สุภาษิตคำพังเพยใกล้เกลือกินด่าง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. ใกล้เกลือกินด่าง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยใกล้เกลือกินด่าง

ที่มาของสำนวน เกลือเป็นสารที่มีประโยชน์มาก ใช้ทั้งบริโภคและอุปโภค ด่างเป็นเพียงน้ำขี้เถ้าใช้เป็นส่วนผสมในการทำยาและกัดสิ่งของ ประโยชน์ของเกลือจึงมีมากกว่าด่าง และเกลือนั้นสามารถหาได้ง่ายกว่าด่าง จึงเปรียบเปรยถึงการกินเกลือที่หาง่ายๆ และมีคุณค่า กลับไม่กิน กลับไปหากินด่างที่หายากกว่าและคุณประโยชน์น้อยกว่า

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ มองข้าม หรือไม่รู้คุณค่าของดีที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตน แต่กลับไปแสวงหาสิ่งอื่นที่ด้อยกว่า

มักใช้กับคนที่มองข้ามสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งมีคุณค่ามากกว่ากลับไม่สนใจ แต่กลับไปเอาสิ่งที่อยู่ไกลหรือหายากและมีคุณค่าน้อยกว่ามาใช้นั่นเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยใกล้เกลือกินด่าง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตใกล้เกลือกินด่าง

  • บ้านเราสมุนไพรก็เยอะแยะเอามาทำอาหารกินก็ได้ แต่นี่ ใกล้เกลือกินด่าง หาอาหารเสริมมากินกันจังสุดท้ายก็อันตรายต่อร่างกาย
  • ใกล้เกลือกินด่างแท้ๆ ในประเทศของเรามีของดี มีราชาผลไม้อยู่มากมาย แต่กลับไปนิยมชมชอบ ผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศ
  • อาทิตย์รู้จักกับแพมมานาน แพมเป็นผู้หญิงที่หน้าตาดี สุภาพเรียบร้อย และขยันทำงานบ้าน แต่อาทิตย์กลับไม่สนใจ สมชายไปขอนุ่นแต่งงาน ซึ่งนุ่นต่างจากแพมโดยสิ้นเชิง นุ่นชอบนุ่งสั้น เที่ยวกลางคืน และไม่สนใจงานบ้าน นี่แหละใกล้เกลือกินด่าง ของดีๆ ใกล้ตัวกลับไม่เอา
  • มัวแต่ไปตระเวนเที่ยวต่างประเทศ เสียเงินตั้งมากมาย สุดท้ายก็ใกล้เกลือกินด่างเมื่อพบว่าเกาะสวยๆ น้ำทะเลใสๆ อยู่ในประเทศไทยนี่เอง
  • บทเรียนชีวิต!! คนบางคนถือหุ้นดี บริษัทที่ยอดเยี่ยม แต่กลับไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่ตนถือ ไปเล่นหุ้นซิ่งตามคนอื่น สุดท้ายเจ๊ง หมดเนื้อหมดตัว มีมาให้เห็นกันนักต่อนักแล้ว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยชิงสุกก่อนห่าม ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ช. ชิงสุกก่อนห่าม

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยชิงสุกก่อนห่าม

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการกินกล้วยที่มันสุกทันทีไม่มีห่าม ซึ่งที่จริงผลกล้วยจะกินได้ต้องห่ามก่อน เปรียบให้เห็นว่าเป็นการลัดขั้นตอน ไม่รอในสิ่งที่สมควรแก่เวลา

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยอันควร หรือยังไม่ถึงเวลา

สำนวนนี้มักใช้กับชายหญิงที่กระทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยของตน เช่น มีความสัมพันธ์กันลึกซึ้ง และยังไม่มีความพร้อมที่จะรับผิดชอบชีวิตตนเองได้ดีก่อน บางครั้งหมายความถึงการกระทำใดๆ ก่อนเวลาอันควร ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเรื่องความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยชิงสุกก่อนห่าม

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตชิงสุกก่อนห่าม

  • เขาตั้งความหวังกับลูกสาวคนนี้ไว้สูง อยากให้มีชีวิตที่ดีแต่ลูกสาวกลับชิงสุกก่อนห่าม ทำให้เขาผิดหวัง เสียใจ จนล้มป่วย
  • ยุคสมัยชิงสุกก่อนห่าม!? ท้องก่อนแต่ง พบได้เยอะเลย สมัยนี้ หรือมีอะไรกันก่อนที่จะแต่งงานก่อนส่งตัวเข้าหอ ก่อนวัยอันควรก็ด้วย เหตุผลโลกมันหมุนเร็ว ตามวัฒนธรรมที่ไร้พรมแดน การสื่อสารที่ง่ายดาย ติดต่อ เจอกันได้ไง
  • กระทรวงสาธารณสุขทำโครงการรณรงค์เตือนวัยรุ่นอย่าชิงสุกก่อนห่าม หลังจากพบปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์เป็นจำนวนมาก
  • จบความคิดเรื่องคนจีนหัวโบราณได้แล้ว เพราะผลการสำรวจล่าสุดพบว่า หนุ่มสาวแดนมังกรมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เลือกมีสัมพันธ์เร่าร้อนก่อนเข้าประตูวิวาห์ ประเทศจีน เป็นหนึ่งในประเทศที่พัฒนาตัวเองอย่างก้าวกระโดด ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และศิลปวัฒนธรรม ซึ่งรวมทั้งความเชื่อแบบเก่าๆ เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ต้องมีหลังทำพิธีวิวาห์แล้วเท่านั้น เพราะผลการสำรวจจากนิตยสารชื่อดังของจีน ระบุไว้ชัดเจนเลยว่า หนุ่มสาวชาวจีนที่มีอายุตั้งแต่ 23 ถึง 25 ปี เลือกชิงสุกก่อนห่าม หรือที่เข้าใจง่ายๆ ว่า ไม่รอพิธีเข้าหอขอสนุกกันก่อน โดยไม่แคร์สายตาใคร ซึ่งในที่นี้อาจรวมถึงคู่รักที่ตกลงปลงใจอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน เพื่อศึกษานิสัยใจคอก่อนที่จะตกลงใช้ชีวิตคู่อย่างเปิดเผย
  • จำไว้นะลูก สมัยนี้ความรักมันหาได้ง่ายก็จริง แต่ความรักดีๆ มันหาได้ยาก อย่าชิงสุกก่อนห่ามกับใครเด็ดขาด รักตัวเอง พัฒนาตัวเองมากๆ ยิ่งเราดีขึ้นเรื่อยๆ คนดีๆ ก็จะดึงดูดมาเองลูก โฟกัสชีวิตตนเองก่อนดีที่สุด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยขนทรายเข้าวัด ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ขนทรายเข้าวัด

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยขนทรายเข้าวัด

ที่มาของสำนวน การขนทรายเข้าวัดสันนิษฐานว่ามีมาแต่โบราณแล้ว แต่ไม่อาจทราบช่วงเวลาได้อย่างแน่ชัด ซึ่งประเพณีดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะในสมัยก่อน “วัดทางภาคเหนือ” มักนิยมทำพื้นที่ให้เป็นลานทรายเพื่อความสะอาด เนื่องจากการเททรายที่พื้นจะทำให้วัชพืชหรือหญ้าไม่ค่อยขึ้น อีกทั้งเวลาคนมาทำบุญก็จะไม่มีเศษดินเศษโคลนเปื้อนเท้า เวลาเดินเข้าวิหารหรือศาลาก็ไม่สกปรกเลอะเทอะ

นอกจากนี้ ในสมัยโบราณนั้นผู้คนมักไม่นิยมสวมรองเท้าเข้าวัดกัน ด้วยคติความเชื่อที่ว่าวัดเป็นศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงมักจะถอดรองเท้าก่อนเข้าสู่อาณาบริเวณวัด และเมื่อสาธุชนที่มาทำบุญที่วัดย่างเท้าเข้ามา ทรายเม็ดเล็กๆ นั้นก็อาจจะติดเท้าออกไปบ้าง นับว่าเป็นการนำของสงฆ์(ทราย) ออกไปจากวัดโดยไม่รู้ตัว

ด้วยหลากหลายปัจจัยตามที่เล่าไปนี้เอง จึงมีการออกกุศโลบายขึ้นมาเพื่อให้สาธุชนทั้งหลายได้ช่วยกันนำทรายเข้ามาเติมเต็มในวัด อีกทั้งยังมีจุดประสงค์เป็นการชำระหนี้สงฆ์ไปในตัวด้วย ทั้งนี้ในสมัยก่อน ทรายเป็นวัสดุที่ไม่ได้หากันได้ง่ายๆ จึงต้องมีการร่วมแรงร่วมใจกันของผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาช่วยกันขนทรายเข้ามาที่วัด

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ การหาประโยชน์ให้ส่วนรวม, การทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม นอกจากนี้ยังหมายถึงประเพณีไทยช่วงสงกรานต์

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยขนทรายเข้าวัด

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตขนทรายเข้าวัด

  • สมชายทำโครงการขนทรายเข้าวัด โดยการช่วยกันเรี่ยไรเงินเพื่อนำมาสร้างโบสถ์ การช่วยกันออกร้านกาชาดเพื่อนำเงินมาเป็นค่าอาหารกลางวันเด็ก
  • เขามาขอรับเงินบริจาคเพื่อระดมทุน ไปสร้างโรงเรียนให้เด็กๆ ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลการศึกษา การระดมทุนครั้งนี้ก็เหมือนขนทรายเข้าวัด ไปร่วมทำบุญช่วยเขาหน่อยเถอะ
  • ลุงวิชัยเป็นคนนึงที่ชอบทำงานเพื่อส่วนรวม อย่างเช่นเมื่อเดือนก่อนลุงวิชัยได้ชักชวนเพื่อนๆมาช่วยกันซ่อมแซมสะพานข้ามลำคลองระหว่างหมู่บ้าน การกระทำแบบนี้ตรงกับคำพังเพยไทยที่ว่าขนทรายเข้าวัด
  • แม่ค้าร้านอาหารชื่อดังมักจะมาร่วมทำบุญ ขนทรายเข้าวัด โดยจัดเลี้ยงอาหารฟรีให้กับผู้ที่มาร่วมงานบุญที่วัดเสมอๆ
  • ชาวบ้านหมู่บ้านนแห่งหนึ่ง ช่วยกันลงแขกเกี่ยวข้าว เพื่อนำข้าวมาบริจาคให้กับกลุ่มแม่บ้าน เป็นการขนทรายเข้าวัดพัฒนาชุมชนของตนเอง เพื่อนำไปขายหาเงินมาบำรุงประปาหมู่บ้าน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตบมือข้างเดียวไม่ดัง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตบมือข้างเดียวไม่ดัง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตบมือข้างเดียวไม่ดัง

ที่มาของสำนวน มาจากการที่ตบมือเพียงข้างใดข้างหนึ่งด้วยมือเพียงข้างเดียวนั้น จะไม่มีเสียงเกิดขึ้น แต่ถ้าตบมือด้วยมือสองข้างพร้อมกันถึงจะดัง หรือการตบหรือแปะมือกับอีกฝ่าย ถ้าอีกฝ่ายไม่เล่นด้วยก็ไม่เกิดเสียงนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ ทำอะไรฝ่ายเดียวย่อมไม่เกิดผล หรือถ้าอีกฝ่ายไม่ร่วมมือด้วย ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ปัจจุบันนิยมใช้ในเชิงชู้สาว การไปมือที่สามของใคร ถ้าอีกฝ่ายดีจริง รักเดียวใจเดียว คงตบมือข้างเดียวไม่ดัง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตบมือข้างเดียวไม่ดัง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตบมือข้างเดียวไม่ดัง

  • เมื่อ “ความรัก” ต้องเกิดจากความชอบของทั้งสองฝ่าย เพราะเรื่องอย่างนี้ตบมือข้างเดียวไม่ดัง แล้วจะทำอย่างไรให้อีกฝ่ายเกิดความรู้สึกแบบเดียวกับเรา
  • จะว่าไปแล้ว “ตบมือข้างเดียวไม่ดัง” เป็นอุปมาที่ใช้ได้แม้กระทั่งกับความทุกข์ โดยเฉพาะความทุกข์ใจ กล่าวคือมันจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสองปัจจัยร่วมด้วยเสมอ ได้แก่ ปัจจัยภายนอก และ ปัจจัยภายใน หากมีแค่ปัจจัยภายนอก แต่ปัจจัยภายในไม่ร่วมมือด้วย ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
  • เรื่องชู้สาวแบบนี้ตบมือข้างเดียวไม่ดังหรอก ต่อให้ผู้ชายเข้าหาแต่ผู้หญิงไม่สานต่อ ก็คงไม่มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น
  • “ตบมือข้างเดียวกี่ครั้งมันก็ดังไม่ได้ หากสะพานไม่ทอดข้ามไป ใครจะกล้าข้ามมา เธอทำเธอรู้ตัวเองแก่ใจ อย่าเลยอย่าโทษใครๆดีกว่า มันได้อะไรขึ้นมา เมื่อคนหนึ่งหวั่นไหว ก็ไม่ใช่ความผิดใคร ต้องโทษหัวใจเธออ่อนแอเอง” ปาน ธนพร
  • นักการเมืองกับตำรวจ ประเทศแถวไหนไม่รู้ รู้แต่อยู่ทวีปเอเชีย รู้เห็นเป็นใจกัน ทั้งสองก็ร่วมมือกันทุจริต เพราะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ ตบมือข้าวเดียวไม่ดังหรอก ถ้าคนภายในไม่ร่วมมือ คนภายนอกจะมาทำอะไรได้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยขนมผสมน้ำยา ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ขนมผสมน้ำยา

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยขนมผสมน้ำยา

ที่มาของสำนวน มาจากขนมจีน โดยเราจะกินขนมจีนกับน้ำยา น้ำพริกหรือแกงเผ็ด ขนมจีนน้ำยาจะอร่อยต้องมีปริมาณขนมจีนและน้ำยาเหมาะสมกัน ถึงจะออกรสชาติ และอร่อย นำมาใช้ในการเปรียบเทียบว่า ทั้งสองฝ่ายหรือคนสองคนนั้น มีความดีความเลวอยู่ในระดับเดียวกัน หรือถ้าเป็นคู่ชกก็สูสีกันนั่นเอง

สำนวนเดิมใช้ว่า “ขนมพอสมน้ำยา” ซึ่ง “พอสม” ในที่นี้ คือพอสมควรกัน หมายถึงขนมจีนมีปริมาณสมควรพอดีกันกับน้ำยา ต่อมาก็ใช้เพี้ยนกันมาเป็น “ขนมผสมน้ำยา”

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันไม่ได้ ใช้ในการเปรียบเทียบของทั้งสองสิ่งนั้นมีมูลค่า, ความดีความร้าย, ความสามารถนั้นพอๆ กัน ไม่ด้อยไปกว่ากัน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยขนมผสมน้ำยา

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตขนมผสมน้ำยา

  • พวกเธอสองคนมันก็ ขนมพอสมน้ำยา แหละไม่ต้องว่าอีกฝ่ายไม่ดีหรอก มันก็พอๆ กันทั้งคู่
  • เขาทั้งคู่ก็เหมือนขนมผสมน้ำยา ต่างคนต่างคุยโม้ โอ้อวดว่าตัวเองเก่ง มีความสามารถเหนือกว่าอีกฝ่าย แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครดีกว่าใคร
  • ฉันว่าเราสองคนอยู่ด้วยกันได้มันก็เหมือน ขนมพอสมน้ำยา เวลาทำงานร่วมกันถึงได้ไม่มีปัญหาอะไรกันเลย
  • ดารากับคนรวยก็เหมือนขนมผสมน้ำยา สังคมชอบมองว่าดาราชอบจับคนรวย แต่จริงๆแล้วคนรวยก็ชอบรูปร่างหน้าตา ความมีชื่อเสียงของดาราเหมือนกัน สุดท้ายหวังผลทั้งสองฝ่าย ไม่มีฝ่ายไหนดีไปกว่ากัน
  • คู่เด็ดมวยดังสองนักชกดีกรีระดับโลก ขึ้นสังเวียนอย่างสมน้ำสมเนื้อ เหมือนขนมผสมน้ำยา เป็นการชิงแชมป์ที่เข้ากันได้ดีเป็นที่สุด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตัดช่องน้อยแต่พอตัว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตัดช่องน้อยแต่พอตัว

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตัดช่องน้อยแต่พอตัว

ที่มาของสำนวน เป็นการหนีปัญหาโดยการตัดช่องเล็กน้อยให้พอดีตัวเอง เข้าได้แต่ตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงคนอื่น จึงเปรียบเปรยถึงการเอาตัวรอดเพียงคนเดียว

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ เอาตัวรอดแต่เพียงผู้เดียว ไม่สนใจใคร

และสำนวนนี้ยังนิยมใช้กับคนที่ด่วนตายไปก่อน โดยทิ้งภาระไว้เบื้องหลัง ทิ้งคนอื่นให้เผชิญชะตะกรรมไว้ข้างหลัง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตัดช่องน้อยแต่พอตัว

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตัดช่องน้อยแต่พอตัว

  • นายมันใช่ไม่ได้เลยจริงๆ พอมีปัญหาขึ้นมากลับ ตัดช่องน้อยแต่พอตัว ทิ้งให้พวกเราคอยแก้ไขปัญหากันเอง
  • เราสร้างหนี้มาด้วยกันแต่คุณตัดช่องน้อยแต่พอตัว หนีไปอยู่ต่างประเทศคนเดียวจะดูเห็นแก่ตัวไปหน่อยนะ
  • หัวหน้าทีมเขาตัดสินใจผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในโครงการนี้ เลย ตัดช่องน้อยแต่พอตัว ด้วยการชิงลาออกแล้วปล่อยให้ลูกน้องคอยแก้ปัญหาต่อไป
  • ผู้จัดการเขาทำงานผิดพลาดใหญ่หลวง เลยตัดช่องน้อยแต่พอตัวชิงลาออกไปก่อนแล้ว เหลือแต่ลูกน้องตาดำๆที่ต้องมาคอยแก้ปัญหา
  • ชีวิตจริงยิ่งกว่าละครของสมชาย สร้างเนื้อสร้างตัวจนประสบความสำเร็จ พอวันที่หมดไม่เหลือทุกอย่าง เมียกลับทิ้งตัดช่องน้อยแต่พอตัว แย่จริงๆ คนแบบนี้ สุดท้ายสมชายพลิกกลับชีวิตมาได้เหมือนเดิม เมียก็กลับมาหา แต่สมชายไม่สนใจใยดีอีกต่อไป ยามเดือดร้อนหนีเอาตัวรอด ยามมั่งมีมาขอมีความสุขด้วย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยขนหน้าแข้งไม่ร่วง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ขนหน้าแข้งไม่ร่วง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยขนหน้าแข้งไม่ร่วง

ที่มาของสำนวน ปกติธรรมดาธรรมชาติขนหน้าแข้งดก และไม่ร่วงหล่นง่ายๆ นอกเสียจากว่า เราจะป่วยเป็นโรคบางอย่าง หรือเราถอนมันออก เปรียบเปรยถึงการใช้เงินของคนรวยเสมือนใช้เงินเยอะแต่จริงๆ แล้วมันเล็กน้อย ราวกับขนหน้าแข้งที่มีเยอะ ไม่ร่วง แต่ถ้าร่วงไปก็ไม่เสียหาย เดือดร้อน

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจํานวนเล็กๆ น้อยๆ)

โบราณท่านนิยมใช้หมายถึงคนที่รวยมาก หรือมีทรัพย์สินมาก เมื่อมีรายจ่ายก้อนใหญ่เกิดขึ้น แต่รายจ่ายนั้นยังปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับทรัพย์สินที่ตัวเองมีอยู่

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยขนหน้าแข้งไม่ร่วง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตขนหน้าแข้งไม่ร่วง

  • เธอควรระมัดระวังการใช้เงินของตัวเองบ้าง อย่าไปใช้ชีวิตเลียนแบบเขาเลย คนรวยอย่างเขาสามารถใช้ชีวิตแบบนี้ได้ ขนหน้าแข้งไม่ร่วงหรอก แต่เธอยังมีภาระต้องทำมาหากินเองอยู่นะ
  • เธอดูดาราคนนั้นสิ โดนภาษีย้อนหลังไปหลายล้าน แต่แค่นี้ขนหน้าแข้งไม่ล่วงหรอกเพราะเขารวยมาก
  • หนุ่มไฮโซ มีธุรกิจพันล้านอย่างเขาอยากจะซื้อรถให้ผู้หญิงซักกี่คันก็ได้ ขนหน้าแข้งไม่ร่วงหรอก
  • นี่คุณ เจ้านายผมพาเมียไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เมียแกชอปปิ้งไปหลายแสน แต่อย่างว่าแหละคนรวยแค่นี้ขนหน้าแข้งไม่ร่วง
  • คนที่รวยจริงๆ ที่ใช้จ่ายได้ไม่อั้น จ่ายเยอะก็ขนหน้าแข้งไม่ร่วง ใช้ชีวิตสมถะกันทุกคน ไม่ฟุ้งเฟ้อ อวดรวย มีแต่คนที่พยายามให้ดูรวยนี่แหละ จะทำความเดือดร้อนให้ตัวเองในที่สุด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยน้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยน้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย

ที่มาของสำนวน ในสมัยก่อนคนมักจะชอบสร้างบ้านอยู่ริมน้ำ เพราะสมัยก่อนการสัญจรส่วนใหญ่จะใช้การสัญจรทางน้ำ และทุกๆ บ้านจะมีท่าน้ำไว้จอดเรือเป็นของตัวเอง และที่ข้างๆ ท่าน้ำนั้นหลายๆ บ้านก็จะปลูกผักบุ้งไว้เป็นแพๆ ด้วย

ปลาที่ว่ายอยู่ในน้ำนั้นมักจะชอบว่ายอยู่ใต้แพผักบุ้ง เพราะน้ำที่อยู่ใต้แพผักบุ้งนั้นมันเย็น เพราะแสงแดดส่องลงไปใต้น้ำไม่ถึง พอเวลาคนมาเก็บผักบุ้งก็จะเจอปลาที่อยู่ใต้แพผักด้วย แล้วปลาพวกนั้นก็จะกลายเป็นอาหารของคนไป ส่วนปลาที่ว่ายอยู่ที่น้ำร้อน (ทีนอกแพผักที่แดดส่องถึงใต้น้ำ) ก็จะมีโอกาสรอดมากกว่า ซึ่งนั่นก็คือที่มาของสำนวนดังกล่าว

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ บุคคลที่ใช้คำพูดที่ตรงไปตรงมา ดูแรงๆ อาจจะทำให้ไม่ถูกใจคนฟัง แต่จริงใจไม่มีพิษมีภัย ดีกว่าคำพูดที่ไพเราะอ่อนหวานถูกใจคนฟัง แต่อาจจะมีความร้ายกาจซ่อนอยู่

กล่าวคือการใช้คำพูดที่ตรงๆ แรงๆ แต่จริงใจ ย่อมส่งผลดีกว่าการใช้คำพูดไพเราะ แต่มีพิษภัย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยน้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตน้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย

  • สำนวน “น้ำร้อนปลาเป็น” ที่อธิบายกันทั่วๆไป มีความหมายถึงปลาที่ว่ายไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ ไม่ยึดเอาที่หนึ่งที่ใดอาศัยอยู่ ก็เท่ากับอยู่ใน “ที่ร้อน” ปลาพวกนี้มักอยู่รอดปลอดภัย โอกาสจะถูกคนจับเอาไปกิน ถึงจะมีก็มีน้อย
  • คุณก็อย่าไปโกรธเคืองเขาเลย เขาเป็นคนแบบนี้อยู่แล้วอาจจะดูแรงไปบ้าง แต่ก็จริงใจนะ ที่เขาพูดก็เพราะเขาเป็นห่วงกลัวว่าคุณจะพลาดพลั้ง ก็อย่างที่โบราณว่าน้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย
  • เปรียบเสมือนบุคคลใช้คำพูดตรงๆ แรงๆ แต่จริงใจ ไม่มีพิษมีภัย ตรงกับคำว่าน้ำร้อนปลาเป็น ส่วนน้ำเย็นปลาตาย ตรงกับบุคคลที่พูดจาดี แต่แฝงด้วยความร้ายกาจ
  • “น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย” คือคติเตือนใจ ที่คุณพ่อหยิบยกขึ้นมาสอนข้าพเจ้า สำหรับพิจารณานำไปปฏิบัติในยามที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้งทางความคิด วาจา และการกระทำ..ท่านชี้ให้เห็นว่า การสาดโคลนใส่กัน มุ่งมั่นเอาชนะกันด้วยอารมณ์ร้อน… ผลสุดท้ายที่ได้รับคือ “พ่ายแพ้และตายทุกฝ่าย” ตรงกันข้ามกับวิธีหันหน้าเข้าหากันด้วยความร่มเย็น ย่อมเกิดปัญญาญาณเพื่อนำไปสู่หนทางของความสำเร็จร่วมกันด้วยสันติสุข
  • ในวงการตลาดหุ้น เหมือนน้ำร้อนปลาเย็น น้ำเย็นปลาตาย บางคนพูดจาตรงๆ แรงๆ แต่แผงไปด้วยคำที่ช่วยเหลือผู้อื่น บางคนพูดดี แต่ในใจกลับหลอกล่อนักลงทุนให้มารับของไม่ดีต่อ นี่คือเหตุผล

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยบ่างช่างยุ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ บ. บ่างช่างยุ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยบ่างช่างยุ

ที่มาของสำนวน มารู้จักกับ “บ่าง” เป็นสัตว์ฺที่มีเสียงร้องคล้ายคนร้องไห้ ทั้งมีหน้าตาคล้ายลิงลม คนโบราณจึงมองว่าเป็นสัตว์ที่พิลึกและน่ากลัว คนที่เข้าป่าในอดีตและวได้พบเจอหรือได้ยินเสียงร้องของบ่างจึงมักคิดว่าเป็น “ผีป่า”

ส่วนสำนวนไทยสมัยโบราณที่ว่า “บ่างช่างยุ” นั้นมีที่มาจากนิทานสุภาษิตเรื่องหนึ่ง เล่าถึงตัว “บ่าง” ที่อาศัยอยู่ในป่าและเป็นเพื่อนกับ “ค้างคาว” ทั้งคู่กินผลไม้เป็นอาหารเช่นเดียวกัน แต่บ่างเสียเปรียบค้างคาวในเชิงสรีระร่างกาย เพราะไม่มีปีกบินทำให้เคลื่อนที่ไปหาผลไม้ได้ช้ากว่า บ่างจึงเกิดความคิดริษยาและไม่อยากอยู่ร่วมกับค้างคาว แล้วเริ่มหาวิธีทำให้ค้างคาวไปเสียจากป่านั้น

นอกจากเป็นเพื่อนกับบ่างแล้ว ค้างคาวยังเป็นเพื่อนกับ “นก” และ “หนู” ด้วยเหตุผลที่ว่าค้างคาวนั้นบินได้เหมือนนกและมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับหนู จึงนับถือกันเป็นมิตรสหายด้วย โดยนกกับหนูทำรังอยู่ร่วมกันบนต้นไม้ใหญ่ ค้างคาวมักจะแวะเวียนมาหาทั้งคู่อยู่เสมอ ขณะที่บ่างไม่ได้รับอภิสิทธิ์นั้น เพียงแต่ดูอยู่ห่าง ๆ

แผนการของบ่างในการกำจัดค้างคาวจากการเป็นคู่แข่งหากินของตนจึงเริ่มต้นจากการทำให้ค้างคาวแตกคอกับนกและหนูเสีย บ่างไปหานกกับหนูพร้อมเล่าว่าค้างคาวนั้นเป็นสัตว์ร้าย จะนำโรคภัยมาสู่ทั้งสองได้ เพราะขี้ค้างคาวมีกลิ่นแรง นกกับหนูได้ฟังดังนั้นก็เกิดหวาดกลัวค้างคาวขึ้นมา จึงพากันขับไล่ค้างคาวไม่ให้มาข้องแวะหรืออยู่ร่วมต้นไม้กับพวกตน ค้างคาวจึงต้องจากป่านั้นไป

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน หรือชอบพูดจายุแยงตะแคงรั่ว ใส่ความให้คนอื่นเขาทะเลาะเบาะแว้งกัน อยู่ทางนี้ก็ว่าทางนี้ดี และทางโน้นกล่าวว่าทางนี้ไม่ดี พอไปอยู่ทางนั้นก็ว่าทางนั้นดี และ กล่าวหาทางนี้ว่าทางนั้นไม่ดี ทำให้แตกแยกกัน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยบ่างช่างยุ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตบ่างช่างยุ

  • เธอจะไปเชื่อบ่างช่างยุพวกนั้นทำไม ก็รู้อยู่แล้วว่าเขาจ้องจะทำร้ายฉัน ก็คงจะพูดเพื่อทำให้เราทะเลาะกันนั่นแหละ
  • สามีภรรยาคู่นี้เดิมทีก็รักใคร่กลมเกลียวกันดี แต่มีบุคคลที่สามเข้ามาเป็นบ่างช่างยุ ทำให้ระหองระแหงกันแทบทุกวัน
  • บ่างช่างยุนิยมใช้กับคนที่นิสัยไม่ดี ชอบพูดจายุแยงให้คนอื่นเขาแตกคอกัน ตีกัน หรือผิดใจกัน โดยหวังเพียงแค่ให้ตนเองดูมีความสำคัญหรือเพื่อความพอใจของตน โดยไม่ได้สนใจผลเสียจากการแตกคอของคนอื่น
  • ส่วนหนึ่งของความแตกแยกไม่ว่าจะในระดับบุคคล หรือระดับสังคม มักจะขาดไม่ได้กับตัวประกอบสำคัญบ่างช่างยุ ในระดับสังคมมีคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าสื่อ
  • ตอนนี้ในองค์กรของเรากำลังวุ่นวาย เพราะมีบ่างช่างยุอยู่ ทำให้คนในองค์กรทะเลาะกัน ไม่สามัคคีกัน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยบ้าหอบฟาง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ บ. บ้าหอบฟาง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยบ้าหอบฟาง

ที่มาของสำนวน คนสมัยก่อนเปรียบเปรยเป็นอาการของคนที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง เพราะเห็นทุกอย่างสำคัญ เห็นเป็นของมีค่าไปเสียหมด คนโบราณจึงพูดว่าคนบ้าหอบฟาง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ บ้าสมบัติ เห็นอะไรๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยบ้าหอบฟาง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตบ้าหอบฟาง

  • ผลงานอัลบั้มเต็มชุดแรกของสองพี่น้อง สายฟ้าและห่าฝน ‘อัสนี-วสันต์’ โชติกุล ศิลปินระดับตำนานของวงการเพลงไทย ‘บ้าหอบฟาง’ คืออัลบั้มเต็มชุดแรกของสองพี่น้องหลังจากที่ออกผลงานในนามวง ’อีสซึ่น’ มากว่า 5 อัลบั้ม
  • เวลาฉันไปเที่ยวต่างประเทศกับหล่อนทีไร หล่อนมักจะช้อปปิ้งเหมือนพวกบ้าหอบฟาง ซื้อมันทุกอย่าง อันนั้นก็อยากได้ อันนี้ก็อยากได้
  • น้าสมชายจากเป็นคนบ้าหอบฟาง ถึงการเผาข้าวหลาม ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมดีๆ มีความสุข สำเร็จด้วยสองมือเรา แกเลยภูมิใจที่แกเป็นแบบนี้
  • นี่เราจะไปทำงานค้างคืนที่ต่างจังหวัดแค่คืนเดียวแต่เธอบ้าหอบฟาง ขนกระเป๋าไปขนาดนี้ จะย้ายบ้านหรือย่างไร
  • สามีของฉันเป็นคนบ้าหอบฟาง เห็นอะไรเล็กๆ น้อยๆ ชอบเก็บสะสมไปเสียหมด จนบ้านแทบจะไม่มีที่เดินอยู่แล้ว สงสัยต้องบอกสามีให้แก้ไขพฤติกรรมนี้เสียแล้ว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube