สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงคนที่อยู่ในเหตุการณ์ สถานการณ์นั้นๆ อยากออก แต่อีกคนกลับอยากเข้ามาอยู่ในเหตุการณ์ สถานการณ์นั้นๆ เอง เช่น การทำงาน ชีวิตคู่ ฯลฯ
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่มีความเห็นสวนทางกัน คนที่ไม่เคยเห็นไม่เคยเจอก็อยากเห็นอยากเจอ ส่วนคนที่เคยเห็นแล้วเคยเจอแล้ว รู้แล้วก็ไม่อยากอยู่ในสภาพนั้น
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- ยุคสมัยนี้ข้าราชการบ้านเราคนในอยากออก คนนอกอยากเข้าจริงๆ บางคนชอบความท้าทายอะไรใหม่ๆ คงไม่เหมาะกับราชการ แต่บางคนชอบความเดิมๆ เรื่อยๆ ก็เหมาะกับงานนี้ จงเลือกงานให้ดี
- คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า เป็นคำพูดที่เราได้ยินกันบ่อยๆ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ที่ทำงานใหม่นั้นจะดีอย่างที่วาดฝันไว้หรือไม่! อย่างเหตุการณ์หนีเสือปะจระเข้กับบริษัทเก่าที่เราพยายามแทบตายให้ หลุดพ้น ออกมาให้ได้ กลับกลายเป็นที่ๆ ดีซะกว่าบริษัทใหม่ที่เพิ่งเริ่มงานไปซะอีก ถึงตอนนั้นจะกลับมาเห็นคุณค่าบริษัทเดิม ก็สายไปแล้ว
- เป็นเรื่องถกเถียงกันมานานแล้วว่ามีชีวิตคู่กับอยู่เป็นโสดอย่างไหนดีกว่ากัน คนมีครอบครับแล้วก็ยากจเป็นโสดอยากจะมีอิสระ ไม่ต้องมีภาระอะไร ส่วนคนโสดก็อยากจะมีครอบครัว มีลูก อย่างที่เขาว่าคนในอยากออกคนนอกอยากเข้าจริงๆ
- คนในอยากออกคนนอกอยากเข้า! 6 ความทุกข์ของคนโสดที่ไม่ทันได้นึกถึง! 1. เหงา 2. ไม่มีคนคอยดูแลในวันที่อ่อนแอ 3. อยู่ๆ ก็กลายเป็นคนขี้อิจฉา 4. มักจะเป็นส่วนเกินของคนมีคู่เสมอ 5. รู้ตัวอีกที ตัวเลือกที่มีก็น้อยเหลือเกิน 6. มักโดนถามคำถามสุดช้ำใจ
- ขณะที่คนไกลอยากกลับบ้าน ด้วยเหตุผลว่า อยู่หนใดก็ไม่สุขใจเท่าบ้านเรา คนในประเทศเอง กลับรวมตัวกันในโซเชียลมีเดีย จนมีสมาชิกกลุ่มเป็นล้านที่เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยมีวัตุประสงค์เดียวกัน คือ ‘การย้ายประเทศ’ จากสถานการณ์นี้ หากมองเผินๆ ย่อมเข้าตำรา “คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า”