สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ จ. จับแพะชนแกะ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยจับแพะชนแกะ
ที่มาของสำนวนนี้คือ เป็นการเปรียบกับการเอาแพะมาชนกับแกะ เพราะว่าแม้แกะกับแพะเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายๆ กันอยู่บ้าง แต่แกะกับแพะเป็นสัตว์ต่างพันธุ์กัน ซึ่งปกติจะไม่เคยมีใครจับคู่มาชนกัน
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเพื่อให้เสร็จๆ ไป การทำการแก้ปัญหาเรื่องราวหนึ่งโดยเร่งด่วนเพื่อให้เหตุการณ์นั้นสามารถผ่านไปได้ก่อน โดยการแก้ปัญหานั้นจะเป็นลักษณะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนไม่มีความสมบูรณ์นัก
นิยมใช้อธิบายคนที่มีนิสัยชอบทำอะไรง่ายๆ หรือมักง่ายๆ จะทำอะไรก็ทำแบบขอให้ผ่านไป ไม่มีความพิถีพิถัน ทำพอให้เรื่องนั้นจบๆ ไปเท่านั้น ไม่ได้สนใจว่าผลจะเป็นอย่างไร หรือจะเกิดผลกระทบอะไรตามมา
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตจับแพะชนแกะ
- บางครั้งคุณก็ต้องรู้จักจับแพะชนแกะเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบ้าง ไม่เช่นนั้นงานก็จะไม่เดินหน้า ถ้าต้องรอให้ผมมาแก้ปัญหาให้ตลอด
- นายเขียวมักจะจับแพะชนแกะประจำ เมื่อเพื่อนถามเรื่องต่าง ก็จะตอบว่า ไม่ทราบ
- คนเขียนข่าวจากสำนักพิมพ์บางสำนัก ชอบเขียนแบบจับแพะชนแกะ เขียนแบบมั่วๆ ผิดๆ ถูก ไม่ตรวจสอบอักษร หรือการเรียบเรียงคำพูดเลย
- วิชัยเป็นคนประเภทจับแพะชนแกะ นายสั่งงานอะไรมาก็ชอบทำแบบชุ่ยๆ ให้มันเสร็จๆ ไป เนื้องานเลยไม่ค่อยมีคุณภาพ ต้องมีคนตามแก้ให้ตลอด
- บางครั้งการทำงานที่โดนกดดัน เร่งงาน ต้องจับแพะชนแกะไปก่อน สั่งงานใหญ่แต่จะเอาดีๆ เร็วๆ มันก็เป็นไปไม่ได้ เฮ้อ เหนื่อยใจ!