สุภาษิตคำพังเพยน้ำซึมบ่อทราย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. น้ำซึมบ่อทราย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยน้ำซึมบ่อทราย

ที่มาของสำนวน ในสมัยโบราณผู้ที่ปลูกบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำ จะนิยมสร้างบ่อทรายแบบง่ายๆ เพื่อตักน้ำที่ใสสะอาดมาไว้ใช้บริโภค โดยการขุดทรายชายฝั่งให้เป็นหลุมกว้างพอประมาณ และ ให้มีความลึกได้พอดีกับระดับน้ำ (น้ำจะซึมเข้ามาเอง) แล้วหาภาชนะอาจจะเป็นเข่ง หรืออะไรก็ได้มาสวมกันไม่ให้ทรายไหลลงมากลบหลุมที่ขุด น้ำในแม่น้ำก็จะซึมเข้ามาในบ่อรักษาระดับของน้ำให้เท่ากับระดับน้ำในแม่น้ำอยู่เสมอๆ เวลาจะใช้ก็ใช้กระบวย หรือขัน ตักขึ้นมาใส่ภาชนะที่เราเตรียมไปบรรจุน้ำ เมื่อเราตักน้ำออกมา น้ำในแม่น้ำก็จะซึมมาเพิ่มให้คงระดับไว้อย่างเดิม

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ สิ่งที่ตักตวงไม่มีวันหมดสิ้น หาได้มาเรื่อยๆ ถึงได้เล็กน้อยแต่ก็ไม่ขาด นิยมใช้กับรายได้หรือสิ่งของที่เราสามารถหามาได้เรื่อยๆ ถึงแม้จะได้ไม่มาก แต่ก็ได้อยู่เป็นประจำ ไม่ขาดระยะ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยน้ำซึมบ่อทราย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตน้ำซึมบ่อทราย

  • ฉันวางแผนว่าจะสร้างอพาร์ตเมนต์ให้เช่า เผื่อไว้ให้ลูกหลานต่อไปจะได้ไม่ต้องลำบาก เพราะรายได้จากค่าเช่าอพาร์ตเมนท์ก็เหมือนน้ำซึมบ่อทราย อยู่ได้ไม่ลำบากเลยหล่ะ
  • โลกยุคนี้ค่อยๆ ให้ความสุขประชาชนแบบน้ำซึมบ่อทราย  คือให้ไม่มากแต่ให้อย่างยั่งยืนตลอดไป
  • วันนี้ครูใหญ่ออกมาพูดหน้าเสาธงแนะนำนักเรียนว่า การเรียนรู้วันละนิดละหน่อย  อย่างต่อเนื่องทุกๆ วัน  ทำตนเหมือนน้ำซึมบ่อทราย  เมื่อนานวันเข้า ก็จะได้น้ำจำนวนมหาศาล
  • นายน้อยปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ว่างเปล่าหลังบ้านตนเอง เมื่อมีผักเหลือจากการกินก็จะนำไปขาย ทำให้มีรายได้เข้าบ้านอยู่เรื่อยๆ ไม่เคยขาด เป็นต้น
  • รายได้จากสินทรัพย์มักจะมาในรูปแบบน้ำซึมบ่อทรายนั่นแหละ ได้เรื่อยๆ ได้ตลอด ตราบใดที่สินทรัพย์ยังสร้างประโยชน์ให้คนอื่น

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยน้ำขึ้นให้รีบตัก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. น้ำขึ้นให้รีบตัก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยน้ำขึ้นให้รีบตัก

ที่มาของสำนวนนี้คือ น้ำขึ้น หมายถึงเวลาที่น้ำในแม่น้ำลำคลองมีระดับสูงขึ้น สมัยก่อนเราใช้น้ำในแม่น้ำลำคลองเพื่ออุปโภคบริโภค เมื่อถึงเวลาน้ำขึ้น น้ำจะเต็มฝั่งใสสะอาดและตักได้ง่าย แต่เวลาน้ำลง น้ำจะแห้งขอดและขุ่นเพราะโคลนตมที่ก้นท้องน้ำ เราจึงมักรีบตักน้ำไว้ใช้เมื่อน้ำกำลังขึ้น ทำให้เกิดสำนวนว่า น้ำขึ้นให้รีบตัก น้ำขึ้นในที่นี้หมายถึงโอกาสที่มาถึง คำว่า ให้ บอกความบังคับหรือแนะนำแกมบังคับ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เมื่อมีโอกาสดีๆ หรือเมื่อโอกาสมาถึง ผ่านเข้ามา ให้รีบคว้าโอกาสนั้นเอาไว้ และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้เต็มที่ ก่อนที่ช่วงเวลาที่มีโอกาสดีๆ จะผ่านไป

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยน้ำขึ้นให้รีบตัก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตน้ำขึ้นให้รีบตัก

  • ตอนนี้ข้าวกำลังราคาดี รีบขายเสียให้หมดยุ้งเถอะ อย่ามัวกักตุนไว้เลย น้ำขึ้นให้รีบตัก ถ้าน้ำลงแล้วจะพลาดโอกาส
  • สมชายเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ต้องไปศึกษาที่ต่างประเทศเป็นเวลาหนึ่งปี ก่อนไปครูได้บอกสมชายว่า น้ำขึ้นให้รีบตัก มีโอกาสแล้วก็ขอให้เก็บความรู้ประสบการร์ให้เยอะๆ
  • ปัจจุบัน สำนวนน้ำขึ้นให้รีบตัก ถูกใช้ในทางที่ผิด ฉวยโอกาศเพื่อให้ได้มาบนความทุกข์ของผู้อื่น ซึ่งเราพบเห็นได้ในช่วงวิกฤต covid-19 นี้ ช่วยกันประคับประคองเพื่อให้ผ่านพ้นไปด้วยดีกลับมีกลุ่มคนบางกลุ่ม นอกจากจะอ้างว่าช่วย หรือไม่ได้ช่วยอะไรเลย ยังคอยหาหนทางเพื่อให้ตนเองอยู่รอด แต่ผู้อื่นกลับเดือดร้อน หยุดหากินบนความทุกข์ของผู้อื่นซักที!
  • น้ำขึ้นให้รีบตักมันเป็นภาษาถิ่นที่ชาวบ้านสั่งสมภูมิปัญญาและเรียกกันมา เช่น น้ำลักจืดลักเค็มก็คือน้ำกร่อย คนโบราณเค้าจะสอนลูกหลาน เวลาน้ำจืดไหลลงมาให้รีบตัก เพราะเมื่อน้ำขึ้นสุดตัวจะเค็ม
  • บริษัทค่ายรถน้ำมันยักษ์ใหญ่ทุ่มทุนวิจัย พัฒนา ยุคแห่งรถไฟฟ้า นับเป็นช่วงน้ำขึ้นให้รีบตัก ณ ตอนนี้ เพื่อเทคโนโลยีจะได้นำหน้าคู่แข่งรายอื่นๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยนายว่าขี้ข้าพลอย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. นายว่าขี้ข้าพลอย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนายว่าขี้ข้าพลอย

ที่มาของสำนวนนี้ เป็นสำนวนไทยสมัยทาส ซึ่งยุคนั้นยังมีการกักกันคนเหมือนกันไว้ใช้งานเหมือนวัวควาย ทาสแต่ละคนก็มีนายของตน เวลานายพูดจาอะไรไป ทาสผู้ฉลาดก็จะรีบผสมถ้อยผสมคำสนับสนุนน้ำคำสำเนียงของเจ้านายทันที จะผิดหรือถูกก็ไม่รู้ ขอเพียงให้ได้ประจบเท่านั้นก็เป็นพอ เพราะบำเหน็จบำนาญที่จะพึงได้จากความพึงพอใจของเจ้านายนั้นเป็นผลพลอยได้ที่สำคัญยิ่ง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย นายว่าขี้ข้าพลอยนั้น โบราณท่านเปรียบเอาไว้ถึงพวกบ่าวไพร่ หรือคนที่เป็นลูกน้อง ที่มักมีนิสัยประจบประแจงเจ้านาย เมื่อเจ้านายไม่ชอบใคร ต่อว่าใคร ด่าทอใคร หรือทะเลาะกับใครแล้ว บ่าวไพร่หรือลูกน้องเหล่านี้ก็จะผสมโรงเข้าร่วมด้วยทันที โดยไม่สนถูกผิด สนแต่จะเข้าข้างเจ้านายของตนอย่างเดียว

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยนายว่าขี้ข้าพลอย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตนายว่าขี้ข้าพลอย

  • ไฝเป็นคนรับใช้ที่บ้านคุณนายเจิม ทุกครั้งที่หลานคุณนายเจิมถูกคุณนายเจิมตำหนิติเตียน ไฝมักเป็นคนช่วยยุยงให้หลานคุณนายเจิมโดนตำหนิมากกว่าเดิม ไฝจึงมักโดนหลานคุยนายเจิมบอกว่า พอนายว่าขี้ข้าพลอย
  • พนักงานบางคนทำทุกอย่างเพื่อตำแหน่งหน้าที่การงาน อยากจะเป็นคนโปรดของเจ้านาย เลยกลายเป็นพวกประเภทนายว่าขี้ข้าพลอยไม่ท้วงติง แถมยังผสมโรง ส่งเสริมกันเข้าไปอีก
  • ไม่ใช่เฉพาะสมัยก่อนที่ว่านายว่าขี้ข้าพลอย แต่สมัยนี้ก็เป็นเหมือนกันในที่ทำงานหลายๆ ที่ เวลาหัวหน้าไม่ชอบอะไร ลูกน้องที่ชอบประจบประแจงก็ไม่ชอบไปด้วย เออ ออ ตามหมด ทั้งหมดก็เพื่อหวังหน้าที่ตำแหน่งนั่นแหละ
  • ฉันเบื่อพวกนายว่าขี้ข้าพลอยเสียจริงๆ ทำเหมือนคนไม่มีความคิด รู้ก็รู้ไม่จริงๆ แต่ไปร่วมยุยง ว่ากล่าวคนอื่น
  • ลั่นไม่ผิดอย่ามารังแก เหยียบย่ำหัวใจ ชี้ไม่มีอำนาจถอนประกัน กลับชงเรื่องประจบสอพลอนาย แบบนายว่าขี้ข้าพลอย จนเป็นปัญหาทำบ้านเมืองพังมามากแล้ว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยนกสองหัว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. นกสองหัว

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนกสองหัว

ที่มาของสำนวนนี้ ที่มาไม่แน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า สมัยก่อนที่ชาวต่างชาติเข้ามาในไทย อาจจะมีคนไทยบางคนที่แสดงตนว่าอยู่ในความคุ้มครองของชาวต่างชาติด้วยการเจาะรูที่เหรียญของชาวต่างชาติชาตินั้นแล้วนำมาห้อยคอเป็นสัญลักษณ์

ถ้าข้อสันนิษฐานนั้นเป็นจริง ในสมัยอยุธยา ก็น่าจะหมายถึงเหรียญ Double eagle ของรัสเซีย ซึ่งดูแล้วเหมือนนกที่มีสองหัว

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำตัวเข้ากับทั้งสองฝ่ายที่เขาไม่ถูกกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยนกสองหัว

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตนกสองหัว

  • เรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งแต่งมาก่อนที่ซาเรวิชจะเสด็จมาเมืองไทยแน่ๆ ดังนั้นการสันนิษฐานของท่านว่า สำนวน “นกสองหัว” มาจากการที่คนไทยได้เห็นตราแผ่นดินของรัสเซียน่าจะไม่ถูก คนไทยน่าจะได้เห็นตรานี้มานานตั้งแต่สมัยอยุธยาโดยเฉพาะในสมัยของพระนารายณ์ที่มีบาทหลวงเข้ามาเมืองไทยเป็นจำนวนมาก
  • คนสองหน้าไม่น่าไว้ใจอย่างไร พวกนกสองหัวก็ไม่น่าไว้ใจฉันนั้น ใครจะรู้ว่า ภายใต้ใบหน้าอันแสนไร้เดียงสา และคำพูดจาที่แสนจะไพเราะของใครบางคน จะแฝงไปด้วยความมุ่งร้าย
  • ตรานกสองหัวก็อาจถูกใช้ในบรรดาชาวคริสต์เพื่อบ่งบอกว่าเป็นคนเข้ารีตเหมือนกัน คนไทยสมัยนั้นจึงให้สมญาพวกเข้ารีตว่าเป็น “นกสองหัว” นั่นเอง
  • ในสงคมการทำงานทุกๆ ที่ย่อมมีคนประเภทนกสองหัวเสมอ ทำใจไว้เถอะพวกเรา
  • บางครั้งสถานการณ์ต่างๆ ต้องบีบให้เราเป็นนกสองหัว เพื่อนเอาตัวรอดไว้ก่อน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยทนายหน้าหอ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ท. ทนายหน้าหอ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยทนายหน้าหอ

ที่มาของสำนวนนี้คือ เป็นคำเก่าแก่ความหมายเดิมแบบที่เข้าใจถูกต้องแล้ว เขาเอาไว้รับหน้าแก้ต่าง ในระดับผู้ดี ขุนนางที่เรื่องขัดแย้งสามัญไม่ออกโรงเองให้เสียเวลา และเสียเชิง เขาจึงให้ทนายหน้าหอ หรือ ตัวแทนไปแก้ต่างแทน ไม่ใช่ทนายความตามความเข้าใจสมัยใหม่ ที่เป็นวิชาชีพ ที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ มีหลักการในการดำรงตน

ความเข้าใจผิดๆ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นแต่เมื่อก่อนในหนังในละครจะมีมาก เวลาเปิดพินัยกรรมท่านเจ้าคุณ ทนายความประจำตระกูล อ่านถึงตอนทรัพย์สินที่ท่านยกให้เป็นของข้าไท ภรรยาเก็บ ภรรยาน้อย หรืออะไรต่อมิอะไรของท่าน ไม่ถูกใจ คุณหญิงจะตวาดเล่นเอาทนายความมือไม้สั่นอ่านผิดอ่านถูก เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว ที่คุณตั้งคำถามมาน่าจะเป็นภาพติดตาจากยุคก่อน

ทนายที่ดีมีมากอยู่ ทนายที่ไม่ดีก็มักมีคนช่างคิดหาสร้อยมาต่อท้ายให้เสื่อมเสีย ดูไม่ดีเป็นปรกติวิสัยของโลก

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ หัวหน้าคนรับใช้ที่ใช้ออกหน้าออกตา ผู้รับหน้าแทนนาย หรือคนสนิท คนรับใช้ที่รู้ความเป็นไปของนาย มักชอบหน้ารับหน้าแทนนายของตนเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยทนายหน้าหอ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตทนายหน้าหอ

  • นายตำรวจใหญ่ เป็นทนายหน้าหอของนายกรัฐมนตรี เป็นแบบนี้ทุกยุคทุกสมัย ไม่มีเปลี่ยนแปลง
  • หลังจากที่มีผู้บริโภคออกมาร้องเรียนว่าสินค้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐานการผลิต เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ผู้บริหารต่างๆก็เก็บตัวเงียบ มีแต่ทนายหน้าหอออกโรงมาบอกว่าไม่เป็นความจริงและจะดำเนินการเอาเรื่องกับผู้ที่ทำให้บริษัทเสียชื่อเสียง
  • นายก็แค่ทนายหน้าหอของพ่อฉันเท่านั้นไม่มีอำนาจอะไรมาสั่งฉันได้หรอก
  • ส.ว.รสนา อัพสเตตัสเฟซบุ๊กเมื่อวันเสาร์พูดถึงนักวิชาการสีแดงที่ชื่อว่า พิชิต สมบูรณ์ ที่เวลานี้กำลังแก้ต่างเรื่องพลังงานเสมือนเป็นทนายหน้าหอให้กับ ปตท.
  • ‘วิษณุ’ สวนเดือดฝ่ายค้านป้ายสี ‘ทนายหน้าหอ’

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ท. ทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ

ที่มาของสำนวนนี้คือ ไฟใครๆ ก็กลัวเพราะว่าร้อนจนสามารถเผาผลาญสิ่งต่างๆได้วอดวาย แต่ทำไมทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ ก่อนอื่นทุกคนคงไม่เถียงว่าทองคำเป็นที่หมายปองของมนุษย์ทุกคน สาเหตุที่ทองคำเป็นที่หมายปองของทุกคนเพราะทองคำมีคุณสมบัติที่ดีมากมายอาทิ ทองคำมีสีเหลืองสว่างสดใส และมีความสุกปลั่ง ประกายมันวาวสะดุดตา นอกจากนี้ยังไม่เป็นสนิมแม้จมดินจมโคลน มีความแข็งเหนียว เนื้อแน่น ไม่สกปรก ไม่หมอง ไม่เป็นคราบไคลง่าย สามารถนำมาขึ้นรูปเป็นเครื่องประดับในรูปแบบต่างๆได้ง่ายกว่าโลหะชนิดอื่นๆ อีกทั้งแร่ทองคำยังเป็นแร่ที่หายาก คำนี้มาจากสุภาษิตโบราณจีนแต้จิ๋วว่า “จิง กิม ปุก พ่า ห้วย เหลี่ยง จิง ลี่ ปุก พ่า ฉ่ำ งั้ง” แปลเป็นไทย “ทองแท้ไม่แพ้ไฟ สัจธรรมไม่กลัวคำติฉินนินทา”

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ยึดมั่น ตั้งมั่นในความดี อดทนต่อการพิสูจน์ความจริง ก็จะสามารถผ่านพ้นอุปสรรคหรืออันตรายต่างๆ ได้

อยากจะย้ำว่าสุภาษิตที่มีมาแต่โบราณ”ทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ”มีอยู่ทุกที่ทุกสมัย ดังนั้นก่อนที่จะทำอะไรจึงควรคิดให้ดี คิดให้รอบคอบอย่าคิดเข้าข้างตนเอง เพราะหากมีการพิสูจน์แล้วผลพิสูจน์ย่อมทำให้เกิดความละอายทางใจได้อย่างแน่นอน เพราะต่างรู้กันอยู่แก่ใจว่ามันเป็นความผิดของใคร แล้วในที่สุดเราคงจะได้รู้กันว่าใครคือทองแท้ ใครคือทองเก๊ เพราะความยุติธรรมและฟ้าย่อมมีตาและเข้าข้างคนดีเสมอ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ

  • เธอไม่ต้องไปกลัวคำกล่าวหาใดๆ ในเมื่อเธอสุจริตจริง ต่อให้ใครใส่ร้ายอย่างไรสักวันความจริงก็จะปรากฎ จำไว้ว่าทองแท้ย่อมทนไฟ
  • จำไว้ว่า ทองแท้ไม่กลัวไฟลน คนจริงไม่กลัวอุปสรรค คนจริงย่อมทนต่อการพิสูจน์ คุณสมบัติของคนจริงทองคำแท้ มีไม่กี่ข้อ เขียนไว้ข้างฝาตัวโตๆ ได้ดังนี้ จงนิสัยดี กันเอง ไม่น้อยใจง่าย ไม่หลงตัวเอง ไม่เว่อ คุยรู้เรื่อง ไม่หยุมหยิม ไม่คิดเล็กคิดน้อยกับคนรอบตัว ไม่หวาดระแวง ไม่หูเบา ยอมให้เป็น ฟังคนบ้าง ถ่อมตน ไหว้คนได้ ไม่เย่อหยิ่ง ยืดหยุ่นตลอดเวลา ยึดหลักการข้างต้นไม่กี่ข้อให้แม่นยำ ต่อให้สูงแค่ไหน ก็จะต้านลมบนได้ตลอดไป
  • ผมเชื่อว่าทองแท้ย่อมทนไฟรอพิสูจน์กันต่อไป คนอย่างเขาไม่มีทางที่จะยักยอก ทำลายบริษัทที่คุณพ่อคุณแม่สร้างมากับมือได้
  • ทองย่อมเป็นทองทองแท้จะไม่แพ้ไฟคนดีจะไม่แพ้ความชั่วความจริงจะไม่พ่ายแพ้ความเท็จความมืดไม่อาจชนะความสว่างได้
  • คนที่ผ่านปัญหายากๆ ได้มักเป็นทองแท้ไม่กลัวไฟ กล้าที่จะสู้ชีวิต ไล่ตามความฝัน เป้าหมายชีวิตของตน นี่แหละคนที่มีคุณค่าของจริง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยทองแผ่นเดียวกัน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ท. ทองแผ่นเดียวกัน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยทองแผ่นเดียวกัน

ที่มาของสำนวนนี้คือ มาจากประเพณีการแต่งงานของไทยนับตั้งแต่สมัยโบราณกาลมา นอกจากฝ่ายชายจะเสียค่าสินสอด และทองหมั้นแล้ว เวลาทำพิธีรดน้ำสังข์อวยพรให้คู่บ่าวสาว จะให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าว และเจ้าสาว (คุณพ่อ-คุณแม่ , คุณปู่-คุณย่า , คุณตา-คุณยาย และ อื่นๆ) รดน้ำสังข์ และ ผูกข้อมือเจ้าบ่าว-เจ้าสาว พร้อมกับอำนวยอวยพรให้คู่บ่าวสาว และมอบของขวัญให้แก่คู่บ่าวสาว สมัยก่อนมักจะนิยมใช้ทองเป็นของขวัญเพื่อเป็นการรับขวัญคู่บ่าวสาว แล้วต่อมาก็จะเป็นแขกผู้มีเกียรติซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมให้เป็นเงิน เมื่อเสร็จพิธีญาติผู้ใหญ่จะนำทอง และ เงินที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวได้รับนั้นมาห่อรวมกันเป็นห่อเดียว แล้วมอบให้เจ้าบ่าว และ เจ้าบ่าวจะมอบให้เจ้าสาวอีกต่อหนึ่ง เป็นอันเสร็จพิธี จึงเป็นที่มาของคำว่าทองแผ่นเดียวกัน

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ โบราณท่านเปรียบเอาไว้ถึงครอบครัวสองครอบครัวที่มีลูก และลูกของทั้งสองครอบครัวแต่งงานกัน จึงถือเสมือนว่าทั้งสองครอบครัวนี้เกี่ยวดองกัน เป็นทองแผ่นเดียวกัน

กล่าวคือเมื่อก่อนทั้งสองครอบครัวไม่มีการเกี่ยวข้องกันทางสายเลือดเลย ทรัพย์สินเงินทองจึงไม่มีการผูกพันกัน เปรียบเสมือนดั่งว่าเป็นทองคนละแผ่น แต่เมื่อลูกสาวกับลูกชายของแต่ละฝ่าย มาแต่งงานกันทรัพย์สมบัติของทั้งสองฝ่ายต่างก็นำมามอบให้ลูกสาวลูกชาย ฉะนั้นทั้งสองครอบครัวก็ดูประหนึ่งว่าเป็นญาติกัน เป็นการเกี่ยวดองกันโดยการแต่งงาน อุปมาเสมือนดั่งว่า เป็นทองแผ่นเดียวกัน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยทองแผ่นเดียวกัน

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตทองแผ่นเดียวกัน

  • ไหนๆ เราทั้งสองครอบครัวก็เป็นทองแผ่นเดียวกันแล้วถ้าคุณมีปัญหา ต้องการความช่วยเหลือเราก็ยินดีที่จะช่วย
  • เราทั้งสองครอบครัวก็เป็นทองแผ่นเดียวกันแล้ว ถ้าคุณมีปัญหาอะไร เราก็ยินดีที่จะช่วยเหลืออย่างเต็มที่
  • เมื่อคู่บ่าวสาวที่มาจากสองครอบครับแต่งงานกัน ครอบครัวทั้งสองก็มี่ความเกี่ยวดองแน่นแฟ้นเป็นทองแผ่นเดียวกัน
  • เป็นที่ฮือฮาไปทั่วประเทศเมื่อสองตระกูล อภิมหาเศรษฐีของเมืองไทยที่กลายมาเป็นทองแผ่นเดียวกัน เป็นการเสริมความมั่งคั่งให้กับทั้งสองตระกูล
  • ครอบครัวนายแม้นมีลูกชาย ครอบครัวนายมามีลูกสาว ต่อมาลูกชายนายแม้นเกิดชอบพอกับลูกสาวของนายมาและตกลงแต่งงานกัน โบราณท่านถือว่าครอบครัวของนายแม้นและนายมานั้นเป็นทองแผ่นเดียวกันนั่นเอง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยท้องยุ้งพุงกระสอบ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ท. ท้องยุ้งพุงกระสอบ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยท้องยุ้งพุงกระสอบ

ที่มาของสำนวนนี้คือ ในสมัยโบราณแทบจะทุกบ้านที่อยู่ในชนบทมักจะสร้างยุ้งฉางไว้สำหรับเก็บผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว, ข้าวโพด ฯลฯ เพื่อสำหรับไว้ใช้รับประทาน และไว้ใช้ทำพันธุ์ ดังนั้นคำว่า “ยุ้ง” จึงมักจะถูกนำมาอุปมาอุปไมยหมายถึงสิ่งที่คอยรองรับใส่สิ่งของที่มากๆ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่กินจุ หรือ กินได้มากกว่าคนทั่วๆ ไป คนที่มีความสามารถในการกินได้มากผิดปกติ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยท้องยุ้งพุงกระสอบ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตท้องยุ้งพุงกระสอบ

  • แต่ละคนท้องยุ้งพุงกระสอบกันทั้งนั้น สั่งอาหารมาเท่าไหร่ก็หมด กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มซักที มื้อนี้คงได้จ่ายอานแน่ๆ
  • สำหรับคนท้องยุ้งพุงกระสอบอย่างเราปริมาณอาหารให้น้อยไปหน่อย ต้องสั่ง 2 จาน
  • โบราณท่านจึงเปรียบคนกลุ่มนี้เอาไว้ว่ามีท้องเหมือนมียุ้งข้าว คือท้องยุ้งพุงกระสอบ ใส่เท่าไหร่ก็ไม่เต็ม
  • ไม่น่าเชื่อเลยว่าผู้หญิงตัวเล็กๆ จะสามารถชนะผู้ชายตัวใหญ่ๆในการแข่งขันการกินได้ เธอคงมีท้องยุ้งพุงกระสอบ
  • นักการเมืองรับสินบนจากพ่อค้า จนท้องยุ้งพุงกระสอบ ในที่สุดก็ กินจนพุงแตก เมื่อเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ตรวจสอบพบว่าร่ำรวยผิดปกติ ก็สอบสวนหาที่มาของทรัพย์สิน และถูกยึดทรัพย์ในที่สุด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยทอดสะพาน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ท. ทอดสะพาน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยทอดสะพาน

ที่มาของสำนวนนี้คือ สำนวนนี้เกิดจากเหตุการณ์เมื่อสมัยก่อน ที่เมืองไทยของเรายังเต็มไปด้วยคูคลอง และเดินทางไปมาหาสู่กันด้วยการพายเรือ และการที่เราจะเดินเข้าไปในบ้านของใครได้ ก็ต้องได้รับการต้อนรับโดยฝ่ายเจ้าของบ้านจะเอาไม้มาทอดเป็นสะพานให้เราเดินเข้าบ้านได้สะดวก เป็นการแสดงความหมายว่าเรายินดีต้อนรับให้เขามาเป็นแขกของเรานั่นเองและต่อมาจากนั้น จึงได้มีการต่อว่าต่อขานผู้หญิงที่ชอบเล่นหูเล่นตากับผู้ชายหรือให้ความสนิทสนมกับผู้ชายก่อนว่า ทอดสะพาน หรือก็คือ ให้ความต้อนรับนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ใช้สื่อสายเข้าไปติดต่อทําความสนิทสนมกับผู้ที่ต้องการคุ้นเคย แสดงกิริยาท่าทางเป็นทํานองอยากติดต่อด้วย สำนวนนี้มักจะถูกพูดขึ้นเมื่อหญิงสาวให้ความสนิทสนมกับชายหนุ่มนั่นเองก็จะถูกผู้ใหญ่ว่าเอาได้ว่าทำตัวทอดสะพาน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยทอดสะพาน

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตทอดสะพาน

  • นี่เธอ ฉันนี่อยากจะทอดสะพานให้เขาจังเลย หล่อ สุภาพ ตรงสเปคของฉันมากๆ เลย
  • เธอต้องระวังผู้หญิงคนนั้นให้ดีๆ ฉันเห็นหล่อนชอบมาทำตัวสนิทสนมทอดสะพาน ให้ท่าแฟนของเธอบ่อยๆ
  • ฉันแอบมองเขามานานหลายปีแล้ว พยายามทอดสะพานให้ก็หลายหน แต่ก็ไม่เห็นเขาจะมาสนใจฉันซักนิด เสียใจมาก
  • ความรักไม่ใช่ว่าใครก็ได้ ไม่ใช่เพียงแค่การทอดสะพาน แต่เป็นเรื่องศีลเสมอกันด้วย
  • สู่ตลาดสร้างสรรค์ พร้อมทอดสะพานเชื่อมธุรกิจไหมไทยสู่การท่องเที่ยว ดันธุรกิจท้องถิ่นให้ไทยเติบโต

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยทะลุกลางปล้อง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ท. ทะลุกลางปล้อง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยทะลุกลางปล้อง

ที่มาของสำนวนนี้คือ เป็นรูเป็นช่อง หรือทำให้เป็นรูเป็นช่อง เช่น กระทะทะลุใช้ไม่ได้ เขาถูกแทงทะลุหลัง มีทางเดินทะลุออกหลังวัด เราช่วยกันทะลุกำแพงจนเป็นช่อง คำว่า ทะลุ อาจใช้ร่วมกับคำอื่นได้ เช่น ทะลุปรุโปร่ง หมายถึง เห็นหรือเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง เช่น เขาเข้าใจได้ทะลุปรุโปร่งว่าทำไมเด็กจึงมีพฤติกรรมเช่นนี้ นั่นเอง

สรุปความหมายสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ พูดสอดขัดจังหวะอย่างไม่มีมารยาทในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดกันอยู่

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยทะลุกลางปล้อง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตทะลุกลางปล้อง

  • เธอควรจะมีมารยาทรู้จักกาละเทศะมากกว่านี้นะ มาพูดทะลุกลางปล้องแบบนี้มันเสียมารยาท รอพูดใหญ่พูดให้จบก่อนแล้วเธอค่อยพูดก็ได้
  • หัดมีมารยาทเสียบ้าง ไม่ใช่อยู่ๆ ก็ทะลุกลางปล้องตอนคนอื่นกำลังพูดอยู่
  • พวกเรากำลังปรึกษากันเรื่องการทำกิจกรรม เขาก็ทะลุกลางปล้องขึ้นมาว่าไปเที่ยวกันดีกว่า
  • เขาถูกผู้จัดการเรียกไปตักเตือนเพราะไม่รู้จักระงับอารมณ์โกรธ ไปพูดทะลุกลางปล้องในที่ประชุมที่เขากำลังลงมติการทำงานกัน
  • นายนี่มันใช้ไม่ได้เสียจริง ผู้ใหญ่เขากำลังคุยกันอยู่นายไปทะลุกลางปล้องแบบนั้นมันเสียมารยาทนะรู้ไหม
  • เตือนสติ ‘สังคมโชว์เหนือ’ ปล่อยความเห็นทะลุกลางปล้อง ความต่ำตมของสิ่งมีชีวิต ที่ใช้ความเป็นคนไม่เป็น

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube