สุภาษิตคำพังเพยจับปลาสองมือ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ จ. จับปลาสองมือ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยจับปลาสองมือ

ที่มาของสำนวน เป็นการเปรียบเปรยกับการการจับปลา ถ้าใช้มือจับปลาข้างละตัว ปลาอาจดิ้นหลุดได้ง่าย แต่ถ้าใช้ทั้งสองมือจับปลาแค่ตัวเดียวจะทำให้จับได้ถนัดมือกว่า

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่อยากจะได้สองอย่างทีเดียวพร้อมๆ กัน โดยไม่คำนึงว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำได้หรือไม่ เห็นว่าสิ่งโน้นก็ดีสิ่งนี้ก็ดี จึงทำพร้อมกันทั้งสองอย่างโดยไม่คิดว่าตัวเองมีความสามารถพอที่จะทำได้หรือไม่ จนในที่สุดก็ไม่ได้อะไรเลย

สำนวนนี้นิยมใช้กับ ผู้ชายที่เกี้ยวผู้หญิงสองคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งผลสุดท้ายแล้วผู้ชายคนนั้นจะมีปัญหาตามมา

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยจับปลาสองมือ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตจับปลาสองมือ

  • สมชายคบผู้หญิงพร้อมกันสองคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งตรงกับสำนวนไทยที่ว่าจับปลาสองมือ สุดท้ายสมชายก็ไม่เหลือใครเลย
  • ถ้าคุณยังจับปลาสองมือ ทำงานสำคัญหลายๆ อย่างพร้อมกันแบบนี้ ระวังจะไม่สำเร็จทั้งคู่นะ
  • ถ้าอยากประสมความสำเร็จให้จัดลำดับความสำคัญโฟกัสงานเป็นชิ้นๆ ไปเลย ไม่ใช่จับปลาสองมือทำนั่นหน่อย ทำนี่หน่อย อาจทำให้หลุดเป้าหมายและท้อแท้ได้
  • การทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน หรือ จับปลาสองมือ ไม่ใช่เรื่องดี เพราะยากจะทำงานประสบความสำเร็จ เหนื่อย และอาจจะทำให้ กลายเป็นคนสมาธิสั้น
  • คนบางที่ชอบจับปลาสองมือ คบทีหลายคน เป็นคนที่ไม่รักแม้กระทั่งตัวเอง ไม่ไว้ใจตัวเอง และไม่สมควรได้รับความรักดีๆ อีกด้วย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยใจดีสู้เสือ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ จ. ใจดีสู้เสือ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยใจดีสู้เสือ

ที่มาของสำนวน สำนวนนี้มักจะใช้พูดเพื่อแนะนำ ให้ให้กำลังใจ เมื่อจะต้องพบกับสิ่งที่อันตราย อุปสรรคหรือปัญหาที่ทำให้ชีวิตเกิดความทุกข์ยากลำบาก หรืออาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องทำใจให้กล้าหาญ เพื่อเผชิญหน้ากับอันตราย คำว่า “เสือ” ในสำนวนนี้หมายถึงคนที่ตนเกรงกลัว ซึ่งโดยปกติแล้ว สัตว์ต่างๆน้อยใหญ่ต่างก็เกรงกลัวเสือไม่กล้าเผชิญหน้ากับเสือ (แต่ในสำนวนนี้ต้องจำใจเผชิญหน้ากับสิ่งที่ตนเกรงกลัว)

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การทำใจกล้า ควบคุมจิตใจให้เป็นปกติ ไม่หวั่นไหวไปกับเหตุการณ์ตรงหน้า เมื่อต้องเจอกับสิ่งที่น่ากลัวหรือเป็นอันตราย โบราณท่านนิยมใช้อธิบายเมื่อเราเจอเหตุการณ์ที่น่ากลัวหรือมีอันตราย แต่ก็บังคับใจตัวเองให้สู้ ไม่ให้กลัวจนไม่กล้าทำอะไร

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยใจดีสู้เสือ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตใจดีสู้เสือ

  • ผมเป็นคนกลัวความสูงแต่ทำใจดีสู้เสือ เมื่อจะต้องกระโดดหอสูง 34 ฟุต พยายามข่มใจว่าจะต้องผ่านไปให้ได้ เพราะกลัวเพื่อนๆ จะล้อเลียน
  • เด็กชายดำถูกอาจารย์ฝ่ายปกครองเรียกให้ไปพบเพราะเขามาโรงเรียนสายหลายครั้งแล้ว ทั้งๆที่เด็กชายดำกลัวอาจารย์ฝ่ายปกครองมาก แต่ก็ต้องทำใจดีสู้เสือ ไปพบอาจารย์
  • ตอนไปเจอว่าที่พ่อตา แกทำหน้าดุมากจนผมกลัวแทบตาย แต่ก็ยิ้มตลอดทำใจดีสู้เสือไว้ก่อน
  • เจ้าของบ้านทำใจดีสู้เสือ เผชิญหน้าโจรที่มาขโมยของในบ้าน แล้วหาจังหวะเอาตัวรอดมาได้อย่างปลอดภัย
  • การต้องเดินทางออกจากบ้านเพื่อไปเรียนในกรุงเทพ ทำให้เขาต้องทำใจดีสู้เสีอ ต้องกล้าเผชิญกับความลำบากที่รออยู่ เพราะตั้งแต่ เกิดมาก็ไม่เคยออกไปไหนไกลบ้านเลย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยจับปูใส่กระด้ง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ จ. จับปูใส่กระด้ง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยจับปูใส่กระด้ง

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงปูซึ่งเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบเดินไปมา เมื่อถูกจับไปใส่ไว้ในกระด้ง(ภาชนะรูปแบน ขอบกลม) มันก็จะหาทางเดินออกจากกระด้งตลอดไม่ยอมหยุดอยู่นิ่งๆ

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ยากที่จะทำให้อยู่นิ่งๆ ได้ มักใช้กับพฤติกรรมของคนที่อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีระเบียบ ซุกชน ทำให้อยู่นิ่งๆได้ยาก ดังนั้นจับปูใส่กระด้งเปรียบเปรยถึงการดูแล จัดการกับคนที่ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยจับปูใส่กระด้ง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตจับปูใส่กระด้ง

  • คุณครูที่มีหน้าที่ดูแลเด็กอนุบาล จะต้องเป็นคนที่ใจเย็นมากๆ เพราะเด็กตัวเล็กๆมักจะซุกซน อยู่ไม่นิ่ง ตอนเที่ยงครูพยายามให้เด็กอยู่เป็นระเบียบสักครู่เพื่อรับขนมและนม ก็เหมือนการจับปูใส่กระด้ง ทำได้ยากลำบากมาก
  • งานประกวดการแสดงของเด็กอนุบาลนี่ทำเอาเหนื่อยไปตามๆกัน กว่าเป็นแบบนี้ได้ก็เหมือนตามจับปูใส่กระด้ง เด็กๆ วิ่งกันให้วุ่นไปหมด
  • เสียงกริ่งของโรงเรียนบ้านทุ่งดังขี้น เด็กนักเรียนต่างวิ่งออกนอกห้องเรียน บ้างก็กลับบ้าน แต่ส่วนใหญ่ จะวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ก่อนจะกลับบ้านกัน ในสนามหญ้าเด็กๆ ผู้ชายเตะฟุตบอล เด็กๆ ผู้หญิงเล่นกระโดดยาง กันอย่างสนุกสนานในห้องเรียน ครูมะลิก าลังนั่งตรวจการบ้านเด็กอยู่ในห้อง “อ้าวครู ยังไม่กลับอีกเหรอครับ” ลุงชายภารโรงของโรงเรียนทัก “อีกสักพักจ๊ะลุง เดี๋ยวฉันปิดห้องเองจ๊ะ ลุงจะได้กลับบ้าน” ครูมะลิยิ้ม “ ถ้า อย่างนั้นเดี๋ยวผมกวาดห้องให้ก่อนก็ได้ครับ” ลุงชายเดินไปหยิบไม้กวาด “สอนที่นี่หนักหน่อยนะครู เด็กที่นี่ซน กันเหลือเกิน วิ่งเล่นกันวุ่นวาย ยิ่งกว่าจับปูใส่กระด้งเสียอีกนะครู ครูเพิ่งมาใหม่คงจะเหนื่อยแย่” ลุงชายพูด พร้อมกับเดินกวาดห้อง ครูมะลิตรวจการบ้านเล่มสุดท้ายพร้อมพูดว่า “แต่เด็กๆ ที่นี่ซึ่งจะซนไปหน่อย แต่พวก เขาก็น่ารักกันนะจ๊ะ ฉันรักที่จะเป็นครู อยากให้เด็กๆ เป็นคนดี เรื่องแค่นี้สบายมากจ๊ะลุง” ลุงชายยิ้มอย่าง ภูมิใจ “ครูมะลินี่เป็นแม่พิมพ์ของชาติจริงๆ เลยนะ เด็กในโรงเรียนจะได้เป็นเด็กที่ดีกันทุกคน” จากนั้นครูมะลิ กับลุงชายก็ช่วยกันปิดห้องเรียนและเดินกลับบ้านพร้อมกัน
  • ลูกเรานี่ซนจริงๆ ขนาดปิดประตูเหมือนจับปูใส่กระด้งแล้ว ยังหาวิธีออกมาวิ่งเล่น วิ่งซนนอกบ้านได้
  • ที่ว่าอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าทีมงานสร้างกฎกติกาจะไม่มีความสามารถในอันที่จะกำหนดกรอบเพื่อควบคุมนักการเมืองให้ดีกว่าที่ผ่านมา เพราะความจริงทางการเมืองนั้นคงไม่ต่างไปจากจับปูใส่กระด้ง เนื่องจากนักการเมืองไทยนั้น มีความสามารถพิเศษที่จะใช้เล่ห์เหลี่ยมในอันที่จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเขียนด้วยมือลบด้วยเท้า ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเขียนด้วยมือลบด้วยเท้า

