สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ง. งูกินหาง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยงูกินหาง
ที่มาของสำนวน เป็นการละเล่นพื้นเมืองเก่า เล่นกันทุกภาคของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ พบว่ามีการละเล่นงูกินหางกันแล้วในงานตรุษสงกรานต์ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2475 การเล่นงูกินหางเป็นการเล่นเลียนแบบชีวิตสัตว์ คือ เลียนแบบลักษณะท่าทางของงูที่มีลำตัวยาวเลื้อยคดไปคดมา นิยมเล่นในงานเทศกาล งานประจำปี และงานรื่นเริงต่างๆ ในสมัยก่อน งูกินหางส่วนมากสาวมอญไม่ค่อยได้เล่นเท่าไร เพราะไม่ค่อยสุภาพ คือฝ่ายผู้ชายกับฝ่ายผู้หญิงต้องมาจับมือถือแขนกัน ผู้ใหญ่ไม่นิยมที่จะมาเล่นสนิทสนมกัน ส่วนมากจะเป็นคนไทยเล่นกัน
กระทรวงวัฒนธรรมประกาศขึ้นทะเบียน “งูกินหาง” ในสาขากีฬาภูมิปัญญาไทย เมื่อปี 2557
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือสิ่งบางอย่างเกี่ยวโยงกันจากหัวถึงหางโดยซัดกันไปเป็นทอดๆ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิต
- เมื่อรุ่งเช้าเกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกแก๊สระเบิดในใจกลางเมือง จนทำให้การจราจรหยุดนิ่ง ทำให้รถติดสะสมเป็นงูกินหาง
- การเล่นงูกินหางนี้พบว่าตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศยังนิยมให้เด็กชั้นเล็กๆ เล่นกันในวิชาพลศึกษา บ้างก็จัดเป็นสันทนาการ หรือกิจกรรมกลางแจ้ง แม้ครูไม่นำเล่น เด็กๆ ก็ยังเล่นกันเองอย่างสนุกสนาน เพราะเป็นการละเล่นที่มีการวิ่งไล่จับ ซึ่งเป็นเรื่องสนุกของวัยเยาว์
- เขาติดการพนันจนต้องไปกู้ยืมเงินมาใช้หนี้ จนบัดนี้ก็ยังไม่สามารถจัดกับหนี้สินที่มีอยู่มากมายจนกลายเป็นงูกินหาง
- ตั้งแต่เกิดมา ผมเชื่อว่ามนุษย์ไม่เคยเห็น “งูกินหาง” ด้วยตา แต่ซึมซับรับรู้ภาพไว้ เอาไปเชื่อมโยงกับเรื่องราวในโลก เช่นระบบแชร์ลูกโซ่ แชร์แม่ชะม้อย ดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อเดือน แค่ 14 เดือน เงินต้นก็ได้คืน เอาความเชื่อบวกความโลภ บอกต่อๆกันไป ผู้คนก็ขนเงินเอามาให้…หลอกกันอยู่หลายปี กว่าจะเจ๊งกันไป
- คุณสร้างปัญหา มักจะทำให้ปัญหาเล็กๆ ลุกลามไปเสมอเหมือนงูกินหาง ถ้าคุณใจเย็นสักนิด แล้วค่อยๆ แก้ปัญหาคงไม่ต้องลุกลามขนาดนี้หรอก จบตั้งแต่ปัญหาเล็กๆ แล้ว