สุภาษิตคำพังเพยก่อร่างสร้างตัว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. ก่อร่างสร้างตัว

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยก่อร่างสร้างตัว

ที่มาของสวนคือ อากัปกิริยาที่ทำให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือ เป็นรูปขึ้น หรือ ที่เราเรียกกันว่าก่อรูปทรง, โครง, ตัว หรือที่เราเรียกกันว่าร่าง และทำให้มีให้เป็นขึ้นด้วยวิธีต่างๆ กัน หรือที่เราเรียกกันว่าสร้างตน, ตนเองหรือที่เราเรียกกันว่าตน นั่นเอง ก่อร่างสร้างตัว ก็คือ การก่อสร้างสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้น หรือมีขึ้น เพื่อเริ่มต้นการประกอบอาชีพ เพื่อการสร้างเนื้อสร้างตัว และ การสร้างหลักปักฐานตั้งเนื้อตั้งตัว และสร้างความมั่นคงในครอบครัว เพื่อความสุขในวันข้างหน้า

สรุปความหมายสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้, เริ่มเป็นหลักเป็นฐาน มักใช้กับคนที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ กำลังเก็บสะสมทรัพย์สินเงินทองเพื่ออนาคตที่ดี บางครั้งก็ใช้กับคู่สามีภรรยาที่เพิ่งแต่งงานกันใหม่ ซึ่งกำลังช่วยกันสร้างฐานะของครอบครัวให้มั่นคง ในบางกรณก้ใช้กับบริษัทหรือกิจการที่เพิ่งเริ่มด้วยเช่นกัน

วัยที่เริ่มต้นของวัยชีวิตคู่สามี-ภรรยาจะร่วมมือร่วมใจกัน ประกอบสัมมาอาชีวะเพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง เรียกว่าช่วยกันก่อร่างสร้างตัว ถ้าคู่ใดไม่มีการก่อร่างสร้างตัว มีเท่าไรใช้เท่านั้น ไม่มีก็หากู้หนี้ยืมสินเขามาใช้ อย่างนี้อนาคตคงจะไปไม่รอด จึงนำมาอุปมาอุปไมยเปรียบ หมายถึง ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน กล่าวคือ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ สามีภรรยาคู่ใดคู่หนึ่งที่ได้ร่วมกันทำมาหากินอย่างขยันขันแข็ง จนตั้งเนื้อตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยก่อร่างสร้างตัว

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตก่อร่างสร้างตัว

  • เมื่อลูกได้เงินเดือนเดือนแรก จึงนำเงินนั้นมาให้กับแม่เพื่อเป็นสิริมงคล ฝ่ายแม่ก็พูดกับลูกว่าให้เก็บเงินนี้เอาไว้เถอะ ลูกกำลังอยู่ในช่วงก่อร่างสร้างตัว
  • รัฐบาลยุคสมัยนี้ไม่รู้จักการก่อร่างสร้างตัว รู้จักแต่ก่อสร้างหนี้สิน อะไรๆก็ได้แต่กู้ๆๆ กู้ในชาตินี้ ใช้หนี้ก็ยังไม่หมด ต้องตกทอดไปถึงชาติหน้ารุ่นลูกรุ่นหลาน จึงจะใช้หมด เฮ้อ! น่าอนาถแท้ๆประเทศไทย
  • สมชายและสมศรีร่วมชีวิตก่อร่างสร้างตัวกันมาจนมีเงิน มีครอบครัวที่อบอุ่น ญาติพี่น้องครอบครัวเห็นแล้วอบอุ่นใจดีจริงๆ เห็นแล้วปลื้มใจ
  • ชีวิตคู่ไม่ใช่ว่ากัดก้อนเกลือกันค่อยก่อร่างสร้างตัวด้วยกัน แต่มันหมายความว่าทั้งฝ่ายชายแหละฝ่ายหญิงต้องเติมให้ตัวเองเต็มก่อน แล้วมาใช้ชีวิตร่วมกัน แต่ฝ่ายชายนี่แหละควรจะก่อร่างสร้างตัวด้วยตนเองมากที่สุด
  • ชายใดที่ก่อร่างสร้างตัวได้ด้วยตนเอง เปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ แข็งแกร่ง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใด มักเป็นที่หมายปองของสาวๆ เป็นธรรมดาอยู่แล้ว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้

ที่มาของสำนวนคือ เป็นสำนวนเชิงเปรียบเปรยว่าเมื่อเข้าครัวทำอาหารถ้าจะรอถั่วสุก งาก็คงจะไหม้เสียก่อน เปรียบเสมือนทำสองอย่างพร้อมกัน ทำแบบลังเลใจ แก้ปัญหาไม่ทัน งานแรกคือถั่ว งานสองคืองา ดูแต่ถั่ว แต่ไม่ทันการณ์งาก็ไหม้ไปเสียแล้ว

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงที ไม่ยอมตัดสินใจสักที ไม่กล้าตัดสินใจ หรือมัวแต่ลังเลใจ จนทำให้งานเสียหาย ทำให้แก้ปัญหาได้ไม่ทันการณ์ เมื่อได้อย่างหนึ่งแล้ว กลับต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป ไม่มีการวางแผนที่เป็นระบบ ดุจเอาถั่วกับงามาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้

  • ปัญหายาเสพติดในโรงเรียนเป็นปัญหารุนแรง น่าจะมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ไม่ใช่มัวแต่รอให้ครูสอนนักเรียนให้ตระหนักเรื่องโทษภัยของยาเสพติด ถ้ารอขนาดนั้นเด็กก็อาจจะติดยาไปกันหมดแล้ว กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
  • ตอนนี้พวกเราต้องรีบหาทางแก้ไขสถานการณ์ ไม่ใช่มัวแต่มาเถียงกันว่าเป็นความผิดของใคร กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้แล้ว บริษัทเราก็เสียชื่อเสียง ล่มจมกันพอดี
  • เต้ยเป็นคนชอบทำงานหลายอย่างพร้อมกัน และมักจะไม่ได้งานที่ดี ลูกค้าหลายๆ คนจึงยกเลิกงานไป เต้ยเป็นคนที่ว่ากว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ รับหลายงาน สุดท้ายก็เสียหลายงานเช่นกัน
  • ตอนนี้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมปฏิบัติการณ์แล้ว แต่ถ้าหากเราต้องรอผู้บังคับบัญชามาเซ้นต์อนุมัติ เกรงว่าจะไม่ทันการ เข้าทำนองกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
  • ข้อคิดจากสมชยทำให้รู้จักคำว่ากว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้จริงๆ สมชายเป็นคนโลเล ไม่กล้าตัดสินใจ แต่กว่าจะตัดสินใจได้ ก็เสียงานเสียการไปแล้ว แย่เลยแบบนี้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยกล้านักมักบิ่น ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กล้านักมักบิ่น

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกล้านักมักบิ่น

ที่มาของสำนวนคือ เปรียบเทียบกับมีดพร้าเหล็กกล้าที่มีความแข็งมากกว่ามีดปกติทั่วไป แต่ทุกสิ่งอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน แม้มีดพร้าจากเหล็กกร้าจะแข็งแกร่งมากเพียงใด สักวันก็ต้องเสื่อมสลายตามกาลเวลาบิ่นได้สักวัน เมื่อมันฟันเข้ากับสิ่งที่แข็งกว่าหรือเจอกับปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นสนิมกินได้ เช่นกัน

สรุปความหมายของสำนวนคือ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 “กล้านักมักบิ่น” หมายความว่า (สํา) ว. กล้าเกินไปมักจะเป็นอันตราย หรือทำตัวอวดฉลาดอาจจะต้องพบเจอกับอันตราย สำนวนนี่มักใช้เปรียบเปรยกับคนที่มีความกล้ามาก พร้อมที่จะชนกับทุกสิ่งที่เข้ามาขวางหน้า และแน่นอนว่าจะต้องมีสักครั้งที่เพลี่ยงพล้ำจนตัวเองได้รับอันตราย เปรียบเทียบกับมีดพร้า ดังนั้นเราควรที่จะทำตัวให้พอดี ไม่ตึง หรือหย่อนมากจนเกินไป อาจจะเป็นภัยกับตัวเองเข้าสักวัน ควรที่จะยึดหลักทางสายกลาง ประณีประนอมเป็นที่ตั้ง จะทำให้ชีวิตมีความสุขมากยิ่งขึ้น

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกล้านักมักบิ่น

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกล้านักมักบิ่น

  • สมศรีได้เตือนฉัตรชัยว่าเป็นเป็นคนกล้าได้มักบิ่น มักชอบลงทุนอะไรเสี่ยงๆ จนมาวันหนึ่งฉัตรชัยเจ๊งจากการลงทุน เขาเสียใจมากกับการกระทำของเขาเอง
  • เด็กชายสอมีนิสัยกล้าได้มักบิ่น ชอบขับรถเร็วเกินเหตุ พ่อแม่หวั่นกลัวลูกจะเกิดอุบัติเหตุในสักวัน จึงเตือนและต่อว่าเด็กชายสอยกใหญ่
  • นิสัยกล้านักมักบิ่น ทำให้คนประมาทไม่คิดหน้าคิดหลัง สุดท้ายก็ต้องเห็นจุดจบของตนเองอย่างน่าเศร้า
  • แต่ก่อนผมเป็นคนที่มีนิสัยไม่เกรงกลัวใดๆ มั่นใจในตัวเองสูงมากเกินไป จนมาวันหนึ่งผมก็ล้มลง ผมสูญเสียสิ่งที่ผมมีเกือบทุกอย่าง แต่ยังโชคดีที่ยังมีภรรยาและลูกๆ อยู่เคียงข้างเสมอมา ผมจะสู้ใหม่ และจะเลิกเป็นคนกล้านักมักบิ่น
  • ผู้ใดมีนิสัยกล้านักมักบิ่น ยิ่งต้องระวังการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก คนพวกนี้จะมีนิสัยมั่นใจในตัวเอง กล้าได้กล้าเสียกับทุกเรื่อง ซึ่งเป็นสิ่งไม่ดีเลยที่จะดำเนินชีวิตด้วยความเสี่ยงแบบนี้ ขอให้คิดได้ก่อนทุกอย่างจะพัง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยกลับหน้ามือเป็นหลังมือ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กลับหน้ามือเป็นหลังมือ

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกลับหน้ามือเป็นหลังมือ

ที่มาของสำนวนคือ อากัปกิริยาที่พลิกหน้าเป็นหลัง หรือ ที่เราเรียกกันว่ากลับ ด้านที่เป็นฝ่ามือ ด้านที่มีลายมือ หรือที่เราเรียกกันว่าหน้ามือ คำกริยาสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำหรือ ที่เราเรียกกันว่าเป็นส่วนที่อยู่ตรงกันข้ามกับฝ่ามือ หรืออยู่ตรงกันข้ามกับหน้ามือ หรือที่เราเรียกกันว่าหลังมือนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงกันข้ามกับสิ่งเดิมๆ นั่นเอง หน้ามือ คือด้านที่เป็นฝ่ามือ ด้านที่มีลายมือ ส่วนหลังมือคือส่วนที่อยู่ตรงกันข้ามกับฝ่ามือ หรืออยู่ตรงกันข้ามกับด้านที่มีลายมือ สรุปแล้วกลับหน้ามือเป็นหลังมือก็คือการเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้ามนั่นเอง จึงนำมาอุปมาอุปไมย หมายถึง เปลี่ยนแปลง หรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงอย่างสุดโต่งจากสิ่งที่เคยประพฤติปฏิบัติอยู่เดิมๆ ไปในทางตรงกันข้ามอย่างแท้จริง อุปมาเสมือนดั่งว่า กลับหน้ามือเป็นหลังมือหรือ พลิกหน้ามือเป็นหลังมือนั่นเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกลับหน้ามือเป็นหลังมือ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกลับหน้ามือเป็นหลังมือ

  • เด็กชายวิวัฒน์เป็นเด็กเกเร และประพฤติตนมั่วสุมเสพยาเสพติด จนถูกจับไปเข้าค่ายบำบัด เมื่อออกมาแล้วเขาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกลับหน้ามือเป็นหลังมือ กลายเป็นเด็กที่ประพฤติตนดี เอาใจใส่การเรียน ไม่ไปมั่วสุมกับใคร ทำให้พ่อแม่สบายใจมาก
  • นายสุขดีเป็นนักธุรกิจที่มีเงินมากมาย ทำธุรกิจหลายแห่ง อยู่มาวันหนึ่งชีวิตพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากพิษเศรษฐกิจ และเจ้าตัวติดพนันอย่างหนัก ทำให้ชีวิตนายสุขดีตกต่ำลงมาก น่าเศร้าใจแทนจากเคยมั่งมี มาวันนี้แทบไม่มีเหลือ
  • คนบางคนหลังจากมีชีวิตที่สบายสร้างตนเองได้แล้ว ก็กลับหน้ามือเป็นหลังมือ หยิ่งผยอง จองหองกับคนรัก ครอบครัว ถ้าวันใดไม่มีแล้วล่ะก็… ระวังจะไม่เหลือใคร
  • สุพิศถูกหวยรางวัลที่หนึ่ง ทำให้ชีวิตของสุพัศพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย
  • ไม่ว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรขอให้ใช้ชีวิตของเราอย่างดีที่สุด ไม่ว่าจะเหนื่อยลำบากแค่ไหน หรือชีวิตดีแค่ไหน ชีวิตคนเรากลับหน้ามือเป็นหลังมือได้เสมอ สิ่งสำคัญที่สุดเลยก็คือคนเราอย่าประมาทกับชีวิต

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยกลับเนื้อกลับตัว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กลับเนื้อกลับตัว

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกลับเนื้อกลับตัว

สำนวน กลับเนื้อกลับตัว, กลับเนื้อกับใจ, กลับบตัวกลับใจ เป็นสำนวนที่สื่อถึงคำอุทานที่นิยมใช้กัน ได้การเปลี่ยนตัวตนบุคคลหนึ่งจากแย่ๆ ให้กลับมาเป็นดี

ที่มา มาจากบทกลอนที่ว่า

กลับเนื้อกลับตัวที่เจ้าทำไป ขอให้คิดดูก่อน

เลิกทำชั่ว กลับตัวเสียที

คุณค่ามากมาย หากเจ้ากลับตัว

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เลิกทำความชั่วหันมาทำความดี สำนวนสุภาษิตคำพังเพยนี้ใช้ในการเตือนสติคนที่กำลังหลงผิดหรือทำความผิดอยู่ ให้ลดละเลิกทำความชั่ว เพื่อให้ชีวิตกลับมาเป็นปกติ และดีขึ้นกว่าเดิมโดยการกลับเนื้อกลับตัวหันมาทำความดี แทนที่จะทำความชั่วเหมือนเดิม ใช้เป็นการเตือนสติได้อย่างดีในการใช้ชีวิตทั้งตนเอง และบุคคลที่เรารัก หรือแม้แต่คนที่รู้จัก

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกลับเนื้อกลับตัว

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกลับเนื้อกลับตัว

  • กลับเนื้อกลับตัวเสียเพื่อน สิ่งที่นายทำ ผลที่ได้กลับมา มันไม่คุ้มหรอก เชื่อเราสักครั้งเถอะ
  • คนเราไม่ว่าจะทำตัวแย่ ไม่ดีแค่ไหน บางครั้งต้องมีสักวันหนึ่งที่เราจะต้องเจอเหตุการณ์ที่ชีวิตจะสอนเราให้ต้องกลับตัวกลับใจ ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดีตลอดไปหรอก
  • เอชอบระรานคนอื่นไปทั่ว หลังจากโดนฟ้อง เจ้าตัวเดินคอตกเข้าคุก หลังออกจากคุก มาทุกวันนี้ทำตัวดีขึ้นมาก คงจะกลับตัวเนื้อกลับตัว และคิดได้ หรือเข็ดแล้วละมั้ง
  • คนเราทุกคนมีทั้งดีและไม่ดี เคยทั้งดีทั้งชั่วกันมาหมด ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ มันอยู่ที่ใครจะคิดกลับเนื้อกลับตัวได้ต่างหาก
  • โอกาสดีๆ วันข้างหน้าจะไม่มีเหลือ ถ้าวันนี้คุณไม่ยังกลับเนื้อใจ
  • ผมเคยใช้ชีวิตเสเพลมาก จนใครต่อใครพากันไม่ชอบผม หลังจากที่ผมได้เห็นน้ำตาแม่ หลังจากวันนั้นผมสัญญากับตัวเองไว้เลยว่าจะกลับตัวกลับใจจะเป็นคนดี ตั้งใจทำมาหากิน มาดูแลครอบครัว และจะไม่ให้แม่เสียใจอีกเลย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยกระโถนท้องพระโรง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กระโถนท้องพระโรง

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกระโถนท้องพระโรง

ที่มาของสำนวนคือ คำว่ากระโถน หมายถึงภาชนะที่ใช้สำหรับบ้วนน้ำหมาก บ้วนน้ำลาย หรือทิ้งสิ่งของที่ไม่ต้องการ ส่วนคำว่า ท้องพระโรง หมายถึงห้องโถงใหญ่ในพระราชวัง หรือในวังของพระบรมวงศานุวงศ์ ใช้เป็นที่สำหรับขุนนางหรือข้าราชการเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระบรมวงศานุวงศ์

เมื่อใช้รวมกันว่า กระโถนท้องพระโรง ที่มาในสมัยก่อนคือ กระโถนใหญ่ที่ตั้งไว้ในท้องพระโรง หรือในศาลาลูกขุนใน ซึ่งเป็นที่ทำการของข้าราชการชั้นสูง กระโถนที่ตั้งไว้นี้ใช้เป็นที่สำหรับให้ใครๆ บ้วนน้ำลาย บ้วนน้ำหมาก หรือทิ้งชานหมากได้

สรุปความของสำนวนหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ บุคคลที่ถูกใครๆ รุมใช้อยู่คนเดียว หรือคนที่ใครๆ ก็ใช้งานได้ เป็นคนที่ใคร รุมใช้อยู่คนเดียว เป็นคนที่ถูกใช้เป็นที่ระบายอารมณ์ เป็นที่รองรับอารมณ์ของคนอื่นๆ เป็นคนรับเคราะห์หรือรับบาปแทนคนอื่น และเป็นบุคคลที่น่าสงสารมากที่สุด

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกระโถนท้องพระโรง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกระโถนท้องพระโรง

  • อะไรๆ ก็มาลงที่ฉัน เห็นฉันเป็นกระโถนท้องพระโรง ไปได้
  • เอเป็นคนน่าสงสารมาก เป็นคนเดียวในห้อง ที่เพื่อนร่วมห้องในโรงเรียนรุมแกล้งเขาตลอดเลย
  • ฉันไม่ใช่กระโถนท้องพระโรงของเธอนะ ที่เธอจะมาอารมณ์เสียแล้วจะมาลงที่ฉันอย่างเดียว อย่างนี้ฉันไม่ชอบ อย่าทำแบบนี้อีก
  • เวลาจะไปไหนทีไร มีแต่คนมาใช้เราตลอดเลย เฮ้อ! พวกเขาเห็นเราเป็นกระโถนท้องพระโรงหรือยังไงกันนะ
  • พักเที่ยงที่ทำงานเพื่อนๆ ในที่ทำงานชอบใช้บีไปซื้อข้าวตลอดเลย บีจะรู้หรือเปล่านะ ว่าตัวเองเป็นกระโถนท้องพระโรง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยกระต่ายหมายจันทร์ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กระต่ายหมายจันทร์

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกระต่ายหมายจันทร์

ที่มาของสำนวน หากเป็นเรื่องคำสุภาษิต กระต่ายหมายจันทร์ คงเปรียบเสมือน คนที่หมายปองกับคนที่สูงส่งกว่าตน ในที่นี้หมายถึงหน้าที่การงานหรือการเงินที่ดีกว่าตนเอง

แต่หากเป็นนิทานกระต่ายหมายจันทร์ ที่มีเรื่องราวมาจากการที่กระต่ายตัวหนึ่งหลงรักพระจันทร์ และคิดจะปืนขึ้นไปหาพระจันทร์ ซึ่งกระต่ายตัวอื่นๆ ไม่ได้เห็นด้วย เพราะรู้ว่าไม่มีทางที่กระต่ายตัวนี้จะปืนขึ้นไปหาพระจันทร์ได้ แต่กระต่ายตัวนี้เองก็ไม่ย่อท้อ พยายามหายอดเขาสูงเพื่อที่มันจะปืนขึ้นไปหาพระจันทร์ พอมันขึ้นมาได้สำเร็จ มันรู้สึกว่าได้เข้าใกล้กับพระจันทร์แล้ว แต่เจ้ากระต่ายเองก็ยังไม่พอใจ ยังรู้สึกว่าอยากที่จะเข้าใกล้อีก มันจึงพยายามปืนขึ้นไปบนต้นไม้ แล้วเอื้อมมือออกไปเพื่อจะจับพระจันทร์ตามที่มันต้องการ แต่แล้วมันก็ตกลงมาอย่างแรง มันได้แต่นอนมองพระจันทร์จนลมหายใจสุดท้าย

ในสมัยโบราณนำเอากระต่ายกับดวงจันทร์มาใช้ในคำพังเพยสำนวนนี้ โดยเฝ้ามองดูพฤติกรรมธรรมชาติของสัตว์เช่นกระต่าย ที่ชอบออกมาเล่นแสงจันทร์ในเวลาเดือนหงาย เดือนส่องสุกสว่างอยู่บนท้องฟ้าเปรียบเหมือนสตรีผู้สูงศักดิ์ กระต่ายก็คือชายฐานะ ต่ำต้อยที่มุ่งหมายปองดอกฟ้า ก็ได้แต่แลหา มิอาจเอื้อมมือถึงได้ สำนวนทันสมัย ในปัจจุบันก็คือ “หมาเห่าเครื่องบิน” กับ “หมาเห็นปลากระป๋อง” สำนวนนี้มีรากมาจากวรรณคดี

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ชายที่หมายปองหญิงสูงศักดิ์ ฐานะดีกว่าตัวเอง สำนวนดังกล่าวใช้ในการเตือนสติหนุ่มให้รู้จักในการประมาณตน ทำและคิดในเรื่องที่เป็นไปได้รักและชอบคนที่อยู่ในระดับเดียวกันอย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ จะทำให้ความรักนั้นอับเฉา และไม่มีความสุขในชีวิต การที่จะดันทุรังไปรักหรือชอบคนที่มียศศักดิ์สูงกว่าตนเองนั้นมีความเป็นไปได้น้อยมาก และไม่คุ้มค่าเพราะสรุปสุดท้ายแล้วก็มักไม่สมหวังอยู่ดี เพราะถึงแม้ว่าฝ่ายหญิงจะเล่นด้วยแต่ก็คงไปไม่ถึงขั้นได้แต่งงานกันเป็นแน่

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกระต่ายหมายจันทร์

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกระต่ายหมายจันทร์

  • นี่เอ นายไปพัฒนาตัวเองดีกว่า ไม่ใช่ทำตัวเป็นกระต่ายหมายจันทร์ เอาเวลาไปฝันถึงผู้หญิงในฝันคนนี้
  • แค่ได้แอบรักเธอข้างเดียว ฉันคงเป็นได้แค่กระต่ายหมายจันทร์
  • คำว่ากระต่ายหมายจันทร์ไม่ใช่มีแต่ในนิทาน ถ้ามันเกิดกับผู้ชายคนหนึ่ง ไม่สมหวังดั่งใจเขา แล้วเขาก็ต้องก้าวต่อไป น่าเจ็บปวดแต่เขาทำอะไรไม่ได้แล้ว
  • ผู้ชายคนหนึ่งรักผู้หญิงคนหนึ่งมาก แต่หญิงคนนั้นมียศสูงกว่าตัวเขาไปมาก ทางครอบครัวจึงกีดกันเขาทั้งสอง น่าเศร้ากับพ่อหนุ่มคนนี้จริงๆ เป็นได้แค่กระต่ายหมายจันทร์
  • เรามันแค่คนเดินดินธรรมดา เธอเป็นดั่งนางฟ้า สุดท้ายเราก็แค่กระต่ายหมายจันทร์ แพ้แบบหมดรูป

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยกระต่ายตื่นตูม ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กระต่ายตื่นตูม

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกระต่ายตื่นตูม

กระต่ายตื่นตูม สำนวนนี้เปรียบเสมือนกระต่ายเป็นสัตว์ที่ตกใจได้ง่าย เวลาตกใจก็จะตื่นตกจวิ่งไม่มีทิศทางเป็นที่มาของคำว่าตื่นตูม สำนวนนี้ยังปรากฏในนิทานอีสปเรื่องกระต่ายตื่นตูมอีกด้วย

มาจากนิทานอีสปเรื่องหนึ่งว่า มีกระต่ายตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ใต้ต้นตาล ขณะที่หลับอยู่ลูกตาลหล่นลงมาถูกตัวจนกระต่ายสะดุ้งตื่น จึงคิดว่าฟ้าถล่ม วิ่งไปบอกสัตว์อื่นๆ ว่าฟ้าถล่ม พวกสัตว์อื่นก็พากันตกใจกันใหญ่ ส านวน “กระต่ายตื่นตูม” จึงหมายถึง อาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ตรวจสอบ ให้แน่นอนเสียก่อน

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ กล่าวถึงบุคคลตื่นตกใจง่าย ยังไม่ทันหาสาเหตุให้ชัดเจนเสียก่อนแล้วโวยวาย หรืออาการที่ตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรเป็นอะไร

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกระต่ายตื่นตูม

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกระต่ายตื่นตูม

  • คืนหนึ่งที่หมู่บ้านข้าวหอม ทุกคนในหมู่บ้านต่างพากันหลับนอนตั้งแต่หัวค่ า ยายสายตื่นขึ้นมา กลางดึกไปเข้าห้องน้ำ พลันมองไปนอกหน้าต่างเห็นควันไฟลอยฟุ้งไปทั่วหลังกองฟาง ด้วยความตกใจจึงร้อง โวยวายคิดว่าไฟไหม้ “เจ้าข้าเอ๋ย ช่วยด้วย ไฟไหม้ ไฟไหม้” จนชาวบ้านแถวนั้นได้ยินเสียงยายสายต่างตกใจ แตกตื่นรีบวิ่งมาดู จะมาช่วยกันดับไฟ เมื่อมาถึงทุกคนจึงเห็นว่าควันไฟที่ลอยนั้น ไอ้ทองเด็กเลี้ยงควายใน หมู่บ้านก่อไฟทิ้งไว้ไล่ยุงให้ควายหลังกองฟาง ลุงมาถอนหายใจเฮือกใหญ่แล้วพูดว่า “ นี่ยายสายแกท าเป็น กระต่ายตื่นตูมไปได้ แค่ควันไฟ พวกข้าตกใจกันหมด คิดว่าไฟไหม้จริงๆ คราวหน้าคราวหลังมองดูให้ดีๆ เสียก่อนนะ” ยายสายท าหน้าเศร้าแล้วพูดว่า “ก็ข้าตกใจนี่หว่า ทีหน้าทีหลังข้าจะดูให้ดีๆ ข้าต้องขอโทษด้วย นะ” เมื่อเหตุการณ์ทุกอย่างปกติ ทุกคนจึงต่างแยกย้ายกันกลับบ้าน
  • กังวลอะไรให้มันน้อยๆ หน่อยเหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้นเลย ไปคิดถึงอนาคตซะแล้ว ทำตัวเป็นกระต่ายตื่นตูมไปได้
  • เอเป็นคนที่นิสัยขี้กระต่ายตื่นตูม ชอบคิดเรื่องเป็นเรื่องใหญ่อยู่เสมอ
  • นี่สมศรีเวลาตกใจก็เบาๆ หน่อยไม่ใช่ตกใจ อะไร นิดๆ หน่อยๆ ก็เป็นกระต่ายตื่นตูมแบบนี้ คนอื่นเขาพลอยตกใจไปด้วยหมด
  • เพื่อนของผมมักชอบขี้กลัวแบบกระต่ายตื่นตูมอยู่เสมอ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยกระต่ายขาเดียว ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กระต่ายขาเดียว / กระต่ายสามขา

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกระต่ายขาเดียว

กระต่ายขาเดียว สำนวนคุ้นๆ ที่กระต่ายขาเดียว แท้จริงแล้วสำนวนสุภาษิตกระต่ายขาเดียวนี้จริงๆ แล้วมันชื่อ “กระต่ายสามขา” ต่างหาก… ส่วนเหตุผลว่าทำไมคือ

ที่มาของสำนวน เรื่องของเรื่องก็คือ สำนวนนี้มีที่มาจากนิทานเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของเด็กวัดที่วันหนึ่งอยากเอาใจหลวงพ่อขึ้นมา จึงทำเนื้อกระต่ายย่างเพื่อจะไปถวายท่าน แต่ขณะที่ย่างนั้นเนื้อกระต่ายหอมยั่วยวนใจมากจนอดใจไม่ไหว เขาจึงแอบฉีกขากระต่ายออกมากินเองไปหนึ่งข้างซะงั้น!

เมื่อนำกระต่ายไปประเคนให้หลวงพ่อ หลวงพ่อเห็นขากระต่ายข้างหนึ่งหายไป จึงถามเขาว่ามีใครมาแอบกินไปก่อนหรือเปล่า เด็กวัดยืนยันหัวชนฝาว่าไม่มี เพราะกระต่ายตัวนี้มีสามขามาตั้งแต่แรกแล้ว ไม่ว่าหลวงพ่อจะถามกี่ครั้งเขาก็ยังตอบเช่นเดิม ว่ากระต่ายมีสามขาจริงๆไม่มีใครเอาอีกขาหนึ่งไปทั้งนั้นน…   จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า “ยืน(ยัน)กระต่ายสามขา” ในที่สุด

ส่วนเหตุผลที่มักมีคนจำสลับกับ “ยืนกระต่ายขาเดียว” นั้น เนื่องจากมีการละเล่นไล่จับของเด็กไทยอย่างหนึ่ง ที่ผู้ไล่จะถูกเรียกว่า “กระต่าย” และจะต้องกระโดดด้วยขาเพียงข้างเดียวเพื่อไล่จับผู้เล่นอีกฝ่าย ถ้าใครถูกจับได้ก็จะต้องกลายเป็นกระต่ายแทน ด้วยท่ายืนที่ไม่มั่นคง โงนเงนไปมาของกระต่ายขาเดียว จึงทำให้คนนำไปใช้ในความหมายว่า “ยืนยันด้วยข้อมูลที่ไม่แน่นอน” แทน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีสำนวน “ยืนกระต่ายขาเดียว” แต่อย่างใด

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ บุคคลยืนกรานความคิดตนเอง ไม่ยอมรับผิด ฉันไม่ได้ทำ ฉันเปล่านะ ยืนยันแบบข้างๆ คูๆ และไม่เปลี่ยนความคิด เช่น มีเหตุการณ์ไม่ชอบมาพากล ซึ่งใครๆ ก็เข้าใจอย่างหนึ่งเหมือนกันหมด แต่มีคนคนหนึ่งที่ยืนกรานหนักแน่นว่าไม่ได้เป็นอย่างที่คนอื่นคิดแน่นอน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกระต่ายขาเดียว

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกระต่ายขาเดียว

  • ธนายืนยันว่าตนไม่ได้ทำอะไรผิด ยังทำตัวเป็นกระต่ายขาเดียวอยู่ ทั้งๆ ที่ทุกคนก็เห็นตำตา
  • สมพงษ์ยึดความคิดของตนเองเป็นหลัก ทั้งๆ ที่ทุกคนต่างเห็นพ้องต้องกันว่าของสมศรีดีกว่า จากเหตุการณ์นี้สอนให้รู้ว่าสมพงษ์ทำตัวแบบกระต่ายขาเดียว
  • ถ้ายังทำตัวเป็นกระต่ายสามขาอยู่แบบนี้ระวังจะไม่มีชอบ ไม่มีใครคบ
  • บางครั้งคนเราก็ต้องยอมรับในสิ่งที่ตัวเองทำบ้าง ในเมื่อสังคมมีกติกา เราก็ควรเคารพกติกา ไม่ใช่ยังมาเป็นกระต่ายขาเดียวแบบนี้
  • กระต่ายสามขาเปรียบเสมือนบุคคลที่ไม่ยอมรับคนอื่น และก็ไม่ยอมรับตนเองด้วยเช่นกัน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยกระดี่ได้น้ำ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กระดี่ได้น้ำ

ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกระดี่ได้น้ำ

ที่มาของสำนวนนี้คือ ปลากระดี่มีรูปร่าง แบนข้าง คล้ายใบไม้ หัวมีขนาดเล็ก ปลายปากค่อนข้างแหลม ปากมีขนาดเล็ก มีครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใหญ่เห็นได้ชัด ซึ่งเป็นอวัยวะช่วยในการสัมผัส เป็นปลาที่พบได้ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่ พบทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก่ ปลากระดี่มุก ปลากระดี่นาง ปลาสลิด ปลากระดี่หม้อ เวลาได้น้ำแล้วจะมีอาการตัวสั่น

ความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ปลากระดี่เปรียบเสมือนคนที่เวลาดีอกดีใจจนเกินงาม เนื้อตัวสั่น ทำตัวแว้ดๆ ดีใจจนออกนอกหน้า โดยไม่สนใจว่าคนรอบข้างจะคิดยังไง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยกระดี่ได้น้ำ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกระดี่ได้น้ำ

  • เมื่อนางเอถูกหวย นางเอดีอกดีใจออกนอกหน้า แล้วเพื่อนๆ ก็แซวนางว่าเหมือนกระดี่ได้น้ำ
  • อย่าทำดีอกดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ คนรอบข้างจะมองเราไม่ดี จำไว้นะเธอ
  • นี่บีการที่เธอเหมือนปลากระดี่ได้น้ำ ผู้ชายดีๆ จะไม่ชอบเธอ รู้ไหม
  • วันนี้ฉันเสนอโปรเจคใหญ่ได้ หลังจากทำงานตรากตำมาหนัก เสียหยาดเหงื่อแรงกายไปก็มาก จะขอดีใจออกนอกหน้าแบบปลากระดี่ได้น้ำบ้างไม่ได้เหรอ
  • ประกระดี่ได้น้ำแล้วดิ้นฉันใด ฉันก็ดีใจเมื่อได้แซวผู้ชายฉันนั้น

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube