สุภาษิตคำพังเพยชักหน้าไม่ถึงหลัง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ช. ชักหน้าไม่ถึงหลัง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยชักหน้าไม่ถึงหลัง

ที่มา สำนวนนี้มีที่มาจากการนุ่งผ้า หากผ้าที่นุ่งสั้นไปไม่สามารถหุ้มตัวได้ ก็จะหุ้มได้แต่ด้านหน้า ไม่ถึงด้านหลัง เมื่อนำสำนวนนี้มาใช้ คำว่า หน้า ในที่นี้ หมายถึงช่วงหน้า คือช่วงแรกของเดือน หลัง คือ ช่วงหลังของเดือน นั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ขัดสนเพราะรายได้มีไม่พอคุ้มกับรายจ่าย รายได้ที่รับมาเมื่อต้นเดือนไม่พอใช้ไปถึงปลายเดือน

ถ้ารายจ่ายน้อยกว่ารายได้แม้เพียงเล็กน้อย ก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เป็นหนี้เป็นสินใคร แต่ถ้ารายจ่ายมากกว่ารายได้แม้เพียงเล็กน้อย ก็จะต้องเป็นหนี้เป็นสินเขา เรียกว่า ชักหน้าไม่ถึงหลัง ถ้าชักหน้าไม่ถึงหลังทุกเดือนก็คงจะต้องเป็นหนี้เพิ่มและพอกพูนขึ้นไปเรื่อยๆ ฉะนั้น ถ้าต้องการมีชีวิตที่เป็นสุข ก็ต้องพยายามเพิ่มรายได้ขึ้น ลดรายจ่ายลง และดำรงชีพอยู่อย่างพอเหมาะพอสมแก่ฐานะและรายได้ของตน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยชักหน้าไม่ถึงหลัง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตชักหน้าไม่ถึงหลัง

  • ป้าจิตแกเป็นหม้ายมีลูกหลายคน แต่ละคนก็อยู่ในวัยเล่าเรียนทั้งนั้น ทุกวันนี้หลังจากเลิกงานทำความสะอาดที่โรงงาน แกยังจะต้องไปเข็นรถขายผลไม้อีก เพราะค่าใช้จ่ายในบ้านมากเหลือเกิน จนเงินทองที่หามาได้ไม่พอค่าใช้จ่าย
  • สมัยนี้จะใช้จ่ายอะไรต้องระวัง ข้าวของแพงขึ้นทุกปี แต่ค่าแรงไม่ขึ้นตาม เดี๋ยวจะชักหน้าไม่ถึงหลังเอา
  • นิตาฉันเตือนเธอแล้วนะว่าอย่าซื้อของแบรนด์เนมเยอะ เป็นไงชักหน้าไม่ถึงหลังเลยล่ะสิ ถึงได้มายืมเงินฉันตอนกลางเดือนเนี่ย
  • ราศีช่วงนี้การเงินติดขัด ชักหน้าไม่ถึงหลัง แนะวิธีแก้ดวง ราศีเมษ ช่วงนี้การเงินติดขัด ชักหน้าไม่ถึงหลัง เงินเข้ามาก็ไหลออกเหมือนน้ำผ่านมือ ใครที่สัญญาอะไรกับเราชอบเลื่อน
  • คนบางคน ชักหน้าไม่ถึงหลัง ไม่ใช่ว่ารายรับน้อย แต่เป็นคนใช้เงินเก่ง สร้างภาระ สร้างหนี้ไว้มากเกินไป ทำให้เงินไม่พอใช้ หากรู้จักใช้ขีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องเงิน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยชักแม่น้ำทั้งห้า ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ช. ชักแม่น้ำทั้งห้า

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยชักแม่น้ำทั้งห้า

ที่มาของสำนวนนี้คือ จากวรรณคดีเรื่องมหาชาติ แม่น้ำทั้งห้าคือแม่น้ำสายใหญ่ในอินเดีย 5 สาย ได้แก่ คงคา ยมุนา (อ่านว่า ยะ-มุ-นา) อจิรวดี (อ่านว่า อะ-จิ-ระ-วะ-ดี) สรภู (อ่านว่า สอ-ระ-พู) และ มหิ เมื่อชูชกจะทูลขอสองกุมารจากพระเวสสันดร ชูชกได้พูดจาหว่านล้อมยกยอพระเวสสันดรว่ามีพระทัยกว้างเหมือนแม่น้ำทั้งห้านั้น

เมื่อชูชกจะกล่าวขอสองกุมารต่อพระเวสสันดร ไม่ทูลขอตรง ๆ แต่นำเอาแม่น้ำทั้งห้ามาเปรียบ ว่าไหลแผ่สาขาเป็นประโยชน์แก่ฝูงชนอย่างไร  ก็เหมือนน้ำพระทัยของพระเวสสันดรอย่างนั้น

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ พูดจาหว่านล้อมหรืออ้างเหตุผลต่างๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ยกยอคนอื่นว่าเขาดีเลิศ เพื่อเราจะได้สมปรารถนา

นิยมใช้กับคนที่พยายามที่จะพูดจาเพื่อหว่านล้อมอีกฝ่ายให้เห็นด้วยกับตน เห็นใจตนเอง เพื่อให้การร้องขอของตนสัมฤทธิ์ผล

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยชักแม่น้ำทั้งห้า

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตชักแม่น้ำทั้งห้า

  • คุณต้องการอะไรก็บอกมาตรงๆ อย่ามัวชักแม่น้ำทั้งห้าอยู่เลย
  • อย่ามาชักแม่น้ำทั้งห้าให้เสียเวลาผม อยากเลิกกับผมก็บอกตรงๆ ไม่ต้องอ้อม
  • นายนทีพูดจาหว่านล้อมชักแม่น้ำทั้งห้ากับผู้จัดการเพื่อขอขึ้นค่าแรง
  • ชีวิตมันสั้นเกินกว่าจะรับฟังเรื่องที่มันไม่จริง เรื่องไร้สาระ ถ้าอยู่กับผมอยากพูดอะไรก็บอกตรงๆ ไม่ชอบให้ใครมาพูดแบบชักแม่น้ำทั้งห้าใส่
  • นายน้อยพยายามชักแม่น้ำทั้งห้าเพื่อให้นายแมนเห็นใจในความลำบากของตน เพื่อให้นายแมนผ่อนผันการชำระค่าเช่าที่ดินทำกิน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยชักใบให้เรือเสีย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ช. ชักใบให้เรือเสีย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยชักใบให้เรือเสีย

ที่มาของสำนวนนี้คือ เป็นการเปรียบเปรยกับที่ผู้อ่อนด้อยประสบการณ์ในการแจวเรือ ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปชักใบเรือ ทำให้เรือเปลี่ยนทิศทางไปในทางที่ผิดได้ มีที่มาจากการชักใบเรือหรือการกลับใบเรือของเรือต่อชนิดหนึ่งที่แล่นได้ด้วยกำลังลม โดยมีเสากระโดงสำหรับขึงผ้าใบเพื่อรับลมพาให้เรือแล่นไป หากกลับใบหรือชักใบเรือไม่ถูก เรือก็จะแล่นไปไม่ตรงตามจุดหมายหรือทิศทางที่จะไป อาจขวางหรือคว่ำทำให้เป็นอันตราย เรียกได้ว่า ชักใบให้เรือเสียนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวนนี้คือ พูดหรือทำอะไรขวางๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป การพูดหรือการกระทำที่แสดงออกมาในเหตุการณ์นั้นๆ ทำให้เรื่องในเหตุการณ์นั้นๆ ต้องออกนอกเรื่อง หรือผิดประเด็นออกไปในทางที่ไม่ดี โดยไม่คิดว่าจะส่งผลอย่างไรกับคนที่อยู่รอบข้าง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยชักใบให้เรือเสีย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตชักใบให้เรือเสีย

  • คนเขาจะรีบวางแผนทำงานกันอย่างจริงๆ จังๆ มาชักใบให้เรือเสียซะแล้ว และมีโคลงภาษิตโบราณที่จารึกไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามว่า “ชู้เขาจะกอดเข้า พัลวัน มาสอดกลางขวางกัน กีดหน้า ทานท่านจะให้ปัน กลับชัก เชือนแฮ ชนชาติตระหนี่บ้า ชักให้เรือเสีย”
  • แนนกับเพื่อนๆ กำลังคุยกันว่าจะลงขันกันเพื่อเปิดร้านสปา แล้วผลัดกันคุมร้าน จะได้มีรายได้หลายทาง เมื่อแอนได้ยินเข้า ก็พูดแทรกขึ้นว่า อย่าทำเลยธุรกิจประเภทนี้ ฉันเห็นเจ๊งมาหลายรายแล้ว
  • ถ้าไม่ช่วยทำอะไรให้ดีขึ้น ก็อย่ามาชักใบให้เรือเสียได้มั้ย
  • เห็นได้ชัดว่าทิศทางบริษัทเรากำลังไปได้สวย แต่คนบางคนกลับชักใบให้เรือเสีย ทำให้บริษัทเติบโตช้ากว่าที่ควรจะเป็น
  • ทิศทางการเมืองไทยกำลังไปได้ดี แต่นักการเมืองเตะตัดขา ชักใบให้เรือเสีย ทำให้ประเทศวุ่นวายพอสมควร

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยจุดไต้ตำตอ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ จ. จุดไต้ตำตอ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยจุดไต้ตำตอ

ที่มาของสำนวนนี้คือ ไต้ คือ ของใช้สำหรับตามไฟให้สว่าง หรือจุดเป็นเชื้อเพลิง ทำด้วยเศษไม้ผุ หรือเปลือกเสม็ดคลุกน้ำมันยางแล้วห่อด้วยใบเตย กาบ หมาก เป็นต้น ให้เป็นท่อนยาว ๆ หรืออัดใส่กระบอกไม้ไผ่โดยไม่ต้องห่อ ดังนั้นแสดงว่าคนที่จุดไต้แล้วยังเดินชนตอ แสดงว่าไม่เห็นจริง

“พระเอนเอกเขนกขึงรำพึงคิด ไม่แจ้งจิตเลยว่าเขามาขอ เหมือนตามไต้ในน้ำมาตำตอ เสียแรงถ่อกายมาก็อาภัพ”

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ บังเอิญไปพูดหรือทำสิ่งใดกับบุคคลที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นโดยผู้พูดหรือผู้ทำไม่รู้ การพูดการกล่าวถึงหรือนินทาในทางรัายหรือทำอะไรสักอย่างถึงบุคคลอื่น โดยผู้พูดไม่รู้จักคนนั้น ครั้นพอรู้ความจริงเข้า ดีไม่ดีผู้พูดอาจจะเคราะห์ร้ายหรือซวยเข้า

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยจุดไต้ตำตอ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตจุดไต้ตำตอ

  • นายอนันต์เก็บสร้อยคอทองคำได้เส้นหนึ่งที่หน้าประตูบริษัท แต่ไม่รู้ว่าเป็นของใคร จึงเอาเรื่องนี้มาปรึกษามานพซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงาน ปรากฏว่ามานพเพิ่งทำสร้อยคอของตนเองหาย หาอย่างไรก็ไม่เจอ และสร้อยเส้นที่อนันต์ตามหาเจ้าของก็เป็นของมานพเสียด้วย
  • นางสาวฝ้าย เป็นคนชอบนินทาคนอื่น และมักจะพูดอะไรโดยไม่สนใจว่าคนฟังจะรู้สึกอย่างไร บางครั้งคนที่โดนนินทาว่ากล่าวก็อยู่ ในบริเวณนั้น จุดใต้ตำตอ เลยทีเดียว ทำให้เพื่อนร่วมงานหลายคนไม่ชอบหน้า
  • นางมารศรีกำลังนินทาชาวบ้านอยู่กับนางสาวแมว บอกว่ามีใครก็ไม่รู้ทำผมร่วงไว้ในห้องน้ำเยอะมาก นิสัยไม่ดีเลย ใช้ไม่ได้ ทำไมไม่เก็บกวาดให้ดีก่อนออกจากห้องน้ำ แต่ปรากฏว่านางสาวแมวเองนั่นแหละที่เป็นผู้ทำผมร่วงไว้ในห้องน้ำ
  • บางทีเราก็พลาดทำอะไรที่ไปทำให้คนอื่นเดือดร้อนโดยไม่รู้ตัว ไปจุดใต้ตำตอ พูดบางอย่างที่ให้ร้ายหรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย พูดออก ไปโดยไม่รู้ว่าคู่กรณีก็อยู่ในวงสนทนาด้วย หากเป็นเรื่องไม่ร้ายแรงอะไร ก็อาจจะขำๆ สนุกสนานกันไป แต่หากเป็นเรื่องร้ายแรง ก็ไม่ ควรพูดเรื่องไม่ดีของคนอื่นให้ใครรู้ เพราะอาจจจะมีอันตรายมาถึงตัว
  • คนที่รู้ไม่จริงก็เหมือนจุดไต้ตำตอ ทำเหมือนกับรู้เรื่องๆ นั้นเป็นอย่างดี แต่สุดท้ายก็ไม่รู้เรื่องอะไรหรอก

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยจับเสือมือเปล่า ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ จ. จับเสือมือเปล่า

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยจับเสือมือเปล่า

ที่มาของสำนวนนี้คือ เปรียบเปรยกับการที่ต้องจับเสือซึ่งเป็นสัตว์อันตราย จำเป็นต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการจับเสือ เปรียบกับการจะทำอะไรซักอย่างโดยไม่ได้ลงเงิน หรือลงแรง แต่สามารถสร้างสิ่งตอบแทนกลับมาได้ เหมือนการจะจับเสือด้วยมือเปล่าอย่างไรอย่างนั้น

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ แสวงหาประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน อันหมายความว่าบุคคลที่คาดหวังในผลประโยชน์ที่จะได้รับ โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย ได้เงิน ได้กำไร ได้ทรัพย์สินมีค่า มาโดยไม่ต้องลงทุนเป็นตัวเงินเลย ไม่มีความเสี่ยง มีแต่ได้กับได้ นิยมใช้เปรียบเทียบคนที่มักหาผลประโยชน์หรือทรัพย์สมบัติเข้าตัวเอง โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไร

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยจับเสือมือเปล่า

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตจับเสือมือเปล่า

  • กำนันกฤษเป็นผู้มีอิทธิพลในตัวบลแห่งนี้ เป็นที่รู้กันว่าทุกครั้งที่มีคนติดต่อซื้อที่ในหมู่บ้าน แกจะต้องเข้าไปเอาส่วนแบ่งจากการซื้อขายนั้นๆ ทั้งๆที่แกเองก็ไม่ได้เป็นผู้ติดต่อ หรือประสานงานแต่อย่างใด
  • พี่จะไม่ช่วยผมทำงานบ้างเลยเหรอครับ แค่ถือหุ้นแล้วรับเงินเดือนกับเงินปันผล มันจะจับเสือมือเปล่าเกินไปหรือเปล่า ในขณะที่ผมทำงานงกๆ แต่ได้ผลประโยชน์เท่ากัน
  • คนฉลาดแกมโกงมักจะชอบ จับเสือมือเปล่า ทำอะไรโดยไม่ลงทุน ลงเงิน อย่างร้านค้าที่รับฝากขายสินค้า ไม่ได้ลงทุนผลิตสินค้า แค่ รับฝากขายเท่านั้น หากไม่ต้องเสียค่าเช่า ก็มีรายจ่ายน้อยมาก ในขณะที่ผู้ผลิตสินค้าต้องเสียค่าใช้จ่ายและแบกรับความเสี่ยง
  • ระวังนายคนนี้ไว้ให้ดี ชอบมาตีสนิทขอร่วมลงทุนแต่ไม่ลงแรงช่วยอะไรเลย แต่รับผลประโยชน์เท่าคนอื่น บางครั้งไม่ลงทุนด้วยนะ ชอบจับเสือมือเปล่า
  • การทำงานในปัจจุบัน โดยเฉพาะงานผ่านเน็ตมีหลายงานที่มีลักษณะเป็นการ จับเสือมือเปล่า อย่างการเป็นตัวแทนขายสินค้า โดย หากมีเฟสบุ๊คเพจ หรือเว็บไซต์ที่มีผู้คนเข้าชมจำนวนมาก ก็สามารถหาสินค้ามาขายได้ เป็นนายหน้าขายสินค้า ไม่ต้องลงทุนผลิตสินค้า เอง ไม่ต้องจัดส่งสินค้า เพียงแค่หาเงินมาซื้อสินค้าเท่านั้นเอง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยจับแพะชนแกะ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ จ. จับแพะชนแกะ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยจับแพะชนแกะ

ที่มาของสำนวนนี้คือ เป็นการเปรียบกับการเอาแพะมาชนกับแกะ เพราะว่าแม้แกะกับแพะเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายๆ กันอยู่บ้าง แต่แกะกับแพะเป็นสัตว์ต่างพันธุ์กัน ซึ่งปกติจะไม่เคยมีใครจับคู่มาชนกัน

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเพื่อให้เสร็จๆ ไป การทำการแก้ปัญหาเรื่องราวหนึ่งโดยเร่งด่วนเพื่อให้เหตุการณ์นั้นสามารถผ่านไปได้ก่อน โดยการแก้ปัญหานั้นจะเป็นลักษณะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนไม่มีความสมบูรณ์นัก

นิยมใช้อธิบายคนที่มีนิสัยชอบทำอะไรง่ายๆ หรือมักง่ายๆ จะทำอะไรก็ทำแบบขอให้ผ่านไป ไม่มีความพิถีพิถัน ทำพอให้เรื่องนั้นจบๆ ไปเท่านั้น ไม่ได้สนใจว่าผลจะเป็นอย่างไร หรือจะเกิดผลกระทบอะไรตามมา

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยจับแพะชนแกะ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตจับแพะชนแกะ

  • บางครั้งคุณก็ต้องรู้จักจับแพะชนแกะเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบ้าง ไม่เช่นนั้นงานก็จะไม่เดินหน้า ถ้าต้องรอให้ผมมาแก้ปัญหาให้ตลอด
  • นายเขียวมักจะจับแพะชนแกะประจำ เมื่อเพื่อนถามเรื่องต่าง ก็จะตอบว่า ไม่ทราบ
  • คนเขียนข่าวจากสำนักพิมพ์บางสำนัก ชอบเขียนแบบจับแพะชนแกะ เขียนแบบมั่วๆ ผิดๆ ถูก ไม่ตรวจสอบอักษร หรือการเรียบเรียงคำพูดเลย
  • วิชัยเป็นคนประเภทจับแพะชนแกะ นายสั่งงานอะไรมาก็ชอบทำแบบชุ่ยๆ ให้มันเสร็จๆ ไป เนื้องานเลยไม่ค่อยมีคุณภาพ ต้องมีคนตามแก้ให้ตลอด
  • บางครั้งการทำงานที่โดนกดดัน เร่งงาน ต้องจับแพะชนแกะไปก่อน สั่งงานใหญ่แต่จะเอาดีๆ เร็วๆ มันก็เป็นไปไม่ได้ เฮ้อ เหนื่อยใจ!

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยจับงูข้างหาง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ จ. จับงูข้างหาง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยจับงูข้างหาง

ที่มาของสำนวนนี้คือ งูเป็นสัตว์มีพิษ ถ้าจับหางมันอาจแว้งกัดและรัดผู้จับให้ตายได้ สำนวนนี้มักใช้เป็นคำห้ามว่าอย่าจับงูข้างหาง “จะให้มันรับว่าจริงยิ่งยากนัก จะซ้ำซักข้างเดียวก็ไม่ได้ มาจับงูข้างหางผิดอย่างไป มันจึงว่าได้ทุกสิ่งอัน”

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย โบราณท่านเปรียบไว้นักหนาว่าอย่าทำเป็นอันขาด เพราะว่าเป็นการกระทำที่ที่เสี่ยงอันตรายมาก เป็นภัยร้ายสามารถวกกลับมาหาตนเองได้ อาจจะเพราะความมักง่าย หรือใจร้อน ทำอะไรเร็ว ขาดความระมัดระวัง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยจับงูข้างหาง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตจับงูข้างหาง

  • นายเขียวไม่ชอบแมว เมื่อเห็นแมวจรจัดแอบเข้ามาในบ้าน ก็ไล่จับ แมวมุดไปใต้โต๊ะ ก็พยายามเอาแมวออกมาโดยลากหาง แมว ถูกลากหาก ก็เจ็บแล้วันมาข่วนและกัดได้แผลทำให้ต้องไปฉีดยาป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพราะการทำอะไรแบบไม่ระวัง จับงูข้างหาง จึงทำให้เจ็บตัวและเสียเงินเสียเวลา
  • นายน้อยพบว่ามีสุนัขจรจัดเข้ามาในบ้าน จึงออกไปไล่ด้วยมือเปล่า เมื่อสุนัขไม่ยอมออกไป จึงใช้มือลากสุนัขนั้นออกจากบ้าน เมื่อสุนัขโดนลากก็เจ็บจึงกัดเอาที่แขนของนายน้อย เป็นต้น
  • การเล่นกับหมาแปลกหน้า ต้องระวัง อย่าไปถูกเนื้อต้องตัว เพราะอาจจะถูกกัดได้ บางคนประมาท เพราะเลี้ยงหมา จึงคิดว่าตัวเอง เข้าใจหมาเป็นอย่างดี จึงถูกกัดบ่อยๆ ทำอะไรแบบ จับงูข้างหาง ก็เลยเจ็บตัว
  • การทุ่มหน้าตักใช้เงินลงทุนในตลาดคริปโตโดยไม่มีความรู้ ก็เหมือนการจับงูข้างหาง เพราะคุณมีโอกาสที่จะสูญเสียเงินทั้งหมดได้ในพริบตา
  • การจับงูข้างหางเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะโดยธรรมชาติของงู เมื่อถูกจับข้างหางจะแว้งมากัดได้ง่ายๆ จึงเป็นการเตือนให้ระวัง อย่าไปจับงูข้างหาง ต้องจับคอ กับงูบางชนิดอย่างงูหลาม งูเหลือม จับตรงไหนก็อันตราย ไม่โดนกัดแต่มีโอกาสถูกรัดได้เช่นกัน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเงยหน้าอ้าปาก / ลืมตาอ้าปาก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ง. เงยหน้าอ้าปาก / ลืมตาอ้าปาก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเงยหน้าอ้าปาก / ลืมตาอ้าปาก

ที่มาของสำนวนนี้คือ กิริยาอาการที่เงย หรือ แหงนหน้าขึ้น และ อ้าปาก ตามปรกติธรรมดาธรรมชาติของคนยากคนจนมีฐานะต้อยต่ำไม่ทัดเทียมผู้อื่นมักจะไม่ค่อยเข้าสังคมกับผู้ใด หรือ ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเข้าสังคมจริงๆก็มักจะนั่งก้มหน้ารับฟังคนอื่นพูด ไม่กล้าที่จะอ้าปากพูด เพราะรู้ตัวดีว่าเป็นคนจนจะต้องเจียมเนื้อเจียมตัว เรียกว่าไม่ต้องได้เงยหน้าอ้าปากเลย ส่วนคนที่มีฐานะดีทัดเทียมผู้อื่นก็จะเชิดหน้าชูคอพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำ

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน กล่าวคือผู้ที่เคยมีฐานะยากจนแล้วมีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อนๆ พอที่จะเข้าสังคมพูดคุยกับคนอื่นได้ ไม่ต้องไปนั่งก้มหน้ารับฟังเขาพูดแต่ฝ่ายเดียว อุปมาเสมือนดั่งว่า พอจะเงยหน้าอ้าปาก, ลืมตาอ้าปาก หรือลืมหน้าอ้าปากได้นั่นเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเงยหน้าอ้าปาก ลืมตาอ้าปาก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิต

  • บุญคุณของคุณลุงศักดิ์ฉันจะไม่ลืม ที่ฉันสามารถเงยหน้าอ้าปากได้ทุกวันนี้เพราะคุณลุงช่วยสอนวิชาอาชีพให้ ทำให้ฉันมีวิชาติดตัว ทำมาหาเลี้ยงตัวเองได้
  • ชาวนาที่ตกทุกข์ได้ยากจากการจำนำข้าวกับรัฐบาลนายกฯ เร่งจ่ายค่าจำนำข้าวให้ ทำให้พวกเขาลืมตาอ้าปากได้
  • เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปีที่แล้ว ทำให้ทุกวันนี้เกษตรกรก็ยังไม่สามารถเงยหน้าอ้าปากได้ เพราะไร่นาเสียหายไปเป็นจำนวนมาก
  • ฉันต้องทำงานหนักเข้าไว้เพื่อตัวฉันเอง สักวันหนึ่งฉันจะได้เงยหน้าอ้าปากได้
  • คนบางคนพอเงยหน้าอ้าปากได้ ก็หยิ่งผยองจองหองขึ้นมาทันใด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยงมเข็มในมหาสมุทร ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ง. งมเข็มในมหาสมุทร

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยงมเข็มในมหาสมุทร

ที่มาของสำนวนนี้คือ เป็นการเปรียบเปรยการหาเข็มชิ้นเล็ก ในมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ กับการทำงานที่สำเร็จได้ยาก เป็นการค้นหาสิ่งเล็กๆ ในบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การค้นหาอะไรบางอย่าง มีบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งยากแก่การค้นหา และแทบจะไม่มีโอกาสที่จะหาเจอเลย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยงมเข็มในมหาสมุทร

ตัวอย่างการใช้สุภาษิต

  • กรุงเทพฯ ไม่ใช่ เมืองเล็กๆ ถ้าคิดจะหาแมวที่หายไป เหมือนกับงมเข็มในมหาสมุทรชัดๆ
  • สมชายต้องการตามหาญาติที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพ โดยมีแต่ชื่อ ไม่รู้ที่อยู่ของญาติ การกระทำเช่นนี้เองที่โบราณท่านเปรียบไว้วว่าเหมือนดั่งการงมเข็มในมหาสมุทร โอกาสหาเจอแทบไม่มี
  • สังคมปัจจุบันหาคนเก่งและมีคุณธรรมมาดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ได้ยากเหมือนการงมเข็มในมหาสมุทร
  • การจะถูกหวยรางวัลที่หนึ่งก็เหมือนกับการงมเข็มในมหาสมุทรจริงๆ นะ เพราะโอกาสถูกไม่ถึง 0.1% บางคนหวังมาทั้งชีวิตก็ยังไม่ถูกเลย
  • การจะหาคู่ชีวิตที่เข้ากันได้ทุกอย่างก็เหมมือนงมเข็มในมหาสมุทรนั่นแหละ แต่การหาคนที่รู้จักปรับตัวเข้ากันก็ไม่จำเป็นต้องหาคนที่เข้ากันได้ทุกอย่างหรอก จริงไหม

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยฆ่าควายอย่าเสียดายพริก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฆ. ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฆ่าควายอย่าเสียดายพริก

ที่มาของสำนวนนี้คือ เปรียบเหมือนฆ่าควายทั้งตัวเพื่อจะปรุงอาหารมากๆ ก็อย่าเสียดายพริกที่จะต้องใช้แกงหรือผัด มิฉะนั้นอาหารจะเสียรสเพราะเนื้อควายไม่ได้สัดส่วนกับพริกแกง ทำให้รสชาติไม่อร่อย

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่ คนที่จะทำเรื่องที่สำคัญต้องใจถึง รอบคอบ ไม่ขี้เหนียว การทำงานใหญ่ อย่าตระหนี่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย ไม่เช่นนั้นอาจเสียการใหญ่ได้ บางทีเรียก “ฆ่าควายอย่าเสียดายเกลือ”

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยฆ่าควายอย่าเสียดายพริก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฆ่าควายอย่าเสียดายพริก

  • งานนี้สำคัญมากเราต้องลงทุนอย่างเต็มที่อย่าฆ่าควายเสียดายพริกเพราะเราอาจจะพลาดงานนี้ได้
  • อยากจะลงทุนต้องกล้าได้กล้าเสีย โลกนี้ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ อยากรวยต้องงเสี่ยง คิดจะทำแล้วฆ่าควายอย่าเสียดายพริก จำไว้นะน้อง
  • นี่ชาย ยามจะคิดทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน เราต้องไม่ลังเล ถ้าจะทำฆ่าควายอย่าเสียดายพริก ลงมือทำเลย ผลเป็นยังไงเดี๋ยวมาว่ากัน
  • อาทิตย์เป็นคนโล ไม่กล้าที่จะเสี่ยงกับการทำงาน คนแบบนี้ในสำนวนสมัยก่อนเขามักเตือนว่าฆ่าควายอย่าเสียดายพริก
  • อยากจะทำธุรกิจต้องศึกษาให้มากๆ ไหนๆ ก็มาทางนี้แล้วทุ่มให้สุดตัวไปเลย ฆ่าความแล้วอย่าเสียดายพริก ไปให้สุด พี่เชื่อมั่นในตัวเรานะ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube