สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ พ. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยพูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
ที่มาของสำนวนนี้คือ เปรียบเปรยถึงการรอรับของรางวัลจากผู้มีอำนาจ หากพูดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกไปหากได้รางวัลก็จะได้เพียงเบี้ยจำนวนน้อยนิด แต่หากไม่พูดอะไรไปอยู่นิ่งๆ ก็จะไม่มีใครทราบข้อบกพร่องที่มีอยู่ ก็จะได้รางวัลมากกว่าเป็นตำลึงทอง
สำนวนไทยเก่าแก่ มีคำว่าเบี้ยใช้มากมาย เช่น พูดไปสองไพเบี้ย ขายหน้าวันละห้าเบี้ย สิบเบี้ยใกล้มือ หัวล้านหัวเหลือง หัวละเฟื้องสองไพ คำว่าเบี้ยจำนวนมากหายไปจากคำไทยในชีวิตประจำวัน เช่น เจ้าเบี้ย ซึ่งหมายถึงเจ้าหนี้ หัวเบี้ย หรือ คนทำหน้าที่จัดการในบ่อนพนัน แต่สำนวนพื้นถิ่นบางพื้นที่ยังมีคำว่าเบี้ยอยู่ เช่น หม้ยเาบี้ย ของทางภาคใต้ แปลว่าไม่มีเงิน (หม้าย-ไร้) และโดยทั้วไปคำว่าเบี้ย ได้เปลี่ยนหน้าที่มาแทนหน่วยเงิน
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คำพูดบางครั้งหากพูดออกไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเองหรือคนรอบข้าง หากอยู่เฉยๆ ไม่พูดอะไรออกไปยังจะก่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า
ใช้ตัดพ้อ แบบพูดไปก็ไร้ประโยชน์ เพราะนิ่งเสียมีประโยชน์มากกว่า หนึ่งล้านสามแสนเท่า สำหรับบางคน บางกรณี
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตพูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
- สมชายยอมรับว่าต้องระมัดระวังการพูดของตนเอง เพราะบางเรื่องนิ่งเสียยังดีกว่า ยิ่งพูดสุดท้ายฝ่ายตรงข้ามอาจได้ประโยชน์ เข้ากับสำนวนพุดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
- บางกรณีถ้าพูดไปอาจจะได้ตำลึงทอง แต่ถ้าหากไม่พูดจะเสียหายมากกว่าสองไพเบี้ย หรืออาจจะเสียมากกว่าตำลึงทอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาพลักษณ์ ชื่อเสียง ศรัทธา และความน่าเชื่อถือ ดังนั้นยามที่ใครบางคนต้องเผชิญกับเรื่องราวอะไรบางอย่างที่จะมีผลต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียง ศรัทธาและความน่าเชื่อถือ อย่าเลือกที่จะเงียบ แต่จะต้องเลือกที่จะพูด
- บางครั้งการไม่พูดอะไรเลยก็ยังดีเสียกว่าพูดออกไป ดังสำนวนสุภาษิตไทยที่ว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
- ดนัยพยายามแก้ตัวเรื่องที่หนีเที่ยวกลางคืน เพื่อให้ภรรยาให้อภัย เพื่อนของดนัยเลยบอกกับดนัยว่า พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทองพยายามอยู่เฉยๆ น่าจะดีกว่า
- การสู้กันด้วยกฏหมายเมื่ออยู่ในศาลบางครั้งก็ต้องพูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ได้อย่างเสียอย่าง บางทีก็ต้องยอมแลกกันบ้าง!