สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ร. เรียนผูกต้องเรียนแก้
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเรียนผูกต้องเรียนแก้
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงปมเชือกหรือกองด้าย ที่ม้วนตัวขยุกสอดสลับไปมา จนยุ่งเหยิง หาปลายด้ายทั้งสองแทบไม่เจอ เหมือนปัญหากับปมเชือกหรือกองด้ายที่ผูกมัด ผู้ใดที่เป็นคนผูกก็ย่อมจะรู้วิธีแก้ดีกว่าคนอื่น หรือต้องรับผิดชอบในปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนนั่นเอง
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ รู้วิธีทําก็ต้องรู้วิธีแก้ไข รู้กลอุบายทุกทางทั้งทางก่อและทางแก้ ถ้าสร้างปัญหาอะไรขึ้นมาก็ต้องรู้จักวิธีแก้ปัญหานั้นเองด้วย
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเรียนผูกต้องเรียนแก้
- เธอเลิกให้ความช่วยเหลือเขาเสียที คนทำผิดเรียนผูกต้องเรียนแก้เอง ไม่เช่นนั้นเขาก็ยังคงสร้างปัญหามาให้อยู่เรื่อยๆ
- พรุ่งนี้เช้าดาวเรืองต้องไปสอบสัมภาษณ์งาน แต่ดาวเรืองกลับมาจากเที่ยวค่ำมืด พอถึงบ้านก็หลับเลยโดยไม่คิดจะเตรียมหาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่เรียบร้อยเพื่อใส่ไปสอบ พอรุ่งเช้าดาวเรืองไม่มีชุดเรียบร้อยไปสอบ ถึงไปขอให้แม่ช่วย แม่จึงบอกดาวเรืองว่า เรียนผูกต้องเรียนแก้
- หลายครั้งก็มานึกถึงคำโบราณว่า เรียนผูก ก็ต้องเรียนแก้(ด้าย) ที่สุดเมื่อเราทำสำเร็จ ความรู้สึกชนิดหนึ่ง จะบังเกิดขึ้นทันที โล่งใจ รับรู้ว่าความสำเร็จนี่ ทำให้เราภาคภูมิใจ และเชื่อมั่นขึ้นมาเป็นกอง ดังนั้น การรื้อด้ายที่พันกัน จึงไม่ใช่เรื่องธรรมดา ต้องใช้ใจจดจ่อ เป็นสมาธิ หาต้นสายปลายเหตุ บางปมคิดว่า ไม่น่าจะแก้ได้ แต่ก็แก้จนได้
- ไม่มีใครเกิดมาไม่เคยผิดพลาด ลูกเรียนผูกต้องเรียนแก้ จะได้โตเป็นผู้ใหญ่ซักที
- บทเรียนจากสำนวนเรียนผูกต้องเรียนแก้ ถ้าในเวลาเท่าๆ กัน ถ้าเราเร่ง เร่าร้อน จะเหมือนเวลาสั้น เหมือนเรามีเวลา แกะทุ่นระเบิด ที่ใกล้ถึงเวลาระเบิดเต็มที ยิ่งรีบ ก็ยิ่งเนิ่นนาน ทำงานช้าลงไป แต่พอตั้งสติ คอยๆ ทำ ห้านาทียังเหลือเฟือ ปมแต่ละปม ปลายแต่ละปลาย มันก็อยู่ของมันอย่างนั้นแหละ ไม่ได้ซุกซ่อนบังตาไปไหนเลย เพียงเราใจเย็นๆ ก็จะเห็นว่า แท้จริงแค่ นำปลายย้อนกลับ ไปอีกทาง ปมก็หลุดอย่างง่ายดาย