ที่มาของสำนวน ในสำนวนนี้ คนสมัยก่อนได้ นำมือมาเปรียบเปรยถึงการทำสิ่งที่ดี และเท้าเปรียบเปรยสิ่งที่ไม่ดี ส่วนคำว่าเขียนเป็นตัวแทนของการสร้าง และคำว่าลบ คือการลบล้างหรือทำลาย จึงเกิดเป็นสำนวนนี้ บางทีคนจะเรียกว่าเขียนด้วยมือ ลบด้วยตีน ใช้ในเชิงต่อว่า เสียดสี

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่เคยทำดีเอาไว้ตั้งแต่ต้นจนที่เชื่อถือ ไว้ใจ แต่พอผ่านไปภายหลังกลับทำชั่วลบล้างความดีที่ตัวเองเคยทำมาไปอย่างง่ายดาย

สำนวนนี้มักใช้กล่าวถึงคนที่เข้ามาทำดีด้วยในตอนแรก ที่คบกัน แต่พอรู้จักกัน คบกันแล้ว หรือสมประโยชน์ของตัวเองแล้ว ก็เปลี่ยนไปเป็นอีกแบบหนึ่ง กลายเป็นคนไม่ดี ไม่น่าคบหาสมาคมด้วย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเขียนด้วยมือลบด้วยเท้า

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเขียนด้วยมือลบด้วยเท้า

  • ไม่คิดเลยว่าคุณจะเขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้าแบบนี้ เราเคยร่วมกันก่อตั้งบริษัทนี้ขึ้นมา แต่ตอนนี้กลับมาว่ากล่าวทำให้บริษัทเสียชื่อเสียง ด้วยฝีมือของคุณเอง
  • ศรีสุดาเคยให้สัญญาไว้กับเพื่อนร่วมงานทุกคนว่าตนจะไม่ยอมถอนตัวหรือลาออกจนกว่างานชิ้นนี้จะเสร็จ แต่พอศรีสุดาเจอตำแหน่งงานใหม่ที่เงินเดือนสูงกว่า เธอก็ลาออกทันที แบบนี้ตรงกับสำนวนไทยที่ว่าเขียนด้วยมือลบด้วยเท้า
  • ผู้จัดการธนาคารริเริ่มการบริการลูกค้าแนวใหม่โดยการเตรียมเครื่องดื่มและของขบเคี้ยวไว้ให้ลูกค้าที่มาใช้บริการของธนาคาร แต่มาวันหนึ่งเขากลับสั่งยกเลิกบริการนี้ด้วยเหตุผลว่าสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ (แล้วทำไมไม่คิดเรื่องนี้ก่อนริเริ่มโครงการ) เขียนด้วยมือลบด้วยเท้าแท้ๆ
  • การกระทำในลักษณะ เขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้า ของบางคนนั้น เป็นไปเพื่อต้องการบางสิ่งบางอย่าง เมื่อได้อย่างที่ต้องการแล้ว ก็เปลี่ยนไป เช่น ให้คำแนะนำที่ดีในการทำอะไรบางอย่าง แต่สุดท้าย ก็เพื่อตัวเอง เพราะสิ่งที่ได้แนะนำให้ทำนั้น ตัวเองได้ผลประโยชน์
  • คิดสร้างอะไรไว้ให้คน ก็ควรจะสร้างให้ถูกคน ไม่งั้นก็เหมือนเขียนด้วยมือลบด้วยเท้า สิ่งที่เราสร้างมาแทบตาย กลับโดนคนที่ไม่เห็นค่าทำลายลงอย่างง่ายดาย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา

ที่มาของสำนวน มาจากการที่ในสมัยโบราณท่านใช้ว่าคนที่สอนไม่จำ ไม่สามารถสั่งสอนให้จดจำหรือเข้าใจด้วยวิธีการปกติได้ เปรียบได้กลับคำสั่งสอนนั้นวิ่งเข้าทางหูข้างซ้ายแล้ววิ่งทะลุออกหูขวาในทันที โดยไม่ได้วิ่งเข้าสมองเลย

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ บอกหรือสอนไม่ได้ผล มีคนบอกหรือสอนอะไรไป ก็ไม่ตั้งใจ ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง ไม่สนใจที่จะฟัง ทำเหมือนไม่ได้ยิน หรือฟังแล้วแต่ไม่สนใจทำตาม

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา

  • นี่เธอ อย่าไปสอนงานอะไรให้พี่เขาเลย ไม่มีประโยชน์หรอก เข้าหูซ้ายทะลุหูขวาหมด ฉันลองมาหลายรอบแล้ว
  • นี่ ด.ช.สมชาย เธอนี่สอนอะไรไม่เคยจำได้ เข้าหูซ้ายทะลุหูขวาหมด ครูจนใจจะสอนแล้วนะ
  • เมื่อวานนี้แดดร้อนมากๆ แม่เลยห้ามฉันไม่ให้ไปเล่นน้ำเพราะกลัวว่าจะไม่สบาย แต่ฉันก็ยังแอบไปเล่นน้ำในตอนที่แม่นอนหลับ เมื่อกลับมาถึงบ้านก็เลยไม่สบาย แม่รู้เข้าก็ดุฉัน นี่แหละแม่บอกไม่ฟัง พูดเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา
  • นี่เธอ อย่าไปสอนงานอะไรให้พี่เขาเลย ไม่มีประโยชน์หรอก เข้าหูซ้ายทะลุหูขวาหมด ฉันลองมาหลายรอบแล้ว
  • สอนแกเหมือนสีซอให้ความฟัง เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ถ้าอยากจะขับรถเป็นจริงๆ ก็ใจเย็นๆ แล้วหัดฟังคนอื่นซะบ้าง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยขว้างงูไม่พ้นคอ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ขว้างงูไม่พ้นคอ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยขว้างงูไม่พ้นคอ

ที่มาของสำนวน เปรียบเหมือนกับการขว้างงูออกไปจากตัว แต่เนื่องจากงูตัวยาวจึงยังใช้หางรัดคอผู้ขว้างไว้อยู่ดี ผู้ขว้างจึงไม่สามารถขว้างงูให้พ้นจากตนเองได้นั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วพยายามจะปัดความรับผิดชอบ เพื่อที่จะให้ปัญหาให้พ้นจากตัวเอง แต่ก็ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้  ยังต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานั้นอยู่ดี

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยขว้างงูไม่พ้นคอ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตขว้างงูไม่พ้นคอ

  • รปภ. ในบริษัทกุเรื่องว่ามีคนทำร้าย และขโมยทรัพย์สินในบริษัทไป แต่ขว้างงูไม่พ้นคอ สุดท้ายยอมรับว่ามีส่วนรู้เห็นกับโจร
  • สมชายเป็นนักบัญชีของบริษัทแห่งหนึ่ง เมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาการทุจริตขึ้นในบริษัท สมชายพยายามปัดความรับผิดชอบไปให้แผนกอื่น แต่ขว้างงูไม่พ้นคอ สุดท้ายหัวหน้าก็สอบสวนจนรู้ว่า สมชายมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เขาจึงถูกไล่ออก
  • นายนพบอกปัดที่จะรับผิดชอบดูแลค่าใช้จ่ายโครงการใหม่ของบริษัท ถึงจะบอกปัดได้แต่ก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่ดีในฐานะหัวหน้าฝ่ายการเงิน ขว้างงูไม่พ้นคอแท้ๆ
  • เรื่องที่คุณไปโกงคนอื่นไว้ ขว้างงูไม่พ้นคอหรอก ยังไงคุณต้องรับผิดชอบเรื่องที่เกิดขึ้นไม่วันใดก็วันหนึ่งแน่นอน
  • ขว้างงูไม่พ้นคอ! นายนทีโยนความผิดเรื่องของบริษัทสูญหายในระหว่างวันหยุดยาวให้กับพนักงานรักษาความปลอดภัย แต่ก็ไม่ได้ทำให้ตัวเองพ้นผิด เนื่องจากของสิ่งนั้นอยู่ในห้องทำงานของตนและตนเองลืมใส่กุญแจตู้และกุญแจห้องด้วย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงความงามไก่โดยธรรมชาติจะมีขนหรือมีสีสันที่สวยงามทำให้สัตว์เหล่านั้นดูดี อย่างไก่จะมีขนที่สวยงามตามธรรมชาติ แต่คนเรานั้น จะต้องแต่งตัว แต่งกายให้เหมาะสม แม้จะมีหน้าตาไม่ดี การแต่งตัวเป็น ทั้งการแต่งกายและกิริยามารยาทก็ช่วยให้ดูดีได้

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ความงาม ความสวย ความหล่อ ภาพลักษณ์ที่ดูดีของคนเรานั้น สามารถทำ ได้ด้วยการปรุงแต่ง การแต่งหน้า แต่งตัว ให้เหมาะสม เรียบร้อย ถูกกาละเทศะ ก็ช่วยให้ดูดีได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง

  • เธอไม่ต้องน้อยใจที่เกิดมาไม่สวย เดี๋ยวแต่งหน้า แต่วตัวหน่อยก็สวยได้ไม่อายใคร เหมือนที่เขาบอกกันว่าไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
  • ไก่ผมสวยขึ้น คุณดูสวยขึ้นทุกวัน อย่างนี้คงเหมือนไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่งจริงๆ
  • ดญ. ฝ้าย แม้จะเป็นเด็กที่ไม่สวย ผิวเข้ม ผมหยิก แต่การรู้จักแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่เรียบร้อย และมีกิริยามารยาทที่งดวาม พูดจา ไพเราะ น่าฟัง ก็ทำให้เป็นคนมีเสน่ห์ เป็นที่รักของเพื่อนๆ จนทุกคนยกตำแหน่งให้เป็นหัวหน้าห้อง
  • ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง นี่คือความหมายของสุภาษิตไทยที่ว่า “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ซึ่งได้ยินมานาน และเชื่อว่าก็ยังใช้ได้ดีในยุคปัจจุบัน เพราะคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะบอกว่า ความประทับใจของคนเราในครั้งแรกที่ได้พบกันคือบุคลิกภาพภายนอกนั่นเอง
  • ดาราคนนั้นอายุมากแล้วนะ แต่ยังสวยดูดีอยู่เลย คนเรานี่ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่งจริงๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยกวนน้ำให้ขุ่น ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กวนน้ำให้ขุ่น

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยสุภาษิตกวนน้ำให้ขุ่น

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงน้ำอยู่นิ่งๆมันจะใส ก็ไปกวน หรือคนให้มันขุ่นขึ้นมา ตามปกติธรรมชาติของน้ำที่อยู่ในภาชนะนิ่งๆ เช่น ในโอ่ง, กะละมัง, ขวด, ถังน้ำ ฯลฯ ดินที่ปนเปื้อนรวมอยู่ในน้ำนั้น มันมักจะตกตะกอนอยู่ใต้ก้นภาชนะที่มันบรรจุอยู่ เช่น ก้นโอ่ง, ก้นกะละมัง, ก้นขวด, ก้นถังน้ำ ฯลฯ ทำให้น้ำในโอ่งใสสะอาด แต่ถ้ามีการกระทำให้น้ำสั่นสะเทือน หรือมีคนนำอะไรไปกวน หรือไปคน ดินที่ตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะนั้นก็จะลอยขึ้นมาปะปนรวมกับน้ำ ทำให้น้ำในโอ่งขุ่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดเป็นปัญหาขึ้นมา กล่าวคือการทำเรื่องราวที่สงบเงียบเรียบร้อยไปแล้ว ให้เกิดเป็นปัญหาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อาทิเช่น เรื่องราวที่สงบไปแล้ว แต่มีคนนำกลับมาพูดกล่าวขานรื้อฟื้นขึ้นมาพูดวิพากษ์วิจารณ์กันอีก จนกระทั่งมันกลับเป็นเรื่องเป็นราววุ่นวายขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกวนน้ำให้ขุ่น

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกวนน้ำให้ขุ่น

  • เราได้ตกลงกับคู่กรณีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณจะกวนน้ำให้ขุ่น พูดให้เป็นเรื่องราวขึ้นมาอีกทำไม
  • นายนทีกับนายวันชัยทะเลาะกันเรื่องงาน แต่ผู้จัดการทราบเรื่องจึงเข้ามาสงบศึก พูดให้ทั้งสองฝ่ายสงบลงและทำความเข้าใจกันได้ ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายกำลังปรับความเข้าใจกันซึ่งกำลังจะจบด้วยดี นายทวีก็พูดขึ้นมาว่านายนทีชอบไปพูดนินทานายวันชัยลับหลัง ทำให้นายวันชัยโกรธขึ้นมาอีก และการทำความเข้าใจกับนายนทีทำท่าจะไม่จบลงง่ายๆ ทวีนี่กวนน้ำให้ขุ่นแท้ๆ
  • เหตุการณ์ในบริษัทกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี แต่มีคนกวนน้ำให้ขุ่น ตั้งคำถามให้คนภายในบริษัทสับสน จนเกิดเรื่องวุ่นวายขึ้นมา
  • ส่วนเรื่องโควต้า รมต. ไม่น่ามีปัญหา มันต้องจบแล้ว คนที่อยู่วงรอบไม่เกี่ยว เพราะคุยกับผู้ใหญ่มา คนไม่ได้อยู่ในวงเจรจาสร้างกระแสที่ออกมาคือคนที่กวนน้ำให้ขุ่น ผู้ใหญ่คงรักษาคำพูด
  • อย่างไรก็ตาม การเจรจาครั้งที่ผ่านมารัฐไทยยืนยันชัดเจนว่ายังไม่มีการรับข้อเสนอใดๆทั้งสิ้นและกลุ่มเยาวชนบางส่วนได้เข้าร่วมด้วย นั่นแสดงว่าเมื่อมีช่องเจรจาเกิดขึ้นมาแล้วก็จะปรากฏตัวแทนกลุ่มต่างๆให้ความสนใจซึ่งจะทำให้รู้ว่าใครเป็นใครกลุ่มไหน จึงเห็นว่าการเปิดเจรจาจึงน่าจะเป็นแนวทางที่ก้าวหน้ามากขึ้นและจะต้องเดินหน้าต่อไปด้วยความสุขุม รอบคอบ และอดทนอย่างสูง ขออย่างเดียวอย่าเอา “การเมือง” เข้ามากวนน้ำให้ขุ่นเท่านั้น.

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยกบเลือกนาย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กบเลือกนาย

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกบเลือกนาย

ที่มาของสำนวน มาจากนิทานอิสบ โดยมีเรื่องราวว่า ณ ทะเลสาบแห่งหนึ่งอันอุดมสมบูรณ์ มีกบฝูงหนึ่งอาศัยอยู่อย่างมีความสุข วันหนึ่งพวกมันปรึกษากันว่าน่าจะมีกษัตริย์มาปกครอง พวกมันจึงไปร้องขอต่อเทพจูปิเตอร์ เทพจูปิเตอร์จึงได้โยนขอนไม้ก้อนหนึ่งลงมาในทะเลสาบแห่งนี้ พวกกบต่างตื่นเต้นดีใจพากันขึ้นไปร้องเพลงเต้นระบำกันอยู่บนท่อนไม้นั้น หลายวันต่อมาพวกกบต่างเบื่อราชาขอนไม้ที่ได้แต่ลอยน้ำไปมา จึงไปวิงวอนขอให้เทพจูปิเตอร์ส่งกษัตริย์มาให้ใหม่อีกครั้ง เทพจูปิเตอร์จึงได้ส่งปลาไหลลงมา แต่ปลาไหลก็เอาแต่มุดอยู่ในรูพวกมันจึงได้ไปร้องขอต่อเทพจูปิเตอร์อีกครั้ง คราวนี้เทพจูปิเตอร์ได้ส่งนกกระสาลงมา นกกระสาได้ไล่จิกกินกบไปทีละตัวๆ ทุกวันจนกบแทบไม่เหลือ ส่วนกบที่เหลือก็ไปร้องขอต่อเทพจูปิเตอร์อีกครั้ง เทพจูปิเตอร์นั้นด้วยความรำคาญพวกกบจึงกล่าวว่า “หากพวกเจ้าไม่พอใจในความเป็นอยู่แบบเดิม พวกเจ้าก็จงทนเผชิญกับหายนะที่ร้องขอกันต่อไปเถอะ” นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การไม่รู้จักพอในสิ่งที่มีอยู่ย่อมเกิดผลร้ายตามมา

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนช่างเลือก ไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี เลือกจนในที่สุดก็ไม่ได้สิ่งที่ดีกว่าเดิม ท้ายสุดกลับได้ของที่ไม่ต้องการหรือไม่มีค่าอะไรเลย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกบเลือกนาย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกบเลือกนาย

  • ลูกน้องคนนี้ทำตัวเป็นกบเลือกนาย ตอนอยู่บริษัทนี้ก็ขอลาออกเพราะงานหนักทำไม่ไหว ไปสมัครงานใหม่อยู่ได้ไม่นานก็ลาออกบอกว่าเจ้านายไม่มีวิสัยทัศน์ สุดท้ายก็ต้องกลับมาอยู่ที่เดิม
  • คุณเปรม (นามสมมุติ) เป็นหนุ่มไฮโซช่างเลือกในทุกๆเรื่องไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า น้ำหอม เครื่องประดับ รถ แม้แต่การคบเพื่อนก็ยังเลือกคบเฉพาะกลุ่มไฮโซด้วยกัน แต่เขาหารู้ไม่ว่าเพื่อนแต่ละคนที่เขาคบนั้นล้วนแต่หวังปอกลอกเขาทั้งสิ้น แถมเพื่อนแต่ละคนยังติดการพนันและยาเสพติดอีกด้วย เข้ากับสำนวนสุภาษิตที่ว่า กบเลือกนาย หรือเลือกนักมักได้แร่นั่นเอง
  • จำนวน 55 ส.ส.หรือ 9 ส.ส.ที่แห่ห้อมพลเอกประวิตรและพลเอกประยุทธ์ นั้น ไม่ใช่จำนวนบอกประชาชนที่ “เลือก-ไม่เลือก” ประวิตรหรือประยุทธ์ ในการเลือกตั้ง มองในมุมการเมืองแคบๆ อย่างที่มองกัน ก็พูดได้ว่า นี่คือจำนวน “กบเลือกนาย” แต่ถ้าเรียกว่าพลัง ก็ได้…”พลังกบ” ไงล่ะ!
  • “ยิ่งอยู่นานคนไทยขี้เบื่อ เบื่อหน้าผม จำไว้นิทานอีสปมีอยู่ กบน้อยในสระ กบเลือกนายดูซิ เลือกให้ถูก หรือจะเลือกนกกระสามาอีก”
  • ฟังนักการเมืองหาเสียงโจมตีกันทุกวัน นึกถึงนิทานเรื่องกบเลือกนาย ระวังนายใหม่เอาไว้บ้าง อย่าลืมนะว่า นกกระสาน่ากลัวกว่าขอนไม้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงคนที่ล้มหากเดินข้ามเขา เขาอาจลุกขึ้นมาชนกันได้ แต่ถ้าเป็นไม้ล้มมันจะไม่สามารถลุกขึ้นมาได้เองในขณะที่เราข้าม ดังจึงปลอดภัยกว่า

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่เคยมีอำนาจและวาสนามาก่อน แต่ต้องตกต่ำลงก็อย่าเพิ่งไปคิดดูถูกเหยียบย่ำเข้า เพราะเขาอาจกลับฟื้นฟูขึ้นอีกได้ ไม่เหมือนไม้ที่ไม่มีชีวิตวางทิ้งไว้จะข้ามจะเหยียบอย่างไรก็ได้

โบราณท่านใช้สอนคนให้เห็นใจคนที่ทำอะไรผิดพลาด คนที่ทำอะไรแล้วล้มเหลว หรือกำลังประสบปัญหาชีวิต ถึงแม้จะช่วยเหลืออะไรเขาไม่ได้ ก็ไม่ควรซ้ำเติมให้เขาแย่ลงกว่าเดิม หรือพูดจาดูถูกให้เขาหมดกำลังใจที่จะลุกขึ้นมาใหม่

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม

  • ดูไว้นะลูก นี่คือตัวอย่างของคนที่เคยร่ำรวย แต่ต้องยากจนเพราะทำธุรกิจล้มเหลว แต่เชื่อว่าวันหนึ่งข้างหน้าเขาคงจะกลับมาร่ำรวยได้ ดังนั้นเราอย่าไปดูถูกเขานะ โบราณท่านว่าไว้คนล้มอย่าข้าม
  • แม้ว่าคุณสมหมายอดีตเซียนหุ้นพันล้าน ซึ่งตอนนี้เขาหมดตัวมีหนีสินมากมาย ก็อย่าไปดูถูกเขา เพราะสักวันเขาอาจจะลุกขึ้นได้ใหม่กลับมาเป็นเซียนหุ้นอีกครั้ง ดังสำนวนสุภาษิตไทยที่ว่า คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม
  • สมชายเคยรวยล้นฟ้า แต่ก็มาพลาดเพราะความประมาท จนทรัพย์สินหายหมด แค่เงินค่าข้าวยังจะไม่มี แต่ผมก็ให้ความช่วยเหลือแกนะ ยามมีแกก็เคยช่วยเหลือผม ผมเชื่อเสมอว่าคนล้มอย่าข้าม เพราะคนเราล้มได้ก็ต้องลุกขึ้นได้
  • โคลงสินธร คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม “คนใดหากลื่นแล้ว แถไถ ล้มดิ่งร่วงลงไป กับพื้น อย่าคิดก้าวข้ามไป เลยพี่ ข้ามเสร็จลุกตื่นฟื้น จดไว้ในใจ ไม้ใดหากรากแก้ว ตายไป ล้มร่วงขวางทางใด ปล่อยไว้ จึงก้าวล่วงเลยไป ดูก่อน ข้ามผ่านสบายใจได้ ไม่ต้องเกรงใจ หากเห็นใครที่พลั้ง พลาดไป เฉกเช่นสุภาษิตไทย กล่าวอ้าง โปรดเถิดอย่าเอ่ยไป ถมทับ ถึงที่ตัวเราบ้าง จักรู้ดีเอง”
  • เพื่อนกันน่ะ เขาไม่คอยซ้ำเติมเพื่อนยามตกยากหรอก คนล้มอย่าข้าม ถ้าใครข้ามแสดงว่าเป็นเพื่อนไม่จริงใจ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube