สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. หวานนอกขมใน
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยหวานนอกขมใน
ที่มาของสำนวน มาจากกิริยาอาการภายนอกที่แสดงออกให้คนอื่นเห็นนั้น ดูเสมือนว่ามีความสดชื่นแจ่มใสหวานแหวว แต่ภายในที่คนมองไม่เห็นนั้นอาจทุกข์ระทมขมขื่น ซึ่งมันตรงกันข้ามกับสิ่งที่ได้แสดงออกมา
สำนวนที่คล้ายกัน หน้าซื่นอกตรม
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ พูด ทำ หรือแสดงให้เห็นว่าดีแต่ภายนอก แต่ในใจกลับตรงข้าม
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตหวานนอกขมใน
- หวานนอกขมใน นิยมใช้กับคนที่ทำอะไรหรือพูดอะไรไม่ตรงกับใจ ทำอย่างหนึ่งคิดอย่างหนึ่ง พูดอย่างหนึ่งคิดอย่างหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะโดยนิสัยหรือด้วยความจำเป็นก็ตาม
- ที่เขาต้องอยู่ตัวคนเดียวไม่มีใครคบแบบนี้เพราะ เป็นคนประเภทหวานนอกขมในจนทุกคนเขารู้กันไปทั่ว
- เธอต้องหวานนอกขมในแน่ๆ เลย ออกมาต้อนรับแขกอย่างปกติ ทั้งๆที่เป็นงานศพของสามีเธอเอง
- เธอนี่หวานนอกขมในเสียจริงๆ คิดว่าเธอเป็นคนดีมีความจริงใจ แต่จริงๆแล้วสิ่งที่แสดงออกมานั้นมีจุดประสงค์แอบแฝง
- อันหวานนอกบอกว่าน่าขมในอย่าท้อใจใคร่ลิ้มชิมสักหนปลายลิ้นแตะนั่นแหละดีอยู่ที่ตนรสหวานล้นค้นได้จริงสิ่งรู้มาสัมผัสบ้างข้างลิ้นไซร้ได้รสเปรี้ยวไม่ทันเคี้ยวเค็มเอี่ยวด้วยช่วยค้นหาก่อนจะกลืนลื่นลงไปคล้ายกินยาจึงรู้ว่าหน้าหวานนอกหลอกขมใน