สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ที่มาของสำนวน เป็นพุทธพจน์ที่มุ่งให้มนุษย์มีความเพียรในการทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง เชื่อมั่นในศักยภาพของการเป็นมนุษย์ที่สามารถลงมือทำได้ ดังเช่นพระพุทธองค์ที่ทรงเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่ยังสามารถพัฒนาจนพ้นทุกข์ ล่วงรู้ธรรมมากมาย และทรงนำพาผู้อื่นให้พ้นทุกข์ได้ตามไปด้วย
สำนวนที่คล้ายกัน ชาติเสือจับเนื้อกินเอง
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การจะทำการใดๆ พยายามทำด้วยตัวเองอย่างสุดความสามารถ และเพียรพยายาม ก่อนที่จะไปพึ่งพา ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เพราะในบางสถานการณ์ผู้อื่นก็อาจจะไม่สามารถช่วยเหลือได้
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
- ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นหลักในครองชีวิตตนเอง ดูแลตนเองไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนพ่อแม่พี่น้องเพื่อนฝูง หรือผลที่สุดที่จะไปกระทบต่อตนเองเดือดร้อนนั่นเอง
- ถ้าอยากชนะการประกวดเธอก็ต้องหมั่นฝึกซ้อม ฝึกฝน พยายามให้เต็มที่ เพราะตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ไม่มีใครช่วยเธอได้นะ อยู่ที่ตัวของเธอเอง
- พระพุทธดำรัสนี้ชี้ให้เห็นว่า ตนเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งของตนได้ เฉกเช่นการรับประทานอาหาร เมื่อตนรับประทานเอง ก็ย่อมอิ่มเอง จะอิ่มแทนผู้อื่นไม่ได้ และผู้อื่นจะรับประทานแล้วอิ่มแทนเราก็ไม่ได้
- การพยายามทำอะไรด้วยตนเองคนเดียว ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน อาจจะมีความยากลำบาก โดยเฉพาะในเรื่องการทำธุรกิจ แต่ก็เป็น เรื่องจำเป็นและมีความสำคัญ เพราะเมื่อกิจการใหญ่โตขึ้น หากมีปัญหาต่งๆ เกิดขึ้น ก็จะสามารถแก้ไขได้ ความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจ ต้องให้โตแบบปิรมิด การได้ผ่านอุปสรรคต่างๆ จะทำให้แข็งแกร่งรู้วิธีรับมือ
- ชีวิตจะสอนให้เราเติบโตด้วยความยากลำบากเสมอ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เพราะมีแต่ตัวเราเองทำให้ตัวเราดีขึ้นได้ โดยเริ่มจากความคิด และการลงมือทำอย่างจริงจัง