สุภาษิตคำพังเพยปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตคำพังเพยปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ
X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการปล่อยสัตว์ที่สำคัญที่จับได้กลับไปสู่แหล่งที่อยู่เดิมของมัน เปรียบได้กับการการปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงในน้ำ เพราะเสือย่อมอยู่ในป่า และปลาอยู่ในน้ำได้เป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว เมื่อมันกลับสู่ธรรมชาติของมัน มันย่อมมีอำนาจเหนือกว่าเรา

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก หรือปล่อยศัตรูที่เราจับตัวมาได้กลับไปสู่อิสรภาพ หรือปล่อยคืนถิ่นเดิมของคนๆ นั้น ซึ่งทำให้คนผู้นั้นจะกลับมามีพลังอำนาจเหมือนดั่งเคย ซึ่งถ้าจะปราบหรือจับอีกครั้งก็อาจจะทำไม่ได้อีก

คนโบราณท่านใช้เตือนสติว่าการปล่อยศัตรูหรือฝ่ายตรงข้ามไปนั้น จะนำอันตรายกับมาสู่ตนและหมู่คณะในภายหลังได้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะในอดีตมีตัวอย่างมามากต่อมากแล้วว่า การปล่อยศัตรูไป ศัตรูคนนั้นจะสามารถนำความเคลื่อนไหวของฝ่ายเราไปบอกฝ่ายตรงข้ามได้ และแน่นอนว่าฝ่ายตรงข้ามจะสามารถเข้ามาโจมตีฝ่ายเราได้ง่ายและตรงจุดอ่อน ทำให้เราเพลี้ยงพล้ำได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ

  • การทำธุรกิจ หรือสิ่งใดก็ตามที่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ย่อมจะมีคู่แข่งเสมอ เมื่อมีโอกาสได้เปรียบ ก็มักจะกำจัดคู่แข่งไม่ให้มีโอกาสได้ลุกขึ้นมาแข่งขันได้อีก ไม่มีการปล่อยเสือเข้าป่าปล่อยปลาลงน้ำ ปล่อยให้คู่แข่งเป็นอิสระ ก็มีโอกาสย้อนกลับมาสร้างปัญหาในภายหลังได้
  • การที่ตำรวจละเลย ไม่ตามจับผู้ต้องหา มารับโทษก็เท่ากับการ ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ สักวันก็ก่อเหตุแบบนี้อีก
  • การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ การกำจัดคู่แข่งศัตรูทางการเมืองให้สิ้นซาก หรือจัดการถึงขึ้นเสียชีวิต จึงเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นได้ในทุกประเทศหรือแม้แต่ ในจังหวัด อำเภอตำบลหรือหมู่บ้านเล็กๆ ก็ตาม การกำจัดคู่แข่ง ต้องจัดการให้เด็ดขาด อย่าปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ การปล่อยคู่แข่ง ปล่อยศัตรูไว้อาจมีโอกาส ทำให้เดือดร้อนในภายหลัง
  • การอภัยเป็นสิ่งที่ดี แต่การให้โอกาสปล่อยนักโทษที่เคยกระทำความผิด กลับสู่สังคมก็เหมือนการปล่อยเสือเข้าป่า เพราะไม่รู้ว่านักโทษได้สำนึกความผิดที่เคยทำมาหรือไม่
  • การปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำบางครั้งต้องคิดดีๆ เพราะเราไว้ใจกับนิสัยคนไม่ได้เลย คนก็คือคนสองหน้าใส่หน้ากาก ต้องให้แน่ใจว่าคนที่เราปล่อยไปสำนึกผิดจริงๆ แล้ว เราก็ควรจะปล่อยวางให้อภัยได้

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements