สุภาษิตคำพังเพยข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย

ที่มาของสำนวน มาจากคำสอนโบราณจากศาสนา โดยมีเนื้อความว่า “ไม่มีใครเป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนายได้ เพราะว่าเขาจะชังนายข้างหนึ่ง และรักนายอีกข้างหนึ่ง หรือเขาจะนับถือนายฝ่ายหนึ่ง และดูหมิ่นนายอีกฝ่ายหนึ่ง ท่านทั้งหลายจะรับใช้พระเจ้าและเงินทองพร้อมกันไม่ได้” โดยสื่อถึงคนมีเจ้านายสองคนที่เจ้านายทั้งสองนั้นเป็นศัตรูกัน เป็นเหมือนคนนกสองหัว หรือเป็นคนที่หน้าซื่อใจคด ไม่จริงใจ

สรุปความหมายของสำนวนคือ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ คนที่รับใช้เจ้านายสองคนที่เป็นศัตรูกัน หรือคนที่คบไม่ได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย

  • สำนวน “ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย” เป็นทั้งสำนวนไทยและสำนวนสากลที่อมตะมา “ยาวนาน” เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำๆ ซากๆ อย่าง “ยาวไกล” ส่วนสำนวน “ไม่ขอเป็นข้าสองเจ้า ไม่ขอเป็นบ่าวหลายนาย” เป็นสำนวน “ล้อเลียน” สำนวนแรก
  • ฉันเห็นเขาทำตัวเป็น ข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย มาพักใหญ่แล้ว ทำไมถึงไม่มีใครคิดจะทำอะไรเขาบ้างเลยหรือ
  • คนที่ทำตัวข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย เป็นคนที่ไม่หน้าคบค้าสมาคมด้วย แค่รู้จักก็ไม่ควร คนพวกนี้มักจะแสวงหาประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ให้คุณค่าต่อคนอื่นเลย
  • นายนี่มัน ข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย เสียจริง ทำงานประจำแล้วยังไปรับงานนอกของบริษัทคู่แข่งมาอีก
  • ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย ไม่ขอรับ!! “พระยาพิชัย ยอมหัก ไม่ยอมงอ” ลั่นวาจา…”กูขอเป็นข้ารองบาท สมเด็จพระเจ้าตากสินแต่เพียงพระองค์เดียว”

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการพึ่งพาอาศัยกันของคน สังคมที่อยู่ คนโบราณสื่อถึงความเท่าเทียมในฐานะมนุษย์ ข้าหรือบ่าว(คนที่เป็นลูกน้อง)ก็ต้องพึ่งเจ้านายเพื่อจะได้มีงานทำ ส่วนเจ้านายก็ต้องพึ่งคนในการทำงาน เพราะทำคนเดียวคงเป็นไปไม่ได้

สรุปความหมายของสำนวนคือ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ คนที่มีฐานะต่างกัน แต่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย

  • ในโลกของธุรกิจข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย สำคัญมาก เพราะงานใหญ่ๆ ไม่มีทางเลยที่จะทำได้คนเดียว ถึงจะเก่งแค่ไหนก็ตาม
  • ฉันโชคดีมีเพื่อนบ้านที่ดี ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน อย่างที่เขาว่าข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย เมื่อคราวที่ลูกสาวฉันไม่สบาย เพื่อนบ้านก็ช่วยพาไปส่งโรงพยาบาลให้
  • ถึงผมจะชอบทำงานคนเดียว แต่งานนี้มันใหญ่เกินจะทำคนเดียวแล้ว นี่แหละคนเรา สุดท้ายก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันเหมือนข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย
  • องค์กรกับบุคคลากรก็เหมือนข้าพึ่งเจ้าบ่าวพึ่งนาย ต้องถ้อยทีถ้อยอาศัย พึ่งพากัน เพราะหากองค์กรไม่มีความเป็นธรรมก็คงไม่มีคนทำงานให้ และถ้าบุคคลากรไม่มีองค์กรก็ลำบากเหมือนกัน
  • ข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย ในโลกทุนนิยมต้องมีเจ้าของ และลูกน้อง ช่วยขับเคลื่อนองค์กร การขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป องค์กรย่อมไปข้างหน้าไม่ได้ ทั้งสองกลุ่มต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยข้างในไฟคลอก ข้างนอกวันทา ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ข้างในไฟคลอก ข้างนอกวันทา

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยข้างในไฟคลอก ข้างนอกวันทา

ที่มาของสำนวน สำนวนนี้แบ่งเป็นสองประโยคโดย ข้างในไฟคลอก คือ จิตใจโกรธจากภายในดุจดั่งไฟคลอก ข้างนอกวันทา คือ บุคลิกภายนอกยังดูปกติ เก็บอารมณ์ไว้ โดยคำว่า “วันทา” หมายความว่า ไหว้, แสดงอาการเคารพ เป็นสำนวนที่สื่อถึงการเก็บอารมณ์

สรุปความหมายของสำนวนคือ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ เก็บความโกรธไว้มิให้ผู้อื่นรู้ การระงับอารมณ์ แม้จะมีความโกรธอยู่ในใจ อย่าแสดงกิริยาอาการที่ไม่ดีออกมา

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยข้างในไฟคลอก ข้างนอกวันทา

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตข้างในไฟคลอก ข้างนอกวันทา

  • เกิดเป็นลูกผู้ชายต้องใจเย็น ต้องนิ่ง การจะเป็นผู้ชายที่แข็งแกร่งต้องเก็บอารมณ์ให้อยู่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถึงแม้ข้างในไฟคลอกร้อนแรงแค่ไหน ข้างนอกต้องวันทา
  • ผมว่าคุณควรจะระงับอารมณ์ให้ได้มากกว่านี้ จำไว้ว่าข้างในไฟคลอก ข้างนอกวันทา เพราะยังไงคุณก็ยังต้องติดต่อประสานงานกับเขาจนกว่าโครงการจะเสร็จ งานจะได้ไม่มีปัญหา
  • ตอนนี้ในใจผมทรมานมาก ดุจดั่งข้างในไฟคลอก ข้างนอกวันทา การถูกคนที่รักหักหลัง แต่ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่เก็บอารมณ์ มันเจ็บปวดจริงๆ แต่ผมต้องผ่านมันไปให้ได้
  • เธอเป็นผู้น้อยต่อให้โกรธแค่ไหนก็ไม่ควรที่จะแสดงกิริยาที่ไม่สมควรต่อหน้าผู้ใหญ่ ตามสำนวนที่ว่าข้างในไฟคลอกข้างนอกวันทา
  • ความโกรธมักมีความกลัวซ่อนอยู่เสมอ ในทางพุทธศาสนาความโกรธสามารถทำลายชีวิตเราได้เลย จงปล่อยวางและอดทน ถึงข้างในไฟคลอก ข้างนอกวันทา ไม่เป็นไร เดี๋ยวความโกรธ เกลียดมันจะหายไปตามกาลเวลา

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยของกินแมวอย่าเอาไว้ใกล้ฝา ของกินหมาอย่าเอาไว้ต่ำ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ของกินแมวอย่าเอาไว้ใกล้ฝา ของกินหมาอย่าเอาไว้ต่ำ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยของกินแมวอย่าเอาไว้ใกล้ฝา ของกินหมาอย่าเอาไว้ต่ำ

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงอาหารที่เป็นของชอบของแมวอย่าเอาไว้ใกล้กับฝา อาหารที่สุนัขชอบอย่าเอาไว้ในที่ต่ำ เพราะแมวและสุนัขสามารถที่จะเอาไปได้นั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวนคือ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ การจัดวางข้าวของให้เป็นระเบียบต้องพิจารณาว่า ควรเอาไว้ตรงไหนจึงจะเหมาะสม ของที่มีค่าหรือมีราคาควรระมัดระวังเก็บไว้ให้มิดชิด อย่าวางให้เป็นเครื่องล่อใจขโมย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยของกินแมวอย่าเอาไว้ใกล้ฝา ของกินหมาอย่าเอาไว้ต่ำ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตของกินแมวอย่าเอาไว้ใกล้ฝา ของกินหมาอย่าเอาไว้ต่ำ

  • ของกินแมวอย่าเอาไว้ใกล้ฝา ของกินหมาอย่าเอาไว้ต่ำ อย่าไว้ใจทาง อย่าไว้ใจคน ทำอะไรอย่าประมาท สุดท้ายอาจสูญเสียทรัพย์หมดตัวได้
  • ฉันเตือนคุณแล้วว่าของกินแมวอย่าเอาไว้ใกล้ฝา ของกินหมาอย่าเอาไว้ต่ำ คุณก็รู้อยู่แล้วว่ามีขโมยอยู่ในบริษัทของเรา ก็ยังจะวางของมีค่าทิ้งไว้
  • เวลามีสินทรัพย์ที่มีค่าไม่ควรเอาไว้ที่ล่อแหลม เฉกเช่น ของกินแมวอย่าเอาไว้ใกล้ฝา ของกินหมาอย่าเอาไว้ต่ำ เพราะสังคมสมัยนี้โจรมันเยอะ
  • ผมว่าคุณควรจะเอากระเป๋าติดตัวไปด้วยนะ อย่าทิ้งไว้บนรถแบบนี้เลยมันล่อหูล่อตาโจร อย่างที่เขาว่าของกินแมวอย่าเอาไว้ใกล้ฝา ของกินหมาอย่าเอาไว้ต่ำ
  • อยากได้ความมั่งคั่งก็อย่าเก็บของที่มันจับต้องได้ ของที่จับต้องได้มักเป็นที่ล่อใจคน โจรมันเยอะ การมีของมีค่าในบ้านก็เหมือนของกินแมวอย่าเอาไว้ใกล้ฝา ของกินหมาอย่าเอาไว้ต่ำ ของที่จับต้องไม่ได้ที่มาค่าก็มีอย่างเช่น หุ้น แบบนี้ไม่มีใครขโมยของเราได้แน่นอน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า

ที่มาของสำนวน เป็นการเปรียบเปรยถึง เวลาวัวหรือโคไม่สบาย มันมักจะไม่ยอมกินหญ้า แต่ก็บังคับกดหัววัว(การข่มเขา) เพื่อบังคับให้มันกินหญ้า หรือสำนวนนี้พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า “วัวไม่กินหญ้าอย่าข่มเขา”

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การบังคับขืนใจให้บุคคลอื่นให้กระทำตามในสิ่งที่ตนต้องการ โดยผู้ถูกบังคับนั้นไม่เต็มใจ

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า

  • คนที่เป็นแฟนกันหรือสามีภรรยากัน หลายคนจะชอบข่มคู่ของตัวเอง โดยเฉพาะผู้หญิง มักจะบังคับให้อีกฝ่ายทำอะไรตามใจตัวเอง ข่มเขาโคขีนให้กินหญ้า ซึ่งมักจะส่งผลให้เกิดผลเสียตามมา เช่น ผู้ชายเมื่อโดนบังคับมากๆ โดยจัดระบบ จัดระเบียบชีวิตทุกอย่าง สุด ท้ายก็อาจนอกใจบ้าง อยากให้กินหญ้านักใช่ไหม ก็ไปหาหญ้าอ่อนกินนอกบ้านเสียเลย
  • ฉันไม่ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้าหรอก ฉันอยากได้ลูกสาวเธอมาเป็นสะใภ้ก็จริง แต่ถ้าลูกสาวเธอไม่รักหรือชอบพอ ลูกชายฉันก็คงจะไปบังคับกันไม่ได้
  • เด็กชายก้องไม่ชอบเล่นฟุตบอล แต่พ่อของเขาชอบกีฬาชนิดนี้มากจึงบังคับให้เด็กชายก้องเล่นฟุตบอล การกระทำดังกล่าวตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
  • งานนี้ผมไม่ทำ ผมเป็นผู้ชายนะ อยู่ๆจะให้ผมปลอมตัวเป็นผู้หญิงเข้าไปสอดแนม แบบนี้มันข่มเขาโคขืนให้กินหญ้าชัดๆ เลย
  • อย่าข่มเขาโคขืนให้กินหญ้าใครเลย การจะบังคับใจคนมันไม่ได้ผลหรอก ถึงเขาจะทำแต่ทำด้วยความไม่เต็มใจ อย่างที่เขาว่าถ้าคนมันจะรัก ยืนเฉยๆ เขาก็รัก

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยขัดฝาแตะเกิดผล ขัดคอคนเกิดโทษ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ขัดฝาแตะเกิดผล ขัดคอคนเกิดโทษ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยขัดฝาแตะเกิดผล ขัดคอคนเกิดโทษ

ที่มาของสำนวน การขัดฝาแตะ คือ เครื่องบังตัวป้องกันอาวุธอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่สานขัดกันเป็นผืนย่อมๆ คล้ายฝาขัดแตะ ยกย้ายได้ ได้ใช้ประโยชน์ แต่ในทางกลับกัน การขัดคอคน คือ การขัดคอ ไม่ฟังความคิด ความเห็นของผู้อื่นเลย เอาแต่ตัวเองว่า ย่อมเกิดผลที่ไม่ดีนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การพูดขัดแย้ง ขัดขวางคนอื่นอยู่เสมอจะทำให้เกิดผลเสีย

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยขัดฝาแตะเกิดผล ขัดคอคนเกิดโทษ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตขัดฝาแตะเกิดผล ขัดคอคนเกิดโทษ

  • เขาก็สอนไว้แล้ว่าขัดฝาแตะเกิดผล ขัดคอคนเกิดโทษ รับฟัง คนอื่น เปิดใจ มองโลกให้กว้างๆ จะได้รู้ว่าคนแต่ละคนย่อมมีความคิดไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจงรับฟังคนอื่นบ้าง
  • ขัดฝาแตะเกิดผล ขัดคอคนเกิดโทษนะจ๊ะ อะไรที่ยอมได้ โอนอ่อนผ่อนตามได้ก็ยอมเขาไปเถอะ เพราะเขาเป็นผู้มีอิทธิพลฉันเกรงว่าเธอจะมีอันตราย
  • นี่คุณ อย่าทำตัวเป็นคนขวางโลกอย่างนี่สิ เหมือนขัดฝาแตะเกิดผล ขัดคอคนเกิดโทษเอานะ บางทีการฟังก็เป็นคุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่งนะ จำไว้
  • เขาถูกไล่ออกเพราะชอบไปมีเรื่องขัดแย้งกับเจ้านายอยู่เสมอ เข้าทำนองขัดฝาแตะเกิดผล ขัดคอคนเกิดโทษ
  • “ขัดฝาแตะขัดได้ใช้ประโยชน์ ขัดคอคนเกิดโทษประโยชน์สิ้น ก่ออารมณ์ร้อนร้ายเพียงได้ยิน สร้างรอยบิ่นมิตรภาพพังราบลาญ ถ้อยสำนวนนำเปรียบวางเทียบไว้ ชอบขัดคนจนขัดใจในทุกด้าน ชอบขัดแย้งแสร้งขัดคอต่อทุกการณ์ ย่อมจะผลาญล้างตน… จนสิ้นทาง ฯ”

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยขี้ไม่ทันออกอย่าร้องหาหมา ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ขี้ไม่ทันออกอย่าร้องหาหมา

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยขี้ไม่ทันออกอย่าร้องหาหมา

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการถ่ายของคนสมัยก่อน ที่เรียกสุนัขมากินอึหลังขับถ่ายเสร็จ เป็นการทำความสะอาดพื้นที่ การที่ยังอึไปเสร็จแล้วไม่เรียกหาหมาก็เป็นเรื่องที่ไม่ควร ไม่สมเหตุสมผลนั่นเอง จึงเปรียบกับการทำอะไรไม่เสร็จ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ก็คุยไว้ก่อนนั่นเอง

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ การกระทำอะไรที่ยังไม่เห็นผลประสบความสำเร็จ ยังไม่เป็นชิ้นเป็นอัน อย่าเพิ่งไปคุยโวโอ้อวด

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยขี้ไม่ทันออกอย่าร้องหาหมา

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตขี้ไม่ทันออกอย่าร้องหาหมา

  • เวลาจะทำอะไรควรทำเงียบๆ คนเดียว ไม่ควรกล่าวประกาศให้คนรู้ ขี้ไม่ทันออกอย่าร้องหาหมา ถ้าสำเร็จแล้วเดี๋ยวคนก็จะรู้เอง ไม่ต้องห่วง
  • ฉันเตือนเธอแล้วขี้ไม่ออกอย่าร้องหาหมาก็ไม่เชื่อ เพิ่งจะเริ่มเรียนทำเบเกอร์รี่แต่ไปบอกคนอื่นว่าจะเปิดร้านขนม สุดท้ายก็ไม่ได้เปิด พอใครๆถามก็ไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน
  • ขี้ไม่ทันออกอย่าร้องหาหมา สมชายบอกคนอื่นว่าจะทำนู้น ทำนี่แล้วจะรวย สุดท้ายก็เป็นแค่การหลอกลวงเอาเงินอื่น จนโดนจับกุมในที่สุด
  • ขี้ไม่ทันออกอย่างร้องหาหมาเลย เพิ่งจะเริ่มต้นก่อตั้งบริษัทได้ไม่ถึงเดือนจะอยู่รอดหรือไม่ก็ยังไม่รู้ แต่ไปคุยโม้เสียแล้ว ระวังจะถูกคนอื่นเยาะเย้ยเอา
  • ยังไม่ได้เริ่มทำอะไร อย่าเพิ่งไปไล่บอกชาวบ้าน เหมือนขี้ไม่ทันออกอย่าร้องหาหมา เดี๋ยวคนพูดจะเสียหมาเสียเอง

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยขี้หมูราขี้หมาแห้ง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ขี้หมูราขี้หมาแห้ง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยขี้หมูราขี้หมาแห้ง

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการใส่ใจในสิ่งที่ไม่ควรใส่ใจ เปรียบกับการไปสนใจกับ ขี้หมู ขี้หมา ที่ไม่ได้เกิดประโยชน์อันใดแก่ชีวิตเลย

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ เรื่องไร้สาระ ไร้ประโยชน์ เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่สร้างความเดือดร้อนใดๆ ไม่ควรเสียเวลาใส่ใจ เพราะไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยขี้หมูราขี้หมาแห้ง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตขี้หมูราขี้หมาแห้ง

  • คุณทะเลาะกับเพื่อนบ้านด้วยเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง แย่งที่จอดรถกัน แค่นี้ถึงขนาดต้องย้ายบ้านหนีเลยหรือ
  • การเป็นคนไม่สนใจเรื่องขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง ชีวิตก็จะไร้ปัญหา เพราะบางสิ่งหลายอย่างที่เราเอาแต่ยึดถือหรือยึดมั่น ถือมั่นไว้นั้น อาจจะทำให้ชีวิตเดือดร้อน เรื่องไม่เป็นเรื่อง ก็ปล่อยวางไปบ้าง
  • มีธุระอะไรสำคัญก็รีบพูดมา ฉันไม่มีเวลามาฟังเรื่องไร้สาระ ขี้หมูราขี้หมาแห้งแบบนี้หรอกนะ
  • คนแก่มักจะรักเด็ก เป็นคนจิตใจดี และมักจะไม่ดุ บ่น ด่าลูกหลาน เพราะเด็กๆ ก็ซนไปตามประสาของเด็ก เรื่องขี้หมารา ขี้หมาแห้ง ของเด็กๆ อาจจะมีทะเลาะกันบ้าง เป็นธรรมดาตามวัย
  • ถ้าแค่เรื่อง ขี้หมูราขี้หมาแห้ง ยังต้องให้ผมลงมาจัดการด้วยตัวเอง ผมก็ไม่รู้จะจ้างพวกคุณไว้ทำไมเหมือนกัน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย

ที่มาของสำนวน ในสมัยก่อนเปรียบขุนนางที่เป็นเจ้านายเรา แต่ไม่ได้เป็นพ่อแม่ของเรา และ หินที่เป็นแง่ที่เราเกาะจับก็ไม่ใช่ตายายของเรา เราอย่าไปไว้วางใจว่ามันจะมั่นคงแข็งแรง เราต้องระมัดระวังให้มากๆ

ผู้บังคับบัญชา, ผู้ที่มีตำแหน่งสูง (ขุนนาง) ที่เราทำงานรับใช้อยู่ด้วย อย่าไปไว้วางใจว่าเขาจะรัก และ เมตตาเราอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าเราพลาดพลั้งทำผิด หรือ ทำให้เขาโกรธ เขาจะไม่ให้อภัยเราเหมือนกับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย เขาอาจลงโทษทัณฑ์เรา หรือ ทำให้เราเดือดร้อนได้ เช่นเดียวกับหินที่มีแง่ ที่เราจับเกาะอยู่มันอาจจะแตกหักหลุดลงมาเมื่อใดก็ได้ และ มันก็อาจจะเป็นอันตรายแก่ตัวเรา

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายของตน ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร ทํานองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน จะจนใจเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย

  • อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย คนโบราณบอกไว้แล้วถ้าไม่ช่ครอบครัวที่ไว้ใจได้อย่างสนิทใจก็อย่าให้จคนอื่นเต็มร้อย ให้ดูสิ่งที่คนอื่นกระทำต่อเราก่อน
  • เธอเพิ่งจะรู้จักเขาได้ไม่เท่าไหร่ ก็จะไปอยู่กับเขาเสียแล้ว เขาไว้ใจได้แค่ไหน ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายายนะ
  • ชูชกให้เหตุผลไว้อย่างน่าคิดว่า “เฒ่าก็ทูลตอบคดีในทันใด ว่าไม่ได้ ไม่ได้พระพุทธเจ้าข้า ซึ่งจะทรงพระกรุณาไม่เห็นด้วย ฉวยว่าเสียทีสิมิเป็นการ คำบุราณท่านกล่าวไว้แต่ก่อนปลาย ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย อันจะให้พาสองกุมาร ถ่อกายเข้าไปยังสำนักพระเจ้าปู่ ท้าวเธอก็จะให้มีพระกระทู้ซักถามซ้ำ จะละลักละล่ำว่าหน้าเป็นหลังตกตะลึงลืมตัว ด้วยความกลัวใช่พอดี เธอจะลงเอาว่าข้าทชีนี้ลักพระเจ้าหลานหลวง แล้วจะให้กระทำตามกระทรวงพระราชกิจ”
  • ถึงเจ้านายเขาจะโปรดปรานคุณแค่ไหน แต่ถ้าคุณทำให้เขาโกรธ เขาก็คงไม่ให้อภัยคุณง่ายๆหรอก เข้าทำนองขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย
  • คนสมัยก่อนเตือนเสมอว่าขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย อย่าไว้ใจหัวหน้าเจ้านายมากนัก เขาอาจเพิ่งเราเฉพาะมีประโยชน์ สมัยนี้ก็เหมือนกันดูหัวหน้าก็ดูกันให้ดี แต่สมัยนี้ก็ง่ายหน่อย คนไม่ดีก็แจ้งเบื้องบนให้มาตรวจสอบเลย

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

สุภาษิตคำพังเพยเข้าตรีฑูต ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. เข้าตรีฑูต

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเข้าตรีฑูต

ที่มาของสำนวน คนโบราณเชื่อว่าเมื่อมีคนใกล้ตายยมบาลจะส่งทูต 3 ตนจากทั้งหมด 4 ตนมานำตัวผู้ใกล้ตายไปยังยมโลก การมาของทูต 3 ตนบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีอาการหนักจวนตาย หากทูตมาครบ 4 ตนเมื่อใดเป็นอันว่าถึงแก่การสิ้นชีพ

คำว่า “ตรีทูต” นี้ มีการใช้เพี้ยนไปบ้าง เช่นคำ ตรีภูติ ตรีโทษ โดยหมอกลางบ้านใช้ว่า ตรีภูติ มีความเชื่อว่าหากเจตภูตหรือวิญญาณของคนใกล้ตายออกจากตัวไปแล้ว 3 ดวงจากทั้งหมด 4 ดวง จะเรียกระยะนี้ว่าเข้าระยะตรีภูติ สภาพการณ์นี้บ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีอาการหนักจวนตายจำเป็นต้องเฝ้าดูแลไม่ให้คลาดสายตา ถ้าวิญญาณออกจากตัวครบ 4 ดวงเมื่อใด เป็นอันว่าถึงแก่การสิ้นชีพ นอกจากนี้ ยังมีฝ่ายที่ใช้ว่า ตรีโทษ โดยเชื่อว่าเมื่อผู้ป่วยมีอาการหนักจวนตาย ธาตุจะแตกสลาย คุมประสานกันไม่ติด เป็นตรีโทษหนัก แม้ว่าการเรียกชื่อรวมทั้งความเชื่อในที่มาของชื่อต่างกัน แต่โดยรวมแล้วหมายถึง อาการใกล้ตายที่ธาตุทั้ง 4 ธาตุ คือ ดิน น้ำ ไฟ และลม ค่อยสูญลงไป

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ลักษณะอาการของคนที่ใกล้ตายแล้ว หมดโอกาสรอดแล้ว

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยเข้าตรีฑูต

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเข้าตรีฑูต

  • เขารู้ตัวว่าอาการและโรคตัวเองเข้าตรีฑูตแล้ว คงอยู่ได้อีกไม่นาน จึงได้เรียกลูกๆ หลานๆ ญาติพี่น้องมาสั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย
  • ร่างกายคนนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักร เนื่องจากคนเราใช้ร่างกายดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ช่วงเวลาที่ใช้พลังงานมากเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ คือช่วงเช้าถึงเย็น คล้ายเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมที่เริ่มการทำงานในตอนเช้าถึงเย็น เครื่องจักรที่มีสภาพเป็นของแข็งเมื่อใช้งานไปนานวันยังถึงคราวเสื่อม ร่างกายของคนก็มีวันเจ็บป่วยและตายเช่นกัน ดั่งเช่นอาการเข้าตรีฑูต
  • คนโบราณเชื่อว่าการเข้าตรีฑูต เป็นวิญญาณที่ประจำตัวมนุษย์ คือ “เจตภูต” มี 4 ตน คือ เพชรภูติ เพชรปราณ เพชรทาน เพชรทน เวลาคนเราใกล้สิ้นชีพ ภูตจะออกจากร่างเรียก เข้าตรีภูต คือ ออกไปแล้ว 3 ถ้าออกอีก 1 ก็ เรียบร้อย
  • คุณยายเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย อาการหนักมากแล้วเข้าขั้นตรีฑูต พวกเราคงต้องทำใจแล้วหล่ะ
  • แพทย์แผนโบราณหรือของชาวบ้าน ตามความเชื่อที่ว่า เวลาคนใกล้จะตาย ยมบาลจะส่งทูตมาสามตนมาเอาวิญญาณไป ทูตมาแล้วสามตน ถ้ามาอีกหนึ่งตนก็ตายแน่แล้ว เรียกว่า “เข้าตรีทูต”

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube