สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. ปูนอย่าขาดเต้า ข้าวอย่าขาดโอ่ง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยปูนอย่าขาดเต้า ข้าวอย่าขาดโอ่ง
ที่มาของสำนวน เป็นการเปรียบเปรยถึงปูน(ปูนแดง หรือปูนสำหรับกินกับหมากของคนสมัยก่อน) และข้าว ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ ต้องคอยดูไม่ให้หมด
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ควรใช้จ่ายพอเหมาะพอควร รู้จักเก็บออมเงินไว้บ้าง ครอบครัวจะได้อุ่นใจ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตปูนอย่าขาดเต้า ข้าวอย่าขาดโอ่ง
- เขาทำงานเก็บเงิน แม้จะเป็นคนหัวโบราณ แต่ครอบครัวก็ไม่เคยขัดสน เขาเชื่อเสมอว่าปูนอย่าขาดเต้า ข้าวอย่าขาดโอ่ง อย่างน้อยก็อุ่นใจไม่เดือดร้อนและเบียดเบียนใคร
- แม่บอกกว่าตอนนี้เรายังมีแรงทำมาหากินอยู่ เราก็ต้องขยันทำงานและรู้จักเก็บออมไว้บ้าง ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เพราะเมื่อเรามีเงินเก็บแล้ว ยามป่วยไข้หรือชราก็ไม่ลำบาก
- ครอบครัวของเราถึงไม่รวยแต่ก็ไม่เคยลำบาก ประหยัดเก็บออม เหมือนปูนอย่าขาดเต้า ข้าวอย่าขาดโอ่ง
- ทักษะทางการเงินสอนกันแต่โบร่ำ โบราณแล้ว เหมือนดั่งปูนอย่าขาดเต้า ข้าวอย่าขาดโอ่ง ไม่ฟุ่มเฟือย กินพอเหมาะ รู้จักเก็บออม
- จำไว้ลูก ปูนอย่าขาดเต้า ข้าวอย่าขาดโอ่ง! เงินอย่าขาดมือควรเหลือเก็บ อาหารอย่าขาดท้องเพราะเดี๋ยวจะไม่มีแรงทำงาน สู้ชีวิต