สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. เอาทองไปรู่กระเบื้อง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเอาทองไปรู่กระเบื้อง
ที่มาของสำนวน สมัยก่อนคือการเอาทองคำ (ซึ่งมีค่า) ไป “รู่” (ก็คือการเอาทองนั้นไปขีดเหมือนฝนแต่ถ้าฝนต้องหลายทีส่วนรู่คือทีหรือสองที) กับกระเบื้องซึ่งราคาแตกต่างกันมากๆ ทำให้ทองเสียรูปเสียทรงหรือเป็นริ้วรอยเป็นตำหนิ เสียราคาไป
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การลดตัวไปทะเลาะ โต้ตอบกับคนพาล คนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการกระทำที่ไม่สมควร มีแต่จะเสียศักดิ์ศรี
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเอาทองไปรู่กระเบื้อง
- คนใช้รถสมัยนี้มีแต่คนใจร้อน เห็นแก่ตัว คุณควรใจเย็นๆนะ อย่าเอาทองไปรู่กระเบื้อง มีเรื่องกับกับคนขับรถแบบนี้เลย จะมีแต่เสียกับเสีย
- พ่อแม่สอนไม่ให้ไปพูดจาตอบโต้กับคนที่มีนิสัยไม่ดี หรือ คนพาล เพราะมันจะเปลืองเนื้อเปลืองตัวเราฝ่ายเดียว อุปมาเสมือนดั่งว่า เราเอาทองไปรู่กระเบื้อง ทองก็มีแต่จะสึกหรอไปฝ่ายเดียว เพราะกระเบื้องมีความแข็งแรง และเนื้อหยาบ
- ไปมีเรื่องทะเลาะกับอันธพาล นี่เธอเอาทองไปรู่กระเบื้องชัดๆ ก็รู้ว่าคนพวกนี้เป็นอย่างไร ยังจะลดตัวลงไปยุ่งกับเขาอีก
- เกร็ดความรู้เอาทองไปรู่กระเบื้อง สมัยโบราณไม่มีเครื่องมือที่จะตรวจสอบคุณภาพทองคำ สมัยโบราณพ่อค้าทองจะมีหินสีดำเล้กๆ ติดตัวไปเวลาจะซื้อจะขายทองกัน พ่อค้าก็จะเอาทองนั้นมาของขีดที่หินที่ติดตัวไป (เป็นเส้นเล็กๆ เพื่อดูเนื้อทอง) แล้วตกลงราคากัน ทีนี้รอยขีดนั้นเป็นเส้น เลยกลายมาเป็นชื่อเรียกเครื่องหมายในภาษาไทยว่า ฝนทอง
- จำไว้นะลูก คนที่เติบโตแล้ว ใจเย็น นิ่ง และประสบความสำเร็จ ไม่เคยลดตัวไปยุ่งกับพวกขี้ยา เสเพล เด็ดขาด มันไม่มีทางที่คนดีๆ จะเอาทองไปรู่กระเบื้อง