สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ขี้ราดโทษล่อง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยขี้ราดโทษล่อง
ที่มาของสำนวน ในสมัยโบราณจะสร้างบ้านยกพื้นสูงใต้ถุนโล่ง และพื้นเรือนข้างหลังบ้านมักจะเจาะทำเป็นล่องไว้ และหากทำการขับถ่ายไม่ระมัดระวังนั้นอาจจะทำให้ติดตามล่อง สื่อถึงความสะเพร่าเอง แล้วไปโทษว่าล่องมันเล็ก จึงเป็นที่มาของสำนวน
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ คนที่ทําผิดเอง แล้วกลับโทษผู้อื่น
ใช้ในการเปรียบเปรยถึงคนที่มีนิสัยชอบโทษคนอื่น ทั้งที่ตัวเองนั้นเป็นคนทำความผิดเอง เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะรับผิดชอบในการทำความผิดนั้น กล่าวคือบุคคลที่มีพฤติกรรมเช่นนี้คือคนที่ไม่ปลอดภัยในตัวเอง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตขี้ราดโทษล่อง
- ของมันอยู่ดีๆ ของมันนายไปปัดมันตก จะไปว่าคนอื่นวางเกะกะไม่ได้นะ อย่างนี้มัน ขี้ราดโทษล่อง
- ด.ช.แมน สอบตกเพราะขี้เกียจ ไม่ตั้งใจเรียนเองแท้ๆ แต่กลับไปฟ้องคุณพ่อคุณแม่กล่าวโทษว่าอาจารย์สอนไม่รู้เรื่อง
- คนที่มีนิสัยไม่ปลอดมักมีพฤติกรรมที่โทษแต่สิ่งภายนอก โทษทุกอย่างบนโลกใบนี้ ยกเว้นเสียแต่ตัวพวกเขาเอง สุดท้ายความคิดเขาเองก็จะกลับไปทำร้ายเขาเองนั่นแหละ
- ขี้ราดโทษล่องชัดๆ เขานำเสนองานออกมาได้ไม่ดีเพราะไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน แต่ไปโยนความผิดให้ผู้ร่วมงานว่า จัดทำข้อมูลไม่ดี
- นี่นายเบน เลิกได้เลิกนิสัยขี้ราดโทษล่อง โตๆ กันแล้ว เป็นลูกผู้ชายทำผิดต้องยอมรับผิด ไม่ใช่โทษทุกสิ่งทุกอย่าง แบบนี้ชีวิตจะก้าวหน้าได้อย่างไร?