สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ล. ลมเพลมพัด
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยลมเพลมพัด
ที่มาของสำนวน มาจากไสยศาสตร์ คนเรียนไสยศาสตร์เกิดอาการร้อนจากวิชา เมื่อมันร้อนเขาจะต้องทำการปล่อยของนั้นออกไป ถ้าเขาไม่ปล่อยของนั้นออกไป ของนั้นจะเข้าตัวเขาเอง เขาก็ต้องทำพิธีของเขาไป ไม่เจาะจงใครแล้วแต่จะไปโดน มักปล่อยกันวันโกน วันพระ ถ้าได้ยินเสียงอะไรผิดปกติอย่าไปเอ่ยปากทัก ถ้าหากว่าเอ่ยปากทักของจะเข้าตัว
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ อาการที่เจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ มักเข้าใจกันว่าถูกกระทํา หรือเรียกคนที่มีอารมณ์แปรปรวนเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตลมเพลมพัด
- ทุกวันนี้ ความเชื่อเรื่องปล่อยคุณ ปล่อยของ ไม่ค่อยมีแล้ว แต่เคราะห์ หามยามร้าย ของผู้คนยุคใหม่ยังมีมันไม่ได้มากับความมืดสว่าง ไม่ได้มากับลมเพลมพัด… แต่มาทางคลื่นโทรศัพท์ เป็นเสียงทวงหนี้แทน
- สงสัยยายอ้อยต้องโดนลมเพลมพัดมาแน่ๆ เพราะหลังจากที่หล่อนไปเที่ยวกลับมาก็เห็นนอนซมเป็นไข้ ปวดเนื้อ ปวดตัวมาหลายวันแล้ว
- ลมเพลมพัดเป็นไสยศาสตร์สายดำ ที่เขาปล่อยออกมา ให้ล่องลอยไปตามลม ใครเผลอทักก็เข้าตัว
- คนเฒ่าคนแก่มักสอนเสมอว่าอย่าไปในสถานที่ที่เป็นอันตราย ไม่คุ้นชินเพราะอาจจะทำให้เกิดลมเพลมพัดได้
- ป่วยแบบไม่รู้สาเหตุ สงสัยโดยลมเพลมพัดจากไหนก็ไม่รู้ สมัยก่อนต้องพึ่งหมอผี หมอตำแย สมัยนี้ต้องพึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ สแกนตรวจหาเลย