สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตำข้าวสารกรอกหม้อ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตำข้าวสารกรอกหม้อ
ที่มาของสำนวนนี้คือ เพราะสมัยก่อนไม่ได้มีโรงสีข้าว / เทคโนโลยีในการสีเปลือกข้าวแบบในปัจจุบัน คนสมัยก่อนต้องตำข้าวเพื่อกระเทาะเปลือกออก อาจใช้เครื่องข้าวที่เป็นครกขนาดใหญ่ หรือใช้ครกเล็กๆ ตำเองในครัวเรือน ซึ่งใช้เวลานาน และใช้แรงมากกว่าจะได้ข้าวสารดีๆ มาหุงกิน โดยส่วนใหญจะนิยมตำไว้ทีละมากๆ ให้พอกินในครอบครัวสัก 3-5 วัน แต่คนที่ขี้เกียจจะตำข้าวเพียงวันต่อวัน หมดวันนี้วันต่อไปก็ต้องตำใหม่ กรอกหม้อข้าวเติมไปเรื่อยๆ สื่อว่าเป็นคนขี้เกียจ ไม่วางแผนชีวิตนั่นเอง
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การทำงาน/ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงผ่านๆ ทำให้จบไปครั้งเดียว ไม่มีการวางแผนถึงอนาคต เป็นการเปรียบเปรยว่าเป็นคนเกียจคร้าน ไม่ตั้งใจทำงาน ไม่วางแผนในอนาคต ทำให้ชีวิตอาจไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตำข้าวสารกรอกหม้อ
- ถ้าคุณยังทำงานไปวันๆ แบบตำข้าวสารกรอกหม้ออยู่อย่างนี้ ก็คงไม่ได้เจริญก้าวหน้าเหมือนคนอื่นเขาหรอก
- สำหรับคนที่ขี้เกียจทำงาน และไม่ค่อยจะนึกถึงอนาคน ก็มักจะทำงานแบบ ตำข้าวสารกรอกหม้อ ไม่มีเงินก็ไม่ทำงาน มีเงินก็จะหยุด ไม่ทำอะไร หากไม่มีทรัพย์สมบัติติดตัว ไม่มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ ชีวิตในบั้นปลายจะลำบากแน่นอน
- แม่ค้าร้านนี้เปิดร้ายขายอาหารเหมือนตำข้าวสารกรอกหม้อจริงๆ บางวันก็เปิด บางวันก็ปิด วันไหนฉันอยากจะกิน ไม่เคยจะได้กินเลย
- อย่าทำตัวเหมือนตำข้าวสารกรอกหม้อ สักวันหนึ่งถ้าไม่มีงาน ไม่มีเงินแล้วจะคุณจะรู้สึก
- ตำข้าวสารกรอกหม้อแท้ๆ พนักงานจอมขี้เกียจทำแผนงานบริษัทเกือบล่ม