สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. ปลาข้องเดียวกัน
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยปลาข้องเดียวกัน
ที่มาของสำนวน คนที่อยู่ร่วมกันหรือเป็นพวกเดียวกัน ปลาข้องเดียวกันเป็นสำนวนที่มีความหมายถึงคนที่อยู่ร่วมกันเป็นพวกเดียว เมื่อมีใครทำเรื่องไม่ดี เสื่อมเสียขึ้นมา ก็พลอยทำให้คนอื่นๆในกลุ่มเสียชื่อเสียง ถูกมองไม่ดีไปด้วย
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เปรียบเปรยถึงปลาที่อยู่ในข้องเดียวกันหลายๆ ตัว หากมีปลาตัวหนึ่งเน่า มีกลิ่นเหม็น ก็จะทำให้ปลาตัวอื่นๆในข้องมีกลิ่นเหม็นติดไปด้วย บางครั้งจึงพูดว่าปลาเน่าตัวเดียว ทำให้เหม็นไปหมดทั้งข้อง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตปลาข้องเดียวกัน
- คิดซะว่าเป็นกรรมเก่า เพราะมีคนในแผนกทุจริต หัวหน้าจึงเพ่งเล็งแผนกนี้เป็นพิเศษ ดูซิเป็นปลาข้องเดียวกัน พอเน่าตัวเดียวเลยเหม็นไปทั้งข้อง
- บทกลอนปลาข้องเดียวกัน “สายทองร้องว่าอุแม่เอ๋ย อย่าพักพูดไปเลยไม่เข้าหู เหมือนปลาในข้องไม่มองดู ใครเน่าก็ให้รู้ว่าตัวใคร…” จากขุนช้างขุนแผน ตอน นางสายทองต่อว่าขุนแผน
- ฉันว่าอย่าไปขอความเห็นเรื่องนายโป้งจากนายหมูเลย เขามันปลาข้องเดียวกัน ยังงัยก็เข้าข้างกันเองอยู่แล้ว
- บางประเทศถูกมองว่าเป็นประเทศขี้โกงเพราะประชาชนในประเทศนั้นมีนิสัยขี้โกงชอบเอารัดเอาเปรียบคนอื่นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยว คนไม่ดีในประเภทศนี้อาจมีไม่กี่คน แต่เหมือน ปลาข้องเดียวกัน ก็ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงกันทั้งประเทศได้เลยทีเดียว
- เมื่ออยู่บ้านเดียวกันหากคนใดคนหนึ่งในบ้านหลังนี้ทำสิ่งสกปรกย่อมก่อให้เกิดผลกระทบแก่คนอื่นในบ้านหลังนั้นด้วย ยิ่งถ้าความสกปรกดังกล่าวมีกลิ่นเหม็นแถมอีกด้วยคนในบ้านหลังนั้นจะปฏิเสธกลิ่นเหม็นด้วยย่อมเป็นไปไม่ได้ กล่าวคือทุกคนในบ้านหลังนั้นต้องได้รับกลิ่นเหม็นจากการกระทำของคนใดคนหนึ่งอย่างแน่นอน ใครบางคนที่ไม่ได้ทำสิ่งสกปรกย่อมต้องรับผลแห่งความสกปรกนั้นฉันใด สมาชิกพรรคการเมืองก็ควรมีข้อควรคำนึงว่าแต่ละคนต่างเป็นสมาชิกในบ้านหลังเดียวกันฉันนั้น คำสอนโบราณกล่าวไว้ว่าปลาข้องเดียวกันเมื่อตัวใดตัวหนึ่งเน่าก็ส่งกลิ่นเหม็นทั้งข้อง เป็นคำเปรียบเปรยที่ใช้อธิบายเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี