สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ส. สามใบเถา
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยสามใบเถา
ที่มาของสำนวน คำนี้ยึดโยงมาจากปิ่นโตที่จะมีสามใบในเถาหนึ่งๆ แต่อันที่จริงแล้วเป็นคำไทยที่ใช้เรียกตลับแป้งหรือตลับหมากชุดหนึ่งๆ ที่มีสามใบทั้งขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก จึงนำมาเปรียบเหมือนสามสาวพี่น้องเรียงกัน
แต่บังเอิญปิ่นโตดั้งเดิมจะมีสามใบพอดีและมีลักษณะนามเป็นเถา ก็เลยชวนให้คาดเดาว่าสามใบเถามาจากลักษณะของปิ่นโต
ปิ่นโตเป็นคำทับศัพท์มาจากภาษาญี่ปุ่นคำว่าเบนโตะ (กาซาเน เบนโต คาโก) ก็อาหารชุดรวมในกล่องที่เราไปกินในร้านอาหารญี่ปุ่นนั่นแหละ เพียงแต่ปัจจุบันเป็นกล่องชั้นเดียว
เดิมแล้วเป็นของจีนทำด้วยไม้ไผ่สานมีสามชั้นเรียกว่าเปี้ยนตัง แต่แพร่หลายไปยังญี่ปุ่นเป็นเบนโตะและมาถึงไทยเป็นปิ่นโต แล้วค่อยเปลี่ยนวัสดุมาเป็นโลหะในที่สุด
ดังนั้นแม้ปิ่นโตบางเถาจะมีมากกว่าสามใบ แต่ก็ไม่มีคำว่าสี่ใบเถา หรือห้าใบเถา ที่เรียกพี่น้องผู้หญิงสี่คนหรือห้าคนเรียงกันนะ เพราะเราไม่ได้ยึดโยงมาจากปิ่นโตหรือเบนโตะแต่อย่างใด
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้หญิงที่เป็นพี่น้องท้องเดียวกันทั้งสามคน
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตสามใบเถา
- ส่วนมากผู้หญิงที่เป็นสามใบเถา จะมีลักษณะสังคมที่ดี ดูเป็นกุลสตรี เพราะเรียนรู้กันได้ง่ายๆ จากพี่น้องเลย ที่อยู่กินสั่งสอนซึมซับกันมาตามธรรมชาติ
- ได้ข่าวว่าบ้านนี้เขาจะมีจัดงานใหญ่เพราะจะมีการแต่งงานออกเรือนของลูกสาวสามใบเถาพร้อมกันในวันเดียว เป็นเรื่องน่ายินดีจริงๆ
- มาเห็นเธอตอนที่แอบไปฝึกคอมพิวเตอร์ลำพังเพื่อเตรียมตัวสอบ อ๊ะเธอก็เอาถ่านน่าดู มารู้ภายหลังว่าเธอมาจากครอบครัวที่ดี ละแวกถิ่นผู้ดีมีสกุล แถมเป็นลูกสาวหนี่งในสาม มีพี่สาวที่ดีคอยเทรนคอยอบรมดูแล จึงรู้ว่าเธอเป็นสามใบเถา
- ครอบครัวและเพื่อนๆ ต่างไปแสดงความยินดีกันยกใหญ่ที่ชมพูคลอดลูกได้ลูกสาวแฝดสามใบเถา
- แฟนผมเป็นผู้หญิงที่เกิดในครอบครัวสามใบเถา เป็นน้องคนสุดท้อง เธอน่ารัก น่าเอ็นดู ตามประสาครอบครัวที่ผู้หญิงเยอะจริงๆ