สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตัดไฟแต่ต้นลม
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตัดไฟแต่ต้นลม
ที่มาของสำนวน มาจากธรรมชาติโดยของลมและไฟ โดยลมเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ไฟลุกลามไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรดับไฟเสียตั้งแต่ต้นลม เพื่อไม่ให้ไฟลุกลามจนเกิดความเสียหายมาก
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป หรือตัดปัญหาเพื่อที่จะไม่ให้เรื่องบานปลาย
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตัดไฟแต่ต้นลม
- ตัดไฟแต่ต้นลม! โบราณท่านใช้สอนให้เราเป็นคนช่างสังเกตและช่างคิดวิเคราะห์ เห็นอะไรที่ทำท่าไม่ดี หรือมีโอกาสลุกลามใหญ่โต ก็รีบจัดการให้ปัญหานั้นเรียบร้อนก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
- หากสิ่งที่มองเห็นหรือคาดการณ์ว่าน่าจะมีปัญหาอะไรตามมาบ้าง และเกิดความเสียหายรุนแรง ก็ต้องหทาทาง ตัดไฟแต่ต้นลม หา ทางหยุด หรือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา เพราะการป้องกันนั้นง่ายกว่าการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว
- ทางบริษัทของเราเลือกวัตถุดิบที่ดี และมีคุณภาพเพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและตรงกับมาตรฐาน ซึ่งเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ป้องกันไม่ให้สินค้าถูกตีกลับ
- นายสมชายและนายมานะ มีปัญหาในการทำงานกัน และเริ่มส่งผลกระทบกับผลงานของแผนก ผู้จัดการซึ่งจับตาดูมาโดยตลอดเห็นท่าไม่ดี จึงเรียกทั้งสองคนเข้ามาปรับความเข้าใจกัน ผู้จัดการเลือกวิธีตัดไฟแต่ต้นลม จนสามารถเข้าใจกันได้ และช่วยกันทำงานด้วยความสามัคคีต่อไป
- Nip something in the bud หมายถึงการแก้ปัญหาแต่เนิ่นๆ ไม่ปล่อยให้ลุกลามไปใหญ่โต เหมือนสำนวนไทยที่ว่า ตัดไฟแต่ต้นลม ที่มาของสำนวนนี้คือการตัดแต่งต้นไม้ ส่วนใดไม่สวยงามหรือบกพร่องเราก็จัดการเสียแต่เนิ่นๆ ไม่ปล่อยรอเวลาให้มันเติบโต