สุภาษิตคำพังเพยฆ้องปากแตก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฆ. ฆ้องปากแตก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฆ้องปากแตก

ที่มาของสำนวนนี้คือ เปรียบกับฆ้องที่ยังคงมีสภาพดี ปากฆ้องยังดี ไม่แตก เวลาตีฆ้อง เสียงก็จะความไพเราะ ดังกังวาน น่าฟังแตกต่างฆ้องที่ปากแตกแล้ว เสียงไม่ดี ก็เหมือนคนปากไม่ดี เก็บความลับไม่อยู่ ไม่ต่างอะไรกับ ฆ้องปากแตก เที่ยวโพนทะนาความลับคนอื่นไปทั่ว ฆ้องปากแตก เสียงย่อมฟังดูแปร่งประหลาดหูนั่นเอง

ความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่มีนิสัยปากโป้ง เก็บความลับสำคัญๆ เอาไว้ไม่ได้ พอไปรู้ความลับอะไรมาก็จะรู้สึกคันปากยิบๆ ที่จะเผยความลับให้คนอื่นได้รับรู้ ถ้าให้ได้รู้เรื่องอะไรหรือความลับของใคร ก็ได้รู้กันทั้งบางแน่นอน ศัพท์สมัยนี้นิยมเรียกกันว่าหอกระจายเสียงประจำหมู่บ้าน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยฆ้องปากแตก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฆ้องปากแตก

  • มีเรื่องอะไรอย่าไปเผลอเล่าให้หล่อนฟังนะ เพราะหล่อนเป็นพวกฆ้องปากแตก วันๆไม่ทำอะไร เอาแต่พูดนินทาเรื่องชาวบ้าน
  • หอกระจายเสียงเคลื่อนที่นั่นเอง ดังนั้นถ้าเจอคนประเภทนี้อย่าบอกอะไรที่เป็นความลับเป็นอันขาด เพราะไม่เพียงจะเอาเรื่องคนอื่นมาเล่าให้เราฟัง ความลับของเราเองก็คงไม่รอดปากเหยี่ยวปากกาไปได้
  • หากรู้ว่าตัวเองเป็นคนประเภทฆ้องปากแตก เก็บความลับไม่อยู่ ก็อย่าไปรับฟังความลับของใคร เพราะรู้แล้วมักจะเกิดอาการคันปาก ทนไม่ได้ ต้องเอาไปเล่าให้คนอื่นฟัง ประเดี๋ยวจะกลายเป็นว่า โดนต่อยปากแตกแทน
  • เจ้านายเริ่มไม่ไว้ใจคนที่เป็นฆ้องปากแตกเช่นเขา เพราะเขาเก็บความลับไม่อยู่กลัวว่าซักวันหนึ่งความลับของบริษัทจะไปเข้าหูฝ่ายตรงข้ามที่เป็นคู่แข่ง
  • ชาวบ้านก็รู้ดีว่าสมศรีเป็นคนปากสว่าง เป็นคนฆ้องปากแตก ชอบเอาเรื่องนั้นเรื่องนี้ไปเล่าให้คนในหมู่บ้านฟังเป็นประจำ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยโคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยโคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน

ที่มาของสำนวนนี้คือ โคแก่ที่มักจะชอบไปกินหญ้าที่มีต้นอ่อนๆ หรือเพิ่งแตกใบอ่อนหรือยอดอ่อนออกมา เป็นอาหารเพราะว่านุ่ม เคียวง่าย ย่อยง่าย มีกลิ่นหอม สำนวนนี้โบราณท่านเปรียบกับชายที่มีอายุมากแล้ว แต่ยังมีนิสัยตัณหากลับ เป็นพวกหัวงู มักมากในกามโดยเฉพาะกับผู้หญิงอายุน้อยๆ

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ชายสูงอายุที่ชอบผู้หญิงรุ่นสาว มักใช้กับคนแก่ที่มีนิสัยตัณหากลับไม่รู้จักแก่จักหนุ่ม ไม่ประมาณตนแก่กะโหลกกะลา เป็นพวกหัวงู มักมากในกามโดยเฉพาะกับผู้หญิงสาวที่มีอายุน้อยๆ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยโคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตโคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน

  • เสี่ยเล้งเป็นคนรวยประจำอำเภอ มีภรรยาและลูกหลายคน ลูกก็โตเรียนหนังสือจบกันเกือบหมดแล้ว ถึงจะอายุมากแต่เสี่ยเลี้ยงก็ชอบไปมีบ้านเล็กบ้านน้อย ชอบเลี้ยงเด็กสาวๆเอาไว้บำเรอตัวเองหลายคน หากได้ยินใครพูดว่าเด็กสาวบ้านไหนหน้าตาดี เสี่ยเล้งจะต้องเดินทางไปหาทันที เพื่อหาทางหว่านล้อมเอามาเป็นของตนให้ได้
  • การทำตัวเป็นโคแกชอบกินหญ้าอ่อน ชอบคบคนที่มีอายุน้อยกว่า เป็นเรื่องธรรมชาติของคนเรา หากเป็นคนโสดและมีรุ่นลูกรุ่น หลานมาชอบ ใจตรงกัน เกิดรักกัน ก็ไม่ผิด ถ้าจะผิดก็เป็นที่คนที่พูดแบบนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนที่อิจฉาคนอื่น อิจฉาที่ตัวเองไม่มี ความสามารถจะทำแบบนั้นได้
  • คดีพรากผู้เยาว์สมัยนี้เกิดจาก ผู้ใหญ่ที่ชอบทำตัวเป็นโคแก่ชอบกินหญ้าอ่อนกันทั้งนั้น
  • การคบคนที่ต่างวัยกันมาก ส่วนใหญ่เป็นโคแก่กินหญ้าอ่อน มักจะเกิดปัญหาความแตกต่างระว่างวัย ความคิดไปคนละแบบ คนแก่หรือโคแก่ อาจจะมีความหึงหวง หรือจับผิดอีกฝ่ายตลอดเวลา เพราะสิ่งที่อีกฝ่ายทำนั้น ตัวเองเคยผ่านมาแล้ว จึงรู้ว่าดีไม่ดี หากไม่ดี ก็จะค้านไม่ ยอมให้ทำ ส่วนหญ้าอ่อนหรือคนที่ต่างวัยกว่า ก็จะมีความคิดเป็นของตัวเอง คิดว่าเรื่องนั้นดี เรื่องนี้ดี แต่ไม่รู้จริง พอทำไปแล้ว เกิดปัญหาจึงจะยอมรับและเริ่มฟังความคิดเห็นของอีกฝ่าย
  • ชูชก พอได้ยิน พราหมณ์ผู้เป็นพ่อ นางอมิตดา ว่าจะยกลูกสาวมาชดใช้แทนเงินทองที่ได้ใช้ไปหมดแล้ว ก็ยินดีและพอใจ เพราะโคแก่ชอบกินหญ้าอ่อนอยู่แล้ว

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคาหนังคาเขา ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คาหนังคาเขา

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคาหนังคาเขา

ที่มาของสำนวนนี้คือ ปศุสัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นแรงงานและบริโภคอย่าง “วัว” และ “ควาย” มีความสำคัญต่อสังคมเกษตรกรรมมาแต่โบราณ มันจึงเป็นสัตว์ที่มีค่ามาก โจรผู้ร้ายจึงมักลักวัวควายไปขาย-เชือด จนเป็นที่มาของสำนวน “คาหนังคาเขา”

คาหนังคาเขาเป็นสำนวนที่ใช้เมื่อจับผู้ร้ายลักวัวควายไปเชือด เจ้าทรัพย์ตามจับได้ขณะเชือดพร้อมทั้ง “หนัง” และ “เขา” จึงเป็นที่มาของสำนวนดังกล่าว บ้างใช้ผิดว่า “คาหลังคาเขา” ที่ถูกคือ “คาหนังคาเขา” ใช้สำนวนนี้กันมาตั้งแต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์

สรุปความหมายของสำนวนนี้คือ จับได้ในขณะที่กำลังทำผิดหรือพร้อมกับของกลาง ต่อมาจึงได้นำสำนวนนี้มาใช้ในกรณีอื่นๆ ด้วย เช่น จับได้ในขณะที่กำลังทุจริตและพบของกลางอยู่ที่ผู้กระทำผิดหรือจับได้ว่ากระทำผิดโดยมีหลักฐานอยู่ในที่เกิดเหตุ เช่น เขาขโมยรถมาถูกตำรวจจับได้คาหนังคาเขา

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคาหนังคาเขา

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคาหนังคาเขา

  • คาหนังคาเขา! เจ้าหน้าที่บุกรวบพรานป่า จ.ตาก จับได้ขณะกำลังลักลอบตัดไม้เถื่อน
  • คงต้องจบกัน เมื่อฝ่ายหญิงรู้ว่าฝ่ายชายซุกผู้หญิงคนอื่นไว้ในห้อง เธอจึงบุกไปหาแบบจับได้คาหนังคาเขากันเลยทีเดียว
  • ผู้จัดการจับได้คาหนังคาเขา อดีตพนักงานย่องเงียบตอนกลางคืน ขโมยเงินในตู้เซฟ สารภาพทำมาแล้วสองครั้ง
  • จากเหตุการณ์ของหายในบ้านบ่อยๆ เจ้าของบ้านจึงติดกล้องวงจรปิดจึงรู้ว่า มีคนแอบเข้ามาเป็นประจำ จึงวางแผนกับเจ้าที่จับโจรแบบคาหนังคาเขาให้ได้
  • หัวใส! เจ้าของฟาร์มน้ำผึ้งจับได้คาหนังคาเขาว่าหมีชอบมาขโมยน้ำผึ้งของเขา แต่เจ้าของฟาร์มพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส วางน้ำผึ้งหลายสูตรให้หมีกิน ถ้าหมีชิมอันไหนก่อนแสดงว่าอันนั้นอร่อย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคางคกขึ้นวอ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คางคกขึ้นวอ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคางคกขึ้นวอ

ที่มาของสำนวนนี้คือ เปรียบกับคางคกเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีรูปร่างคล้ายกบแต่หนังหยาบขรุขระน่าเกลียด จึงมักเปรียบกันคนต่ำต้อย วอ เป็นยานที่มีหลังคาเป็นรูปเรื่องใช้คนหาม สมัยก่อนขุนนางมียศถาบรรดาศักดิ์จะเดินทางไปที่ใดมักจะนั่งวอ มีข้าทาส บริวารหาม

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดีแล้วก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว ลืมชาติกำเนิดตัวเอง ดูถูกเหยียดหยามสิ่งที่ตัวเองเคยเป็น นิยมใช้เปรียบเทียบคนที่มีนิสัยทำนองวัวลืมตีน เมื่อได้ดิบได้ดี มียศศักดิ์เป็นเจ้านายเพราะตำแหน่ง กลับวางตัวไม่น่าคบพอได้ดีแล้วก็ลืมตัว เย่อหยิ่ง เชิดหัว ชูหัว ไม่มองใคร ไม่ให้เกียร์ติใคร เหมือนคางคกขึ้นวอ ลืมตัวลืมกำพืด ลืมชาติกำเนิดตัวเอง ดูถูกเหยียดหยามสิ่งที่ตัวเองเคยเป็น คนแบบนี้คบไม่ได้ และไม่สมควรที่จะคบหามาเป็นมิตร เพราะว่ามักจะดูถูกผู้อื่นอยู่เป็นประจำ จนทำให้คนรอบข้างรู้สึกรำคาญ และรังเกียจ

ถือกันว่า คนที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ไม่เป็นที่นิยมของสังคม ตรงกันข้าม คนที่อ่อนน้อมถ่อมตน คนที่ขี้อาย คนที่ไม่กล้าแสดงตน มักถือกันว่า เป็นคนดี คนสุภาพ เป็นที่นิยมในสังคมไทย คนดีจึงมักหลบอยู่ข้างหลัง ไม่กล้าแสดงตน ไม่กล้าอวดตน ปัจจุบันคงต้องมีการสั่งสอนหรืออบรมให้เยาวชนมีความกล้า กล้าแสดง กล้าอวด แต่ต้องกล้าในทางที่ถูก กล้าในทางที่ไม่เป็นภัยแก่ตน กล้าแสดงความเป็นตัวของตน แต่ต้องมิใช่กล้าจนเกินขอบเขตของความพอดี และความงามตามวัฒนธรรมไทยด้วย ที่มาของสำนวน คางคกขึ้นวอน่าจะมาจาก เป็นการเปรียบเทียบกริยาของคนที่พอได้ดีมักแสดงกริยาอวดดีลืมตัวกับคางคก ที่ลักษณะประจำของคางคกมักจะเชิดหัวชูคางเวลาที่เกิดอะไรขึ้นกับมัน โดยมีเรื่องเล่าว่า

คางคกตัวหนึ่งได้ตามเสด็จพระราชาโดยพระองค์ทรงเมตตาให้นั่งบน วอพระที่นั่งด้วย ครั้นเมื่อคางคกกลับมายังหมู่บ้านของตน คางคกก็ยังเชิดหัวชูคอทำท่าเหมือนยังนั่งอยู่บนวอของพระราชา….

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคางคกขึ้นวอ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคางคกขึ้นวอ

  • นายนานะเดิมเป็นคนยากจนมาก ต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบเพื่อหาเลี้ยงปากท้อง อยู่มาวันหนึ่งโชคดีได้สามีรวย ตนเองเลยรอดพ้นจากความยากจนมาได้ แต่แทนที่จะเอาความยากจนในอดีตมาเป็นบทเรียน กลับหลงระเริงกับทรัพย์สินเงินทองที่มี อวดร่ำอวดรวย ลืมกำพืดอันยากจนของตนเองเสียหมดสิ้น
  • ดาราบางคนถูกมองว่าเป็นคางคกขึ้นวอ เมื่อก่อนเคยอยู่ในสลัม พอมาเป็นดาราดัง ได้ดีแล้วท่าทีก็เปลี่ยนไป ทำตัวเรื่องมาก ดูถูกคนอื่นเสมอๆ
  • ชาตรีเป็นคนที่มาฐานะยากจน พอสอบติดข้าราชการพอมียศฐาบรรดาศักดิ์ก็เริ่มลืมตัว หยิ่งผยองจองหอง อย่างกับคากคกขึ้นวอ
  • สมศักดิ์กับสมศรีแต่งงานใช้ชีวิตคู่กันมา พอมีพอกิน พอสมศักดิ์ถูกหวยมีเงินมากมาย เริ่มออกลายไม่สนใจครอบครัว ไปเลี้ยงดูผู้หญิงอื่น ลืมคนที่สร้างมาด้วยกัน นี่มันคางคกขึ้นวอชัดๆ
  • ข้าราชการบางคนก็ไม่ได้มาจากฐานะสูงศักดิ์อะไร แต่ทำไมชอบทำตัวเป็นคางคกขึ้นวอ ดูถูกประชาชนและชาวบ้าน?

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคอหอยกับลูกกระเดือก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คอหอยกับลูกกระเดือก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคอหอยกับลูกกระเดือก

ที่มาของสำนวนนี้คือ การทำงานร่วมกันของอวัยวะในร่างกายของเรา คอหอยกับลูกกระเดือก นั้น โดยอวัยวะทั้งสองนั้นอยู่ใกล้กัน และทำงานสัมพันธ์กันอย่างดีจนแทบจะแยกกันไม่ออกว่า อันไหนคอหอย อันไหนคือลูกกระเดือกนั่นเอง ส่วนมากมักใช้แทนในความสัมพันธ์ของคนที่เข้ากันได้ดี จนแยกไม่ออก

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การเข้ากันได้เป็นอย่างดี มากเสียจนแยกไม่ออก มักใช้ในของสองสิ่ง หรือคนสองคนนั้นสามารถเข้ากันได้อย่างดี เหมือนกับสำนวนที่คล้ายกันคือ เป็นปี่เป็นขลุ่ย ที่หมายถึง ถูกคอกัน, เข้ากันได้ดี, เช่น พูดเข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคอหอยกับลูกกระเดือก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคอหอยกับลูกกระเดือก

  • สองทหารผ่านศึกสนิทแนบแบบคอหอยกับลูกกระเดือก จนถึงขนาดสามารถกอดคอร่วมกันไปรบ
  • พวกนายสองคนนี่มันเหมือนคอหอยกับลูกกระเดือก จริงๆ นะ ถ้าไม่รู้จักฉันนึกว่าเป็นพี่น้องกันแล้ว
  • สหรัฐฯ กับอังกฤษ เป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นเหมือนคอหอยกับลูกกระเดือก เพราะผู้นำด้านชาติโลกเสรี
  • สองคนนี้ไปไหนมาไหนด้วยกันตลอดอย่างกับคอหอยกับลูกกระเดือก แยกกันไม่ออกจริง ๆ
  • จี๊ดกับจ๊ะทั้งสองเป็นแฝดกัน ชอบแต่งตัวเหมือนกัน แถมมีไลพ์สไตล์คล้ายกันราวกับคอหอยกับลูกกระเดือก แทบแยกกันไม่ออกจริงๆ สองคนนี้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด

ที่มาของสำนวนนี้คือ เป็นสำนวนที่ใช้คำตรงตัว มักใช้กับคนที่มีความรู้ มีประสบการณ์มาก ผ่านร้อนผ่านหนาวมาไม่น้อยแล้ว หรือจบการศึกษาสูง แต่ไม่สามารถดำรงชีวิตเพื่อให้ผ่านอุปสรรคต่างๆ ได้ ล้มลุกคลุกคลานอยู่เรื่อยไป หรือไม่ก็ไม่รู้จักการใช้ความรู้ของตนให้เป็นประโยชน์ หรือใช้ผิดทาง จนความรู้ที่มีไม่สามารถช่วยให้ชีวิตของตนเองดีขึ้นได้

สรุปความหมายของสำนวนนี้คือ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือมีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ หรือถึงแม้จะมีความรู้อยู่กับตัวมากมาย แต่ก็ไม่สามารถเอาตัวให้รอดได้ในสถานการณ์นั้นๆ นั่นเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด

  • นี่เพื่อนชาย แกนี่เรียนมาเสียเวลาเปล่าๆ มีความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอดจริงๆ
  • อาทิตย์เรียนจบปริญญาโท แต่หางานทำไม่ได้ ทางครอบครัวบอกอะไรที่พอทำได้ก็ทำไปก่อน แต่อาทิตย์ติดกับอีโก้ตนเอง ถ้างานที่ไม่ตรงสายก็ไม่เอา แถมยังขอเงินครอบครัวใช้ นี่แหละน้าความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดจริงๆ
  • นี่เธอ ดูผู้ชายคนนั้นซิ เจ้าของบริษัทใหญ่เลยนะ จบเมืองนอกมา แต่ไม่น่าเชื่อว่าจะล้มละลายได้ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดแท้ๆ
  • บางครั้งความจริงของชีวิตไม่ได้อยู่ที่การศึกษาจริงๆ บางคนเรียนไม่จบแต่เป็นเจ้าของกิจการได้ บางคนเรียนจบสูงมีแต่ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอดก็มี
  • ปริญญาไม่ใช่สิ่งการันตรีความสำเร็จได้ ดูจากสังคมทุกวันนี้จบสูงแต่ตกงานก็เยอะ เข้ากับสำนวนที่ว่าความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดจริงๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคลุมถุงชน ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คลุมถุงชน

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคลุมถุงชน

ที่มาของสำนวนนี้คือ ในเมืองไทยสมัยก่อน การแต่งงานที่มีการควบคุมแบบเข้มงวดจากพ่อแม่มักจะเกิดขึ้นกับครอบครัวที่มีหน้ามีตามีฐานะดีเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านชาวช่องทั่วๆ ไป ไม่ค่อยจะมาใส่ใจควบคุมว่าลูกหลานตัวเองจะไปหาคนแบบไหนมาเป็นคู่สมรส

พ่อค้าฮอลันดาที่เดินทางมาอยุธยาตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม ได้เล่าถึงธรรมเนียมการแต่งงานของคนไทยสมัยนั้นเอาไว้ว่า

“ชาวสยามมีพิธีแต่งงานหลายอย่าง สำหรับผู้มั่งมีมีหน้ามีตาการแต่งงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่ เพื่อนฝูง และต้องมีการแลกของมีค่ากัน พิธีแต่งงานนั้น ไม่มีพิธีศาสนามาเกี่ยวข้อง แต่มีการละเล่นสนุกสนาน และมีการเลี้ยงดูกันอย่างครึกครื้นคู่สมรสย่อมมีสิทธิ์จะแยกจากกันได้ทุกเมื่อถ้ามีเหตุผลเพียงพอ”

การคลุมถุงชนจึงเกิดขึ้นเมื่อสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น ครอบครัวต่างๆ จึงใช้กลไกการแต่งงานเพื่อประโยชน์ในการรักษาสถานะทางสังคมหรือการเมือง เป็นธรรมเนียมที่ปรากฏอยู่ในบรรดาชนชั้นสูง และผู้มีฐานะเป็นส่วนใหญ่ ก่อนที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปจะเอาอย่างบ้าง

ส่วนคำว่า “คลุมถุงชน” จะถูกใช้แทนการแต่งงานด้วยการจัดแจงของผู้ใหญ่ตั้งแต่เมื่อไหร่นั้น ผู้เขียนก็ไม่รู้แน่เหมือนกัน แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นคำที่เกิดขึ้นเมื่อมันกลายเป็นธรรมเนียม “ตลาดๆ” ที่คนทั่วๆ ไปคุ้นเคยเป็นอย่างดีแล้ว เนื่องจากคำว่า “คลุมถุงชน” นั้นน่าจะมีที่มาจาก “บ่อนไก่” ดังที่ ภาษิต จิตรภาษา นักเขียนผู้รอบรู้ด้านภาษาไทย เคยอธิบายไว้ว่า

คลุมถุงชน มาจากการชนไก่ แต่ก่อนการเอาไก่ไปบ่อนเพื่อไปชนนั้น เขาจะเอาถุงคลุมไปแต่บ้านเพื่อกันไก่ตื่น, เมื่อถึงบ่อนก็เปิดถุงออกเอาไก่เปรียบแล้วชนกัน แต่เจ้าของไก่บางคนกระสันมาก เห็นเพื่ออุ้มไก่มายังไม่ทันเปิดถุงดูรูปร่างหน้าตาก็ท้าชนเลย เมื่อตกลงกันก็เปิดถุงปล่อยเข้าสังเวียนชนกันเลย ไม่มีข้อแม้เล็ก-ใหญ่ หนุ่ม-สาว ที่ไม่เคยรู้จัก-รักใคร่กันมาก่อน, พ่อ-แม่จัดให้อย่างไรก็เอาอย่างนั้น มันเหมือนกับการชนไก่แบบนี้ จึงเรียก ‘คลุมถุงชน’

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือการแต่งงานที่เกิดขึ้นโดยการตัดสินใจของพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ โดยที่คู่สมรส อาจจะสมัครใจหรือไม่สมัครใจก็ได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคลุมถุงชน

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคลุมถุงชน

  • สมชายและสมศรีต่างเป็นหนุ่มสาวโสดอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ครอบครัวทั้งสองก็มีความสนิทกันเลยจับทั้งคู่คลุมถุงชนให้แต่งงานกันไปเลย
  • ไม่แค่เฉพาะในประเทศไทย วัฒนธรรมหลายประเทศแต่โบราณนิยมให้หาคู่ให้โดยการคลุมถุงชน
  • โบว์ไหนๆ เธอก็หาแฟนไม่ได้ซักที อายุก็เริ่มเยอะจนจะขึ้นคานแล้ว แบบนี้ให้พ่อแม่คลุมถุงชนเถอะ อยู่ๆ ไปเดียวก็รักกันเองแหละ
  • เฮ้อ! ฉันขอปรึกษาเธอหน่อย พ่อแม่ฉันจะจับคลุมถุงชนกับผู้ชายที่ฉันแทบไม่รู้จัก และไม่ชอบเลย ฉันก็ไม่รู้จะบอกพ่อแม่ฉันยังไงดี เธอช่วยฉันคิดหน่อยนะ
  • แม้ว่าการคลุมถุงชนอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เต็มใจของเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว แต่แปลกที่มีอัตราการหย่าร้างน้อยกว่าการแต่งงานปกติมาก

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคลื่นกระทบฝั่ง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คลื่นกระทบฝั่ง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคลื่นกระทบฝั่ง

ที่มาของสำนวนนี้คือ เปรียบเปรยกับคลื่นทะเลแต่ละลูกเมื่อกระทบฝั่งแล้วล้วนจางหายไปหมดสิ้น ไม่มีลูกไหนเลยที่มีแรงเหลือพอจะกลิ้งกลับจากฝั่งลงสู่ทะเลอีกครั้งหนึ่งได้ จึงเป็นที่มาของสำนวนนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวนนี้คือ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือเรื่องราวใหญ่โตเกิดขึ้น แล้วก็เงียบหายไปในที่สุด เปรียบเปรยถึงเหตุการณ์สำคัญ เหตุการณ์ใหญ่ๆ ต่างๆ ที่ผู้คนต่างพูดถึงในวงกว้าง แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปในที่สุดเรื่องราวก็เงียบหายไปตามกาลเวลานั่นเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคลื่นกระทบฝั่ง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคลื่นกระทบฝั่ง

  • เมื่อครั้งที่อาทิตย์ เป็นกำนันของตำบลนี้ได้ใช้อำนาจในการคว้านซื้อที่ดินอันเป็นที่สาธารณะไว้มากมายจนตกเป็นข่าวขึ้นหน้าหนึ่งอยู่หลายวัน แต่ในที่สุดเรื่องก็เงียบหายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง นั่นก็เพราะเม็ดเงินมหาศาลที่กำนันใช้ในการปิดปากทุกฝ่ายนั่นเอง
  • คดีลูกนักการเมืองชื่อดังขับรถชนคนตาย สุดท้ายก็คงเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง อีกไม่นานคนก็คงลืม
  • วาฬใหญ่รายหนึ่งซื้อหุ้นบริษัทใหญ่อันดับต้นๆ ของไทย ทำให้เกิดข่าวใหญ่โต เป็นที่ฮือฮาแก่สื่อมวลชลอย่างมาก แต่พอไม่นานข่าวก็เริ่มเงียบหายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง
  • บางครั้งชีวิตเราต้องจัดการปัญหานี้กันอย่างเด็ดขาด อย่านิ่งเฉยให้เป็นแค่คลื่นกระทบฝั่ง ไม่อย่างนั้นปัญหามันก็จะคงมาเรื่อยๆ
  • ข่าวคาดการว่าเศรษฐกิจจะโลกดิ่งลงหนักที่สุดในประวัติศาสตร์ สุดท้ายมันก็มันเกิดขึ้นจริงๆ ประโคมข่าวเหมือนคลื่นกระทบฝั่งให้คนกลัว สุดท้ายมันก็ไม่เกิดขึ้นและจางหายไปเอง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ

ที่มาของสำนวนนี้คือ คนโบราณที่สอนในเรื่องการคบคน โดยดูจากโหงวเฮ้งหน้าตาว่าเป็นคนประเภทไหน แบบไหนตามความเชื่อต่างๆ ว่าคนหน้าตาแบบนี้จะนิสัยแบบไหน เปรียบเหมือนกับการเลือกซื้อผ้าให้ดูเนื้อ เนื้อผ้าต้องแน่น ต้องดี การทอต้องปราณีต ผ้านั้นๆ จะมีคุณภาพนั่นเอง

แต่สมัยนี้การจะตัดสินคนจากภายนอกอย่างเดียวนั้นไม่ได้แล้ว เราต้องดูจากภายในนิสัยใจคอด้วย

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542  “คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ” คือ จะคบเพื่อนหรือจะคบกับใคร หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบเสมอ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ

  • เข้าไปเรียนกรุงเทพก็เลือกคบเพื่อนหน่อยนะลูก จำไว้นะว่าลูกคบคนให้ดูหน้าซื้อผ้าให้ดูเนื้อ จะได้มีแต่เพื่อนดีๆ
  • จะรักใครชอบใครพ่อไม่ห้ามหรอกลูก แต่ต้องดูให้ดี อย่าดูแต่ภายนอก เหมือนที่โบราณท่านว่าไว้ว่าคบคนให้ดูหน้าซื้อผ้าให้ดูเนื้อ จำไว้นะลูก
  • จะรักใครชอบใครพ่อไม่ห้ามหรอกลูก แต่ต้องดูให้ดี อย่าดูแต่ภายนอก เหมือนที่โบราณท่านว่าไว้ว่าคบคนให้ดูหน้าซื้อผ้าให้ดูเนื้อ จำไว้นะลูก
  • จะคบใครก็ดูให้ดีก่อนนะ อย่างที่ผู้ใหญ่บอกคบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ คนในสังคมสมัยนี้อันตรายไว้ใจไม่ได้
  • เคยเตือนสมชายแล้วว่าคบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ อย่าไว้ใจใครง่ายๆ สุดท้ายก็โดนโกงจนได้ เฮ้อ! ทั้งๆ ที่เตือนเขาแล้วนะ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยคดในข้อ งอในกระดูก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คดในข้อ งอในกระดูก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคดในข้อ งอในกระดูก

ที่มาของสำนวนคือ มาจากการเปรียบเปรยนิสัยใจคอคดโกง กับความคดงอของอวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์ ข้อต่อของร่างกายมนุษย์สามารถคดงอ กระดูกสันหลังก็สามารถงอได้ เปรียบการคดงอเหมือนนิสัยคน โดยสำนวนนี้คล้ายกับสำนวน “หน้าซื่อใจคด”

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542  “คดในข้อ งอในกระดูก” คือกมลสันดาน เกิดมาก็ชอบคดโกง เปรียบเปรยคือคนไม่ซื่อสัตย์ มีนิสัยคดโกงเอาเปรียบผู้อื่นจนเป็นสันดาน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยคดในข้อ งอในกระดูก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคดในข้อ งอในกระดูก

  • เราไม่ควรคบหากับคนที่ คดในข้อ งอในกระดูก เพราะไว้ใจไม่ได้ และจะนำความเดือดร้อนมาให้
  • คนเราจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้ต้องมีความจริงใจ ซื่อสัตย์ ไม่คดในข้องอในกระดูก ไม่เช่นนั้นแล้วคุณจะหามิตรแท้ไม่ได้เลย
  • นักการเมืองคนนั้เป็นคนประเภทที่เรียกว่า คดในข้อ งอในกระดูก เราไม่ควรไว้ใจเขาเป็นอันขาด
  • เราไม่ต้องการผู้นำชุมชนที่ คดในข้องอในกระดูกอย่างคุณ คิดแต่จะเอาผลประโยชน์เข้าตัวเสมอๆ ไม่มีความจริงใจให้กับชาวบ้าน
  • พนักงานคนนั้นเป็นคนคดในข้อ งอในกระดูก ชอบยักยอกเงินบริษัท จึงถูกไล่ออกและถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube