธิดานาคให้ผละออกมา ธิดานาครู้สึกอับอายจึงแทรกแผ่นดินหนีไป

บทประพันธ์ที่บรรยายความรู้สึกของธิดานาคในเรื่องรามเกียรติ์มีดังนี้

“ให้คิดอัปยศอดอาย ดั่งกายจะละลายลงกับที่

ก็ชำแรกแทรกพื้นปฐพี หนีไปพิภพบาดาล”

ส่วนธิดานาคเกรงว่าบิดารู้เข้านางจะถูกลงโทษ จึงคิดสังหารเหล่าฤๅษีเสีย นางจึงขึ้นมาบนพื้นดินแล้วคายพิษลงในอ่างน้ำนมของฤๅษี ฝ่ายแม่กบเห็นเข้าก็คิดทดแทนบุญคุณฤๅษี โดยกระโดดลงไปในอ่างน้ำนมให้พิษนาคสังหารตน เพื่อฤๅษีจะได้ไม่กินน้ำนม เมื่อเห็นซากกบ ฤๅษีก็ตำหนิแม่กบ แต่ก็ชุบชีวิตขึ้นมาด้วยความเมตตาแล้วถามสาเหตุ ครั้นรู้ความจริงก็ชุบแม่กบขึ้นเป็นหญิงงามให้ชื่อว่า มณโฑ ซึ่งแปลว่า กบ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ หลีกหนีไปให้พ้น ไม่อยากให้ใครพบหน้าเพราะอับอาย ใช้กับความรู้สึกอาย หมายถึง อายมากจนอยากจะแทรกตัวลงไปในดินเพื่อหนีหน้าผู้คนนั่นเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยแทรกแผ่นดินหนี

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตแทรกแผ่นดินหนี

  • ฉันอายจนอยากจะแทรกแผ่นดินหนี ให้หายไปจากตรงนั้นเมื่อครั้งที่คนที่ฉันแอบชอบ มาเจอฉันในสภาพที่โทรมมาก ผมกระเซอะกระเซิงจนดูไม่ได้
  • ขณะที่เดินอยู่บนเวที เธอเหยียบชายกระโปรงที่ยาวกรอมเท้าของตนเอง แล้วล้มคะมำลงท่ามกลางสายตานับร้อยๆ คู่ เธออายแทบจะแทรกแผ่นดินหนีไปเลย
  • คนประเภททำอะไรเห็นแก่ตัว เอาเปรียบผู้อื่นอยู่ตลอกเวลาคงต้องว่า ต้องประจานกันบ้าง เอาให้อายจนต้องแทรกแผ่นดินหนีเลย
  • เพื่อนผมไปห้างแล้วตดเสียงดังมากๆ คนต่างหันมามองแล้วยิ้ม หัวเราะกันบ้าง มันอายจนแทบจะแทรกแผ่นดินหนีเลย
  • แฟนผีโม้ไว้เยอะว่าจะชนะหงส์ในศึกแดงเดือด สุดท้ายหงส์ยำเละคาบ้าน แฟนบอลผีอายจนแทรกแผ่นดินหนีหมด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ท. ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ

ที่มาของสำนวนนี้คือ การจะทำสิ่งใดถ้าไม่กล้าลงทุน กลัวหมดกลัวเปลือง และขี้เหนียวเกินไปมักเสียผล โบราณท่านเปรียบไว้กับการทำนา ซึ่งชาวนาต้องใช้ต้นกล้าข้าวในปริมาณที่เหมาะสม การใช้ต้นกล้าน้อยเกินไป ย่อมได้ต้นข้าวน้อย ส่งผลให้ได้เมล็ดข้าวน้อยไปด้วย เช่นเดียวกับคำว่าทำปลาออมเกลือ ซึ่งหมายถึงการทำปลา ปลาตากแห้ง ปลาเค็ม หรือปลาร้านั้น ต้องใช้เกลือในปริมาณที่เพียงพอ การเสียดายหรือใช้เกลือน้อยเกินไปย่อมส่งผลให้ปลาที่ได้มีกลิ่นเหม็นหรือเน่า ไม่ได้ปลาในรูปแบบที่ต้องการ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำการสิ่งใด ถ้ากลัวหมดเปลืองย่อมไม่ได้ผลดี ย่อมไม่ได้ผลสมบูรณ์

นิยมใช้กับคนที่ขี้เหนียวไม่ถูกเรื่อง ขี้เหนียวในสิ่งที่ไม่ควร ทำให้ผลที่ออกมานั้นไม่ดีดังที่คาดไว้ใช้เตือนสติให้มีความระมัดระวังในการลงทุนทำธุรกิจ หรือทำกิจการใดๆ ที่ต้องใช้เงิน ต้องลงทุนให้เหมาะสมกับกำลังทรัพย์ของตนเอง ก็จะไม่เดือดร้อน บางคนไปกู้หนี้ยืมสินมาลงทุน ซึ่งอาจสร้างปัญหาในภายหลังได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ

  • การลงทุนให้เหมาะสมกับกำลังทรัพย์ที่มี ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ เป็นเรื่องดี แต่หากมั่นใจว่ากิจการน่าจะไปได้ดี อาจต้องลองเสี่ยงลงทุนเพิ่มให้มากขึ้น เพราะโอกาสดีๆ ที่เข้ามา อาจจะไม่บ่อยนัก และคู่แข่งที่มีทุนมากกว่า อาจจะเข้ามาแข่งขันทำให้เสียโอกาส บางคนมีความคิดที่ดีในการทำธุรกิจ แต่ทำเล็กๆ น้อยๆ แค่พออยู่ได้ ต่างจากบางคนที่กล้าลงทุนก็จะดึงลูกค้าไปหมด
  • กฎหมายใดที่สมควรแก้ไขปรับปรุงก็รีบๆด่วนแก้ไขเสียเถอะครับ เช่น กฎหมายมรดก กฎหมายพลังงาน ฯลฯ อย่าทำแบบกล้าๆกลัวๆเป็น “ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ” อยู่เลยครับ จะเสียของไปเปล่าๆ
  • การลงทุนทำธุรกิจหรืออะไรก็ตามที่ต้องลงเป็นตัวเงิน ควรลงทุนให้เหมาะสม กับกำลังทรัยพ์ตัวเอง ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนนภายหลัง หากกิจการไม่ได้ด้วยดี อย่างที่คิด ไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้
  • คิดจะทำการใหญ่อย่าทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ เพเราะจะเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ และไม่ได้สิ่งที่ดีมากนักกลับมา ชีวิตต้องกล้าทำ กล้าเสี่ยง แต่อย่าเสี่ยงเหนือความรู้ตนเอง
  • คิดจะลงทุนหุ้นต้องมีวินัย ค่อยๆ ออมหุ้น ทุกสิ้นเดือนให้ตัดเงินลงทุนออกก่อนจะใช้จ่ายเป็นเรื่องที่ดี เพราะถ้าทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือกับการลงทุนแล้ว ระยะยาวเราจะไม่ได้ผลตอบแทนที่ดีนัก

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ถ. ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น

ที่มาของสำนวน ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น จัดอยู่ในคำวิเศษณ์ “ถี่-ห่าง” ถ้านำสองคำนี้มารวมกัน เราจะได้คำใหม่ในภาษาไทยว่า “ถี่ห่าง” ส่วนมากอยู่รวมกันกับคำว่า “ชั่วดี” จะได้ว่า “ชั่วดีถี่ห่าง” จัดว่าเป็น “คำซ้อน” (เพราะเป็นการนำคำที่มีความหมายตรงกันข้ามมาซ้อนกัน)

ช้าง เป็นสัตว์ที่มีร่างกายขนาดใหญ่ แต่มีดวงตาที่เล็กมาก

เล็น หมายถึง แมลงหรือสัตว์ขนาดเล็กมาก เมื่อกัดจะทําให้เกิดความระคายเคืองต่อร่างกายซึ่งอาจหมายถึงพวกไร เหา เห็บ หมัด หรือมด ก็ได้ แต่เมื่อเทียบกับลำตัวของมันกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ แล้ว มันก็มีดวงตาที่ใหญ่มาก

สำนวนนี้ เดิมใช้ว่า ถี่ลอดตัวช้าง ห่างลอดตัวเล็น ต่อมาได้กลายเสียงเป็น ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น และก็มีการใช้สำนวนนี้กันมาถึงปัจจุบัน ข้อความในสำนวนนี้พบว่า มีคำคู่ขัดแย้งกันและไม่เป็นไปตามเหตุผล นี่แหละจึงเป็นเหตุผลของสำนวน ที่ว่า ถี่ แต่ช้างกลับลอดได้ทั้งตัว นั้นหมายถึง ไม่ถี่ถ้วนจริง คำว่า “ถี่ลอดตัวช้าง” กับ “ห่างลอดตัวเล็น” ถ้าพิจารณาตามเหตุตามผลต้องกล่าวว่า “ห่างลอดตัวช้าง ถี่ลอดตัวเล็น” จึงจะถูกต้อง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ดูเหมือนละเอียดถี่ถ้วน แต่ไม่ละเอียดถี่ถ้วนจริง จะรอบคอบถี่ถ้วน แต่รอบคอบไม่จริง มีช่องโหว่ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ สำนวนนี้ยังหมายความว่า ประหยัดในสิ่งที่ไม่ควรประหยัด ไม่ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด

ใช้เปรียบเทียบการกระทำที่ดูเผินๆ เหมือนว่าจะรอบคอบมาก แต่ในความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น โดยท่านเปรียบไว้ว่า อะไรที่ถี่หรือเล็กมากๆ ก็อาจจะรอดพ้นจากการสังเกตุของช้างได้ ในขณะที่ของที่ใหญ่มากๆ ก็สามารถรอดพ้นจากการสังเกตุของเล็นหรือแมลงเล็กๆ ได้เช่นกัน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น

  • ช่วงนี้องค์กรของเราเป็นเป้าหมายของผู้ก่อการร้าย เจ้าหน้าที่จึงเข้มงวดกวดขันมากเป็นพิเศษ จะผ่านเข้า-ออกแต่ละครั้งจะมีการตรวจสอบหาอาวุธตามร่างกายโดยเฉพาะกับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงเจ้าหน้าที่เกรงว่าจะไม่เหมาะสมในการตรวจสอบจึงละเว้น แบบนี้ก็เข้าทำนองถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็นชัดๆ
  • โรงงานนี้เข้มงวดเรื่องการเข้าออกของผู้ไปติดต่อ แต่คนส่งกาแฟ คนส่งหนังสือพิมพ์ กลับเข้าออกได้ทุกห้อง ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็นแท้ๆ
  • คนรุ่นผมคิดตามคำในสำนวนก็ข้องใจตรงตาช้างหรือตาเล็น เป็นเช่นไร พยายามคิดว่าตาคือตาข่าย โมเมว่าตาข่ายดักช้าง ตาข่ายดักเล็น แต่ก็ยังไม่ลงตัว
  • เจ้านายฉันเรื่องกินละก็คิดแล้วคิดอีก แต่ถ้าเป็นเรื่องแต่งตัวละก็ จ่ายเท่าไรก็ไม่ว่า เข้าตำรา ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น
  • สมชายเหมือนจะเข้มงวดในการตรวจแบบบ้าน แต่พอลองจ้างคนอื่นมาตรวจกับพบตำหนิจำนวนมาก สมชายนี่ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็นจริงๆ เลย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยถอยหลังเข้าคลอง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ถ. ถอยหลังเข้าคลอง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยถอยหลังเข้าคลอง

ที่มาของสำนวนนี้คือ คนไทยแต่ก่อนใช้ทางน้ำเป็นทางสัญจรหลัก แม่น้ำสายใหญ่มีคลองเล็กๆ เป็นซอยแยกออกไป ทำนองเดียวกับตรอก ซอย ตามถนนต่างๆ เมื่อพายเรือออกจากคลองเล็กสู่แม่น้ำใหญ่ก็เปรียบได้กับการทำงานที่เริ่มต้นจากงานเล็กๆ ไปสู่งานใหญ่ นับเป็นความก้าวหน้าในการทำงานแต่หากแทนที่จะก้าวหน้ากลับถอยหลังไปสู่งานเล็กๆ เหมือนเดิม ก็จะมีคำเปรียบว่าเป็นการพายเรือถอยหลังกลับเข้าคลอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ กลับไปทำแบบเดิมๆ ซึ่งไม่ก้าวหน้าและไม่ทันสมัย ถอยหลังตกต่ำไปจากเดิม ไม่พัฒนาแล้วแถมยังตกต่ำลงเรื่อยๆ สำนวนนี้มักมีผู้ใช้ผิด ๆ ว่า “ถอยหลังลงคลอง” หรือ “ถอยหลังลงคู”

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยถอยหลังเข้าคลอง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตถอยหลังเข้าคลอง

  • การมีผู้นำประเทศที่ไร้วิสัยทัศน์ ยึดติดกรอบเดิมๆ ไม่เท่าทันเทคโนโลยีนั้นทำให้เสียโอกาสในการพัฒนาอย่างมาก
  • การใช้ภาษาไทยทุกวันนี้เริ่มจะถอยหลังเข้าคลอง วัยรุ่นนิยมใช้ภาษาวิบัติในการแชต เพื่อความสะดวกรวดเร็ว แต่ทำให้ติดมาใช้ในชีวิตจริงสะกดภาษาไทยแบบผิดๆ ถูกๆ
  • ทุกวันนี้หลายๆ บริษัทได้มีการผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัยสวยงามเอาใจลูกค้า ยกเว้นบริษัทแห่งหนึ่งที่ไม่ยอมปรับปรุงพัฒนาสินค้า และยังคงใช้บรรจุภัณฑ์แบบเดิมๆ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
  • คุณจะมาคัดค้านระเบียบใหม่ที่จะทำให้บริษัทพัฒนาก้าวหน้าอยู่ทำไมหรืออยากจะถอยหลังเข้าคลอง
  • ถอยหลังเข้าคลองชัดๆ ฝ่ายบุคคลแก้ปัญหาการที่พนักงานสแกนบัตรเวลาเข้างานแทนกัน โดยกลับมาใช้ระบบเดิมคือให้พนักงานมาเซ็นต์ชื่อลงเวลาเข้างาน แทนที่จะพัฒนามาใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยถอดเขี้ยว ถอดเล็บ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ถ. ถอดเขี้ยว ถอดเล็บ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยถอดเขี้ยว ถอดเล็บ

ที่มาของสำนวนนี้คือ มาจากการเปรียบคนที่มีพยศหรือมีอำนาจ มีฤทธิ์เก่งกาจว่าเหมือนกับสัตว์ร้ายที่มีเขี้ยวและเล็บที่สามารถทำร้ายผู้อื่นให้บาดเจ็บหรือเป็นอันตรายได้ ถ้าเมื่อใดที่สัตว์ร้ายนั้นไม่มีเขี้ยวและเล็บแล้ว ก็ไม่สามารถทำร้ายผู้อื่นอีกต่อไป คนที่เคยมีพยศ มีอำนาจ เมื่อละพยศหรือเลิกใช้อำนาจแล้ว เปรียบได้กับสำนวนว่า ถอดเขี้ยวถอดเล็บ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ละพยศ ละความเก่งกาจ เลิกแสดงฤทธิ์ เลิกแสดงอำนาจอีกต่อไป สำนวนนี้มักจะใช้กับคนที่มีอำนาจบารมีมากมาย แล้วก็ละทิ้งทุกอย่างกลายเป็นคนธรรมดา หรือมีชีวิตที่เรียบง่ายนั่นเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยถอดเขี้ยว ถอดเล็บ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตถอดเขี้ยว ถอดเล็บ

  • ตั้งแต่ที่เขาได้แต่งงานกับสาวไฮโซ เขาก็ได้ถอดเขี้ยวถอดเล็บจนหมดสิ้น ไม่หลงเหลือความเจ้าชู้อีกต่อไป
  • นายตำรวจใหญ่คนนี้ตั้งแต่ถูกสอบสวนคราวนั้นแล้วไม่เห็นวางอำนาจกับใครอีก ถอดเขี้ยวถอดเล็บไปเลย
  • ถอดเขี้ยว ถอดเล็บ เสือสิ้นลาย ยอมสยบให้เธอคนเดียว
  • เมื่อก่อนคุณลุงเป็นมาเฟียใหญ่ น่าเกรงขาม เป็นผู้มีอิทธิพลในเมืองนี้ แต่ปัจจุบันท่านอายุมากแล้วจึงถอดเขี้ยวถอดเล็บจนหมดสิ้น
  • ผู้มีอำนาจพอถึงเวลาที่ต้องปล่อยวางก็ต้องถอดเขี้ยว ถอดเล็บกันทุกคน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเตี้ยอุ้มค่อม ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. เตี้ยอุ้มค่อม

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเตี้ยอุ้มค่อม

ที่มาของสำนวนนี้คือ เปรียบเปรยถึง คนที่ตัวเตี้ย ที่ต้องไปอุ้มคนที่มีลักษณะหลังค่อมโดยการโอบมาไว้กับตน จะทำให้ยากลำบากในการอุ้มเนื่องจากคนตัวเตี้ยก็ทรงตัวลำบากยังต้องมาอุ้มคนที่หลังค่อมอีก

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่มีฐานะยากจนหรืออยู่ในสถานภาพที่ลำบาก แต่ต้องเป็นภาระเลี้ยงดู ไปคอยช่วยเหลือคนที่มีฐานะเดียวกับตนเอง ทำให้มีสภาพที่ย่ำแย่ไปกว่าเดิม

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเตี้ยอุ้มค่อม

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเตี้ยอุ้มค่อม

  • ถ้าชีวิตตนลำบากอยู่แล้ว อย่าไปหาภาระมาใส่ตัวเพิ่ม เหมือนคนเตี้ยอุ้มค่อม ให้ตัวเองดีขึ้นก่อนเถอะ ค่อยคิดใหม่
  • เธอเองก็ลำบากกำลังตกงาน แถมมีหนี้สินมากมาย แต่ก็ยังจะไปดูแลช่วยเหลือน้องชายที่ไม่เอาไหน แบบนี้มันเตี้ยอุ้มค่อมชัดๆ ยิ่งแย่ไปกันใหญ่
  • คนบางคนชอบหาภาระใส่ตนเอง เหมือนสำนวนที่ว่าเตี้ยอุ้มค่อม แบบนี้ชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นก็ยิ่งแย่ขึ้นไปอีก
  • เธอควรจะเป็นคนคอยให้คำปรึกษาอยู่ห่างๆ นะ ไม่ใช่ไปรับภาระเอางานทำเองมาแบบนี้ งานตัวเองก็ทำไม่ทันอยู่แล้วมันจะกลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อมเข้านะซิ
  • สมชายมีฐานะไม่ดีนัก หนี้สินก็รุงรัง แต่ด้วยความรักน้องสาว ที่มีฐานะไม่ดีเช่นกัน จึงต้องคอยแบ่งเงินทองให้น้องสาวใช้ ทำให้ตัวเองที่แย่อยู่แล้วกลับแย่ลงไปอีก ไม่มีทางจะดีขึ้นได้เลย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตีวัวกระทบคราด ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตีวัวกระทบคราด

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตีวัวกระทบคราด

ที่มาของสำนวนนี้คือ มาจากกคราดซึ่งใช้เป็นเครื่องมือกวาดลานฟางหรือหญ้าในนา ผูกเป็นคันยาวใช้วัว และคราดจะเป็นตักระตุ้นให้วัวทำงานลากคราดไป เมื่อคราดไม่ทำงานก็เลยใช้วิธีตีวัวให้ลากคราด เป็นที่มาของคำว่า “ตีวัวกระทบคราด”

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ ไพล่ไปรังควานอีกคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องและตนสามารถทำได้ ถูกนำมาใช้เปรียบเปรยกับคนที่โกรธหรือไม่พอใจกับคนหนึ่ง แต่ไม่สามารถทำอะไรกับคนนั้นได้โดยตรง จึงต้องไปกระทำหรือระบายออกกับอีกคนซึ่งจะมีผลกระทบไปถึงคนที่ตนไม่พอใจได้นั่นเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตีวัวกระทบคราด

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตีวัวกระทบคราด

  • แบบนี้มันตีวัวกระทบคราดชัดๆ คุณไม่พอใจที่เขาไปจอดรถขวางหน้าบ้านคุณ แต่คุณกลับไปลงมือทำร้ายสัตว์เลี้ยงของเขา
  • ปัญหาของชีวิตคู่ที่น่าเบื่อมากอย่างหนึ่งก็คือ การระบายปัญหา แบบ ตีวัวกระทบคราด บางทีมีปปัญหากับที่ทำงานก็มาระบายกับคนที่บ้าน ซึ่งไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วยเลย
  • คุณมีปัญหาอะไรก็มาพูดกันตรงๆดีกว่า อย่ามาตีวัวกระทบคราดอยู่แบบนี้เลย ไม่อย่างนั้นปัญหาก็ไม่จบเสียที
  • เราไม่ควรสร้างนิสัย ตีวัวกระทบคราด ไม่พอใจใครก็ไประบายกับอีกคน ควรเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ตัวเอง เพราะการทำนิสัยแบบนี้บ่อยๆ จะไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย
  • สมชายไม่พอใจหัวหน้า แต่เอาความโมโหไปลงกับเพื่อนร่วมงาน ทำให้เพื่อนร่วมงานหลายคนไม่พอใจเป็นอย่างมาก ทำตัวแบบตีวัวกระทบคราดชัดๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตีปลาหน้าไซ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตีปลาหน้าไซ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตีปลาหน้าไซ

ที่มาของสำนวนนี้ ตีปลาหน้าไซมีปรากฏอยู่ในหนังสือมหาชาติ หรือ เวสสันดรชาดก ที่มีมาตั้งแต่ แผ่นดิน พระพรมไตรโลกนาถ แต่น่าแปลกที่ในตัวบาลี ที่ตรงกับตีปลาหน้าไซซึ่งไม่ทราบแน่ว่าจะเป็นสำนวนของชาติไทย หรือชาติอินเดีย สำนวนนี้มีในกัณฑ์ กุมารตอนพระเวสสันดร ให้ทานสองกุมาร แต่ชูชก แล้วชูชกตีสองกุมาร” เช่นกาพย์กุมารมรรพครั้งกระศรีอยุธยาว่า โอ้แสนสงสารพระลูกเอย กระไรเลยอนาถา ทั้งพราหมณ์เฒ่าก็ไม่เมตตา ตีกระหน่ำ นี่เนื้อแกล้งไห้เราชอกซ้ำแตกฉานในมกุฎทานบารมี เหมือนรายชาติเสื่อมศรีฤษยา มาตีกั้นสกัดปลาที่หน้าไซ บรรดาจะได้พระโพธิญาณ

ไซ เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านคุ้นเคย เพราะผู้ชายสมัยก่อนเมื่อคิดจะมีเหย้ามีเรือนต้องฝึกหัดจักสานเครื่องมือเครื่องใช้ให้เป็น เปรียบกับการจับปลาโดยใช้ไซวางไว้ในลำน้ำเพื่อดักให้ปลาเข้า เมื่อมีคนตีปลาหรือกระทุ่มน้ำตรงหน้าไซทำให้น้ำปั่นป่วนปลาจึงตื่นหนีไปไม่เข้าไซที่ดักไว้

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ใช้เปรียบเทียบคำพูดหรือการกระทำซึ่งขัดขวางกิจการที่กำลังดำเนินไปด้วยดีให้หยุดชะงักลง ฉวยโอกาส เอาแต่ประโยชน์ของตนเป็นหลัก ทำอะไรเสียหายไม่คำนึงถึง หรือขัดผลประโยชน์ที่เขาควรมีควรได้อยู่แล้วให้เสียไป

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตีปลาหน้าไซ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตีปลาหน้าไซ

  • น่าเจ็บใจจริงๆ โดนร้านค้าคู่แข่งมาตีปลาหน้าไซ เพราะเขาใส่ร้าย เที่ยวป่าวประกาศบอกลูกค้าของเราว่าสินค้าเราไม่ดี
  • คนเขากำลังจะได้ปลา นี่มาโยนหินลงน้ำ มาตีปลาหน้าไซทำให้ปลาหนีหมด เด็กพวกนี้ซนจริงๆ
  • แม่ค้าเขาต้องว่าฉันเป็นพวกชอบตีปลาหน้าไซแน่ๆ เพราะเวลาเพื่อนจะซื้อของฉันมักถามว่า ที่ซื้อไปแล้วได้ใช้แล้วหรือ ทำให้เพื่อนตัดสินใจไม่ซื้อทำให้แม่ค้าเขาเสียผลประโยชน์ไป
  • ตีปลาหน้าไซชัดๆ! ลูกค้ารายย่อยรอซื้อหวยชุด แต่กลับโดนพ่อค้ารายใหย่ตัดหน้ากว้านซื้อไปหน้าตาเฉย แบบนี้ลูกค้ารายย่อยหลายคนเสียหาย เสียเวลา เสียผลประโยชน์
  • ผลประโยชน์ที่รัฐบาลสมควรได้รับ ต้องตกอยู่มือในทุนใหญ่หมด เมื่อรัฐให้อำนาจนายทุนมากเกินไป นายทุนพวกนี้ก็ฉวยโอกาสตีปลาหน้าไซ ทำให้ผลประโยชน์ข้องรัฐและประชาชนน้อยลงไปมาก

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตีนถีบปากกัด ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตีนถีบปากกัด / ปากกัดตีนถีบ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตีนถีบปากกัด / ปากกัดตีนถีบ

ที่มาของสำนวนนี้คือ อาการของการดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้ตนเองอยู่รอด และปลอดภัย จากสิ่งที่กำลังทำร้ายเราเองอยู่ เพื่อให้หลุดพ้นจากสภาวะที่กำลังคับขันนั้น เรียกว่าใกล้ตีนก็ใช้ตีนถีบ ใกล้ปากก็ใช้ปากกัด กล่าวคือทำทุกอย่างเพื่อให้หลุดพ้นจากสภาวะนั้น

เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยจากศัตรูที่กำลังทำร้ายตนเองอยู่ จำเป็นจะต้องใช้ทุกสิ่งทุกอย่างเข้าต่อสู้ป้องกันตัว มีมีดก็ใช้มีด หรือ ไม่มีอะไรก็ใช้มือชกใช้เท้าเตะถีบ และ ถ้าใกล้ตัวมากๆ ก็จะใช้ปากกัดด้วยก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของตนเอง สำนวนนี้เรียกมักถูกเรียกสลับเป็น “ปากกัดตีนถีบ”

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ตั้งใจทำมาหากิน มานะพยายามทำงานทุกอย่างเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง โดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก แม้ว่างานนั้นจะหนักขนาดไหนก็ตาม จำต้องอดทนทำขอเพียงให้มีรายได้ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน เรียกว่าทำงานไม่เลือกงาน ทำงานทุกอย่างที่ขวางหน้า ขอเพียงให้ได้เงินมาก็พอใจแล้ว

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตีนถีบปากกัด ปากกัดตีนถีบ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตีนถีบปากกัด

  • หล่อนมักจะนึกถึงอดีตของตัวเอง กว่าจะมายืนอยู่ตรงนี้ได้ เธอต้องตีนถีบปากกัดมาเป็นเวลานาน
  • ในสภาวะเศรษฐกิจซบเซา ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ประชาชนทุกคนจำเป็นต้องตีนถีบปากกัด หาอาหารเท่าที่พอจะหาได้ในพื้นที่อันจำกัด มาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องให้อยู่รอดไปวันๆ
  • ฉันจะไม่ยอมกลับไปตีนถีบปากกัดแบบตอนเด็กๆ อีกแล้ว ฉันจะต้องมีชีวิตที่ดีกว่านั้น
  • ทำงานหนัก ปากกัดตีนถีบสู้ชีวิต ก็มองไม่เห็นอนาคตเหมือนกันว่ามันจะดีขึ้นได้อย่างไร แต่ผมก็ขอสู้ชีวิตต่อไป
  • ปากกัดตีนถีบ ชาวนาดิ้นสู้ภัยแล้งสุดฤทธิ์ ในสถานการณ์ภัยแล้ง ซึ่งเกือบจะเป็นอีกฤดูกาลหนึ่งประจำปีของประเทศไทยไปแล้ว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตีตนก่อนไข้ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตีตนก่อนไข้

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตีตนก่อนไข้

ที่มาของสำนวนนี้คือ การกำหนดตัวเองให้เสมือนว่ามีความเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งๆ ที่ตนเองไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วยเลย จนกระทั่งตนเองป่วยไปซะจริงๆ การวิตกกังวลเกินกว่าเหตุเพียงได้ข่าวไม่ดี หรือเรื่องในทางไม่ดีก็แสดงอาการกลัว และวิตกกังวลเกินไป หรือแสดงอาการกลัวไปก่อนที่เหตุการณ์จริงๆ นั้นจะเกิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์นั้นๆ บางทีอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ กลับเป็นทุกข์เป็นร้อนหมดกำลังใจที่จะต่อสู้ ทำให้ไม่มีกำลังใจในการคิดหาวิธีที่จะป้องกันไว้ก่อน เปรียบเสมือนกับการกังวลว่าตนเองว่าจะเป็นไข้ทำให้กินไม่ได้นอนไม่หลับ จนร่างกายทรุดโทรมจนเป็นไข้ไปในที่สุด ทั้งๆ ที่ตนเองยังไม่ได้เป็นอะไรเลย เรียกว่าชิงเป็นไข้ไปเสียก่อน ไข้ยังมาไม่ถึงเลย เพราะความกังวลเกินเหตุนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เป็นกังวล ทุกข์ร้อน หวาดกลัวในเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ยังไม่เกิดขึ้น กล่าวคือการที่บุคคลกังวลทุกข์ร้อน หรือหวาดกลัวในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น ได้แต่มโนไปเองว่า จะเกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น แล้วก็มาวิตกทุกข์ร้อนกินไม่ได้นอนไม่หลับ เกรงว่าสิ่งร้ายๆนั้นจะเกิดขึ้น จนทำให้ตนเองมีความเครียดร่างกายทรุดโทรมลงไป

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตีตนก่อนไข้

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตีตนก่อนไข้

  • ครูเขาก็แค่เรียกนายไปถามเฉยๆ เพราะนายเห็นพวกนั้นเล่นยากัน อย่าเพิ่ง ตีตนก่อนไข้ เลย
  • ตำรวจแค่เรียกตัวคุณไปสอบสวน เป็นพยาน เนื่องจากคุณเป็นผู้พบเห็นเหตุการณ์ อย่าเพิ่งไปตีตนก่อนไข้เลย
  • ตอนนี้คงต้องทำความเข้าใจเรื่องสร้างเขื่อนให้กับชาวบ้านเสียก่อน เพราะตอนนี้พวกเขาต่างพากัน ตีตนก่อนไข้ หวาดกลัวปัญหาต่างๆ นานา โดยไม่มีมูลความจริงเลย
  • ตอนนี้ทั้งบ้านกับลังวุ่นวาย เพราะชาวบ้านกำลังตีตนก่อนไข้ หวาดกลัวกับข่าวที่มีกระแสออกมาว่าโลกจะแตก ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้
  • สมชายเป็นมะเร็งระยะแรก แต่ดันตีตนก่อนไข้ บ่นว่าตนจะต้องตายๆ จนครอบครัวต้องให้หมอมาบอกว่าแค่ระยะแรกยังรักษาให้ขาดได้ ไม่ต้องห่วง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube