สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฆ. เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด
ที่มาของสำนวน เจ้าในที่นี้หมายถึงเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนเคารพนับถือ เช่น พระภูมิเจ้าที่ เทพารักษ์ ฯลฯ ซึ่งมักมีผู้ปลูกศาลให้ และนำเครื่องบูชาต่างๆ ไปถวาย ทำนองเดียวกับสมภารคือพระภิกษุที่เป็นใหญ่ในวัด ซึ่งก็จะมีผู้เคารพนับถือ มีลาภสักการะต่างๆ มากมาย การที่เจ้าและสมภารไม่มีที่อยู่ก็ไม่ต้องอะไรกับคนจร
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือผู้ที่เปลี่ยนสถานที่อยู่ไปเรื่อยๆ เร่ร่อน พเนจร ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอน
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด
- คนที่มีความสามารถ หรือมีความดีอยู่ในตัว แต่เมื่อไปอยู่ผิดที่ผิดทาง ไม่ได้อยู่ในที่ที่ควรอยู่ ก็ไม่ได้รับการเคารพยกย่องก็เหมือนเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด
- น้าชายของฉันแกเป็นคนที่ไม่เอางานเอาการ ย้ายไปอยู่กับญาติคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง จนญาติๆเอือมระอา ส่ายหน้าตามๆกัน และต่างพูดกันว่า ทำตัวเหมือนเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด
- ตั้งแต่เขาไปสร้างเรื่องไว้จนถูกไล่ออกจากบ้าน ก็กลายเป็นเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด ไม่รู้เขาไปอยู่ที่ไหน
- คนเร่รอนที่มานอนที่สนามหลวง มีหลายแบบ บางคนก็เป็นคนเร่ร่อน ไม่มีญาติพี่น้อง บางคนเคยมีธุรกิจ แต่ผิดพลาด ล้มเหลว ต้องขายสมบัติทั้งหมด ไม่มีอะไรเหลือ กลายเป็นคนพเนจร เหมือน จ้าวไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด อาศัยรอบๆ สนามหลวง
- นี่เจ้าบอย เลิกทำตัวเป็นเจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัดเสียที ไปหางานทำให้เป็นหลักแหล่ง จะได้มีโอกาสลืมตาอ้าปากกับคนอื่นเขาบ้าง