สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ พ. พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยพูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย
ที่มาของสำนวน เป็นสำนวนที่แปลได้ตรงตัวการพูดดีจะนำสิ่งดีๆ มาให้ตนเอง การพูดไม่ดี พูดชั่วๆ มักนำสิ่งไม่ดีมาให้กับตน เป็นสำนวนเอาไว้เตือนสติ ก่อนจะพูดจะทำอะไรให้คิดก่อนพูดหรือทำเสมอ
สำนวนนี้ยังพูดได้อีกแบบว่า พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวมีภัย
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การพูดจาไพเราะอ่อนหวานก็จะเป็นศิริมงคลกับตัวเอง แต่ถ้าหากพูดจาไม่ดีก็จะเป็นภัยต่อตนและผู้อื่นได้
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตพูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย
- ทุกคำพูดที่พูดออกไปมักเอากับคืนไม่ได้ คำพูดบางคนสามารถตัดขาดความสัมพันธ์ เชือดเฉือนหัวใจได้เลย คิดให้ดีก่อนพูด ดั่งสำนวนที่ว่าพูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย
- มานะเป็นพ่อค้าขายอาหารตามสั่ง ใครๆก็ชอบมากินอาหารที่ร้านของเขา ทำให้เขาขายดีมีลูกค้าเยอะ เพราะนอกจากอาหารจะอร่อยแล้ว เขายังเป็นคนพูดจาไพเราะทั้งต่อหน้าและลับหลังลูกค้าทำใจลูกค้าติดใจ เข้าสำนวนที่ว่าพูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย
- พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วเป็นอัปมงคล การพูดเป็นพฤติกรรมสะท้อนสภาวะจิตของผู้พูดว่าคิดอย่างไร คิดดีหรือคิดไม่ดีกับผู้ฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพูดอย่างทางการซึ่งผู้พูดมีเจตนาให้ผู้ฟังรับรู้ และนำไปทำตาม
- พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวมีภัย การพูด แม้จะเป็นรองความคิด แต่นำคุณนำโทษมาสู่ตัวเองและผู้อื่นได้มากกว่า
- พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดชั่วพาตัวเสียหาย แต่ถ้าพูดมากระวังปากจะมีสีเลือด