สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ผ. ผีเข้าผีออก
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผีเข้าผีออก
ที่มาของสำนวน มาจากความเชื่อของคนในสมัยโบราณเกี่ยวกับเรื่องผีสางที่ว่า หากผู้ใดถูกผีเข้าก็จะมีอาการเปลี่ยนไปจากปกติ เช่น กรีดร้อง โมโหร้าย พูดเสียงดัง พูดจาแปลกๆ แต่หากผีออกแล้วก็จะกลับมามีอาการปกติแบบคนทั่วไป จึงถูกนำมาเปรียบเปรยกับอารมณ์เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ อาการเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย อารมณ์ไม่คงที่ ขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตผีเข้าผีออก
- ไม่รู้เขาเป็นอะไรเมื่อสักครู่ยังเฮฮากันอยู่เลย ผ่านไปแค่ 15 นาทีกลับมาอาละวาดซะแล้วผีเข้าผีออกจริงๆ
- วันนี้ไม่รู้หัวหน้าผีเข้าผีออกหรือยังไงเดี๋ยวก็ดุลูกน้องเดี๋ยวก็คุยเล่นหัวกันฉันล่ะปรับอารมณ์ไม่ทัน
- ในวันนั้นของเดือนแพมจะมีอารมณ์แปรปรวน ชอบพูดเสียงดังทะเลาะกับแฟน แต่ในบ้างครั้งก็พูดจาดีเอาอกเอาใจ ตรงกับสำนวนไทยที่ว่าผีเข้าผีออก ทำให้แฟนของเธอทำตัวไม่ถูกเลย
- เธออย่าไปถือโทษโกรธเขาเลย เขาเป็นโรคอารมณ์สองขั้วที่ควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ เหมือนผีเข้าผีออก เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
- คนบางคนนี่เอาจากยากจริงๆ โดยเฉพาะคนที่ผีเข้าผีออก เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย คำแนะนำคือ อย่าไปยุ่งเลย พวกเขาเหล่านั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะทางอารมณ์