สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. หนักไม่เอาเบาไม่สู้
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยหนักไม่เอาเบาไม่สู้
ที่มาของสำนวน เปรียบเทียบถึงคนที่มีนิสัยอ่อนแอ ไม่สู้งานหนัก หรืองานเบาใดๆ ทั้งนั้น เกียจคร้านไม่อยากทำงานอะไรเลย ไม่มีความอดทนที่จะทำงาน เกียจคร้านต่องานทุกชนิด
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ไม่มีความอดทนที่จะทำการงาน เกียจคร้าน ไม่สู้งาน ไม่อดทน ไม่ชอบทำงานหนัก รักความสบาย
สำนวนนี้มักพูดถึงคนที่มีนิสัยเกียจคร้าน ไม่สู้งาน อะไรนิดอะไรหน่อยก็ท้อแท้เหนื่อยหน่าย ทำไม่ไหว ซึ่งคนทั่วไปก็ดูออกว่าได้มีสาเหตุมาจากที่ว่างานนั้นหนักเกินกำลัง แต่เกิดจากความขี้เกียจสันหลังยาว ไม่สู้งานสู้การต่างหาก
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตหนักไม่เอาเบาไม่สู้
- การทำงานร่วมกับคนอื่นนั้น เราต้องตั้งใจทำให้เต็มที่นะลูก อย่าทำตัวแบบหนักไม่เอาเบาไม่สู้ คนอื่นเขาจะว่าเอาได้
- เด็กคนนี้ถูกเลี้ยงมาแบบตามใจแบบลูกคุณหนู ไม่สู้งาน หนักไม่เอา เบาไม่สู้ เลยไม่สามารถทำงานที่ไหนได้นานซักที่เลย
- การเกิดเป็นคนบนโลกใบนี้ สิ่งสําคัญ ก็คือ การดูแลตัวเอง พึ่งพาตัวเอง บางคนขยันทำมาหากินก็ได้ดี บางคนขี้เกียจ หนักไม่ เอาเบาไม่สู้ขี้เกียจทำงาน ชีวิตก็ย่อมไม่ประสบความสำเร็จ ทุกอย่างย่อมเป็นไปตามผลการกระทำของแต่ละคน
- คนที่ขยันและอดทน ย่อมมีอนาคตดีกว่าคนที่หนักไม่เอาเบาไม่สู้ ทุกบริษัทไม่มีที่ไหนชอบคนที่เกียจคร้าน
- ที่ชีวิตลุงศักดิ์ยังต้องลำบากอยู่ทุกวันนี้ ก็เป็นเพราะเมื่อก่อนไม่สู้งาน ไม่มีความอดทน หนักไม่เอา เบาไม่สู้ ผู้ใหญ่ก็เลยไม่ให้การสนับสนุน