สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กินปูนร้อนท้อง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยกินปูนร้อนท้อง
ที่มาของสำนวน มาจากคนเราเอาปูน (ปูนแดงที่กินกับหมาก) มาล่อให้ตุ๊กแกกินเข้าไป ซึ่งเมื่อมันกินมันจะมีอาการเมา งัวเงีย ส่งเสียงร้องแก๊กๆ พอคนได้ยินก็เหมาเอาว่ามันร้อนท้อง
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทําอาการมีพิรุธขึ้นเอง แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง
มักใช้กับคนที่กระทำความผิดแล้วกลัวว่าคนอื่นจะจับได้ว่าตนได้กระทำความผิดไว้ โดยแสดงอาการมีพิรุธ และแสดงอาการเดือดร้อนออกมาให้เห็นเอง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกินปูนร้อนท้อง
- ตำรวจได้ตั้งด่านตรวจรถที่ทำผิดกฏจราจร แต่คนขับแท็กซี่กินปูนร้อนท้อง อยู่ๆก็เสนอเงินให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนหนึ่งแล้วบอกว่ารีบ ทำให้ผิดสังเกตจึงทำการค้นรถปรากฎว่าพบยาบ้าซุกซ่อนอยู่
- กลอนกินปูนร้อนท้อง “กิน หมากพลูอาจพลั้ง กลืนปูน ปูน กัดปวดอาดูร เร่าร้อน ร้อน รนเท่าทวีคูณ ทำผิดไว้นา ท้อง ครืดคราดสะท้อน บ่งชี้ พิรุธ”
- เปรียบเทียบคนในสังคมที่ทำงานร่วมกัน เมื่อทำความผิด แล้วเกรงว่าคนอื่นจะจับความผิดของตนได้ อันที่จริง เฉยไว้ ก็ไม่มีใครรู้ แต่กลับแสดงอาการออกมาให้เห็นก่อนที่คนอื่นจะรู้ แบบนี้เรียกว่ากินปูนร้อนท้อง สมัยนี้ คนที่กินปูน ก็คือคนแก่ที่กินกับหมาก แต่ในสังคมของคนในวัยทำงาน ไม่ได้กินหมากแล้ว จึงลืมสุภาษิตนี้เสียแล้ว
- ถ้าคุณไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร รีบออกตัวปฏิเสธพัลวันแบบนี้ เข้าเรียกว่ากินปูนร้อนท้อง
- คนมีพิรุธยังไงก็เก็บอาการไม่อยู่ ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน ตำรวจก็สามารถจับไต๋ได้หมด คนเราเวลาทำผิดมักจะเก็บอาการไม่อยู่เสมอ เหมือนกินปูนร้อนท้องนั่นแหละ มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์