สุภาษิตคำพังเพยเต่าใหญ่ไข่กลบ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. เต่าใหญ่ไข่กลบ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเต่าใหญ่ไข่กลบ

ที่มาของสำนวน มาจากพฤติกรรมการวางไข่ของเต่าทะเล ซึ่งจะคลานขึ้นมาที่หาดทราย คุ้ยทรายเป็นหลุมแล้วจึงวางไข่ จากนั้นก็ใช้ทรายกลบไข่ เอาอกถูทรายปราบให้เรียบเพื่อไม่ให้ใครเห็นร่องรอย

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ทำความผิดแล้วพยายามกลบเกลื่อน ปิดบังความผิด ที่ตัวเองทำไว้ไม่ให้คนอื่นได้รับรู้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเต่าใหญ่ไข่กลบ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเต่าใหญ่ไข่กลบ

  • ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีต่อว่านางสุวรรณมาลี มีเนื้อความว่า “…พระว่าพี่นี้ก็รู้อยู่ว่ายาก จะต้องตีฝีปากไม่อยากไหว เคยสำทับรับแพ้มาแต่ไร เหมือนเต่าใหญ่ไข่กลบให้ลบเลือน…”
  • สามีไปมีภรรยาน้อยแต่พยายามทำตัวเป็นเต่าใหญ่ไข่กลบ เพื่อกลบเกลื่อนปิดบัง แต่ก็คงไม่สามารถรอดพ้นสายตาของฉันไปได้
  • มีอะไรอย่ามาปิดบังผม ผมอยู่กับคุณมากี่ปี มองตาก็รู้ว่าคุณโกหก อย่ามาทำตัวเต่าใหญ่ไข่กลับ ก่อนที่อะไรจะแย่ไปกว่านี้ บอกความจริงดีกว่า
  • ตอนนี้ผู้ต้องสงสัยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังติดตามอยู่ ทำเป็นเต่าใหญ่ไข่กลบ ทำลายหลักฐานกลบเกลื่อนความผิดคดีวางพลิง
  • คนที่ทำผิดมา มักจะทำตัวเต่าใหญ่ไข่กลบ ปกปิดความลับ ทำผิดแล้วบ่ายเบี่ยง สุดท้ายท่าทีอาการไม่สามารถปกปิดได้ทั้งหมด เดี๋ยวก็คายออกมา

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยถอนต้นก่นราก, ถอนรากถอนโคน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ถ. ถอนต้นก่นราก, ถอนรากถอนโคน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยถอนต้นก่นราก, ถอนรากถอนโคน

ที่มาของสำนวน เปรียบกับต้นไม้ ถ้าจะกำจัดต้นไม้หรือวัชพืช อย่าเพียงแค่ตัดต้นเพราะจะงอกขึ้นมาใหม่ได้ แต่ให้ถอนออกทั้งโคนและราก ต้นไม้หรือวัชพืชนั้นก็จะตาย ไม่สามารถงอกขึ้นมาได้อีกนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การทําลายให้ถึงต้นตอ ทําลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยถอนรากถอนโคน

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตถอนต้นก่นราก, ถอนรากถอนโคน

  • เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังวางแผน ถอนต้นก่นราก กวาดล้างเครือข่ายยาเสพติดที่เริ่มจะมีมากขึ้น ทั้งยังเข้าถึงเยาวชนได้ง่ายขึ้นทุกวัน
  • การที่รัฐบาลจะกำจัดพวกที่โกงกินให้หมดสิ้นจากเมืองไทยจะต้อง ถอนต้นก่นรากไปให้หมดสิ้น ไม่ใช่กำจัดเฉพาะตัวเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น
  • โบราณท่านเปรียบไว้กับการกระทำที่ต้องทำลายให้ถึงต้นตอ ทำลายให้หมดสิ้น ไม่เหลือเอาไว้ให้เป็นเสี้ยนหนามหรือให้เหลือเพื่อที่จะย้อนกลับมาทำอันตรายได้อีก สำนวนนี้ใช้ได้กับหลายกรณี ทั้งเรื่องการกำจัดศัตรูแบบถอนรากถอนโคน
  • นักการเมืองที่ชอบคอรัปชั่น โกงกินบ้านเมืองต้องกำจัดแบบถอนต้นก่นรากให้หมดไปจากสังคมไทย แผ่นดินจะได้สูงขึ้น
  • จะต่อยอดธุรกิจที่ขาดทุนสะสมกันมาหลายปี ต้องถอนรากถอนโคนระบบเก่าให้สิ้นซาก ปลดออกให้หมดกับคนที่ทำงานไม่ได้เรื่อง ต้องใช้ไม้แข็ง ไม่งั้นรอวันเจ๊งอย่างเดียว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยถีบหัวส่ง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. ถีบหัวส่ง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยถีบหัวส่ง

ที่มาของสำนวน มาจากการโดยสารเรือจ้างสมัยก่อน เวลาคนนั่งเรือจะขึ้นบก เรือจ้างก็ปักหัวเรือเข้าที่ท่า คนที่ขึ้นทางหัวเรือบางคนไม่ระวัง ก้าวขึ้นจากเรือแล้วก็มักจะถีบหัวเรือออก อย่างนี้จึงเรียกว่า ถีบหัวส่ง

สรุปความหมายของสำนวนนี้คือ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เฉดหัว ไล่ไปให้พ้น ขับไล่ไสส่งให้ไปไกลๆ ไม่ไยดีอีกต่อไป ไม่สนใจ และไม่ต้องการอีกต่อไป

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยถีบหัวส่ง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตถีบหัวส่ง

  • คนเนรคุณพอได้ดิบได้ดีแล้วถีบหัวส่งคนที่มีพระคุณ ลืมกำพืดตัวเอง สุดท้ายขึ้นสูงแค่ไหน แต่จิตใจต่ำลงเรื่อยๆ ก็ไม่มีวันเจริญ เวรกรรมมีจริง!
  • ก่อนที่หล่อนจะดังได้ขนาดนี้ ฉันเคยช่วยเหลือหล่อนทุกอย่างร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา แต่พอมีชื่อเสียง ได้เป็นดาราดัง ประสบความสำเร็จแล้วกลับถีบหัวส่งกัน
  • ยามพรรครุ่งเรืองใครๆ ก็อยากเข้าหา พอตกต่ำใครๆ ก็อยากถีบหัวส่งอย่างไม่ใยดี นี่แหละสัจธรรมชีวิต
  • ผู้ชายคนนี้เลวจริงๆ ทำทีมารักเอาอกเอาใจ พอสูบเลือดสูบเนื้อเอาสมบัติของผู้หญิงมาหมดแล้ว ได้ในสิ่งที่ต้องการแล้วก็ถีบหัวส่ง
  • ถึงฝั่งแล้วถีบหัวส่ง! ชะตากรรมครูค้ำ กยศ. “ล้มละลาย-มะเร็งร้าย” ครูล้มละลายหนี้บานชอกช้ำเพราะลูกศิษย์กู้เงิน กยศ. แล้วไม่ยอมจ่าย ภาระจึงตกที่คนค้ำ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยนกต่อ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. นกต่อ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนกต่อ

ที่มาของสำนวน มาจากกับดักนกม คือเพนียด หรือกรงต่อนกเขา เอาไว้ดักจบนก โดยมีเหยื่อล่อคือนกอยู่ข้างใน ถ้าต้องการจับนกตัวผู้ก็จะนิยมขังนกตัวเมียไว้ข้างซึ่งสมัยก่อนเรียกว่านางนกต่อนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ทําหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลงเชื่อ (ใช้ในทางไม่ดี)

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยนกต่อ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตนกต่อ

  • สุดแสบ! นางนกต่อหลอกเสี่ยใหญ่โอนเงิน เพื่อนำไปเปย์ผู้ชายอีกที เจ็บใจแทนเสี่ยจริงๆ แก่ขนาดไหนยังเสียรู้สาวรุ่นลูก
  • ตำรวจรวบจับแก๊งค์นกต่อที่ทำงานให้กับขบวนการค้ามนุษย์ โดยหลอกลวงหญิงสาวให้ไปค้าประเวณีในต่างแดน
  • DSI สืบสวน จับนางนกต่อร่วมแก็งต่างชาติหลอกคนไทยโอนเงินหลังตีสนิทผ่านเฟซบุ๊ก จับได้ยกขบวนการ
  • ตำรวจใช้สายลับสาวทำทีเป็นนางนกต่อไปล่อซื้อ ยาเสพติดจนสามารถรวบตัวแก๊งค์ค้ายาได้สำเร็จ
  • นางนกต่อสุดแสบ ลวงแฟนเก่าให้แฟนใหม่รุมกระทืบ หนุ่มวัย 24 ปี ถูกอดีตแฟนสาวที่เลิกราไปนานกว่า 3 ปี ลวงไปใหม่แฟนใหม่รุมกระทืบ และยิงใส่อีก 1 นัด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยนกน้อยทำรังแต่พอตัว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. นกน้อยทำรังแต่พอตัว

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนกน้อยทำรังแต่พอตัว

ที่มาของสำนวน มาจากธรรมชาติการสร้างรังของนก นกจะสร้างรังตามขนาดตัวของมัน นกตัวเล็กจะสร้างรังขนาดเล็ก มันจะไม่สร้างรังที่ใหญ่เกินตัวมันมากนั่นเอง

นกแต่ละสายพันธุ์ก็ทำรังต่างกันไป นกเขาตัวใหญ่ก็ใช้กิ่งไม้ใหญ่หน่อย เพื่อรองรับขนาดของตัวที่ใหญ่ของมันและลูกๆ อยู่สูงหน่อย รังค่อนข้างเปิดๆ เพราะตัวใหญ่กันทั้งครอบครัว

นกตัวเล็กๆอย่างนกปรอดหน้านวลที่มาทำรังในหมวกกันน็อคที่แขวนไว้ ก็เป็นรังเล็กๆ ใช้เศษใบไม้ กิ่งไม้เล็กๆ สานเป็นรังที่สวยงามทีเดียว เป็นหลุมลึกเพื่อรองรับไข่และลูกนกที่ตัวเล็กไม่ให้หลุดออกมานอกรัง

ซึ่งวิธีการสร้างรังของมันก็จะต่างไปตามพฤติกรรมของนกแต่ละชนิด

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การจะกระทำการใดๆ ควรทำให้พอเหมาะ พอสมควรแก่ฐานะและความสามารถของตน ไม่ควรทำอะไรเกินตัว

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยนกน้อยทำรังแต่พอตัว

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตนกน้อยทำรังแต่พอตัว

  • นกน้อยควรทำรังแต่พอตัว การนำข้อที่คิดเช่นนี้มาสอนก็เพื่อให้ลูกหลานได้ตระหนักว่าจะทำอะไรก็ทำให้พอเหมาะพอดี และพอเพียงแก่ความต้องการของตนเอง หรืออีกนัยหนึ่งให้ใช้ความพอเพียงแก่ตนเองเป็นตัวกำหนดในการกระทำ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ทำอะไรเกินตัว และก่อความทุกข์ความเดือดร้อนแก่ตนเองโดยไม่จำเป็น
  • ก่อนจะตัดสินใจอะไรคิดให้ดีๆก่อนนะ อยากได้บ้านหลังโตราคาหลายล้าน ทั้งๆที่ตัวเธอยังมีภาระอื่นๆ อีกมาก จะผ่อนไหวหรือเปล่า ต้องคิดไว้บ้างนะว่านกน้อยทำรังแต่พอตัว
  • ดาวเรือง กับ ลั่นทม ทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวในบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งเธอทั้งสองมีรายได้ไม่มากนัก ดาวเรืองเช่าห้องพักเล็กๆ อยู่ไปก่อน ต่างจากลั่นทมที่ไปเช่าคอนโดหรู ๆอยู่ ทั้งๆ ที่ตนเองมีรายได้ไม่มาก
  • ผมไม่ไปอวดร่ำอวดรวย แข่งขันอะไรกับใครหรอก ผมก็มีเงินเพียงเท่านี้ซื้อรถคันเล็กๆ ให้เดินทางได้ไม่ลำบากก็เพียงพอแล้ว ยึดคตินกน้อยทำรังแต่พอตัว
  • นกน้อยทำรังแต่พอตัว คนทำรังตามความพอใจ หลายๆ คนมักเลือกให้ใหญ่ไว้ก่อน กะว่าเอาให้คุ้ม เผื่ออนาคต(เมื่อไหร่ก็ไม่รู้) ซึ่งพอใหญ่ไปบางส่วนของบ้านก็กลายเป็นพื้นที่ว่างเปล่า กลายเป็นวางของที่ไม่เป็นหมวดหมู่ไว้รวมกัน การทำความสะอาด การซ่อมบำรุงก็เยอะเกินจะดูแลไหว บ้านก็ทรุดโทรม

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยนกมีหู หนูมีปีก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. นกมีหู หนูมีปีก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนกมีหู หนูมีปีก

ที่มาของสำนวน มาจากนิทานเก่า สำนวนดั้งเดิมผู้แต่งคือ พระยาวิจิตร์ธรรมปริวัตร (คำ พรหมกสิกร) เล่ากันสืบต่อมา ดังนี้

เดิมค้างคาวได้อาศัยกินอยู่กับฝูงนก มีนกตัวหนึ่งเป็นนาย ครั้นอยู่มาวันหนึ่งนกที่เป็นนายสั่งให้พวกนกและค้างคาวที่เป็นบริวารให้ทำรังอยู่ ค้างคาวก็ไม่ทำตามคำสั่ง

นายนกจึงต่อว่าค้างคาวว่า “เราสั่งให้ทำรังอยู่ ทำไมจึงไม่ทำ” ค้างคาวก็เอาหูออกมาอวด แล้วพูดว่า “เรามีหู เราไม่ใช่พวกของท่าน เราเป็นหนูต่างหาก”

นายนกจึงตอบว่า “อ้าว! ถ้าท่านเป็นพวกหนู ก็ไปอยู่กับพวกหนูสิ”

ครั้นค้างคาวถูกไล่แล้ว ก็ไปอาศัยอยู่กับพวกหนู อยู่มาได้สักพักหนึ่งนายหนูก็สั่งให้พวกบริวารช่วยกันทำรูอยู่ ค้างคาวก็ไม่ยอมทำ นายหนูจึงว่า “เราสั่งให้ทำรูอยู่ ทำไมจึงไม่ทำ”

ค้างคาวก็กางปีกออกให้ดู แล้วพูดว่า “เรามีปีก เราไม่ใช่พวกของท่าน เราเป็นพวกนกต่างหาก” หนูจึงตอบว่า ” เมื่อเจ้าเป็นนก ก็ไปอยู่กับพวกนกสิ”

ค้างคาวก็กลับไปหานก กระพือปีกให้ดูแล้วบอกว่า “เราเป็นพวกนก” ฝ่ายนกจึงว่า “เอ๊ะ! เจ้าค้างคาวนี่พูดสับปลับ เมื่อเราสั่งให้ทำรัง ก็เอาหูออกอวด บอกว่าเป็นพวกหนู เดี๋ยวนี้สิ กลับเอาปีกออกมาอวด บอกว่าเป็นพวกนก เราไม่ยอมให้อยู่ด้วย”

ค้างคาวก็กลับไปหาหนู เอาหูอวดแล้วบอกว่า “เราเป็นพวกของท่าน” หนูจึงว่า ” เออ! เมื่อเราสั่งให้ทำรูอยู่ เจ้าก็เอาปีกออกมาอวดบอกว่าเป็นพวกนก บัดนี้สิ กลับเอาหูออกมาอวด บอกว่าเป็นพวกของเรา เจ้านี่สับปลับมาก เราไม่ยอมให้อยู่ด้วย”

เมื่อความนี้รู้ไปถึงนายนกและนายหนูทั้ง 2 ข้างว่าค้างคาวเที่ยวพูดตลบตะแลงมาทั้งสองแห่ง นายทั้ง 2 จึงปรองดองกัน นัดประชุมปรึกษาโทษค้างคาว

จึงตกลงพร้อมกันว่า ค้าวคาวนี้มีโทษมาก เพราะเที่ยวทำสับปลับตลบตะแลง ไม่ควรจะอยู่ในโลกต่อไป

ค้างคาวครั้นรู้คำปรึกษาดังนั้น ก็มีความเศร้าโศกมาก จึงอ้อนวอนขอโทษว่า ” ตั้งแต่นี้ต่อไปจะไม่ประพฤติตนสับปลับตลบตะแลงเช่นนี้อีกเลย

ที่ประชุมเห็นค้างคาวรู้สึกสำนึกความผิดของตัวเองเช่นนั้นแล้ว จึงยอมผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ให้ค้างคาวอยู่ในโลกได้ แต่ห้ามไม่ให้ใครคบหาด้วย แม้จะกินจะอยู่หรือนอน ก็ห้ามไม่ให้กิน ไม่ให้อยู่ ไม่ให้นอน เหมือนนกเหมือนหนู ให้ห้อยหัวกิน ห้อยหัวอยู่ ห้อยหัวนอน และห้ามไม่ให้ออกหากินในเวลาเดียวกันกับนกและหนูด้วย

นิทานเรื่องนี้จึงสอนว่า มนุษย์พวกที่ชอบเปลี่ยนข้างกลับกลอก เมื่อถึงคราวคับขัน พวกเขาสามารถที่จะประณามสิ่งที่พวกเขาเคยยกย่องได้ในทันทีทันใด

สำนวนที่คล้ายกัน นกสองหัว

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ทำอะไรกลับกลอก เข้าพวกกับทั้งสองฝ่ายเพื่อหวังประโยชน์ของตนเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยนกมีหู หนูมีปีก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตนกมีหู หนูมีปีก

  • โลกของตลาดหุ้น ตลาดทุน คนก็นกมีหู หนูมีปีกทั้งนั้น ต่างฝ่ายต่างหาประโยชน์เข้าตัวเองมากที่สุด นี่แหละโลกทุนนิยม
  • อย่างนายมันก็แค่นกมีหู หนูมีปีก ไม่ได้มีความจริงใจให้ใคร แค่หาผลประโยชน์เข้าตัวแค่นั้นแหละ
  • สรุปว่าคุณเป็นพวกใครกันแน่มัวแต่ทำตัวเป็นนกมีหู หนูมีปีก พอฝ่ายไหนมีประโยชน์ที่จะทำให้คุณถึงจุดหมายที่ต้องการก็ไปเข้าพวกกับฝ่ายนั้น ระวังคุณจะไม่ได้อะไรเลย
  • คนประเภทนกมีหู หนูมีปีก อย่าไปคบ พวกมันหวังจากเราแค่ผลประโยชน์ นอกจากนั้นไม่มีอะไรจริงใจเลย อยู่ให้ห่าง
  • โชคร้ายจริงๆ ดันได้แฟนเป็นคนนกมีหู หนูมีปีก คุยกับคนโน้นที คนนี้ที ไม่มีความจริงใจเลย แย่มากๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยนกยูงมีแววที่หาง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. นกยูงมีแววที่หาง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนกยูงมีแววที่หาง

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงนกยูงที่สวยงามนั้น ย่อมมีแววสวยงามที่หางของมัน เปรียบกับคนที่ดูดีทั้งภายนอก และภายใน ดูจากการแต่งตัว การกระทำ และนิสัยที่ส่งออกมา

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่เป็นผู้ดีมีชาติตระกูล มีฐานะทางสังคม จะมีลักษณะเด่นลักษณะที่ดีปรากฎออกมาให้สังเกตเห็นได้ เช่น กิริยามารยาท การวางตัว การพูดจา

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยนกยูงมีแววที่หาง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตนกยูงมีแววที่หาง

  • สมชายเขาเกิดมากำพร้า แต่เขาก็สู้ชีวิต สร้างตัวเอง จากจุดที่ต่ำที่สุด สู่สูงที่สุด นี่แหละยกนูงมีแววที่หาง คนจะยิ่งใหญ่มาจากจุดที่แย่ที่สุดก็ยิ่งใหญ่ได้
  • คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ในหน้าที่การงาน มักจะมีแววให้เห็นตั้งแต่ยังเด็ก เหมือนนกยูงมีแววที่หาง มีของดีในตัว
  • อย่างที่เขาว่านกยูงมีแววที่วงหางจริงๆ เด็กสาวคนนี้ไม่ว่าเธอจะทำอะไร อยู่ที่ไหน ก็มีกิริยามารยาทที่งดงามสมกับเป็นลูกผู้ดีมีชาติกระกูล เป็นที่โดดเด่นเสมอ
  • คนดีมีชาติตระกูลต่อให้ตกต่ำแค่ไหนก็ยังกลับขึ้นมาได้วันยังค่ำ นกยูงมีแววที่หาง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สง่างามเสมอ
  • นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เป็นคนที่มีแวว ดูดี มีชาติตระกูล พูดดี ทำดีจริงๆ นี่แหละนกยูงมีแววที่หาง ดูออกทั้งแววตา และบุคลิก

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยนกรู้ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. นกรู้

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนกรู้

ที่มาของสำนวน มาจากพฤติกรรมนก การที่นกสังเกตว่ามีเหตุการณ์ที่ผิดปกติวิสัย น่าจะมีเภทภัยอันตรายได้จึงรีบหลีกหนี หรือหลบซ่อนตัวให้ปลอดภัยไว้ก่อน อาทิเช่น นกกระจิบ นกกระจอก ตัวเล็กๆเมื่อเห็นเงาอะไรทอดลงมาก็จะรีบหลบซ่อนในสุมทุมพุ่มไม้ เพราะอาจจะเป็นเงาของนกเหยี่ยวที่จะเฉี่ยวโฉบจับไปเป็นอาหารได้

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ที่มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยนกรู้

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตนกรู้

  • เจ้าหน้าที่ตำรวจแถลงข่าวว่าราวกับนกรู้ ทำให้ผู้ต้องหาเผ่นออกนอกประเทศก่อนที่ตำรวจจะเข้าทำการจับกุม
  • โรงงานผลิตบะหมีกึ่งสำเร็จรูป เหมือนนกรู้ว่าจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองวิกฤต สินค้าบริโภคทั้งหลายจะขาดแคลน จึงเร่งผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาด
  • แกนี่มันนกรู้เสียจริง ทำไมถึงได้รู้แทบทุกครั้งเลยว่าลูกค้าจะมาไม้ไหนจะรับมืออย่างไร
  • เมื่อคืนตำรวจได้ตั้งด่านสกัดจับแก๊งค์ซิ่งมอเตอร์ไซค์ป่วนเมือง แต่เหมือนนกรู้ไม่มีพวกแก๊งค์ซิ่งมอเตอร์ไซค์หลงมาสักรายเดียว
  • สมชายเหมือนนกรู้ เซียนหวยเลขท้ายสองตัว ถูกเกือบทุกงวดเลย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. นอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย

ที่มาของสำนวน การเปรียบเหมือนการนอนคว่ำหน้า หัวหน้าและผู้จัดการ ก็จะมองเห็นลูกน้องในสังกัดว่ามีความเป็นอยู่และปฏิบัติงานเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าไม่ได้ใส่ใจเลย ก็จะทำให้ลูกน้องที่ทำงานอยู่เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อองค์กร หรือมององค์กรไปในทางที่ติดลบ

อยู่ต่ำให้นอนหงาย ก็จะเป็นในทางตรงกันข้ามจากคำที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ ถ้ามองภายในองค์กรหรือบริษัท ก็คือพนักงานในระดับล่างที่ต้องทำงานในหน้างาน จะต้องมีหน้าที่หรือมีพฤติกรรมทำงาน โดยการที่จะต้องเรียนรู้กระบวนการทำงานให้มากขึ้นกว่าที่ทำอยู่ ซึ่งจะต้องดูผู้ปฏิบัติงานรุ่นพี่ๆ ที่ทำงานได้ดี และต้องเรียนรู้ตามพนักงานที่มีระดับสูงกว่า เพื่อที่จะได้ทำงานที่รับผิดชอบให้ประสบความสำเร็จได้นั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่เป็นผู้นำหรือผู้ปกครองอย่าหลงลืมตน ควรก้มมองดูลูกน้องหรือคนที่ต่ำต้อยกว่าว่าเขาเป็นอย่างไร เอาใจใส่ดูแล ฟังเสียงเขาบ้าง ส่วนคนที่เป็นลูกน้องก็สมควรทำหน้าที่ให้เรียบร้อยไม่ให้มีข้อบกพร่อง ดูแบบอย่างจากเจ้านายเพื่อนำมาพัฒนาตนเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย

  • ถ้าต้องการจะก้าวจากนักขาย ไปเป็นผู้บริหารงานขาย ต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง จะต้องวางแผนการขายเป็น จะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้า ต้องสามารถจูงใจเพื่อนร่วมงานได้ ต้องรู้จักสรุปบทเรียนในการขาย ถ้าเป็นหัวหน้าแผนกอยู่แล้ว ควรมองเห็นว่า ผู้จัดการฝ่าย เขาต้องมีคุณสมบัติอย่างไร อย่าเพียงแต่ทำงานไปวันๆ นอนต่ำให้นอนหงายไว้ ถ้าทำโดยไม่เงยหน้าขึ้นดูว่า คนที่อยู่สูงกว่าเรา เขาจะต้องทำหน้าที่อะไร ต้องบริหารงานบริหารคนอย่างไรบ้าง ที่ให้มองไปข้างบนก็เพื่อเรียนรู้ว่า หากตนเองจะก้าวไปสู่จุดนั้นบ้าง จะต้องทำอย่างไร ไม่ใช่มีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ หนึ่ง โดยไม่รู้เหนือรู้ใต้ว่า ผู้บริหารนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
  • นอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย!! วลีสองวลีนี้ ไม่ใช่หยาบโลน ต้องเข้าใจให้ดี ลักษณะเช่นนี้โบราณเขาเปรียบว่า คนที่อยู่สูงๆ ไม่ว่าศักดิ หรือตัวเองที่เป็นเจ้าคนนายคน อย่ในสถานะดีกว่าคนอื่น ให้มองลงมายังคนที่มีระดับต่ำกว่าบ้าง
  • สุภาษิตโบราณที่ได้กล่าวไว้เพื่อเป็นการสอนคน ซึ่งเป็นทั้งผู้บริหารและพนักงาน เพื่อให้เกิดความตระหนักในการทำงาน บางครั้งก็จะเป็นการเตือนสติพนักงานที่เป็นพนักงานระดับบริหารไม่ให้หลงประเด็นไป โดยเฉพาะการสอนโดยใช้สุภาษิต จะทำให้เกิดความจำ และนำไปใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ นี่แหละนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงงาย
  • ที่ผมประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ได้เพราะยึดคำสอนของพ่อ ว่านอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย และยังคงปลูกฝังความคิดนี้ให้กับทุกคนในองค์กร ทำให้ทุกคนทำงานอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  • คนที่อยู่ในตำแหน่งสูง คนเป็นผู้บริหาร คนที่มีเงินเดือนมาก ว่าเมื่ออยู่ดีกินดี มีเกียรติแล้ว อย่าหลงลืมตัวต้องรู้สึกนึกเห็นว่า คนที่อยู่ต่ำกว่าคือ คนที่เป็นลูกน้องเป็นผู้ปฏิบัติงานระดับล่าง เขามีชีวิตความเป็นอยู่กันอย่างไร การทำงานเขาเดือดร้อนแค่ไหน จะได้มีโอกาสลงไปช่วยเขาได้ เพราะลูกน้องที่อยู่ข้างล่างนั่นเอง ที่เป็นฐานรองรับให้เรา ขึ้นมาอยู่ข้างบนเป็นผู้บริหารได้ ไม่มีลูกน้องก็ไม่มีฐานะ การเป็นผู้บริหารของเรา จะมองอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องลงไปสัมผัสแก้ไขปัญหาด้วย คนเป็นผู้นำนั้น จะต้องไม่แยกตัวออกจากความทุกข์สุขของลูกน้อง นี่เองคือสิ่งที่เรียกว่า นอนสูงให้นอนคว่ำ เพราะถ้านอนสูงแล้ว ยังมัวแต่นอนหงาย ก็จะไม่เห็นไม่รู้ว่าลูกน้อง เดือดเนื้อร้อนใจอะไร ผู้นำที่มีคลื่นความถี่ แตกต่างห่างไกลกับลูกน้อง อาจถูกเรียกว่า ผู้นำที่นั่งอยู่บนหัวคน จะเป็นผู้นำที่นั่งอยู่ในหัวใจคนไม่ได้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยนอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น

ที่มาของสำนวน มาจากการนอนหลับสนิท หลับเป็นตาย หรือหลับโดยไม่รู้เรื่องเลยว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หรือสำหรับคนที่ไม่ได้สนใจอะไรทั้งนั้น ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นอย่างไร โดยใช้คำว่านอนหลับอธิบายความเพิกเฉยดังกล่าวว่า ไม่ขอรับรู้หรือไม่ขอสนใจ คนที่นอนหลับสนิทที่เรียกว่าหลับลึกจะไม่รู้เรื่องราวใดๆที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะเกิดไฟไหม้บ้าน ถ้าไฟไม่ลุกลามถึงตัวก็คงจะไม่รู้เรื่อง จึงนำมาเปรียบเทียบกันคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ไม่รู้เรื่องราวใดๆที่เกิดขึ้น

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ มักใช้เป็นข้ออ้างเวลาไม่อยากรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้น นอนคู้ หมายถึง การนอนขดตัวงอมืองอเท้า

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยนอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตนอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น

  • บางคนอาจเป็นโรคซึมเศร้าด้วยการนอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น โดยไม่สนใจอะไรทั้งนั้น อาจจะเป็นปัญหาทางสมอง ต้องพาหาหมอด่วน
  • มีเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งชอบนำโทรศัพท์มาเล่นขณะครูกำลังสอน ทำให้ส่งเสียงดังรบกวนคนอื่นในชั้นเรียน แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมครูผู้สอนกลับนิ่งเฉย ทำเป็นนอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น
  • เว็บหนังเถื่อนละเมิดลิขสิทธิ์ ผิดกฏหมายขายกันอย่างโจ่งแจ้ง แต่ไม่รู้ว่าทำไมเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฏหมายกลับนิ่งเฉย ทำเป็นนอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น
  • แมวที่บ้านผมนอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น ไม่สนโลกอะไรทั้งนั้น นอกจากหลับแล้วตื่นมากิน แล้วก็หลับต่อ จนอ้วนพุงพลุ้ยเลย
  • เมื่อคืนแกไม่รู้เรื่องอะไรเลยหรือ ข้างบ้านทะเลาะกันเสียงดังเป็นฟ้าผ่า แกกลับนอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น เสียอย่างนั้น

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube