สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ท. ทะลุกลางปล้อง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยทะลุกลางปล้อง
ที่มาของสำนวนนี้คือ เป็นรูเป็นช่อง หรือทำให้เป็นรูเป็นช่อง เช่น กระทะทะลุใช้ไม่ได้ เขาถูกแทงทะลุหลัง มีทางเดินทะลุออกหลังวัด เราช่วยกันทะลุกำแพงจนเป็นช่อง คำว่า ทะลุ อาจใช้ร่วมกับคำอื่นได้ เช่น ทะลุปรุโปร่ง หมายถึง เห็นหรือเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง เช่น เขาเข้าใจได้ทะลุปรุโปร่งว่าทำไมเด็กจึงมีพฤติกรรมเช่นนี้ นั่นเอง
สรุปความหมายสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ พูดสอดขัดจังหวะอย่างไม่มีมารยาทในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดกันอยู่
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตทะลุกลางปล้อง
- เธอควรจะมีมารยาทรู้จักกาละเทศะมากกว่านี้นะ มาพูดทะลุกลางปล้องแบบนี้มันเสียมารยาท รอพูดใหญ่พูดให้จบก่อนแล้วเธอค่อยพูดก็ได้
- หัดมีมารยาทเสียบ้าง ไม่ใช่อยู่ๆ ก็ทะลุกลางปล้องตอนคนอื่นกำลังพูดอยู่
- พวกเรากำลังปรึกษากันเรื่องการทำกิจกรรม เขาก็ทะลุกลางปล้องขึ้นมาว่าไปเที่ยวกันดีกว่า
- เขาถูกผู้จัดการเรียกไปตักเตือนเพราะไม่รู้จักระงับอารมณ์โกรธ ไปพูดทะลุกลางปล้องในที่ประชุมที่เขากำลังลงมติการทำงานกัน
- นายนี่มันใช้ไม่ได้เสียจริง ผู้ใหญ่เขากำลังคุยกันอยู่นายไปทะลุกลางปล้องแบบนั้นมันเสียมารยาทนะรู้ไหม
- เตือนสติ ‘สังคมโชว์เหนือ’ ปล่อยความเห็นทะลุกลางปล้อง ความต่ำตมของสิ่งมีชีวิต ที่ใช้ความเป็นคนไม่เป็น