สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. เขียวๆ อย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเขียวๆ อย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์
ที่มาของสำนวน เปรียบถึงการเห็นหรือการเชื่อสิ่งที่เห็น โดยไม่ไตร่ตรองก่อน อย่างเห็นสีเขียวก็ตีโพยตีพายไปว่าเป็นพระอินทร์ เพราะพระอินทร์เป็นเทวดาที่มีกายสีเขียวนั่นเอง
ในรามเกียรติ์ เห็นเขียวๆ อย่าเพิ่งเชื่อว่าเป็นพระอินทร์ เพราะถ้าเจอยักษ์เขี้ยวใหญ่อย่างอินทรชิต ก็มีสิทธิถึงตายได้เหมือนกัน
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ อย่างไม่มีเหตุผล เห็นอะไรก็อย่าเพิ่งด่วนสรุป
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเขียวๆ อย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์
- นักการเมืองเลวๆ มีอยู่ไม่น้อย เวลาจะเลือกเขาเข้ามาในสภาฯ เราต้องพิจารณาให้ดี เขียวๆ อย่าเฉลียวว่าองค์อินทร์
- จะลงทุนซื้อของมาขายก็ไปศึกษาหาข้อมูลมาก่อน เห็นเขียวๆอย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์ ไม่ใช่ใครว่าอะไรด็ก็ซื้อมา
- วันนี้เด็กรุ่นใหม่ คงไม่ค่อยเข้าใจความหมาย สำนวนเขียวๆ อย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์กันแล้ว เทียบเคียงกับเรื่องสมัยนี้… เห็นอัศวินขี่ม้าขาว อย่าเพิ่งดีใจ ถ้าพิชิตคนพาล อภิบาลคนดีก็เป็นอัศวิน ถ้าหลงอำนาจโกงกิน ฟาดฟันคนดี ก็เป็นมหาโจร
- นี่เธอ…แค่เขาพาไปเลี้ยงข้าวมื้อสองมื้อ ก็มาบอกว่าเขาดีไปเสียหมด เธอยังรู้จักเขาไม่ดีพอเลย เห็นเขียวๆอย่าเฉลียวว่าเป็นพระอินทร์นะจ๊ะ
- เธอควรฟังความทั้งสองข้างอย่าทำตัวแบบเขียวๆ อย่าเฉลียวว่าพระอินทร์เข้าใจไหม