สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ม. แมวไม่อยู่หนูละเลิง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยแมวไม่อยู่หนูละเลิง
ที่มาของสำนวน เป็นการนำเอาธรรมชาติของหนูที่กลัวแมวมาเปรียบเทียบ โดยเปรียบแมวเป็นผู้ใหญ่ เปรียบหนูเป็นผู้น้อยนั่นเอง เมื่อผู้ล่าไม่อยู่ ผู้ถูกล่าย่อมร่าเริง
คำว่า ละเลิง เป็นคำเก่าที่มีความหมายว่า เหลิงจนลืมตัว ลำพอง หรือคึกคะนอง แต่ในปัจจุบันมักจะใช้ “แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง” และบางโอกาสสำนวนนี้ก็จะมีคำต่อท้ายสำนวนด้วย คือ “แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง แมวมาหลังคาเปิง”
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เวลาที่ผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจไม่อยู่ ผู้น้อยหรือเด็กจะมีความลำพองใจ เหลิง สนุกสนาน ร่าเริงเพราะไม่มีคนคอยคุมความประพฤติ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตแมวไม่อยู่หนูละเลิง
- วันนี้สามีของเธออนุญาติให้ไปเที่ยว เธอก็ออกอาการแมวไม่อยู่หนูละเลิงเลย เพราะนานๆ จะได้ออกมาเที่ยวที
- วันนี้คุณครูระเบียบติดราชการ ไม่สามารถมาสอนเด็กๆได้ ทำให้พวกเด็กพากันวิ่งเล่นสนุกนาน ส่งเสียงดังไปทั่วโรงเรียน ตรงกับสำนวนไทยที่ว่าแมวไม่อยู่หนูละเลิง
- วันนี้ไม่มีใครอยู่บ้าน เหล่าๆ เด็กบ้านนี้ต่างพากันออกไปเล่นซุกซนกันอยู่คลองน้ำหลังบ้าน แมวไม่อยู่หนูละเลิงเต็มที่เลย
- ช่วงนี้แมวไม่อยู่หนูร่าเริงเพราะตำรวจได้รับมอบหมายให้ไปดูแลความสงบในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง พวกแก๊งค์มอเตอร์ไซค์ซิ่งกวนเมืองจึงกลับออกมาสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน
- ช่วงนี้เจ้านายไม่อยู่ พนักงานเลยทำงานกันสบายมากขึ้น ปล่อยเนื้อปล่อยตัว การงานไม่ดี แมวไม่อยู่หนูละเลิงกันเลย