สุภาษิตคำพังเพยตีงูให้หลังหัก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตีงูให้หลังหัก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตีงูให้หลังหัก

ที่มาของสำนวนนี้คือ มาจากกลอนของสุนภรภู่ เมื่ออุศเรนพ่ายแพ้ในการรบ แต่พระอภัยมณีรำลึกถึงบุญคุณครั้งเก่า จึงให้ปล่อยตัวอุศเรน นางวาลีได้เตือนพระอภัยว่า

“ประเวณีตีงูให้หลังหัก                มันก็มักทำร้ายเอาภายหลัง
จระเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง            แม้เสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย
อันแม่ทัพจับได้แล้วไม่ฆ่า             ไปข้างหน้าศึกจะใหญ่ขึ้นใจหาย
ต้องตำรับจับให้มั่นคั้นให้ตาย         จะทำภายหลังยากลำบากครัน”

สุนทรภู่ได้เขียนกลอนบทนี้ไว้นานแล้ว และอาจจะนานจนคนรุ่นใหม่พากันลืมหมดแล้ว หรือไม่ได้ให้ความสนใจเพราะเห็นว่าเป็นของเก่าของโบราณ เราจึงได้เห็นการตีงูใหญ่ให้หลังหัก เมื่อ 3-4 ปีก่อน กระทั่งงูนั้นกลับมาอาละวาดได้อีกครั้ง

การตีงูเพียงแค่ให้หลังมันหักเท่านั้น แต่ไม่ถึงขนาดตายสำนวนนี้ท่านละคำว่าอย่าไว้ ให้เป็นที่รู้กันว่าเป็นคำสอนเตือนสติว่า การกระทำสิ่งใดๆ แก่ศัตรูอย่างไม่เด็ดขาดจริงจัง ศัตรูย่อมจะกลับมาทำร้ายตนเองได้ในภายหลัง เปรียบเสมือนกับการ “ ตีงูให้หลังหัก ” แต่งูไม่ถึงกับตาย เมื่องูมันหายแล้ว งูมันอาจมีความแค้นมันย่อมจะหาโอกาสกลับมากัดเราเป็นการแก้แค้นในภายหลังได้

โดยสรุปคือเป็นการเปรียบเปรยถึงการกำจัดงูพิษ จะต้องตีให้ตายหรือตีให้หลังหัก เพื่องูจะได้สิ้นฤทธิ์อย่างสิ้นเชิงและไม่สามารถกลับมาทำได้ในภายหน้าได้อีกนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ กระทำสิ่งใดแก่ศัตรูโดยไม่เด็ดขาดจริงจัง อย่าลังเลทำครึ่งๆ กลางๆ ย่อมจะได้รับผลร้ายในภายหลัง  โบราณท่านเปรียบเอาไว้กับการกระทำที่ไม่เด็ดขาด ไม่ได้ทำแบบถอนรากถอนโคน ยังเหลือเชื้อหรือไม่ก็บุคคลดังกล่าวยังจะสามารถกลับมาแว้งกัดหรือทำร้ายหรือแก้แค้นคืนได้ภายหลัง ยิ่งมีความแค้นจากการบาดเจ็บในครั้งแรกผสมอยู่ด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้การล้างแค้นนั้นรุนแรงและสร้างความเสียหายกลับมาได้มาก ดังนั้นต้องทำให้หมดฤทธิ์ก่อนกลับมาทำร้ายเรานั่นเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตีงูให้หลังหัก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตีงูให้หลังหัก

  • คนทรยศคิดร้าย วางแผนทำลายบริษัทเราได้ขนาดนั้น คุณยังจะเห็นใจให้โอกาสเขาอยู่อีก อย่างสุภาษิตที่ว่าตีงูให้หลังหัก อย่าใจอ่อนนักเลย เพราะไม่รู้ว่าในอนาคตเขาอาจจะกลับมาทำร้ายเราได้อีกนะ
  • ในสมัยโบราณยามศึกสงคราม เวลาไปออกรบอย่าได้ปราณีเห็นใจศัตรู ตีงูแล้วต้องตีงูให้หลังหัก ไม่เช่นนั่นศัตรูจะทำร้ายเราแทน
  • ในโลกของธุรกิจทุนนิยมก็เหมือนสงครามที่ไม่มีเลือดเนื้อ เวลาจะกำจัดคู่แข๋งต้องทำเหมือนการตีงูให้หลังหัก เพื่อตัดขาไม่มาฟ้องร้องหรือเป็นคู่แข่งในอนาคต
  • ไอ้พวกชอบให้หลังคนอื่น ต้องโดนตีงูให้หลังหัก จะได้บทเรียนไม่มาแว้งกัด ทำร้ายเราอีกในอนาคต
  • ซุนวูกล่าวในตำราพิชัยสงครามไว้ว่าเวลาเจอทัพที่สมน้ำสมเนื้ออย่าให้โอกาสเด็ดขาด ต้องตีงูให้หลังหัก ให้หมดสิ้นหมดฤทธิ์ ไม่ปราณี ทัพจะยิ่งใหญ่ได้ในระยะยาว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตีงูให้กากิน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตีงูให้กากิน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตีงูให้กากิน

ที่มาของสำนวนนี้คือ การตีงูให้ตายแล้วปล่อยให้กามากิน การที่คนเราต้องใช้ความกล้าหาญเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย ในการที่จะตีงูซึ่งเป็นสัตว์ร้ายที่มีพิษ ถ้าพลาดพลั้งไปอาจจะถูกกัดถึงแก่ความตายได้ เมื่อตีงูจนตายแล้วก็ไม่นำงูมาทำใช้ประโยชน์แต่อย่างใด อาทิเช่น ไม่ได้นำเนื้องูมาทำเป็นอาหาร หรือ แล่เอาหนังมันมาทำประโยชน์ แต่กลับปล่อยซากงูทิ้งไว้ ให้อีกามาจิกกินเอาตามสบาย นับว่าเป็นการลงทุนลงแรงที่เปล่าประโยชน์อย่างแท้จริง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำสิ่งใดๆ ไว้แล้ว แต่ผลไปตกแก่ผู้อื่น ทำสิ่งที่ตนควรจะได้รับประโยชน์ แต่กลับไม่ได้ กลับต้องปล่อยให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ไป

กล่าวคือ บุคคลใดบุคคลหนึ่งทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปแล้ว แต่ตนเองไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรเลย แต่ผู้อื่นที่ไม่ได้ลงมือลงแรงทำกลับได้ผลประโยชน์นั้นไป

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตีงูให้กากิน

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตีงูให้กากิน

  • สมชายเป็นนักประดิษฐ์ เขาได้ศึกษาค้นคว้าสร้างเครื่องมือกำจัดหิมะขึ้นมาด้วยความยากลำบาก แต่ประเทศของเขาเป็นเมืองร้อน หิมะไม่ได้ตก เขาจึงต้องทิ้งผลงานชิ้นนี้ไป คนหาของเก่ามาพบเข้าจึงนำไปแยกส่วนเพื่อนำเศษเหล็กไปขาย แบบนี้ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ตีงูให้กากิน
  • ผมคิดว่าโครงการให้ทุนส่งพนักงานไปศึกษาต่อต่างประเทศ เป็นการตีงูให้กากินอยู่นะครับ เพราะรุ่นที่ผ่านๆมา พอเรียนจบแทนที่จะกลับช่วยพัฒนาบริษัท แต่คนเหล่านี้ถูกซื้อตัวไปทำงานกับบริษัทอื่นกันหมด
  • ดรุณีลงทุนลงแรงทำงานหนักแต่เธอทำเพราะเงิน ส่วนเจ้านายก็ได้ประโยชน์มากที่สุด แบบนี้ตีงูให้กากินชัดๆ
  • บางครั้งเราก็ทำในสิ่งที่เหมือนจะมีประโยชน์กับตัวเอง แต่ก็กลายเป็น ตีงูให้กากิน สิ่งที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับตัวเอง กลับไม่ใช่อย่างที่คิด ไม่สามารถใช้ประโยชน์อะไรจากสิ่งนั้นได้เลย ทำให้เสียเวลาเปล่า
  • ลงทุนผิดชีวิตเปลี่ยน เหมือนตีงูให้กากิน เราก็เหมือนแมงเม่าบินเข้ากองไฟ ส่วนคนที่ได้ก็คือเจ้าในตลาดนั่นแหละ ระวังให้ดีก่อนลงทุน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยติเรือทั้งโกลน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ติเรือทั้งโกลน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยติเรือทั้งโกลน

ที่มาของสำนวนนี้คือ ในการต่อเรือ แต่ก่อนจะใช้ไม้ซุงทั้งต้นนำมาเลื่อยปีกไม้ทั้ง 4 ด้านออกแล้วเจียนหัวท้ายพอให้มีลักษณะคล้ายเรือ แต่ยังไม่ได้ขุดและตกแต่งให้มีรายละเอียดให้ดูงามและใช้งานได้ ไม้ที่ขึ้นรูปไว้เป็นเลาๆ นี้เรียกว่า โกลน คนที่มาเห็นเรือที่ยังเป็นโกลนอยู่ อาจจะติได้ว่าไม่งามหรือไม่น่าจะใช้การได้

สำนวนนี้ มักจะพูดเต็มๆ ว่า ติเรือทั้งโกลน ติโขนยังไม่ทรงเครื่อง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ตำหนิสิ่งที่ยังทำไม่เสร็จหรือที่ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ติพล่อยๆ ไปเสียก่อนที่จะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ทั้งๆ ที่งานนั้นเพิ่งเริ่มไปได้ไม่นานหรือทำไปได้เพียงเล็กน้อย มักใช้คู่กับ ติโขนยังไม่ได้แต่งตัว เป็น ติเรือทั้งโกลน ติโขนยังไม่ได้แต่งตัว

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยติเรือทั้งโกลน

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตติเรือทั้งโกลน

  • ลูกน้องทำงานยังไม่ถึงไหน นายจ้างก็ติเรือทั้งโกลนเสียแล้ว อย่างนี้ใครจะอยากทำต่อ
  • ช่างแต่งหน้ากำลังแต่งหน้าให้ลูกค้า ในขณะที่เขากำลังทารองพื้น ก็มีคนหนึ่งพูดตำหนิเขาว่า  “เป็นเด็กฝึกงานหรือ ฝีมือการแต่งหน้าแย่มาก” ช่างแต่งหน้าตอบไปว่า “อย่าติเรือทั้งโกลนสิ รอให้เสร็จก่อน เพิ่งจะได้รองพื้นเอง”
  • รอให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เขาร่างเสร็จก่อนดีไหม อย่าเพิ่งติเรือทั้งโกลน ติโขนไม่ได้ทรงเครื่อง
  • นิยายเรื่องนี้เพิ่งจะเริ่มได้เพียง 2 ตอนเอง เธอก็ว่าไม่ได้เรื่องแล้ว อย่าติเรือทั้งโกลนสิ
  • อย่าติเรือทั้งโกลนทั้งๆ ที่คนอื่นกำลังเริ่มทำงานกัน ถ้าไม่ช่วยก็อยู่เงียบๆ ไป ดีที่สุด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

ที่มาของสำนวนนี้คือ เปรียบเปรยถึงการตำน้ำพริกจำนวนหนึ่งหากนำไปละลายในหม้อแกงก็จะทำให้มีรสชาติอร่อย แต่หากนำน้ำพริกไปละลายในแม่น้ำที่กว้างใหญ่ ไม่สามารถที่จะทำให้แม่น้ำมีรสชาติใดๆ เปลี่ยนไปได้ เป็นการเสียของโดยเปล่าประโยชน์

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การกระทำที่มีการลงทุนลงแรง หรือลงทรัพย์สินไปจำนวนมากแต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับมามีผลเล็กน้อยมากหรือแทบไม่มีประโยชน์ใดๆ เลย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

  • การที่ดำออกมาพูดแสดงความคิดเห็นคนเดียวไม่มีคนอื่นสนับสนุนอาจเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไม่สามารถทำให้อีกฝ่ายเกิดการเปลี่ยนใจได้ หากเทียบกับการที่มีคนเป็นล้านๆคนมาสนับสนุน
  • การเล่นพนันก็เหมือนการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ลงทุนไปจะได้คืนเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ สู้เธอเอาเงินที่จะเล่นพนันไปทำอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์จะดีกว่า
  • คนบางคนใช้ทั้งชีวิตในการเสียเงินในสิ่งที่ไม่จำเป็น เพื่อให้คนอื่นมามองดูว่าตนดี ทั้งๆ ตนไม่มีความสุข มีแต่หนี้ แบบนี้ก็เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำชัดๆ
  • การใช้เงินไปสนองความสุขก็เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไปวันๆ
  • การลงทุนความรักให้กับคนที่ไม่ชอบเรา ไม่รักเราตอบ ก็เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ไม่ได้อะไรเลย แถมยังเจ็บหัวใจอีกด้วย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตำข้าวสารกรอกหม้อ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตำข้าวสารกรอกหม้อ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตำข้าวสารกรอกหม้อ

ที่มาของสำนวนนี้คือ เพราะสมัยก่อนไม่ได้มีโรงสีข้าว / เทคโนโลยีในการสีเปลือกข้าวแบบในปัจจุบัน คนสมัยก่อนต้องตำข้าวเพื่อกระเทาะเปลือกออก อาจใช้เครื่องข้าวที่เป็นครกขนาดใหญ่ หรือใช้ครกเล็กๆ ตำเองในครัวเรือน ซึ่งใช้เวลานาน และใช้แรงมากกว่าจะได้ข้าวสารดีๆ มาหุงกิน โดยส่วนใหญจะนิยมตำไว้ทีละมากๆ ให้พอกินในครอบครัวสัก 3-5 วัน แต่คนที่ขี้เกียจจะตำข้าวเพียงวันต่อวัน หมดวันนี้วันต่อไปก็ต้องตำใหม่ กรอกหม้อข้าวเติมไปเรื่อยๆ สื่อว่าเป็นคนขี้เกียจ ไม่วางแผนชีวิตนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การทำงาน/ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงผ่านๆ ทำให้จบไปครั้งเดียว ไม่มีการวางแผนถึงอนาคต เป็นการเปรียบเปรยว่าเป็นคนเกียจคร้าน ไม่ตั้งใจทำงาน ไม่วางแผนในอนาคต ทำให้ชีวิตอาจไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตำข้าวสารกรอกหม้อ

 

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตำข้าวสารกรอกหม้อ

  • ถ้าคุณยังทำงานไปวันๆ แบบตำข้าวสารกรอกหม้ออยู่อย่างนี้ ก็คงไม่ได้เจริญก้าวหน้าเหมือนคนอื่นเขาหรอก
  • สำหรับคนที่ขี้เกียจทำงาน และไม่ค่อยจะนึกถึงอนาคน ก็มักจะทำงานแบบ ตำข้าวสารกรอกหม้อ ไม่มีเงินก็ไม่ทำงาน มีเงินก็จะหยุด ไม่ทำอะไร หากไม่มีทรัพย์สมบัติติดตัว ไม่มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ ชีวิตในบั้นปลายจะลำบากแน่นอน
  • แม่ค้าร้านนี้เปิดร้ายขายอาหารเหมือนตำข้าวสารกรอกหม้อจริงๆ บางวันก็เปิด บางวันก็ปิด วันไหนฉันอยากจะกิน ไม่เคยจะได้กินเลย
  • อย่าทำตัวเหมือนตำข้าวสารกรอกหม้อ สักวันหนึ่งถ้าไม่มีงาน ไม่มีเงินแล้วจะคุณจะรู้สึก
  • ตำข้าวสารกรอกหม้อแท้ๆ พนักงานจอมขี้เกียจทำแผนงานบริษัทเกือบล่ม

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตาลยอดด้วน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตาลยอดด้วน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตาลยอดด้วน

ที่มาของสำนวนนี้คือ มาจากการเปรียบเปรยถึงต้นตาลที่มียอดกุดด้วน อาจจะเกิดจากโรค และแมลงบางชนิดเจาะกินยอดของต้นตาล จนทำให้ยอดเน่าแห้งตายจนยอดด้วยในที่สุด ยอดของต้นตาลนั้นใช้ในการเลี้ยงลำต้นของตาล ดังนั้นถ้ายอดนั้นโดนทำลายไปแล้ว จะไม่สามารถงอกขึ้นมาให้มได้เด็ดขาด สำหรับพืชตระกูลตาลนี้ เมื่อยอดนั้นตายลงไปลำต้นก็ไม่สามารถอยู่ได้มีแต่จะยืนต้นตายเท่านั้น

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่หมดหนทาง ไม่สามารถเจริญก้าวหน้าต่อไปได้อีก หรือคนที่ไม่มีบุตรไว้สืบตระกูล

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตาลยอดด้วน

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตาลยอดด้วน

  • เธอคาดหวังอยากจะมีชีวิตที่ดีสุขสบาย แต่เมื่อเธอรู้ว่าชายหนุ่มที่กำลังคบหาอยู่นั้นเป็นตาลยอดด้วน คงไม่มีทางเจริญก้าวหน้าไปมากกว่านี้ เธอจึงเริ่มตีตัวออกห่างจากเขา
  • ตอนแรกพวกเขาก็คบกันดีอยู่หรอก พอฝ่ายชายกลายเป็น ตาลยอดด้วน แค่นั้นแหละ ฝ่ายหญิงก็เริ่มตีตัวออกห่างทันที
  • ผู้หญิงทุกคนปรารถนาอยากจะมีลูก แต่ผมเป็นหมันซึ่งก็เหมือนตาลยอดด้วน คงไม่มีผู้หญิงคนไหนอยากจะมาร่วมสร้างครอบครัวกับผม
  • ถึงผมจะมีฐานะ หน้าที่การงานดี มีอนาคตไกล แต่กลับไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลได้ ก็ไม่ต่างกับ ตาลยอดด้วน
  • ความตายต่อไป อาสวะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตาบอดได้แว่น ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตาบอดได้แว่น

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตาบอดได้แว่น

ที่มาของสำนวนนี้คือ เป็นสำนวนที่เปรียบเปรยถึงคนที่ตาบอด แต่ได้แว่นสายตามา ก็ไม่สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ ในสมัยก่อนไม่มีแว่นตาดำ การที่คนตาบอดใส่แว่นใสๆ มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลยนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวนนี้คือ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตนเองเลย มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น “หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น”

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตาบอดคได้แว่น

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตาบอดได้แว่น

  • ตาบอดได้แว่นแท้ๆเชียว อุส่าต์ได้รับรางวัลที่ 1 เป็นรถยนต์รุ่นใหม่จากการจับรางวัลทางโทรทัศน์ แต่ก็ขับไม่เป็นเสียนี่
  • มูลนิธิช่วยเหลือคนชราได้ให้ความช่วยเหลือตามี ซึ่งแกไม่มีลูกหลานคอยดูแล โดยการมอบเตาแก๊สสำหรับช่วยอำนวยความสะดวกในการทำอาหาร แต่ตามีกลับไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะแกใช้ไม่เป็น แถมยังกลัวถังแก๊สจะระเบิดอีกด้วย
  • ลูกๆ ได้ส่งโทรศัพท์ไอโฟนรุ่นใหม่มาเป็นคุณลุงของขวัญเพื่อจะได้คุยวิดีโอคอล แชตกันให้หายคิดถึง แต่คุณลุงก็ใช้ไม่เป็น เหมือนตาบอดได้แว่นแท้ๆ
  • ชาวนาที่ได้เครื่องถ่ายเอกสารเครื่องใหม่ ก็ไม่รู้มีประโยชน์อะไรกับอาชีพเหมือนกัน
  • สมชายได้หูฟังราคาแพงมาจากกับชิงโชค ซึ่งตัวเองเป็นคนหูหนวก แบบนี้ตาบอดได้แว่นชัดๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตาบอดคลำช้าง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตาบอดคลำช้าง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตาบอดคลำช้าง

ที่มาของสำนวนนี้คือ พระพุทธเจ้าได้ใช้นิทานชาดกเทศน์สอนแก่สาวกว่า ในเมืองสาวัตถีมีสมณพราหมณ์และปริพาชกมากมาย ต่างคนต่างมีความเชื่อ ความเห็น และยึดทฤษฎีของตนว่าถูกต้อง ดูถูกเหยียดหยามกัน ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนลังเลสงสัยว่าจะเชื่อใครดี

มีพระราชาองค์หนึ่ง ได้รับสั่งให้ชุมนุมคนตาบอดแต่กำเนิดทั่วประเทศ นำช้างมาให้คนตาบอดเหล่านี้ลูบคลำดูพวกละแห่ง เช่น ศรีษะ งวง งา ขา ท้อง ตลอดจนปลายหาง ฯลฯ หลังจากนั้นพระราชาได้ตรัสถามว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง?

คราวนั้นคนตาบอดที่ได้คลำศีรษะช้าง ก็ว่าช้างเหมือนหม้อ คนที่ได้คลำหูช้าง ก็ว่าช้างเหมือนกระด้ง คนที่ได้คลำงาช้างก็ว่าช้างเหมือนผาล คนที่ได้คลำงวงช้าง ก็ว่าช้างเหมือนงอนไถ

คนที่ได้คลำตัวช้าง ก็ว่าช้างเหมือนยุ้งข้าว คนที่ได้คลำเท้าช้าง ก็ว่าช้างเหมือนเสา คนที่ได้คลำหลังช้าง ก็ว่าช้างเหมือนครกตำข้าว คนที่ได้คลำหางช้าง ก็ว่าช้างเหมือนสาก คนที่ได้คลำปลายหางช้าง ก็ว่าช้างเหมือนไม้กวาด

ถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านคงเข้าใจเหมือนกันว่านิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า หากไม่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญจริงในเรื่องนั้นๆแต่มีความเชื่อมั่นว่าตนเองเข้าใจว่าตนเองนั้นถูก อาจสร้างปัญหา สร้างความสับสนให้กับสังคมได้ ถึงแม้จะมีนิทานชาดกเป็นอุทธาหรณ์แต่ไม่ว่ายุคสมัยไหนก็ยังมีเหตุการณ์ดั่งในนิทานชาดกข้างต้นให้เห็นอยู่เสมอ…

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียว แล้วเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น นิยมใช้กับผู้ที่ชอบมองด้านเดียว แล้วตีความเอาตามที่ตนเองเข้าใจเพียงคนเดียว รู้ไม่จริง หรือรู้ก็รู้ไม่หมด รู้เพียงบางส่วน เมื่อรู้เพียงบางส่วนก็เข้าใจไปเองว่าตนนั้นรู้แจ้ง รู้หมดทุกอย่าง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตาบอดคลำช้าง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตาบอดคลำช้าง

  • ตาบอดคลำช้าง นินทาและสรรเสริญ เป็นโลกธรรม ที่อยู่คู่มนุษยชาติมาตลอด เพราะในโลกนี้ “นักพูด” มีมากกว่า “นักทำ” ผู้ที่มีปกติชอบพูดวิพากษ์วิจารณ์ เยาะเย้ยถากถางผู้อื่น
  • อีกทั้งยุคสมัยนี้เป็นยุคโซเชียลมีเดีย บางคนก็แค่พูดเก่ง พูดดูดี เหมือนจะมีหลักการ และแค่พรรคพวกเยอะคอยเป็นกองเชียร์ แต่คนที่เชี่ยวขาญเฉพาะด้านย่อมมองออกว่าสิ่งที่คนเหล่านั้นพูดก็แค่เพียงต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้ตนเอง เบี่ยงเบนให้สังคมเข้าใจผู้อื่นผิด ด้วยการสร้างข่าวปลอมหรือเฟคนิวส์ทั้งหลายแหล่ นั่นก็เข้าข่ายพวกตาบอดคลำช้างมาสร้างกระแสสังคมให้ตนเองดูดีแต่เหยียบย่ำผู้อื่น
  • อย่าทำตัวเป็นตาบอดคลำช้างไปหน่อยเลย หัดฟังความเห็นจากผู้อื่นบ้าง ไม่ใช่เอาตัวเองว่า แบบนี้งานไม่ไปไหนซักที
  • สื่อมักให้ความสำคัญคนที่รู้ไม่จริง แต่กลับพูดออกสื่อ มีที่ยืนในสังคมได้อย่างไรกัน แบบนี้มันตาบอดคลำช้างชัดๆ สื่อนี่แหละตัวดีเลย
  • ยุคสมัยเปลี่ยนไปแค่ไหนก็ยังมีคนตาบอดคลำช้างอยู่เสมอ เพราะคนมักจะเลือกเชื่อตัวเองก่อนเชื่อคนอื่น

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตัดหางปล่อยวัด ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตัดหางปล่อยวัด

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตัดหางปล่อยวัด

ที่มาของสำนวนนี้คือ ในสมัยโบราณการตัดหางไก่แล้วนำไปปล่อยเพื่อสะเดาะเคราะห์หรือแก้เคราะห์ในสมัยโบราณ มีหลักฐานในกฎมนเทียรบาลว่า เมื่อเกิดสิ่งที่เป็นอัปมงคล เช่นมีวิวาทตบตีกันถึงเลือดตกในพระราชวัง ต้องทำพิธีสะเดาะเคราะห์ โดยเอาไก่ไปปล่อยนอกเมือง เพื่อให้พาเสนียดจัญไรไปให้พ้น ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีประกาศกล่าวถึงการนำไก่ไปปล่อยที่วัดเพื่อสะเดาะเคราะห์ สันนิษฐานว่า ไก่ที่จะนำไปปล่อยที่วัดจะตัดหางเพื่อเป็นเครื่องหมายว่าเป็นไก่ที่ปล่อยเพื่อการสะเดาะเคราะห์ด้วย

เป็นเคล็ดการนำไก่อัปมงคล มาตัดขนหางออกแล้วนำไปปล่อยวัดขจัดอัปมงคลจากบ้านจากผู้เลี้ยง ปล่อยวัดเพราะวัดเป็นพุทธสถาน พุทธจักร ขจัดสารพัดกาลกิณี สยบทุกอัปมงคล จนเป็นสำนวนกล่าวขานการตัดขาดจากกันว่า “ตัดหางปล่อยวัด”

สรุปความของของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป นิยมใช้กับคนไม่สำนึกบุญคุณ ทำดีให้ก็ไม่เห็นค่าขอตัดขาดดีกว่า จะไม่ขอยุ่งเกี่ยวด้วยกับบุคคลดังกล่าวอีกแล้ว

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตัดหางปล่อยวัด

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตัดหางปล่อยวัด

  • คนไม่สำนึกบุญคุณ สมควรโดนตัดหางปล่อยวัด แล้ววันหนึ่งจะรู้ซึ้งถึงในสิ่งที่ตนทำกับผู้มีพระคุณ
  • เด็กคนนี้ถูกพ่อแม่ตัดหางปล่อยวัดเพราะประพฤติตัวเกกมะเหรกเกเรไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่
  • สมชายเป็นคนไม่เอาการเอางาน วันๆ เอาแต่เที่ยวเตร่ กินเหล้าเมายา พ่อจึงตัดหางปล่อยวัดเลย
  • ชีวิตผมไม่ชอบพวกเนรคุณ ผมจะไม่ปล่อยให้วนเวียนในชีวิตผม จะตัดหางปล่อยวัดทันที
  • บางครั้งชีวิตต้องตัดหางปล่อยวัด คนเป็นพิษออกจากชีวิต เพื่อให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น เครียดน้อยลง เพื่อตัวเราเอง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยตักบาตรอย่าถามพระ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตักบาตรอย่าถามพระ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตักบาตรอย่าถามพระ

ที่มาของสำนวนนี้คือ พระสงฆ์สมัยโบราณจะถือพระธรรมะวินัยเคร่งครัดมาก ว่าอย่ายึดติดกับรสชาติ เขาเลยห้ามถาม จึงได้นำมาตั้งเป็นสุภาษิต ในหลักการตักบาตรตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว พระพุทธเจ้าท่านให้หลักบริสุทธิ์สาม เอาไว้ คือ

  1. ไม่เห็นการฆ่า
  2. ไม่ได้ยินการฆ่า
  3. ไม่ได้นึกรังเกียจว่า เขาฆ่ามาเพื่อเฉพาะเจาะจงเรา

ถ้าอย่างนี้ละก็รับประทานได้ไม่บาป ให้ถือบริสุทธิ์สามนะ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แล้วไม่นึกรังเกียจว่า เขาฆ่ามาเฉพาะเรา ตรงนี้เองเป็นที่มาของคำว่า ตักบาตรอย่าถามพระ เช่นว่า จะตักบาตรแล้วถาม พระคุณเจ้า พรุ่งนี้จะฉันแกงไก่ไหม เดี๋ยวโยมจะเชือดถวาย ถ้าอย่างนี้ล่ะไม่ได้ พระท่านรับไม่ได้เลย ถ้านึกรังเกียจว่า ฆ่ามาเฉพาะเจาะจงเนี่ยไม่ได้ แต่ถ้าเกิดเป็นเนื้อที่เค้าวางขายในตลาดอยู่แล้วเราไปซื้อมาประกอบอาหารอย่างนี้ไม่บาป ถ้าจะเปรียบเหมือนกับว่า ถ้าเป็นอีแร้งเห็นซาก แล้วเอาไปกินซากไม่บาป แต่ถ้าเกิดเป็นอีกา ไปจิกไปยุให้มันตีกันให้มันตาย แล้วตัวเองก็จะไปกินเนี่ย อย่างนี้บาป

วัตรปฏิบัติที่สำคัญประการหนึ่งของพระภิกษุก็คือ การออกบิณฑบาตด้วยความตั้งใจ เต็มใจออกไปโปรดสัตว์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีโอกาสได้ทำบุญกุศล และได้ใกล้ชิดกับศาสนา ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่อุบาสกอุบาสิกาจะต้อง “ถาม” พระภิกษุก่อนตักบาตรว่า ท่านเต็มใจจะรับอาหารของตนหรือไม่ หรือท่านต้องการอะไร

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การจะให้ของสิ่งใดแก่ผู้ที่เขาเต็มใจรับของสิ่งนั้นอยู่แล้ว ไม่ควรถามว่าอยากได้หรือไม่

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยตักบาตรอย่าถามพระ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตักบาตรอย่าถามพระ

  • สุชาติซื้อของมาฝากคุณตา แต่ทุกครั้งที่สุชาติจะให้ของฝากกับคุณตาเขามักถามเสมอว่า คุณตาจะเอาไหมสุชาติซื้อของมาฝาก คุณตาเลยตอบกลับไปว่าตักบาตรอย่าถามพระ
  • ผู้จัดการอย่าตักบาตรถามพระเลยค่ะ จะจัดทริปไปเที่ยวญี่ปุ่นให้พนักงานทั้งที มีใครจะไม่อยากไปหล่ะคะ
  • เวลาจะชวนใครกินอะไรไม่ต้องถามหรอก ชวนมาก่อนเลย แบบนี้เขาเรียกตักบาตรอย่าถามพระชัดๆ เลย
  • ในวันคล้ายวันเกิดไม่ว่าใครก็อยากได้ของขวัญเซอร์ไพรสอยู่แล้ว คุณไม่น่าตักบาตรถามพระเลยนะ
  • ตักบาตรอย่าถามพระ จะให้อะไรใครไม่ต้องไปหวังผลตอบแทนหรอก ให้ด้วยความเต็มใจ แล้วภูมิใจกับสิ่งที่ตัวเองทำก็พอ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube