สุภาษิตคำพังเพยเขียวๆ อย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. เขียวๆ อย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเขียวๆ อย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์

ที่มาของสำนวน เปรียบถึงการเห็นหรือการเชื่อสิ่งที่เห็น โดยไม่ไตร่ตรองก่อน อย่างเห็นสีเขียวก็ตีโพยตีพายไปว่าเป็นพระอินทร์ เพราะพระอินทร์เป็นเทวดาที่มีกายสีเขียวนั่นเอง

ในรามเกียรติ์ เห็นเขียวๆ อย่าเพิ่งเชื่อว่าเป็นพระอินทร์ เพราะถ้าเจอยักษ์เขี้ยวใหญ่อย่างอินทรชิต ก็มีสิทธิถึงตายได้เหมือนกัน

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ อย่างไม่มีเหตุผล เห็นอะไรก็อย่าเพิ่งด่วนสรุป

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเขียวๆ อย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเขียวๆ อย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์

  • นักการเมืองเลวๆ มีอยู่ไม่น้อย เวลาจะเลือกเขาเข้ามาในสภาฯ เราต้องพิจารณาให้ดี เขียวๆ อย่าเฉลียวว่าองค์อินทร์
  • จะลงทุนซื้อของมาขายก็ไปศึกษาหาข้อมูลมาก่อน เห็นเขียวๆอย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์ ไม่ใช่ใครว่าอะไรด็ก็ซื้อมา
  • วันนี้เด็กรุ่นใหม่ คงไม่ค่อยเข้าใจความหมาย สำนวนเขียวๆ อย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์กันแล้ว เทียบเคียงกับเรื่องสมัยนี้… เห็นอัศวินขี่ม้าขาว อย่าเพิ่งดีใจ ถ้าพิชิตคนพาล อภิบาลคนดีก็เป็นอัศวิน ถ้าหลงอำนาจโกงกิน ฟาดฟันคนดี ก็เป็นมหาโจร
  • นี่เธอ…แค่เขาพาไปเลี้ยงข้าวมื้อสองมื้อ ก็มาบอกว่าเขาดีไปเสียหมด เธอยังรู้จักเขาไม่ดีพอเลย เห็นเขียวๆอย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์นะจ๊ะ
  • เธอควรฟังความทั้งสองข้างอย่าทำตัวแบบเขียวๆ อย่าเฉลียวว่าพระอินทร์เข้าใจไหม

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคนดีเห็นนาน คนพาลเห็นเร็ว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คนดีเห็นนาน คนพาลเห็นเร็ว

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคนดีเห็นนาน คนพาลเห็นเร็ว

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการดูพฤติกรรม นิสัยใจคอของคน โดยคนดีกว่าจะเห็นนั้นต้องใช้เวลานาน การกระทำต่างๆ ที่ดีจริงมักจะแสดงหรือมองออกยาก ส่วนคนพาล คนไม่ดี สามารถดูออกได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากนิสัยคนพวกนี้คือคนที่ไม่ปลอดภัยในตัวเองมักแสดงออกทางกาย และวาจาอย่าเปิดเผยนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ จะรู้ว่าใครเป็นคนดีต้องใช้เวลานาน ส่วนคนชั่วรู้ได้โดยเร็ว

คนโบราณเตือนเอาไว้ว่ากว่าที่จะรู้ว่าใครเป็นคนดีต้องใช้เวลานาน แต่การที่จะรู้ว่าใครเป็นคนชั่วสามารถรู้ได้ในทันที

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคนดีเห็นนาน คนพาลเห็นเร็ว

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคนดีเห็นนาน คนพาลเห็นเร็ว

  • สังคมของเราสมัยนี้คนดีหายาก ดั่งสำนวนคนดีเห็นนาน คนพาลเห็นเร็ว การเลือกไว้ใจคนนั้นยากมากถ้ารู้จักกันใหม่ๆ ยิ่งสังคมเจริญ จิตใจคนยิ่งดำดิ่งลง
  • คนดีเห็นนาน คนพาลเห็นเร็ว ถึงภายนอกเขาดูเป็นคนเห็นแก่ตัว แต่ถ้าคุณรู้จักเขาไปนานๆ แล้วจะรู้ว่าเขาทุ่มเททำงานให้บริษัทแห่งนี้มากขนาดไหน
  • “คนดีเห็นนาน คนพาลเห็นเร็ว” ทำให้น้ำดีในสถาบันทางทหารเสื่อมเสีย นี่คือความอ่อนแอและความล้มเหลวในเชิงจิตวิทยามวลชนเพิ่มมากขึ้น จึงไม่แปลกที่ทหารบางท่านถึงกับเปรยอย่างเบาๆ แต่หนักแน่นว่า…สิ้นภารกิจนี้จะเปลี่ยนงานหรือจะลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพอื่น ชีวิตและครอบครัวจะมีความสุขและมีคุณค่าดีกว่าอยู่เช่นนี้…?
  • เธอไม่ต้องเสียใจไปหรอก ดีเท่าไหร่แล้วที่เขาเผยตัวตนที่แท้จริงออกมา ไม่อย่างนั้นขืนคบต่อไปเธอจะต้องเสียใจมากกว่านี้แน่ คนดีเห็นนาน คนพาลเห็นเร็วจริงๆ
  • จำไว้นะลูกเวลาจะคบกับใครให้ดูนิสัยใจคอดีๆ ดั่งที่คนโบราณบอกไว้ว่าคนดีเห็นนาน คนพาลเห็นเร็ว ถ้าเจอคนดีก็ดีกับเขา ถ้าเจอคนไม่ดีให้ออกห่างอย่างเดียว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคนผิดเสียหน้า คนบ้าเสียจริต ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คนผิดเสียหน้า คนบ้าเสียจริต

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคนผิดเสียหน้า คนบ้าเสียจริต

ที่มาของสำนวน มีที่มาจากสำนวนภาษิตชาวใต้ เปรียบเปรยถึงอาการของคนโดยคนที่ทำอะไรผิดมา จะรู้สึกเสียหน้า อาการออกทางสีหน้า คนบ้าเสียจริตคืออาการลุกลน ทำอะไรไม่ถูก อาการผิดปกติออกจากการแสดงออก เนื่องจากสติเริ่มไม่อยู่กับเนื้อกับตัว

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่กระทำความผิด มีความผิดติดตัว มักจะมีพิรุธแสดงออกมาให้เห็น

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคนผิดเสียหน้า คนบ้าเสียจริต

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคนผิดเสียหน้า คนบ้าเสียจริต

  • การสืบสวนสอบสวนของตำรวจมักสังเกตุอาการคนผิดเสียหน้า คนบ้าเสียจริต โดยใช้หลักจิตวิทยา
  • ผมว่าเขาต้องมีอะไรปิดบังพวกเราอยู่แน่ๆ ผมเห็นเขาลุกลี้ลุกลนผิดปกติ เข้าทำนองคนผิดเสียหน้าคนบ้าเสียจริต
  • พวกขี้เมาทั้งหลายนี้จะพัฒนาในสิ่งใดให้ดีขึ้นไม่ได้เลย มีแต่จะก่อให้เกิดความหายนะล้มเหลวล่มจม เสียหายในทรัพย์สินเงินทอง ไม่รู้จักในการเก็บรักษาและไม่รู้จักหาสมบัติเข้ามาเพิ่มเติม มีแต่จ่ายให้หมดไป ฯไม่รู้อนาคตของตนเองว่าจะเป็นไปอย่างไร การกระทำของคนประเภทนี้ นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลายไม่มีความสรรเสริญอีกต่อไป ในชาติหน้าเขาก็จะได้รับกรรมชั่วอย่างแน่นอน นี่แหละคนผิดเสียหน้า คนบ้าเสียจริต
  • เขาเคยมีประวัติติดยาเสพติด พอเห็นตำรวจเดินผ่านก็เลยมีพิรุธจนตำรวจต้องควบคุมตัวไปสอบสวน อย่าที่เขาว่าคนผิดเสียหน้า คนบ้าเสียจริต
  • ผมรู้จักคุณมานาน ทำไม่จะไม่รู้นิสัยคุณ เวลาคุณทำอะไรผิดสีหน้าท่าทางคุณมันดูออกง่ายมาก คุณก็เหมือนประเภทคนผิดเสียหน้า คนบ้าเสียจริตนั่นแหละ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคบคนจรนอนหมอนหมิ่น ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คบคนจรนอนหมอนหมิ่น

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคบคนจรนอนหมอนหมิ่น

ที่มาของสำนวน เป็นสำนวนประกอบด้วยคำว่า คบ หมายถึง เข้าเป็นพวกกัน คนจร หมายถึง คนอื่นที่ผ่านเข้ามาหรือคนที่ไม่ได้อยู่เป็นหลักแหล่ง. นอนหมอนหมิ่น หมายถึง คนที่นอนหนุนริมหมอนเกือบจะตก เปรียบเหมือนเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมใกล้อันตราย

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คบคนหลักลอยอาจเกิดโทษได้ เช่นเดียวกับนอนหนุนหมอนหมิ่นอาจทำให้ตกหมอนคอเคล็ดได้

สำนวนนี้เตือนไว้ว่าการคบคนแปลกหน้า คนเร่ร่อน ไม่รู้หัวนอนปลายเท้าไว้ใจไม่ได้ อาจจะทำให้มีอันตรายมาถึงตัว

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคบคนจรนอนหมอนหมิ่น

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคบคนจรนอนหมอนหมิ่น

  • เธอรู้จักเขาผ่านโปรแกรมแชตทางอินเตอร์เนต อย่าเพิ่งไปไว้ใจขามาก ระวังจะถูกหลอกเอาง่ายๆ อย่างที่เขาว่าคบคนจรนอนหมอนหมิ่น
  • ดังคำสอนที่ปรากฏในภาษิตจารึกไว้ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามว่า “คนนอนหมอนหมิ่นโอ้ อาดูร จักพลาดจักแพลงพูล ทุกข์ให้ คิดการแต่หมิ่นมูล มักพลาด ควรคิดสุขุมได้ มั่นไม้มือดี”
  • ฉันเคยมีปัญหากับครอบครัว พ่อแม่กีดกันไม่ให้ฉันคบกับเขาเพราะท่านไม่ไว้ใจ บอกว่าคบคนจรนอนหมอนหมิ่น แต่ปัจจุบันเขาได้พิสูจน์ตัวเองแล้ว
  • เมื่อเช้านี้คุณนายจิตรารับคนใช้คนใหม่เข้าบ้าน พอตกเย็นคุณผู้ชายกลับมาถึงบ้านก็ทราบว่า หญิงคนนี้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอะไรก็ไม่มีติดตัว จึงเตือนคุณนายว่าอย่าได้วางใจ อาจจะเป็นพวกโจรแฝงตัวมาก็เป็นได้
  • จำไว้นะลูก การที่เราจะคบคนที่ไม่รู้ที่มาที่ไป ไม่สู้ชีวิต ไม่ทำการทำงาน ไม่คิดจะพัฒนาชีวิต เหมือนกับคบคนจรนอนหมอนหมิ่น เราไม่สามารถไว้ใจได้เลย ไม่รู้ว่าเขาเป็นคนอย่างไร มองโลกในแง่ดีในแง่ร้าย ดีที่สุดเลือกคบเพื่อนที่รู้จักทำการทำงาน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง

ที่มาของสำนวน เป็นคำสำนวนคำพังเพยโบราณ เปรียบเปรยถึงการทำอะไรร่วมกับเด็ก หรือคนหัวล้านมักไม่เป็นผล เพราะเด็กชอบเล่น คิดอะไรไม่รอบคอบ คิดเป็นเหมือนเล่นขายของ เอาง่ายเอามันส์เข้าว่า ส่วนคนหัวล้านก็ใจน้อย จะทำอะไรก็มัวแต่กังวลว่าจะกระทบศีรษะตนเอง ทำงานใหญ่ต้องระวังว่า คนที่เรากำลังทำงานด้วยนั้น เป็นเด็ก หรือคนหัวล้านหรือไม่

จริงๆ แล้วในสำนวนนี้ ความเป็นเด็ก หรือคนหัวล้าน นี่ไม่ได้ดูที่อายุ หรือรูปร่างหน้าตา ต้องดูที่วุฒิภาวะ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การจะทำงานใหญ่ต้องมีความรับผิดชอบ หากทำงานกับคนที่ไม่มีวุฒิภาวะ ไม่มีความรับผิดชอบ ก็จะทำให้เสียการ ไม่ประสบความสำเร็จ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง

  • เห้อ… ฉันไม่น่าคบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมืองเลย อุตส่าห์เชื่อใจ ไว้ใจให้เป็นคนจัดการเตรียมเลี้ยงต้อนรับแขกผู้ใหญ่ แต่สุดท้ายงานก็พังเละเทะ ไม่พร้อมเลยสักอย่าง
  • ธรรมชาติของเด็กยังไม่มีวุฒิภาวะพอ ส่วนคนศีรษะล้านนั้นก็มีความหมายไปในทำนองเดียวกัน ตามสำนวนที่มักจะได้ยินว่า คนหัวล้านใจน้อย สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะ คนศีรษะล้านคิดว่าตนเองมีปมด้อยไม่ได้รับการยอมรับเท่าคนอื่น เมื่อถูกตำหนิก็จะมีอาการน้อยใจ ดังนั้นการทำงานใหญ่ ก็อาจหยุดชะงักได้ นี่แหละคบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง
  • คนที่จะทำงานใหญ่ที่ต้องมีความรับผิดชอบสูง หากมีคุณสมบัติที่เพียบพร้อม การที่จะให้คนไร้วุฒิภาวะ เหมือนสำนวนโบราณที่ว่าไว้คบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง รับรองได้เลย เจ๊งแน่ๆ
  • ‘นายสมชาย’ เปรียบ ‘นายวิชิต’ เสมือนคบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม หลังคะแนนนิยมสูงกว่านายกฯ…
  • คนสมัยใหม่ มีคตินิยม ค่านิยม ที่กลายมาเป็นภาษิต ตามธรรมเนียม วัฒนธรรมแบบไทยๆ นั่นเอง คือออกไปทาง คบเด็กสร้างบ้าน-คบหัวล้านสร้างเมือง โอกาสที่จะวูบหายไปจากวงการชาวยุทธ์ จากยุทธจักร ภายในระยะเวลาอันใกล้ ต้องเรียกว่า… มีแนวโน้มสูงเอามากๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคบสองหนองแหลก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คบสองหนองแหลก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคบสองหนองแหลก

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงหนองน้ำที่มีปลาอาศัยอยู่มาก หากบอกให้คนอื่นรู้ ก็จะมีคนมาจับปลาในหนองนั้น ถ้ามากันมากๆ ปลาก็จะหมดหนอง หรือคนจะไปลุยจนหนองนั้นถูกเหยียบย่ำทำลาย

คำว่า คบ เป็นคำกริยา หมายถึงเข้าเป็นพวกเดียวกัน เช่น คบค้า คบหา ได้แก่การไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน “คบสอง” คือ ยอมให้คนคนหนึ่งมาเข้าเป็นพวกด้วย ส่วน “หนองแหลก” คือ แอ่งน้ำหรือหนองน้ำที่ถูกเหยียบย่ำจนเละเทะ

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ความลับที่มีคนรู้ถึงบุคคลที่สองแล้ว จะไม่สามารถเก็บความลับนั้นได้ ก็มักจะมีเรื่องยุ่งยากเกิดขึ้นตามมา

เป็นสำนวนโบราณที่มุ่งสอนให้รู้ว่าถ้ามีความลับ ไม่ควรบอกให้คนอื่นทราบ เพราะจะไม่สามารถเก็บความลับนั้นได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคบสองหนองแหลก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคบสองหนองแหลก

  • คบสองหนองแหลก ถ้ามีความลับรั่วไหลไปถึงอีกฝ่าย แล้วจะเสียหายอย่างที่สุด ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการเตือนให้คบกับคนที่เราไว้ใจได้ หรือว่าถ้าจะมีแฟน มีคนรัก ก็อย่าให้อีกฝ่ายที่เราคบอยู่นั้นรู้เป็นอันขาด
  • คบสองหนองแหลกแท้ๆ ฉันไม่น่าบอกให้เธอรู้เลยจริงๆ ว่าเขาจะเดินทางกลับประเทศไทยวันนี้ ก็รู้อยู่ว่าเขาเป็นที่จับตามองกำลังมีข่าวไม่ค่อยดี แล้วดูซิตอนนี้นักข่าวรอทำข่าวกันให้ทั่วสนามบิน
  • บอกแล้วว่าซุ้มตรงนี้เงียบเชียบดี เหมาะที่จะมานั่งดูหนังสือสอบ แต่ดูซิตอนนี้คนเยอะแยะเอะอะไปหมด ฉันไม่น่าบอกให้เธอรู้เลย คบสองหนองแหลกแท้ๆ
  • เวลามีความลับที่เป็นคนตนเองอย่าไปบอกคนอื่น ถ้าไปบอกคนอื่นแม้แต่คนใกล้ชิด แบบนั้นจะคบสองหนองแหลกแน่นอน เพราะคนก็คือคนการเก็บความลับนั้นเป็นเรื่องยาก
  • นี่ลูก ทำก๋วยเตี๋ยวต้องเก็บสูตรเป็นความลับให้ดี อย่าเอาสูตรไปบอกใครฟรีๆ คนเก็บความลับไม่่อยู่กันหรอกนะลูก จำไว้คบสองหนองแหลก

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล

ที่มาของสำนวน มาจากธรรมชาติของทะเลที่ไม่ควรไว้วางใจ แม้น้ำลึกเพียงเล็กน้อยหรือห่างจากฝั่งเพียงเล็กน้อย ทะเลมีอันตรายอยู่ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ใกล้แค่คืบ หรืออยู่ห่างเป็นศอก ถ้ามันเกิดคลื่นลมแล้ว ก็มีอันตรายเท่าๆ กัน

ภาษิตโบราณในนิทานเวตาล “หนึ่งอย่าไว้ใจทะเลทุกเวลา” ทะเลมีความแปรปรวนอยู่เสมอ ยากที่จะคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง จึงต้องระมัดระวังอยู่เสมอ จะประมาทไม่ได้เลย บางครั้งทะเลสงบ แต่หลังจากนั้นอาจเกิดพายุปั่นป่วนคลื่นสูง

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ  ออกทะเลอย่าประมาททะเล เพราะอาจเกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ คนโบราณจึงเตือนว่าอย่าไว้ใจทะเลเพราะมีอันตรายที่คาดไม่ถึงแฝงอยู่ อาจถึงแก่ชีวิตได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล

  • โชคดีที่เมือว่าเราเปลี่ยนใจไม่ไปทะเล เพราะมีข่าวว่ามีพายุฝนลูกใหญ่พัดผ่านที่ทะเลแถบหัวหิน ทำให้ทะเลคลุ้มคลั่งดูน่ากลัว อย่างที่เขาว่าคืบก็ทะเลศอกก็ทะเลจริงๆ
  • “แต่พเอินคืนนี้หลับไปแล้วให้เกิดวิตกวิจารณ์ขึ้นมาว่า คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล พลาดพลั้งเข้าก็จะอด” (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 5 ประพาสมณฑลปราจีน ตอนจะออกทะเล)
  • ท้องทะเลที่เงียบสงบนั้นอาจจะเกิดคลื่นยักษ์จนเรือล่ม เกิดพายุฝนฟ้าคะนองจนเรืออับปาง หรืออาจชนเข้ากับหินโสโครกหรือสัตว์ทะเลขนาดใหญ่จนเรือเสียหายหรือจมลงได้ทุกเมื่อ
  • เธอควรจะฟังผู้ใหญ่บ้างนะ ตอนนี้ฤดูฝน พายุเข้าแทบทุกวัน อย่าไปเที่ยวเกาะเที่ยวทะเลเลย อย่างที่โบราณว่าคืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล อะไรก็เกิดขึ้นได้
  • การอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่มีแต่อันตรายรอบด้าน เช่น การอยู่ในป่า การเดินป่า อาจจะมีสัตว์ร้าย หรือเกิดภัยทาง ธรรมชาติในลักษณะต่างๆ น้ำท่วม ไฟไหม้ คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล มีแต่อันตรายรอบด้าน จึงต้องมีสติ ระแวดระวังภัยให้ดี ไม่เช่นนั้น อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยโคมลอย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. โคมลอย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยโคมลอย

ที่มาของสำนวน เป็นสำนวนที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ สมัยนั้นมีหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับหนึ่งชื่อพันช์ (Punch) ที่หน้าแรกของหนังสือมีรูปโคมซึ่งลอยอยู่ ในหนังสือนั้นมักมีเรื่องตลกแบบฝรั่ง แต่คนไทยเห็นว่าไม่เข้ากับเรื่อง และไม่เห็นว่าขบขัน ดังนั้นเวลาที่ใครพูดอะไรที่ไม่เข้ากับเรื่อง ก็มักเรียกว่า โคมลอย หรือ โคม นั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ในปัจจุบัน ความหมายของสำนวนนี้เปลี่ยนแปลงไป หมายถึง ข่าวลือที่เหลวไหล ไม่มีมูล หรือไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นความจริง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยโคมลอย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตโคมลอย

  • สุดท้ายเรื่องที่คุณดวงดาวนางเอกชื่อดังจะแต่งงานก็เป็นเพียงแค่ข่าวโคมลอยซินะ ฉันก็หลงเชื่อไปเสียตั้งนาน
  • เรื่องการปรับเงินเดือนของข้าราชการเดือนตุลาคมคราวนี้ไม่ใช่ข่าวโคมลอย
  • ตอนนี้ในวงการธุรกิจภาพยนต์ไทย มีข่าวโคมลอยแพร่สะพัดไปว่าบริษัทผลิตภาพยนต์ยักษ์ใหญ่ มีการขาดทุนจนถึงขั้นจะล้มละลาย
  • ใครนะลือกันว่าเขาถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง ที่แท้เป็นข่าวโคมลอย
  • ฮือฮา วัตถุลึกลับคล้าย “ยูเอฟโอ” ลอยเหนือฟ้าเชียงใหม่ ที่แท้เป็น “โคมลอย”

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฆ. ฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง

ที่มาของสำนวน เปรียบดังฆ้องคุณภาพดี แต่ก็ต้องมีคนดีถึงจะมีเสียงดังขึ้นมา โดยฆ้องคือคือเครื่องตีให้เกิดเสียงทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมมีขอบงองุ้มลงมาโดยรอบ มีอยู่ในทุกวัด คนไทยนิยมเปรียบฆ้องกับคนเพราะฆ้องอยู่ในวัด และคนไทยเรา 95% เป็นชาวพุทธ ย่อมอยู่กลมกลืนกับวัดกับพระพุทธศาสนา

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ที่มีคุณความดีในตัวนั้น ถ้าไม่มีใครยกย่องชมเชยก็จะไม่มีใครเห็นความดีนั้น

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง

  • บางครั้งการเป็นคนดีย่อมไม่ต้องพิสูจน์ความดีให้ใครเห็น แต่สักวันหนึ่งก็จะมีคนเห็นเอง โดยไม่ต้องคาดหวังอะไรเลย ถึงจะเราจะเหมือนฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง ก็ไม่เป็นไร ไม่เสียหายอะไร
  • ลุงสมชายแกทำดี ทำบุญมาตลอด แต่ทุกกลับมองข้ามแก ข้ามหัวแก ทั้งๆ ที่แกไม่เคยทำอะไรให้ใครเลย แกเป็นคนเงียบๆ ไม่พูดกับใคร นี่แหละเข้าสำนวนที่ว่าฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดังจริงๆ
  • อยากให้คนมาสนใจก็ต้องโปรโมทกันหน่อย อยากจะหาแฟนดีๆ เราก็ต้องดีก่อน การไม่เสนอสิ่งดีๆ ในตัวเราก็เหมือนฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง เพราะอีกฝ่ายไม่สามารถอ่านจิตใจเราได้ เพราะฉะนั้นเราต้องกระทำให้เห็น
  • ระฆังดังเมื่อคนตี คนดีไม่ตีก็ดัง ทำดีแล้วดัง ดีกว่าคนชังเพราะชั่ว เฉกเช่นเดียวกับ ฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง
  • ฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง คนจะดีเพราะมีคนคอยเตือน เปรียบเสมือนกติการ่วมกัน ถ้าไม่มีกติกา กฏระเบียบ คำตักเตือน ก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันเดือนร้อน การประพฤติพรหมจรรย์ของสามเณรอาศัยกัลยาณมิตรครูบาอาจารย์คอยตักเตือน ของพระสงฆ์ก็เช่นกัน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฆ. ฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยฆ้อง คือเครื่องตีให้เกิดเสียงทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมมีขอบงองุ้มลงมาโดยรอบ เรียกว่า ใบฉัตร ตรงกลางมีปุ่มกลมสำหรับตี มีหลายชนิดทั้งแบบแขวนทางตั้ง และทางนอน การที่ฆ้องไม่ดีตีอย่างไรก็ไม่กระหึ่ม เสียงอึบอึมแตกพร่ามิน่าฉงน คนไทยนิยมเปรียบฆ้องกับคนเพราะฆ้องอยู่ในวัด และคนไทยเรา 90% เป็นชาวพุทธ ย่อมอยู่กลมกลืนกับวัดกับพระพุทธศาสนา

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนเลว คนไม่ดี แม้จะช่วยเหลือเกือหนุนอย่างไรก็ไม่สามารถดีขึ้นได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง

  • อย่าไม่ยุ่งกับคนที่ไม่ดี มันก็เหมือนฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง คนพวกนี้ไม่เคยทำให้เราชีวิตดีขึ้น และมีแต่ฉุดรั้ง และดึงพลังงานดีๆ ของเรา
  • ฆ้องกลองไม่ดีย่อมดีไม่ดังจริงๆ คุณสมชายสนับสนุนให้เด็กคนนี้มีโอกาสที่ดี มีอนาคตที่ดี แต่แล้วเด็กคนนี้ก็ทำให้ผิดหวัง
  • คนไม่ดีย่อมไม่มีใครอยากช่วยเหลือ เพราะคนพวกนี้ไม่มีความเคารพในตัวเอง เป็นบัวใต้ตม ฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง โลกนี้ยุติธรรมกับคนดีเสมอ จำไว้
  • เธอช่วยเขามาตั้งกี่ครั้งแล้ว ทั้งช่วยเหลือเรื่องเงิน ช่วยเหลือเรื่องงาน ฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง สุดท้ายเขาก็กลับมาเป็นแบบเดิม
  • ผมหมดปัญญาจะช่วยเหลือเพื่อนคนนี้แล้วจริงๆ ให้ยืมเงิน ให้งานทำ ให้สิ่งดีไม่เคยเอา มุ่งแต่ทางไม่ดี ติดพนันหนัก ช่วยยังไงก็ไม่ดีขึ้น ผมเข็ดแล้ว เข้าใจคนสมัยก่อนเลยว่าฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดังจริงๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube