สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. ปั้นน้ำให้เป็นตัว
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยปั้นน้ำให้เป็นตัว
ที่มาของสำนวน คนสมัยก่อนเปรียบเปรยถึงน้ำกับคำพูดคน น้ำเมื่ออุณหภูมิปกติซึ่งมีสถานะเป็นของเหลว จึงไม่สามารถที่จะปั้นให้เป็นรูปร่างได้ เปรียบดั่งคนที่เล่าเรื่อง แล้วเล่าให้คนอื่นฟังว่าตนนั้นสามารถปั้นน้ำให้เป็นตัวได้ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลยนั่นเอง
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ แต่งเรื่องหรือสร้างเรื่องที่ไม่มีมูลความจริงให้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาได้ สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา คำนี้มักใช้กับคนที่มีนิสัยชอบโกหกเป็นนิสัย พูดจาเชื่อถือไม่ได้เลย โดยโบราณท่านเปรียบไว้กับการปั้นน้ำเป็นตัวนั่นเอง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตปั้นน้ำให้เป็นตัว
- เขาเก่งนะที่สามารถสร้างเรื่องโกหกใครต่อใคร ได้ว่าตัวเองรวย เป็นผู้ดีเก่า ปั้นน้ำเป็นตัวจนคนอื่นหลงเชื่อได้
- เขาปั้นน้ำเป็นตัวให้ข่าวจนเธอเสียหาย กว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่จริงเธอก็หมดอนาคตเสียแล้ว
- เด็กชายทิวาชอบปั้นน้ำเป็นตัว เล่าเรื่องโกหกต่างๆนานาให้เพื่อนๆ ฟัง บางวันก็เล่าว่าพรุ่งนี้จะไปจับกระต่ายบนดวงจันทร์ เพื่อนๆบางคนก็หลงเชื่อถึงกับขอให้พาไปเที่ยวดวงจันทร์ด้วย
- เธอเลิกปั้นน้ำเป็นตัว สร้างเรื่องโยนความผิดให้คนอื่นเสียที ชั้นรู้ความจริงหมดแล้วว่าเป็นอย่างไร อย่าทำให้ตัวเองดูแย่ไปกว่านี้เลย
- ในวรรณคดีเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องมณีพิชัยพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ตอนท้าวพิชัยนุราชพระบิดาของพระมณีพิชัยรู้ความจริงว่านางยอพระกลิ่นถูกนางจันทรเทวี (อ่านว่า จัน-เท-วี) ใส่ร้ายว่ากินแมว จึงบริภาษนางจันทรเทวีว่า “น้อยหรืออีเฒ่าเจ้าความคิด ทุจริตอิจฉาขายหน้าผัว เสกสรรปั้นน้ำเป็นตัว เอออะไรไม่กลัวเขานินทา”